เศรษฐกิจฟองสบู่

เศรษฐกิจฟองสบู่
เรียบเรียงมาจาก รายการ ทันโลก ทันธรรม
 
 

 
 
รู้ทันเศรษฐกิจฟองสบู่


 เศรษฐกิจฟองสบู่
ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องฟองสบู่ราคาสินทรัพย์
หุ้น บ้านที่ดินมีราคาเพิ่มสูงขึ้น
 
 
     ถ้าติดตามข่าวเศรษฐกิจช่วงนี้จะพบความกังวลเกี่ยวกับเรื่องฟองสบู่ ราคาสินทรัพย์จะเป็นหุ้น บ้าน หรือที่ดินมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้คนสนใจที่จะลงทุนแต่ก็กล้าๆ กลัวๆในความเสี่ยง เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้นักเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อไหร่จะเกิดภาวะฟองสบู่หรือยังไม่เกิด  ทำให้หลายๆครั้งเกิดฟองสบู่แตกทำให้ผู้คนไม่ทันตั้งตัวและ เศรษฐกิจทั้งระบบต้องล้มลงและทรุดลงอย่างทันตา
 

     เศรษฐกิจฟองสบู่ คือ ภาวะที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานที่ชัดเจนซึ่งเหตุผลของเศรษฐกิจฟองสบู่เกิดจากการเก็งกำไร  มีความคาดหวังว่าสิ่งหนึ่งจะมีมูลค่าสูงขึ้นมาก  จึงมีการลงทุนตรงจุดนั้นมากเมื่อมีการลงทุนมากก็เกิดดีมานด์มาก ทำให้เกิดราคาสูงขึ้นมากและมีการเก็งกำไร เกิดความเชื่อว่าจะทำให้ราคาสูงขึ้นที่ทำให้เศรษฐกิจเป็นฟองสบู่ คือ แมงเม่า ถ้าไม่มีแมงเม่า หรือ Zero-sum game (แมงเม่า คือ ผู้ซื้อรายย่อย) เป็นการที่เศรษฐีคนหนึ่งเสียเงินและเศรษฐีอีกคนหนึ่งได้เงิน
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
 เศรษฐกิจฟองสบู่ เกิดจากการเก็งกำไรจากกลุ่มผู้หวังผลประโยชน์
 
 
     หลักการของการเก็งกำไรคือเราซื้อเราลงทุน เมื่อมีคนหนึ่งเข้ามาเก็งกำไรต่อ ถ้าคนไหนได้กำไรก็ได้ไปแต่ถ้าคนไหนเสียก็เสียไป แต่เงินลงทุนก็ยังหมุนเวียนอยู่ระหว่าง 2 กลุ่ม เงินไม่ได้เพิ่มขึ้นแค่เปลี่ยนมือผู้ถือเงิน แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อแมงเม่าเข้าไป เช่น มองเห็นว่าที่ดินตรงนี้ราคาขึ้น คอนโดที่มีราคาสูงก็ไปกู้แบงค์มาซื้อ เหมือนกับประเทศสหรัฐอเมริกาตอนที่เกิดภาวะฟองสบู่เรื่องที่ดิน  เมื่อเศรษฐกิจเจริญมากขึ้นคนจึงเริ่มซื้อบ้านหลังที่ 2 หลังที่ 3 เพื่อเก็งกำไร เพราะในอนาคตที่ตรงนี้จะเจริญขึ้น แต่สุดท้ายกำลังซื้อไม่พอเศรษฐกิจตก เงินไม่พอจ่ายก็ต้องถูกบังคับขาย ราคาตกแบงค์ก็ล้มเศรษฐกิจล้มเสียหายระบบนี้คือฟองสบู่เป็นการสร้างดีมานด์ที่ไม่จริง 
 
