ทันโลกทันธรรม

ตอน โรคอัลไซเมอร์ 
 

Brain
 
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร?

... เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง เกิดจากอะไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เรามาทำความรู้จักกับโรคอัลไซเมอร์ และ โรคสมองเสื่อม  กันนะคะ...
 
 

สมองเสื่อม คือ ภาวะที่การทำงานของสมองลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการ คือ
-          อายุที่มากขึ้น (ชราภาพ)
-          ความเครียด
-          โรคทางจิตประสาท
-          สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ เป็นต้น
 
โรคอัลไซเมอร์ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม เมื่อเกิดอาการของโรคสมองเสื่อมแล้วส่วนใหญ่จะมีชีวิตได้ไม่เกิน 10 ปี โดยเฉลี่ยประมาณ 8 ปี ผู้ป่วยก็จะเสียชีวิต
 
โรคอัลไซเมอร์พบได้ในคนสูงวัยเท่านั้นหรือ?... แล้วสาเหตุเกิดจากอะไรนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการตรวจพบโปรตีนบางอย่างในสมองซึ่งเกิดจากของเสียจากการทำลายของสมอง เรียกว่า Tau Protein ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ไปขัดขวางการทำงานของสมอง แล้วเมื่อสะสมมากเข้าทำให้เซลล์สมองตายลง เป็นสาเหตุของความเสื่อมของสมอง จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าอาการสมองเสื่อมนั้นเกิดจากอะไรแน่ แต่ก็พบความเชื่อมโยงมากมายทีเดียว เมื่อเราศึกษาความเชื่อมโยงต่างๆ นั้นมาไล่ดู ก็จะพบทางแก้เป็นข้อๆ ไป แต่ก่อนจะถึงวิธีป้องกัน เรามาเรียนรู้ถึงอาการของโรคอัลไซเมอร์กันก่อน ว่าคนที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์นั้นมีอาการอย่างไร ซึ่งแบ่งออกเป็นระยะๆ
 

ในระยะที่ 1

 
จะมีอาการเป็นเสมือนความจำเสื่อมธรรมดา คือ ความจำระยะสั้น เช่นเมื่อเช้านี้ทานข้าวกับอะไรก็นึกไม่ออก หรือเพื่อนที่ไม่เจอกันมา 20 ปี ก็ยังพอจำได้ คือความจำระยะยาวยังคงอยู่ เพียงแต่ความจำสั้นๆ นั้นเสียไป ซึ่งในระยะนี้ ส่วนใหญ่ทุกคนยอมรับได้ ไม่ได้ส่งผลกระทบมากมายนัก การดูแลในระที่ 1 คือ ผู้ใกล้ชิดจะต้องกระตุ้นเตือนเขาบ่อยๆ เพื่อเป็นการฝึกสมอง ชวนคุยเรื่องดีๆ ฟังเพลง
 

ในระยะที่ 2

 
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการสับสน ซึ่งจะตั้งคำถามเรื่องนั้นเรื่องนี้ ซึ่งบางทีก็อาจมีพฤติกรรมประหลาดๆ เช่นอาการก้าวร้าว หรือพฤติกรรมที่ไม่เคยเป็นมาก่อน บางทีก็นอนไม่หลับและก้าวร้าวรุนแรง ทั้งๆที่ตลอดชีวิตไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน การดูแลในระยะที่ 2 คือ ในระยะนี้ผู้ดูแลก็อาจจะเริ่มมีปัญหาในการดูแลขึ้นบ้างเล็กน้อย ซึ่งจะต้องแก้ไขด้วยวิธีการเข้าไปจัดกิจกรรมให้ลงตัว มีตารางเวลา กิจกรรม จะต้องมีการพูดคุยและการฝึกสมอง สร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ และที่สำคัญคืออย่าไปเถียงผู้ป่วยเด็ดขาดให้เข้าใจว่า ความคิดและพฤติกรรมเหล่านี้  ไม่ได้เกิดมาจากความคิดของผู้ป่วย แต่มันเกิดจากอาการของโรค เพราะฉะนั้นเราอย่าเสียเวลาไปเถียงซึ่งไม่เกิดประโยชน์ แต่ให้ใช้วิธีหาทางเบี่ยงเบนประเด็นไปคุยเรื่องอื่นที่ทำให้สบายใจดีกว่า แล้วผู้ป่วยจะลืมเรื่องที่พูดไปเอง หรือให้ชวนคุยเรื่องการเข้าวัด ปฏิบัติธรรมให้ใจสบายจะดีกว่า
 

