ธรรมธาตุกับธรรมรังสีมีความหมายอย่างไร

ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งธรรม ถ้าไม่มีธาตุ ธรรมก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีธรรม ธาตุอยู่ไม่ได้เหมือนกัน ธาตุและธรรมอาศัยกันและกัน ตัวเราเองก็เป็นธาตุที่ตั้งแห่งธรรม ถ้าธาตุของเราถูกธรรมกลั่นมากๆ ธาตุของเราก็บริสุทธิ์ เรียกว่า “ธรรมธาตุ” https://dmc.tv/a12315

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 5 ต.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18278 ]
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 

คำถาม: ธรรมธาตุกับธรรมรังสี มีความหมายอย่างไรครับ?

 
คำตอบ:  ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งธรรม ถ้าไม่มีธาตุ ธรรมก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีธรรม ธาตุอยู่ไม่ได้เหมือนกัน ธาตุและธรรมอาศัยกันและกัน เหมือนความร้อนกับแสงสว่าง เราจุดไฟก็มีแสงสว่างเกิดขึ้นพร้อมกับความร้อน
 
แสงสว่างที่ออกมาจากธรรมธาตุที่บริสุทธิ์มากๆ เรียกว่า ธรรมรังสี
แสงสว่างที่ออกมาจากธรรมธาตุที่บริสุทธิ์มากๆ เรียกว่า ธรรมรังสี
 
        ตัวเราเองก็เป็นธาตุที่ตั้งแห่งธรรม ถ้าธาตุของเราถูกธรรมกลั่นมากๆ ธาตุของเราก็บริสุทธิ์ เรียกว่า “ธรรมธาตุ” พอบริสุทธิ์มากๆ รังสีก็ออกเป็นความสว่าง แสงสว่างที่ออกมาจากธรรมธาตุที่บริสุทธิ์มากๆ เรียกว่า “ธรรมรังสี ” ธรรมธาตุบริสุทธิ์มากเท่าไร ธรรมรังสีก็สว่างมากเท่านั้น
 

คำถาม: แนะนำเพื่อนให้นั่งสมาธิ(Meditation) วิชชาธรรมกาย เพื่อนไม่เห็นด้วย บอกว่าธรรมเป็นการสอนให้ยึดติดในวัตถุ เพราะต้องนึกถึงดวงแก้ว นั่งแล้วก็ติดสุข ต้องฝึกแนวที่ไม่ยึดอะไรให้รู้สึกอยู่ตลอดเวลา กราบขอความกรุณาหลวงพ่อช่วยชี้แจงด้วยคะ?

 
คำตอบ:  มีแนวไหนบ้างที่ไม่ยึดอะไรเลย แม้ที่สุดที่ว่าฝึกสติน่ะ ฝึกให้รู้สติก็ต้องยึด คือยึดเอากายเอาการเคลื่อนไหวของกายเป็นสติ วิธีนี้ก็ยึดนะ ไม่ใช่ไม่ยึด แต่เขาไม่รู้ การฝึกแบบนี้ทางพระเรียกว่า “กายคตาสติ”
 
        บางคนที่กำหนดลมหายใจเข้าออก หรืออานาปานสติ ถามว่ายึดไหมติดไหม? ยึด แล้วก็ติดด้วย แต่ติดลมหายใจที่เข้าออกเอาไว้ก่อน ดีกว่าจะไปติดอย่างอื่น
 
        หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านพบว่าในการสอนคนหมู่มาก ซึ่งต่างเพศต่างวัยกัน สอนให้กำหนดองค์พระหรือดวงแก้ว ง่ายกว่าการกำหนดอย่างอื่น เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก ถ้าบอกให้เด็กๆ ทำ เด็กทำไม่ได้ แต่ผู้ใหญ่พอทำได้ นี่ยกตัวอย่าง
 
        กายคตาสติเป็นการกำหนดสติแล่นไปในกาย บางคนกำหนดอวัยวะภายในกายเป็นอารมณ์ บางคนทำได้ บางคนทำไม่ได้ บางคนไม่ว่าทำนานแค่ไหนก็ไม่ชำนาญ หลังจากฝึกมาหลายวิธีแล้ว หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ ท่านจึงแนะวิธีให้กำหนดองค์พระหรือดวงแก้วเป็นแก้วใสสว่าง ซึ่งเป็นวิธีทำกรรมฐาน วิธี ๑ ใน ๔๐ วิธี ทางพระเรียกว่า “อาโลกกสิณ” ซึ่งง่ายที่สุดแล้ว
 
        เพราะฉะนั้นไปบอกเขาก็แล้วกันว่า ที่เขาว่าไม่ติดน่ะ จริง ๆ แล้วคือติด ติดกายคตาสติ และถ้าให้คำนิยามคำว่ายึดติดว่า หมายถึงการนึกอะไรสักอย่างในขณะนั่งสมาธิละก็ การทำสมาธิทุกวิธีเป็นการยึด-ติดทั้งหมด ตามความหมายที่เขาว่านะ
                                                                                                                                                                                                                                  
        การฝึกสมาธิวิชชาธรรมกาย ต้องอาศัยการนึกภาพองค์พระหรือดวงแก้วไปชั่วคราวก่อน จะเรียกอาศัยยึดติดกับองค์พระกับดวงแก้วไปชั่วคราวก่อน จะเรียกอาศัยยึดติดกับองค์พระกับดวงแก้วก็ได้ จนกว่าเมื่อไรสมาธิมั่นคงดีแล้ว ก็จะปล่อยองค์พระปล่อยดวงแก้วเข้าไปถึงพระธรรมกายในตัว เหมือนคนนั่งเรือถึงฝั่งแล้ว ก็ต้องทิ้งเรือ เพื่อเดินทางต่อไป ไม่มีใครเขาแบกเรือเดินไปอีกหรอกนะ อย่าห่วงเรื่องติดหรือไม่ติดเลย ห่วงว่าจะขี้เกียจนั่งเสียมากกว่า
 
คำถาม: อยากทราบว่านอนทำวัตรเย็น จะผิดหรือถูกอย่างไรค่ะ?
 
การทำวัตรเช้าและการทำวัตรเย็น
การทำวัตรเช้าและการทำวัตรเย็น
 
คำตอบ:  การทำวัตรเย็นหรือทำวัตรเช้าก็ตาม เป็นการสวดทบทวนโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงไว้ตลอด ๔๕ พรรษา ที่ทรงประกาศพระศาสนา โอวาทที่พระองค์ทรงมอบให้ไว้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
 
        ๑. พระโอวาทจ้ำจี้จ้ำไช คือพูดเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น ทรงสอนว่าเกิดแล้วก็แก่ แก่แล้วก็เจ็บ เจ็บแล้วก็ตาย ตายแล้วถ้าไม่ได้ทำความดีอะไร เกิดมาชาตินี้ก็เปล่าประโยชน์
 
        ๒. พระโอวาทจร คือมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นมาเฉพาะหน้าหรือต่อหน้าต่อตาคณะสงฆ์สักเรื่อง ก็ทรงเอาเรื่องนั้นยกขึ้นเป็นเหตุในการหยิบยกหัวข้อธรรมมาอธิบายให้ฟัง หรือถ้าใครทำผิดพลาดมีเรื่องราวร้อนใจเกิดขึ้น ก็ทรงชี้หนทางแก้ไขให้
 
        เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว หาใครมาอบรมสั่งสอนแบบจ้ำจี้จ้ำไชอย่างพระองค์ไม่ได้ พระภิกษุผู้ใหญ่ท่านก็เลยให้มีการเอาพระโอวาทเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นบทสวดมนต์สวดตอนเช้าก็เรียกทำวัตรเช้า สวดตอนเย็นก็เรียกทำวัตรเย็น เป็นการสวดเพื่อทบทวนพระโอวาทนะลูก
 
        การสวดเพื่อทบทวนนั้นเป็นเรื่องของความตั้งใจจริง ความเคารพ ลูกเอ๊ย..ของแบบนี้ ถ้าไปนอนทบทวนเดี๋ยวก็หลับเสียก่อน สวดไม่ทันจบหรอก หรือถึงแม้จบแล้วค่อยหลับ ก็แสดงว่าไม่ได้ตั้งใจจริงแก้ไขตัวเองเสียใหม่นะ ตั้งใจสวดให้เป็นเรื่องเป็นราว และแสดงความเคารพในพระธรรมด้วย
 
        เมื่อสวดมนต์ไหว้พระเรียบร้อยแล้ว จะเอาบทสวดนี้เป็นคำภาวนาจนกระทั่งหลับไปนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เป็นการทำภาวนาสมาธิให้ใจตรึกอยู่ในธรรมตลอดเวลา ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการสวดทำวัตรนะ

http://goo.gl/g8d15


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related