 
     และเมื่อผู้ซื้อรายย่อยเข้าไปโดยใช้เงินกู้ใช้เงินเก็บเข้าไป ตัวอย่างเช่น ในปี 1600 เรื่องราคาดอกทิวลิป ทิวลิปนำเข้ามาในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ผลิตขึ้นมาส่งออก มีการเก็งกำไรทิวลิปไปทั่วโลก เมื่อราคาต้นกล้าทิวลิปขึ้นโดยมีคนปั่นราคาและชักชวนลงทุน  แต่เมื่อราคาขึ้นระดับที่สูงที่สุดแล้วก็ไม่มีใครซื้อราคาก็ดิ่งลงทันที  เสียหายถึงขั้นเศรษฐกิจที่เนเธอร์แลนด์พังซึ่งเกิดเมื่อประมาณ 400 ปีที่แล้ว เมืองไทยเราเจอช่วงต้มยำกุ้งผู้ซื้อรายย่ยก็กว้านซื้อเพราะเห็นหุ้นกำลังขึ้น แต่เมื่อหุ้นได้กำไรเกิดการปล่อยขายหู้นก็ตก ผู้ซื้อรายย่อยเกิดการขาดทุน


   ปัจจัยที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่


1. ความโลภ ความโลภของคนที่ไม่สิ้นสุด

2. ความคาดหวัง
คาดหวังว่าหุ้นจะสูงขึ้นเรื่อยๆไม่มีวันตก

   
 
   เหมือนกับราคาทองคำเกิดจากการซื้อมีคนซื้อที่มากกว่าคนที่ใช้จริง ทองคำที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและที่ใช้ในเครื่องประดับมีความต้องการใช้จริง 30% อีก 70% เป็นเรื่องของการเก็งกำไรเพราะคาดหวังว่าราคาทองจะต้องเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จึงซื้อเก็บไว้  แต่พอถึงจุดหนึ่งคนต้องใช้เงินคนเลยต้องขายเมื่อเกิดการขายพร้อมๆ กัน ราคาทองก็ตกลงมา
 

 เศรษฐกิจฟองสบู่
กำลังซื้อทองมากกว่าความต้องการใช้จริง
 
 
   ปัจจุบันไม่ว่าธนาคารหรือโรงรับจำนำทองคำต้องขาดทุนเหมือนกัน นี่คือเรื่องที่เกิดจากความคาดหวังว่าราคาต้องขึ้นไม่มีลง แต่ความจริงทุกอย่างไหลไปไหลมาหมด ต้องเซ็ตฐานราคาใหม่เพราะมันไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง สำคัญเราต้องดูปัจจัยพื้นฐาน ระวังการปล่อยข่าวลือเรื่องหุ้นไทยที่เขยิบขึ้นสูง ซึ่งเกิดจากคนที่หวังผลเพื่อปั่นหู้นของตัวเอง เพราะต้องการให้มีคนเข้าลงทุนหวังผลกำไรในระยะสั้นและระยะกลาง  เป็นเทคนิคที่เกิดขึ้นจากการดึงผู้ซื้อรายย่อย  เมื่อถึงเวลาตัวเองได้กำไรก็ปล่อยเพื่อชดเชยภาระการขาดทุนของตนเองแต่คนที่เสียหายที่สุดคือผู้ซื้อรายย่อย  เพราะทุกเรื่องเกิดจากความโลภของมนุษย์ในการหาเงิน  ฉะนั้นข่าวลือต่างๆถ้าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริงอย่าฟัง เพราะถ้าเราจะทำธุรกิจด้านการซื้อขายหุ้นเราต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง                           


มิติที่ใช้ตัดสินการเกิดสภาวะฟองสบู่


1. ราคาสินทรัพย์  ราคาสินทรัพย์ได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่เป็นหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น คอนโด ถ้ากำลังซื้อเยอะยังมีคนต้องการซื้อคอนโดหลังที่ 2-3 เพื่อเก็งกำไร ราคาต้องปรับแน่นอนแต่ถ้าหากยังถือได้ต่อราคาก็ไม่ลง ความสามารถในการถือลดลง เข้าสู่มิติที่ 2

2. ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ ถ้าเกิดเห็นคอนโดหลังหนึ่งขายหมดแล้วแต่มีคนอยู่แค่ 10% แปลว่าไม่มีการใช้ประโยชน์จากสื่งที่มีอยู่ วิธีแรก คือ ดูราคาว่าสูงเกินไปรึเปล่า อย่างที่สอง คือ คอนโดที่ซื้อแล้วแต่ไม่มีคนอยู่  