ในระยะที่ 3

   ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน ไม่สนใจตัวเอง เช่น ใส่เสื้อผ้า และ ใส่รองเท้าสลับข้าง และมีพฤติกรรมอยากออกนอกบ้าน อยากไปโน่นไปนี่ ซึ่งบางทีกลางค่ำกลางคืนเราหลับอยู่เขาขับรถออกไป ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุการณ์ที่อันตราย และมีพฤติกรรมประหลาดๆ ด้วย มีหูแว่ว หวาดระแวงคิดว่าจะมีคนมาทำร้าย จะคิดว่าลูกมาขโมยเงินบ้าง การดูแลในระยะนี้ให้ใช้ยาช่วย มิฉะนั้นจะอยู่ร่วมกันลำบาก
 

ระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย อุจจาระปัสสาวะเรี่ยราด ไม่เคี้ยวอาหาร จำเป็นต้องให้อาหารเหลว  ถ้าเป็นมากขึ้น สมองก็จะทำงานน้อยลงเรื่อย และอาจเสียชีวิตได้
 
 

ถ้าเป็นโรคอัลไซเมอร์ แล้ว... รักษาอย่างไร?

 
โรคอัลไซเมอร์
 
ความรัก และ ความเข้าใจ คือ สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุด

 
 
ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในระยะอาการไหน  ผู้ป่วยก็ต้องการ “คนดูแลที่เข้าใจ” และดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ผู้ป่วยมีการบริหารสมอง ฝึกการใช้สมอง ไปเรียนคอมพิวเตอร์ หรือเรียนดนตรี (ถ้ายังพอไหว) ไปพบปะเจอะเจอบุคคลต่างๆ  นี่ก็คือการบริหารสมองอีกแบบหนึ่ง  ส่วนเรื่องของยาให้ดูไปตามระยะของโรค
 
ระยะ 1-2 เราอาจใช้ยาบางอย่างในการช่วย ”ชะลอโรค” ได้
 
ระยะ 3-4 มีแต่ยาที่ช่วย ”คุมอาการ” เท่านั้นเอง จะได้ไม่ทำให้เราลำบากในการดูแลอาการต่างๆ ที่ผู้ป่วยมี  เช่นอาการหูแว่ว ประสาทหลอน กระวนกระวาย วิตกกังวล นอนไม่หลับ ส่วนวิธีการรักษาโดยยาแผนปัจจุบัน นั้นคือ การประคับประคองอาการของโรค ซึ่งปัจจุบันนี้ก็คิดวิธีซ่อมเซลล์สมอง เข้าไปกระตุ้นเซลล์ให้เซลล์ซ่อมตัวเอง
 
ผู้ดูแล... ควรดูแลตามอาการ และในเรื่องของตารางเวลา สุขอนามัย
 
 

ไม่อยากเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะป้องกันอย่างไร?

 
อันดับแรก เราต้องทราบสาเหตุก่อนว่าโรคนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง เช่นภาวะจากความเครียด อนุมูลอิสระ ภาวะของเสียในสมองฯลฯ และจะหลีกเลี่ยงอย่างไร ในขณะเดียวกันก็ต้องเรียนรู้การป้องกันโรคนี้ เช่น ศึกษาวิธีการทำให้คลื่นสมองสามารถอยู่ในภาวะที่ซ่อมตัวเองได้ เช่นการ นั่งสมาธิ ก็จะช่วยได้ทางหนึ่ง
 
 

“โรคอัลไซเมอร์” เกิดจากวิบากกรรมอะไรบ้าง

 
 
โรคอัลไซเมอร์ นั้นเกิดจากวิบากกรรมอะไร นั้น จะมีสาเหตุเด่นๆ อยู่ประมาณ 4 อย่างคือ
 

ประการที่ 1 คือ กรรมมุสาวาทะ คือ การพูดปด นั้นเอง เนื่องจากเมื่อเราพูดปดนั้น ภาพที่ไม่จริงจะเกิดขึ้นในใจ เมื่อพูดบ่อยๆ เข้า คนพูดเองจะเกิดความสับสน และจำเรื่องที่พูดไม่ได้ เช่นความจริงมีอยู่หนึ่งเดียวและภาพจะปั๊มอยู่ในใจ ต้องพูดเรื่องจริงเสมอภาพจะหนักแน่น คนที่พูดปดทั้งในชาตินี้และอดีตชาติจะมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนที่พูดจริง

 
ดื่มสุรา
วิบากกรรมจากการดื่มสุราเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ให้สมองเสื่อม
 
 
ประการที่ 2 คือ วิบากกรรมจากการ “ดื่มสุรา” ปกติคนที่ดื่มเหล้า เมื่อดื่มแล้วมึนๆ ความจำก็ชักจะเบลอๆ ยิ่งเมื่อเมาแล้ววิบากกรรมจากสุรา  น้ำเมา ยาเสพติดทุกชนิด จะทำให้สติเราบั่นทอนลงไป แล้วผลในอนาคต ไม่ใช่แค่เพียงวิบากกรรมทางสรีระทางสมองเท่านั้น แต่ยังส่งผลข้ามภพข้ามชาติด้วย
 

ประการที่ 3 คือ กรรม “ปาณาติบาต” การไปเบียดเบียนชีวิตคนอื่น

 
กรรมจากการดูถูกคนอื่น
การดูถูกผู้อื่นว่าต่ำต้อยกว่าตนนั้นก็เป็นอีกวิบากกรรมหนึ่งที่ส่งผลให้ "สมองเสื่อม"
 
 

ประการที่ 4 คือ กรรม “การไปดูถูกคนอื่น”  ใครที่สมองดีๆ หน่อยแล้วไปดูถูกคนอื่นว่า “โง่” กว่าเรานั้น จะส่งผลให้เป็นวิบากกรรมดังกล่าว

 
 

กรรมอะไรที่ทำให้เราต้องมาดูแลผู้ป่วยประเภทนี้?

 
 
ผู้ดูแลเองหรือผู้ที่มีญาติเป็นอย่างนี้ก็เนื่องจากวิบากกรรม “สนับสนุน” ให้ผู้ป่วยทำกรรมทั้ง 4 นั่นเอง ดังนั้นเมื่อต้องดูแลกันแล้วก็ขอให้ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ ทำให้ดีที่สุด ทำอย่างอดทน  แล้วอย่าก่อวิบากกรรมใหม่อีก      
 
 
อธิษฐานดีๆ ทำทาน ศีล ภาวนา ให้ครบ แล้วตัดให้ "จบ" ในชาตินี้
 
 
โรคอัลไซเมอร์แก้ได้ด้วยการนั่งสมาธิ 
 
การนั่งสมาธิเพื่อสร้าง "ปัญญา" เป็นทางออกของปัญหาทั้งปวง
 
 
...ทุกอย่างไม่มีเหตุบังเอิญ ล้วนมีที่มาที่ไปทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น อย่าถามเลยว่า “ทำไมต้องเป็นเรา”...
 
 
รับชมวิดีโอ
 
[[videodmc==39590]]
 
[[videoprogram==the_world_and_dhamma]]
 
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับอัลไซเมอร์ ?
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/อัลไซเมอร์-ทันโลก-ทันธรรม-สมองเสื่อม.html
เมื่อ 4 กรกฎาคม 2567 10:25
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv