วัดท่าพระ

วัดท่าพระเป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งอยู่ในคลองมอญ เขตบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี วัดท่าพระมีพื้นที่ ๒๓ ไร่ เศษ แต่เดิมบริเวณวัดล้อมรอบด้วยคลองมอญ บางกอกใหญ่ และแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเรียกกันว่าวัดเกาะ https://dmc.tv/a15373

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พระพุทธศาสนา > วัดในพระพุทธศาสนา
[ 17 เม.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18289 ]
 

วัดท่าพระ

 
 
วัดท่าพระ
 
วัดไทย ในกรุงเทพมหานคร
 

          ธนบุรีแดนอุดมบรมสุข          สนานสนุกหมู่นาวาท่าเรือใหญ่
 
 มากคูคลองเปี่ยมน้ำท่าการค้าไกล    สายเลือดไทยเจ้าพระยาหานที
 
   ถิ่นชายท่าขึ้นชื่อคือบางกอก          แลจำเพาะได้องค์พระชินสีห์
 
จึงเกิดวัดเกาะท่าพระขึ้นทันที       แม้บัดนี้ถมถนนคนยังลือ
 
 
 
วัดท่าพระ วัดไทย 
วัดท่าพระแต่เดิมชื่อว่าวัดเกาะ ตั้งอยู่ใกล้คลองมอญ
เขตบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี มีพื้นที่ ๒๓ ไร่ เศษ
 

วัดท่าพระ

     วัดท่าพระ เป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งอยู่ใกล้คลองมอญ เขตบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี มีพื้นที่ ๒๓ ไร่ เศษ แต่เดิมบริเวณวัดล้อมรอบด้วยคลองมอญ คลองบางกอกใหญ่ และแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเรียกกันว่า "วัดเกาะ" มีคลองเล็กๆ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ ไปจนถึงหน้าวัด ผ่านไปถึงวัดสังข์กระจายและวัดราชสิทธาราม แต่ปัจจุบันถมเป็นถนนหมดแล้ว

 
วัดท่าพระ วัดไทย 
ต่อมาได้พบหลวงพ่อเกสรลอยน้ำมาที่คลองหน้าวัด
และประดิษฐานหลวงพ่อเกสรไว้ในวิหาร จึงเรียกเป็น "วัดท่าพระ"
 

ปรวัติความเป็นมาของวัดท่าพระ

 
     ในเวลาต่อมาได้พบหลวงพ่อเกสรลอยน้ำมาที่คลองหน้าวัด ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดท่าพระแทนชื่อวัดเกาะจากเดิม  ปัจจุบันอยู่บริเวณแยกถนนเพชรเกษมตัดกับถนนจรัญสนิทวงศ์ซอย ๔ หรือสี่แยกท่าพระ
 
     อุโบสถเป็นอุโบสถสร้างใหม่ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ โดยศรัทธาในหลวงพ่อเกสร  อุโบสถมีขนาดใหญ่ผนังด้านนอกประดับกระเบื้องเบญจรงค์ลายเทพพนม ฝีมือประณีตงดงามทุกตารางนิ้ว การติดกระเบื้องเบญจรงค์จะมีลวดแสตนเลสทำเป็นหูยึดติดผนังทำให้ไม่หลุดร่อน แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานก็ตาม พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง ซึ่งทางวัดมีโครงการที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในโอกาสต่อไป ถัดลงมาเป็นพระพุทธรูปที่ลงรักไว้รอการปิดทอง ด้านซ้ายและขวาเป็นพระมหาโมคคัลลานะและพระสารีบุตร

 
วัดท่าพระ วัดไทย 
ภาพด้านนอกของอุโบสถวัดท่าพระในปัจจุบัน
 
 
    ผนังรายรอบอุโบสถงดงามด้วยภาพเขียนฝีมือช่างชั้นครู ที่ผนังด้านหลังพระประธานเขียนภาพเทพชุมนุม ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เหนือหน้าต่างเขียนเรื่องพุทธประวัติ  ช่างเขียนใช้กรรมวิธีสมัยใหม่ที่เขียนลงบนผ้าก่อนที่จะผนึกติดผนังซึ่งเป็นที่นิยม บานประตูหน้าต่างแกะสลักเรื่องพระเจ้า ๑๐ ชาติ ลายแกะสลักแต่ละบานช่างได้เขียนแบบให้มีความแตกต่างกันทุกบาน รวม ๑๔ บานทำให้ชมได้ไม่รู้เบื่อ

 
วัดท่าพระ วัดไทย 
วิหารหลวงพ่อเกสรเป็นอาคารจตุรมุข
ทางวัดสร้างครอบวิหารหลังเดิมเพื่ออนุรักษ์ไว้
 