 เศรษฐกิจฟองสบู่
การซื้อเพื่อเก็งกำไรในอนาคตที่ไม่แน่นอน
 
 
3. ความถี่ของการซื้อขาย ถ้าหากราคาดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นแต่ความถี่ซื้อขายก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ก็เป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นว่าอาจเกิดฟองสบู่ขึ้น เพราะมีการเปลี่ยนมือกันบ่อย คนที่เก็งกำไรก็ขายต่อหรือคนที่ถือต่อไม่ได้ยอมตัดกำไรลงมา ยิ่งมีการขายมากเท่าไหร่ที่มีแนวโน้มว่าสูงราคาจะตกลงมา เมื่อคนขายมีมากกว่าคนซื้อราคาก็ตก

4. จิตวิทยา ถ้าสังเกตจะเห็นว่าช่วงก่อนเกิดภาวะฟองสบู่ทุกอย่างดูปกติ คนจะมองโลกในแง่ดี เศรษฐกิจกำลังเจริญ ราคาสินทรัพย์เพิ่ม แบงค์ปล่อยสินเชื่อเยอะ ราคาหุ้นที่ถีบตัวขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว เป็นลักษณะทางจิตวิทยาที่คนจะไม่ฟังคำเตือน ไม่ว่าจะมีใครออกมาเตือนเพราะมองภาพรวมว่าทุกอย่างเป็นปกติ ให้คิดได้เลยว่าอาจเข้าใกล้สภาวะฟองสบู่แตก

    
วิธีการป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่
 

     เศรษฐกิจฟองสบู่เป็นเรื่องที่ต้องผนวกกันทุกฝ่าย อย่างแรกคือรัฐบาลฝ่ายที่ดูแลทางด้านนี้ต้องไม่มองโลกในแง่ดีเกินไปและไม่เก็บงำข้อมูล  เมื่อถึงเวลาออกมาเตือนประชาชนก็ออกมาเตือนอย่างเป็นระบบ  ต้องบอกสภาวะสภาพที่แท้จริงดูเหตุภาพรวมและนโยบายต่างๆซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ควรที่จะวางนโยบายชะลอ กรณีถ้าหากมีแนวโน้มภาวะฟองสบู่แบงค์ชาติรวมทั้งองค์กรต่างๆ ต้องรัดเข็มขัดเรื่องวินัยทางการเงิน
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
 การเจริญเติบโตของประเทศต้องควบคู่กับเศรษฐกิจที่ดี
 
 
     รวมทั้งตลาดหุ้นก็ต้องแตะเบรกฉะนั้นก็เป็นเรื่องของการยืดหยุ่น ในมิติหนึ่งคือเรื่องของการเจริญของประเทศ เศรษฐกิจของประเทศ แต่อีกมิติหนึ่งคือป้องกันไม่ให้เกิดฟองสบู่ต้องเชื่อมโยงกัน รวมทั้งประชาชน อย่าเชื่อข่าวลือ ไม่รู้จริงอย่าเสี่ยงและอย่าให้ความโลภบดบังใจตัวเองทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ  เมื่อเงินไหลไปก็ต้องมีการโยงใยต่อเงินก็ไหลไปไม่หยุด
 
     ถ้าตรงไหนที่มีศักยภาพ เช่น หุ้นประเทศไทยต่ำเงินจะไหลมาที่เรามีปัญหาเงินร้อนกันอยู่ตอนนี้  เพราะเงินไหลเข้ามาหุ้นก็ถีบขึ้นถ้าผู้ซื้รายย่อยที่เข้ามาถ้าได้กำไรพอแล้ว ก็จะไปมองประเทศที่กำลังแย่แต่ต้องเป็นประเทศที่มีศักยภาพ  เมื่อเรามีเงินลงทุนก็มีแนวโน้มว่าจะไปได้ดีก็เริ่มช้อนหุ้นแล้วปล่อยทั้งหมด  แต่คนที่เดือดร้อนคือผู้ซื้อรายย่อยที่เข้ามาแต่ไม่รู้ว่าควรปล่อยหุ้นเมื่อไหร่  เพราะฉะนั้นไม่มีใครรู้เลยว่าจังหวะอยู่ตรงไหน ขึ้นอยู่กับข่าวลือ และข่าวต่างๆทั่วทุกมุมโลก ภาวะของยุโรป ภาวะของอเมริกากระทบหุ้นทั้งหมดกระทบความเชื่อมั่นจึงเกิดการเทขายหุ้น  

 
เมืองไทยจะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่อีกหรือไม่


      ปัจจุบันสภาวะในเมืองไทยยังไม่ได้เข้าขั้นเศรษฐกิจฟองสบู่ แต่หลายสิ่งเริ่มมีการเก็งกำไร ตัวอย่างเช่น ที่ดินหนองคาย ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆเพราะมีการเก็งกำไร แต่ถ้าหากว่าคนที่ซื้อสามารถถือต่อได้มีศักยภาพในการซื้อจริงเป็นคนมีสตางค์ราคาก็ไม่ตก  และมีเงินเพื่อพัฒนาต่อ ราคาหุ้นก็ยังไม่ได้สูงจนเกินไป อัตราการเจริญเติบโตของแต่ละบริษัทก็ยังอยู่ในภาวะที่เป็นไปตามระบบ
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
 ผลจากการเก็งกำไรเป็นตัวก่อภาวะฟองสบู่
 

      สิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นเรื่องระบบของโครงสร้างพื้นฐานการลงทุน 2 พันล้านล้าน ทำให้หุ้นเพิ่มขึ้น 1% ตลอดต่อเนื่อง 7 ปีส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพเงินก็ไหลเข้ามา เพราะถ้าหากไม่มีมาตรการทางการเงินที่มีวินัย  ก็สามารถจะควบคุมว่าเมื่อถึงเวลาหนึ่งต้องมีการเทขายหรือบังคับขาย  หุ้นตกลงไปแล้วความเสียหายก็ถูกควบคุมได้  แต่ว่าระบบเศรษฐกิจแบบนี้เงินที่อยู่ในกระแสโลกวิ่งไปวิ่งมาไม่อยู่กับที่  เมื่อถึงจุดอิ่มตัวของประเทศไทยก็ไปประเทศอื่นต่อ แต่เราจะรู้ทันและป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่ได้หรือไม่อย่างไร เพราะนี่คือส่วนของทันโลก
 
  
ส่วนของทันธรรม
โดย พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) 


รู้ทันเศรษฐกิจฟองสบู่
 
 
     ยุคนี้เศรษฐกิจฟองสบู่เราระวังกันมากเพราะถ้าหากเกิดขึ้นสะเทือนหนัก ประเทศไทยเจอหนักที่สุดครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่ฟองสบู่แตก ผลข้างเคียงคือค่าเงินบาทที่ร่วงลงมาจาก 1 ดอลลาร์แลกได้ 25 บาท กลายเป็น 57 บาท ธุรกิจน้อยใหญ่ล้มระเนระนาด ไฟแนนซ์ปิดตัวลงกว่า 50 แห่ง สหรัฐอเมริกาก็เคยเกิดฟองสบู่เมื่อตอนที่อสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำเกิดปัญหาแบงค์ล้ม  ต้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยไว้สะเทือนทั้งประเทศและสะเทือนไปทั่วโลก  
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
วิกฤติต้มยำกุ้งเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2540 
 
 
     เกิดจากความโลภที่มุ่งแสวงหาผลกำไรโดยการเก็งกำไร แต่ถ้าทุ่มเทกับการผลิตฟองสบู่ไม่ได้เป็นปัญหา  แต่เมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่แท้จริงแต่ใช้การเก็งกำไรเป็นตัวนำมากไป ผลที่ตามมาคือเกิดฟองสบู่ ความโลภมนุษย์มากเกินเหตุ แต่เมื่อฟองสบู่แตกก็เป็นปัญหาเดือดร้อนกันถ้วนหน้า  ทั้งคนที่เก็งกำไรและคนที่ไม่ได้เก็งกำไรก็สะเทือนไปด้วย     


พระพุทธเจ้าให้แนวทางในการบริหารเศรษฐกิจให้เจริญอย่างพื้นฐานมั่นคงอย่างไร?

  
     ในพระไตรปิฏก กูฏทันตสูตร พระองค์เล่าไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระองค์บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ มีชาติหนึ่งที่พระองค์เกิดเป็นกษัตริย์มีอำนาจมากทรงพระนามว่า พระเจ้ามหาวิชิตราช ขยายอาณาเขตกว้างขวางมาก ขณะนั้นมีชาวบ้านราษฏรยากจน ลำบาก เดือดร้อนเป็นโจรกันบ้างมีความไม่สงบเกิดขึ้น แต่พระองค์มองการแก้ปัญหาอย่างเฉียบคม โดยการแบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนระดับบน และ กลุ่มคนระดับล่าง คนระดับบนเศรษฐกิจดีอยู่แล้วแต่คนที่ต้องช่วยเหลือเป็นกลุ่มคนระดับล่างคือรากหญ้า  ท่านแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ถ้าเปรียบเทียบจากปัจจุบัน


1. กลุ่มผู้ใช้แรงงาน  ไม่ว่าจะเป็นแรงงานการเกษตร เกษตรกรรายย่อย หรือเป็นคนงานตามโรงงานต่างๆเป็นต้น  กลุ่มนี้ท่านบอกไว้ว่าให้อุดหนุนอุปกรณ์การทำงานของพวกเขา เช่น ถ้าเป็นการเกษตรก็ให้พืชพันธุ์ เมล็ดพันธุ์พันธุ์ดี แต่การช่วยให้ช่วยคนที่ขยันไม่ได้ช่วยทุกคนเท่ากันหมด แบบนี้ไม่มีแรงจูงใจ ต้องคัดเลือกแล้วเลือกช่วยคนที่ขยันเพราะคนที่เอาการเอางานเมื่อเราให้ไปหนึ่งเขาจะขยายผลให้กลายเป็นสิบ  แต่คนที่ขี้เกียจให้ไปหนึ่งก็กินใช้หมด แต่ถ้าเลือกช่วยคนขยัน ตั้งใจ ทุ่มเททำงาน ลงไปแล้วเกิดประโยชน์เศรษฐกิจมีการหมุนเวียน 


 เศรษฐกิจฟองสบู่
กลุ่มคนระดับล่าง
 
 
2. กลุ่มพ่อค้า แม่ค้ารายย่อย คือ ทำให้เขามีอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ถ้าเป็นอย่างในปัจจุบัน เช่น สินค้า OTOP หรือ การตั้งกองทุน SME มีกองทุนหมู่บ้านกู้ยืม พ่อค้า แม่ค้ารายย่อยก็สามารถไปกู้ยืมไปลงทุนได้  แต่ช่วยให้เขามีต้นทุนในการทำธุรกิจเล็กๆของตัวเองให้ค่อยๆยืนหยัดขึ้นมาได้ แต่ท่านก็บอกไว้ว่าต้องเลือกช่วยพ่อค้า แม่ค้ารายย่อยที่ขยันเอาการเอางาน ถ้าให้คนขยันย่อมได้คืนกลับมาดีกว่าให้คนขี้เมาเพราะหนี้ไม่ได้คืน เพราะให้ต้องมีประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย ต้องฉลาดในการให้ไม่ได้ให้หว่าน 
 
3. กลุ่มข้าราชการระดับล่าง ต้องดูให้เขายืนหยัดอยู่ได้เขาจะสามารถทำหน้าที่ตัวเองได้ สวัสดิการ การดูแล ครอบครัวเขาเจ็บป่วย ปัจจัย 4 ให้พออยู่พอสมเพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารราชกิจต่างๆ ให้ราบรื่นเรียบร้อยต่อไป แต่การจะทำได้พระองค์จะขอความร่วมมือจากคนระดับบน 4 กลุ่ม 

1. กลุ่มกษัตริย์ เช่น เจ้าเมืองประเทศราช เป็นต้น อยู่ในสายปกครอง ถ้าเทียบกับปัจจุบัน คือ กลุ่มการเมือง
 
2. กลุ่มอำมาตย์ถ้ายุคปัจจุบัน คือ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น อธิบดี ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระดับ ซี9  ซี10 ซี11 กลุ่มเหล่านี้ก็มีความสำคัญเพราะคุมกลไกการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กลุ่มการเมืองมาบริหารประเทศจะทำงานจริงๆก้ต้องอาศัยกลุ่มข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นมือเป็นไม้ให้
 
3. พราหมณ์มหาศาล ถ้ายุคปัจจุบัน คือ กลุ่มคนที่มีอำนาจในการชี้นำความคิดให้กับสังคม เป็นกลุ่มนักวิชาการและสื่อมวลชน จะขียน จะพูดอะไร ก็สามารถชักนำความคิดคนได้ ถ้าชี้ถูกทุกอย่างก็ดีราบรื่น แต่ถ้าชี้ผิดผู้บริหารประเทศจะทำให้เกิดความเจริญแต่นักวิชาการและสื่อมวลชนชี้นำว่าไม่ดีปัญหาเกิดปั่นป่วนทันที  เพราะฉะนั้นจะบริหารประเทศให้ราบรื่นต้องได้รับความร่วมมือจากกลุ่มวิชาการและสื่อมวลชน
 

 เศรษฐกิจฟองสบู่
กลุ่มคนระดับบน
 

4. คหบดีมหาศาล เศรษฐีมหาศาล  คือ นักธุรกิจรายใหญ่คนเหล่านี้มีทรัพย์มาก รวย กลุ่มข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เด่นเกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานข้าราชการแผ่นดิน อำนวยความสะดวกให้ทุกอย่างนโยบายที่ออกมาสามารถทำจริงในเชิงปฎิบัติ  เอานโบายไปผลักดันจนกระทั่งเกิดผล  วิธีการจะช่วยเริ่มจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่นำนโยบายไปขับเคลื่อน ไม่ใช่จับเงินใส่แล้วเงินจะไปถึงประชาชน ให้นโยบายคัดคนโดยอาศัยกลไกราชการเข้ามาช่วยซึ่งคนคุมกลไกคือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ส่วนกลุ่มการเมือง เช่น รัฐมนตรีในปัจจุบัน เจ้ากระทรวงต่างๆ ช่วยกันผลักดันนโยบายลงไปสู่ภาคปฎิบัติ เพราะผู้นำคนเดียวทำงานไม่ได้จำเป็นต้องร่วมมือกันลดหลั่นลงไป ทุกอย่างประกอบเป็น 4 กลุ่มจะราบรื่น 

           สังเกตว่าเมื่อถึงคราวที่พระองค์เริ่มนำทรัพย์สินในพระคลังไปช่วยประชาชนเมื่อเริ่มต้น ทั้ง 4 กลุ่มนี้สังเกตดูก่อนว่าทำจริงหรือไม่ เมื่อเห็นว่าพระองค์ทรงทำจริงทุกฝ่ายออกมาช่วยกันจะเอาทรัพย์มาถวายแต่พระเจ้าวิชิตราชไม่รับ บอกกลับไปว่า "ทรัพย์สินที่เรามีอยู่ก็มาจากภาษีอากรของประชาชน นำไปช่วยประชาชนย่อมถูกต้องแล้วถ้าจะเอามาให้เราอย่าเลย แต่สมทบไปให้ประชาชนจะดีกว่า" คนเหล่านี้ก็ต่างชื่นชมและมีส่วนร่วมช่วยประชาชน
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
ถ้าทุกคนร่วมมือกันไม่เอาแต่ผลประโยชน์ประเทศก็เจริญ
 

     ถ้าเป็นยุคปัจจุบันก็เหมือนกับทางผู้บริหารประเทศควรมีนโยบายในการช่วยประชาชนอย่างฉลาด ช่วยคนที่แข็งแรงเอางานเอาการ ไม่ยุ่งอบายมุข ขยันทำงาน เพราะเมื่อใส่งบประมาณระดับล่างผลที่ตามมาคือเศรษฐกิจจะหมุนรายรอบ คนมืเงินไปลงทุนทำไร่ ไถนาก็มีรายได้มาใช้จ่ายซื้อของ เครื่องใช้ อาหารการกิน ปัจจัย 4
 
      เมื่อมีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นก็มีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นวนกันเป็นวงกลม  ทุกอย่างจะเกิดผลดีตามกันมาเศรษฐกิจสะพัดในประเทศ ทุกกระบวนการภาษีก็จะกลับเข้ามาสู่รัฐบาล ถ้าช่วยแบบฉลาดไม่ได้ช่วยแบบหว่าน แต่ลงไปช่วยคนที่ควรช่วยแต่เลือกช่วย รัฐบาลการคลังอยุดได้และมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทั้งประเทศ ประชาชนก็เข้มแข็ง รัฐบาลเข้มแข็ง ธุรกิจเข้มแข็งทุกอย่างดีขึ้นหมด
 
