สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์กับงานด้านศาสนศึกษา

งานด้านศาสนศึกษา หมายถึง การกิจในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ เช่น แผนกธรรมหรือบาลี รวมทั้งการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม เช่น การอบรมก่อนสอบ, การสอบนักธรรม-บาลี, การมอบทุกวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา และการจัดตั้งมูลนิธิ หรือกองทุนเพื่อการศึกษา https://dmc.tv/a21137

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พระพุทธศาสนา
[ 26 ก.พ. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18291 ]
 
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์กับงานด้านศาสนศึกษา
 
     งานด้านศาสนศึกษา หมายถึง การกิจในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ เช่น แผนกธรรมหรือบาลี รวมทั้งการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม เช่น การอบรมก่อนสอบ, การสอบนักธรรม-บาลี, การมอบทุกวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา และการจัดตั้งมูลนิธิ หรือกองทุนเพื่อการศึกษา

     "การศึกษานั้นเปลี่ยนชีวิตผู้ศึกษาให้สูงกว่าพื้นเดิม คนที่มีการศึกษาดี จะได้อะไรก็ดีกว่าประณีตกว่าผู้อื่น คนมีวิชาเท่ากับได้สมบัติจักรพรรดิไม่หมด" (อมตวาจา : พระมงคลเทพมุณี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ)
 

     งานด้านศานศึกษาของวัดปากน้ำ คงเป็นรูปแบบมานับตั้งแค่ปีพุทธศักราช 2459 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฐานานุกรมที่ "พระสมุห์สด จนฺทสโร" มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำจวบจนปัจจุบัน วัดปากน้ำภายใต้การปกครองดูแลของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ได้พัฒนาให้เจริญทั้งทางด้วยปริยัติ ปฏิบัติ มีความเคร่งครัด ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตามแนวพุทธวิปัสสนาวิชชาธรรมกาย ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ องค์ปฐมบรมครู ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ได้วางรากฐานไว้ ต่อมาพระเถระของวัดปากน้ำในสมัยนั้น

     ครั้งต่อมาวัดปากน้ำมีพระภิกษุสามเณรมาเข้ารับการศึกษามากขึ้นกอปรกับมีพระภิกษุสามเณรสอบเปรียญได้หลายรูป หลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯพระราชโมลี (ณรงค์ ฐิตญาโณ) และพระภาวนาโกศลเถระ (ธระ ธมาธโร) ได้ปรึกษาถึงการตั้งสำนักเรียน ทั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาเวลาส่งชื่อนักเรียนสอบ ก็ส่งสอบในนามสำนักเรียนอื่น ทำให้บางครั้งเกิดความรู้สึกว่า เป็นสำนักเรียนเล็ก ไม่สามารถส่งชื่อนักเรียนสอบได้ จึงนำเรื่องปรึกษากันและกราบเรียนให้หลวงพ่อวัดปากน้ำได้รับทราบ พร้อมทั้งทำเรื่องขออนุมัติจัดตั้งเป็นสำนักเรียน จนในที่สุดจึงได้รับ "อนุมัติตั้งเป็นสำนักเรียนเมื่อปลายปี พ.ศ.2489" ทั้งนี้ มีลำดับการส่งนักเรียนเข้าสอบสนามหลวง ดังนี้

พ.ศ. 2480 - 2487       ในนามสำนักเรียนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
พ.ศ. 2488 - 2489       ในนามสำนักเรียนคณะเขตภาษีเจริญ
พ.ศ. 2490 - ปัจจุบัน    ในนามสำนักเรียนวัดปากน้ำ

     ความสำเร็จของสำนักเรียนวัดปากน้ำ


     สำนักเรียนวัดปากน้ำ อาจกล่าวได้ว่า เป็นสำนักเรียนต้นแบบทางการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นต้นแบบในการผลิตเทปเสียงแปลพระบาลีและการจัดอบรมบาลีก่อนสอบ และเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาศาสนบุคคลอย่างแท้จริง ทั้งนี้ อาจพิจารณาได้จากความสำเร็จทางด้วยต่างๆ ดังนี้

     ด้านที่ 1 : ผู้สำเร็จจากสำนักเรียนแห่งนี้เป็นประโยค 1-2 ประโยค ป.ธ.3 ถึง ป.ธ.9 จำนวนประมาณ 3,500 รูป กล่าวเฉพาะเป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค 76 รูป (สอบได้ประโยค ป.ธ.9 รูปแรก พ.ศ.2501) แบ่งประเภทได้ ดังนี้

           พระภิกษุ         60 รูป
           สามเณรนาคหลวง    14 รูป
           สามเณรนาคหลวงในพระบรมราชานุเคราะห์ 2 รูป

     ด้านที่ 2 : ผู้สำเร็จจากสำนักเรียนวัดปากน้ำแห่งนี้มีความเจริญก้าวหน้าในสมณฐานันดรศักดิ์ เป็นทั้งพระฐานานุกรม, พระครูสัญญาบัตร, พระราชาคณะตั้งแต่ชั้นสามัญ-ชั้นราช-ชั้นเทพ-ชั้นธรรม-ชั้นรองสมเด็จพระราคาคณะ และสำเด็จพระราชาคณะ

     ด้านที่ 3 : ผู้สำเร็จจากสำนักเรียนวัดปากน้ำแห่งนี้มีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นเจ้าอาวาส, เจ้าคณะตำบล, รองเจ้าคณะอำเภอ, เจ้าคณะอำเภอ, รองเจ้าคณะจังหวัด, เจ้าคณะจังหวัด, รองเข้าคณะภาค, เจ้าคณะภาค, เจ้าคณะใหญ่, กรรมการมหาเถรสมาคม, ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
 

     การจัดการศึกษาของวัดปากน้ำปัจจุบัน


     เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำและเจ้าสำนักเรียนวัดปากน้ำปัจจุบัน ได้สานต่องานทั้งทางด้านปริยัติ ปฏิบัติที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ องค์ปฐมบรมครู ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ได้วางรากฐานไว้โดยได้จัดการศึกษาครบทุกๆ แผนกตามโครงสร้าง ดังนี้

     การอุปถัมภ์สนับสนุนส่งเสริมพระปริยัติธรรม


     เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ นอกจากสนับสนุนการจัดการศึกษาในทุกๆ แผนกแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ยังอนุญาตให้วัดปากน้ำหรือสำนักเรียนวัดปากน้ำแล้ว อำนวยประโยชน์โสตถิผลในด้านอื่นๆ เช่นใช้เป็นสถานที่อบรมพระนวกะของวัดปากน้ำ-เขตภาษีเจริญ - เขตธนบุรี, สถานที่สอบนวกะภายในเขตภาษีเจริญ, สถานที่สอบธรรมและธรรมศึกษาสนามหลวงของเขตภาษีเจริญและเขตบางแค, สถานที่สอบบาลีสนามหลวงประโยค ป.ธ.3 (สอบซ่อม) ประโยค ป.ธ.5-6, บาลีศึกษา บ.ศ.6 และ บ.ศ.3, สถานที่อบรมพระธรรมทูตในประเทศ, สถานที่อบรมบาลีสนามหลวง, และถูกใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม-บริจาคโลหิต-ที่พักผู้รักษาศีล และพักสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นต้น

     นอกจากนี้ ยังอุปถัมถ์สนับสนุนการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมของสำนักเรียนวัดปากน้ำ และศูนย์การศึกษาพระบาลี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ในด้านต่างๆ ดังนี้

     - ทุนทรัพย์จักการศึกษาสำนักเรียนวัดปากน้ำ เป็นประจำปี
     - การจัดอบรมบาลี-นักธรรมก่อนสอบ
     - การมอบประกาศนียบัตร พัดเปรียญ และรางวัลทางการศึกษา (วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11)

     - พิธีต้อนรับนักเรียนที่เข้ารับพิธีทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค และ 6 ประโยค และมองรางวัลทางการศึกษา (ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6) รวมถึงพิธีต้อนรับเปรียญธรรม 3 ประโยค

     - การอุปถัมภ์จัดรถรับ-ส่ง นักเรียนเปรียญเอง ป.ธ.7, 8, 9 ของสำนักเรียนวัดปากน้ำ ไปเรียนยังสำนักเรียนส่วนกลางของคระสงฆ์วัดสามพระยา

     - การเปิดศูนย์การศึกษาพระบาลี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ณ วัดสังฆานุภาพ ต.โกสัมพี อ.โกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร เป็นการจัดการศึกษาแบบฟรีหรือให้เปล่า นำร่อง 16 จังหวัด ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึงประโยค ป.ธ.5 โดยเฉพาะสำนักศาสนศึกษาที่มีนักเรียนน้อย และขาดครูสอน

     - ตั้งทุนนิธิสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ณ วัดสังฆานุภาพ ต.โกสัมพี อ.โกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร เพื่อการศึกษาพระบาลี-ภัตตาหารและบูรณปฏิสังขรณ์ เริ่มแรกในปี พ.ศ.2556 จำนวน 10,000,000 (สิบล้านบาทถ้วน) และ เพิ่มทุนในปี พ.ศ.2557 อีก 10,000,000 (สิบล้านบาทถ้วน) รวมเป็น 20,000,000 (ยี่สิบล้านบาทถ้วน)

     เป็ดสอบธรรมชั้นนวกภูมิ ณ ประเทศอินเดีย


     วันที่ 1 - 4 ตุลาคม พ.ศ.2557 เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าสำนักเรียนวัดปากน้ำ ได้มองหมายให้พระปิฎกเมธี พร้อมด้วยคณะจากวัดปากน้ำประกอบด้วยพระมหาหวน ยสาโส ป.ธ.9. พระมหาฉลอง มฺมฉนฺโท ป.ธ.9. พระมหาสามารถ ชวนปญฺโญ ป.ธ.6 พร้อมด้วยพระกิตติโสภณวิเทศ เจ้าอาวาสวัดนาคปรก เป็นผู้แทนนำข้อสอบธรรมชั้นนวกภูมิพร้อมเฉลย เดินทางไปอำนวยการสอบร่วมกับคณะสงฆ์วัดไทยพุทธคยา-อินเดีย โดยพระเทพโพธวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา-อินเดีย หัวหน้าพระธรรมฑูต สายประเทศอินเดีย - เนปาล ได้จัดโครงการส่งเสริมพระปริยัติธรรม ระหว่างพรรษา ได้ขอความเมตตาพิจารณาให้เปิดสนามสอบพระปริยัติธรรม ชั้นนวกภูมิ ณ วัดไทยพุทธคยา-อินเดีย รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย มีนักเรียนจากวัดต่างๆ ทั้งจากประเทศอินเดียและประเทศเนปาลเข้าสอบทั้งสิ้น 105 รูป/คน, จำแนกเป็นพระภิกษุสามเณร 54 รูป, แม่ชี 28 ท่าน, คฤหัสถ์ 23 คน ขาดสอบ 5, คงสอบ 94, สอบผ่าน 91, สอบตก 3

 
 
 
 
 
 
 
 
บทความคัดลอกจากหนังสือ "การพระศาสนาด้านสาธารณูปการ" อภิลักขิตสมัยอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี พรรษา ๗๐
เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.๙)

ภาพจาก http://www.watpaknam.org





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีทอดกฐินสามัคคีสร้างทุกสิ่ง ณ ธุดงคสถานแก้วโนนแดง
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนแท่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินสร้างศาลาปฏิบัติธรรมจันทสโร
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนลำดวนสวรรค์ จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างทุกสิ่ง
      วัดพระธรรมกาย จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2564
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จัดงานบุญพิธีทอดกฐินสามัคคี
      ธุดงคสถานแก่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม
      ธุดงคสถานนครธรรม จัดพิธีบุพเปตพลีออนไลน์
      วัดพระธรรมกายออเรกอน จัดพิธีบูชาข้าวพระ
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมพัทลุง จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ถวายเครื่องปรับอากาศ
      ศูนย์อบรมเยาวชนเถินเทิดธรรม จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างทุกสิ่ง
      บรรยากาศชวนบวชโครงการอุปสมบท บูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมเพชรบูรณ์ จัดพิธีทอดกฐินสามัคคีเพื่อสร้างหอฉัน
      วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพให้แก่ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 ชุด