 
     วิหารหลวงพ่อเกสรเป็นอาคารจตุรมุข ทางวัดสร้างครอบวิหารหลังเดิมเพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา  กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุและโบราณสถานตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ เป็นต้นมา สร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเกสร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัด เชื่อว่าเป็นพระพี่พระน้องกับหลวงพ่อวัดบ้านแหลม และหลวงพ่อโสธร เพราะลอยน้ำมาขึ้นที่วัดเหมือนกัน มีความศักดิ์สิทธิ์มากเช่นเดียวกัน
 
     วิหารหลวงพ่อเกสร มีศิลปกรรมโบราณครั้งอยุธยาตอนปลายที่ปรับรูปแบบจากสมัยอยุธยาตอนต้น  คือบานประตูไม้สักแกะสลักรูปทวารบาลทั้ง ๒ บาน บานประตูนี้เคยถูกขโมยลักไปผูกไว้ในแม่น้ำหน้าโรงไม้ มีนักประวัติศาสตร์ศิลปะผู้มีชื่อเสียงอธิบายไว้ว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ทำตามเดิมเหมือนอยุธยาตอนต้น เป็นรูปทวารบาลเต็มบาน ยืนบนแท่น มียักษ์แบกองค์เทวดาสวมเทริดทรงสูง (เทริด:เป็นมงกุฎรูปแบบหนึ่ง โบราณเป็นรูปกรวยสูงปลายแคบ ทำจากผ้าหรือหนังสัตว์ อลงกตด้วยอัญมณีต่าง ๆ เป็นราชภัณฑ์สำหรับกษัตริย์หรือจักรพรรดิ โดยเฉพาะในยุคเมโสโปเตเมีย ต่อมาเปลี่ยนไปเป็นทรงเตี้ย ทำจากโลหะต่าง ๆ ประดับอัญมณี : วิกิพีเดีย)  มีกรรเจียกจอนและเรือนแก้ว แต่สมัยอยุธยตอนต้นเทวดามีต่างหูต่างกับทวารบาลวัดท่าพระซึ่งไม่มีต่างหู เสาวิหารเป็นเสาทรงย่อมุม ๑๒ เป็นแบบเริ่มในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน
 
วัดท่าพระ วัดไทย
หลวงพ่อเกสรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อโลหะ
หน้าตักกว้าง ๔๐ นิ้ว สูงจากปลายรัศมีถึงทับเกษตร ๖๓ นิ้ว
 

หลวงพ่อเกสรวัดท่าพระ

     หลวงพ่อเกสร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อโลหะ หน้าตักกว้าง ๔๐ นิ้ว สูงจากปลายรัศมีถึงทับเกษตร ๖๓ นิ้ว เมื่อครั้งที่วัดมีสภาพเป็นเกาะมีลำน้ำล้อมรอบ หลวงพ่อเกสรลอยมาที่ท่าน้ำบริเวณกุฏิสามัคคีซึ่งปัจจุบันถมแล้ว วันนั้นตรงกับ ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ทุกวันนี้ยังมีประเพณีแห่ผ้าไตรถวายหลวงพ่อเกสร เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของวัดประจำทุกปี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ ท่านเจ้าอาวาสพระครูมงคลกิจจานุกูลทำพิธีบวงสรวงขออนุญาตบูรณะหลวงพ่อเกสร ช่างทำการลอกทองที่ปิดพระองค์หนึ่งลักษณะคล้ายภิกษุณีพบข้อความจารึกว่า หลวงมหานาควัดประสาท ศักราช ๒๒๖๙ และมีจารึกต่อว่า พระวสา ปีมะเมีย อรรถ ๓ เดือน ๔ วัน ๕ เป็นศักราชก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ๔๑ ปี
 
 
 รับชมวิดีโอ
 
 

http://goo.gl/4aDmC


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (ซอย 6) เข้าค่ายอรมศีลธรรม
      พิธีทอดกฐินสามัคคีสร้างทุกสิ่ง ณ ธุดงคสถานแก้วโนนแดง
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนแท่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินสร้างศาลาปฏิบัติธรรมจันทสโร
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนลำดวนสวรรค์ จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างทุกสิ่ง
      วัดพระธรรมกาย จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2564
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จัดงานบุญพิธีทอดกฐินสามัคคี
      ธุดงคสถานแก่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม
      ธุดงคสถานนครธรรม จัดพิธีบุพเปตพลีออนไลน์
      วัดพระธรรมกายออเรกอน จัดพิธีบูชาข้าวพระ
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมพัทลุง จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ถวายเครื่องปรับอากาศ
      ศูนย์อบรมเยาวชนเถินเทิดธรรม จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างทุกสิ่ง
      บรรยากาศชวนบวชโครงการอุปสมบท บูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมเพชรบูรณ์ จัดพิธีทอดกฐินสามัคคีเพื่อสร้างหอฉัน




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related