     ดังนั้นถ้ารัฐบาลโน้มน้าวกลุ่มระดับบน 4 กลุ่มมาช่วยกันออกนโบายชวนกันให้มาช่วยประชาชนและใครที่มาร่วมได้รับสิทธิพิเศษเรื่องภาษี  นำมาลดหย่อนภาษีได้เป็นแรงจูงใจให้กลุ่มธุรกิจมาช่วยประชาชน อย่างเช่น พระเจ้ามหาวิชิตราช ท่านกล่าวว่า "ถ้าท่านไปช่วยประชาชนเราจะสมทบให้อีก"  สร้างแรงจูงใจถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในกลุ่มธุรกิจทุกคนแข่งกันช่วยประชาชน
 
    เมื่อภาพลักษณ์ดีธุรกิจก็ย่อมเจริญก้าวหน้า ถ้ากระแสสังคมเป็นไปอย่างนี้ระเบียบราชการ ระเบียบภาษี การสร้างแรงจูงใจในสื่อมวลชน นักวิชาการ ราชการชั้นผู้ใหญ่ให้ความร่วมมือเต็มที่ขับเคลื่อนนโยบายเต็มกำลัง  กลุ่มการเมืองในท้องถิ่นและส่วนกลางต่างช่วยกันคนละไม้คนละมือ รับรองว่าเศรษฐกิจเจริญทั้งประเทศ ไม่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจที่เก็งกำไรจนเกินไปอย่างนี้ฟองสบู่ไม่เกิด แต่จะแข็งแรงเข้มแข็งทั้งประเทศ         
 
 
การเก็งกำไรที่ไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
 
 
     การเก็งกำไรที่มีอยู่ในระดับควบคุมในแง่มุมหนึ่งก็ทำให้เศรษฐกิจไหลลื่น เช่น คนนี้ทำให้ธุรกิจดีเจริญก้าวหน้าค่อยๆเก็บเงินมาเอากำไร เพื่อขยายงานที่ช้าต้องใช้เวลานาน ตัวอย่าง Google ค่อยๆขยายงานไป อาจจะมีมูลค่าหุ้นทั้งบริษัทตัวทรัพย์สินแค่ 1 ล้านบาท แต่คนมองว่ามีอนาคต คนอาจจะยอมซื้อหุ้น 5 พันล้านเพราะดูว่าอนาคตจะดีเขาเลือกซื้ออนาคต เมื่อซื้อเจ้าของ Google ก็มีเงินมาลงทุนขยายงานมูลค่าหุ้นก็เกินพันล้านสามารถโตได้หลายเท่า
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
 ผู้บริหารบริษัท Google
 
 
     ในแง่มุมนี้การเก็งกำไรอนาคตก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายต้องดูพื้นฐานที่เหมาะสม ไม่เกินขอบเขตไม่ใช่การเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐานรองรับ  เพราะฉะนั้นการเก็งกำไรต้องอยู่บนพื้นฐานที่เหมาะสมและมีการใช้ประโยชน์จริง  ผู้บริหารประเทศต้องดูให้ออกอย่าดูแค่ปัจจุบันว่าตัวเองบริหารประเทศดีแค่ปีสองปี แต่หลังจากนั้นเกิดฟองสบู่แตกไม่ได้ ต้องมองระยะยาวและกล้าหาญในการตัดสินใจ  การตัดสินใจระดับประเทศทุกครั้งต้องมีคนได้รับผลกระทบ คนได้ประโยชน์ก็เฉยแม้จะเป็นคนส่วนใหญ่ 90% แต่คนอีก 10% ที่เสียประโยชน์กลับไม่พอใจ  ผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีความกล้าหาญเพียงพอในการตัดสินใจที่ถูกต้องและขับเคลื่อนนโยบายเพื่อระยะยาว ถ้ามีวิสัยทัศน์ก็พาประเทศชาติไปรอดได้ เหมือนพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงพัฒนาประเทศของพระองค์


รับชมวิดีโอ
 
[[videodmc==45120]]
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/เศรษฐกิจฟองสบู่.html
เมื่อ 3 กรกฎาคม 2567 16:34
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv