วันออกพรรษาของชาวเชียงตุง

ประเพณีชาวพุทธที่สำคัญ และทำกันในวันนี้ทั่วทั้งเวียงเชียงตุง ในวันออกพรรษา คือ ประเพณีสัมมาคารวะผู้เฒ่า-ผู้แก่ ลูกหลานจะมาวัด มาสัมมาคารวะผู้เฒ่า-ผู้แก่ทุกคนที่มาวัด แม้ว่าจะไม่ใช่ญาติของตนก็ตาม โดยจะนำเทียน ดอกไม้ ของกิน ของใช้ ยารักษาโรค หรืออาจจะใส่เงินไว้ในพานด้วยก็ได้ (แล้วแต่ความพร้อมของแต่ละคน) ใช้เป็นสิ่งแทนในการสัมมาคารวะ และจะท่องบทสวดมนต์เป็นภาษาบาลี https://dmc.tv/a2724

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ช่วงเด่นฝันในฝัน > > พม่า
[ 23 พ.ย. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18275 ]
เชียงตุงดินแดนพระพุทธศาสนา
ตอน วันออกพรรษาของชาวเชียงตุง
 
    วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 วันออกพรรษาของชาวเชียงตุง เป็นวันที่ทุกคนต้องไปวัดไปทำบุญ ในช่วงเช้า ชาวเชียงตุงจะหยุดงานกันทั้งเมือง ไม่เว้นแม้กระทั่งคนขับรถ รถทุกประเภท ทั้งรถสามล้อ รถตู้ จะหยุดรับผู้โดยสาร เพื่อพวกเขาจะได้ไปทำบุญที่วัด พอทำบุญเสร็จจึงมาทำงานต่อ
 
 
    ในวันออกพรรษา ชาวเชียงตุงจะไปวัดกันตั้งแต่เช้ามืด เวลาตี4 ผู้เฒ่า-ผู้แก่ จะใส่ชุดขาวมานอนวัดถือศีลแปด ผู้ที่มาถือศีลที่วัด จะหอบหิ้วนำสัมภาระมาจากบ้าน หรือที่พวกเราชาววัดพระธรรมกาย เรียกว่า “อุปกรณ์เข้าถึงธรรม” เตรียมมาเองจากบ้าน อย่างพร้อมเพรียง อุปกรณ์ที่ว่านั้นก็คือ เสื่อ หมอน ผ้าห่ม ข้าวของสำหรับทำบุญถวายพระ ไม้กวาด และต้องเป็นไม้กวาดใหม่ๆด้วย นำมาจากบ้านเพื่อนำมาทำความสะอาดวัด ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของชาวเชียงตุง ทุกคนที่เมื่อมาวัดแล้ว ต้องช่วยกันอุปัฏฐากพระ อุปัฏฐากวัด
 
 
 
 
    เริ่มต้นการมาถึงวัด ด้วยการกราบพระประธานในพระวิหาร และสวดมนต์เพื่อขอสมาทานที่อยู่อาศัย เสร็จแล้วก็หยิบไม้กวาดที่เตรียมมา เริ่มกวาดทำความสะอาดวัด (เหมือนกับวัดของเรา ที่ทุกคนช่วยกันเป็นเจ้าของบ้านเจ้าของวัด)
 
 
 
    เมื่อเสร็จแล้ว ชาวเชียงตุงก็จะนำอาหารที่เตรียมมา นำมาถวายพระพุทธเจ้า หลังจากพระภิกษุ สามเณร สวดมนต์ให้พรและกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้บรรพบุรุษแล้ว ผู้มาอยู่วัดก็จะมาสวดมนต์ นั่งสมาธิ(Meditation)
 
 
    ประเพณีชาวพุทธที่สำคัญ และทำกันในวันนี้ทั่วทั้งเวียงเชียงตุง ในวันออกพรรษา คือ ประเพณีสัมมาคารวะผู้เฒ่า-ผู้แก่ ลูกหลานจะมาวัด มาสัมมาคารวะผู้เฒ่า-ผู้แก่ทุกคนที่มาวัด แม้ว่าจะไม่ใช่ญาติของตนก็ตาม โดยจะนำเทียน ดอกไม้ ของกิน ของใช้ ยารักษาโรค หรืออาจจะใส่เงินไว้ในพานด้วยก็ได้ (แล้วแต่ความพร้อมของแต่ละคน) ใช้เป็นสิ่งแทนในการสัมมาคารวะ และจะท่องบทสวดมนต์เป็นภาษาบาลี
 
    ซึ่งประเพณีนี้ ดูแล้วคล้ายคลึงกับการปวารณาของพระภิกษุสงฆ์ การทำพิธีสัมมาคารวะ ก็เพื่อขอขมาที่อาจเคยทำสิ่งที่ผิดพลาดล่วงเกินซึ่งกันและกัน ผู้ที่มีอายุน้อยกว่าก็จะสัมมาคารวะผู้ที่มีอายุมากกว่า
 
 
 
    ตอนเย็นลูกหลานก็จะไ็ปสัมมาคารวะผู้เฒ่า-ผู้แก่ตามบ้าน จะไปกันเป็นกลุ่มๆ ขึ้นบ้านโน้น ลงบ้านนี้ แล้วผู้เฒ่า-ผู้แก่ก็จะให้พร
 
 
    วันออกพรรษา จึงเป็นเสมือนวันครอบครัว ที่แสนอบอุ่น ที่ลูกหลานจะกลับมาบ้าน มาทำบุญและมาทำพิธีสัมมาคารวะผู้เฒ่า-ผู้แก่ หรือบรรพบุรุษ-บุพการีที่บ้านของตน
 
 
คุณครูไม่ใหญ่: นี่เป็นความปรารถนาของคนสมัยก่อน
ที่อยากเห็นโลกเราเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรมที่ดีงามเช่นนี้
จึงได้ปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เด็กๆ เพราะฉะนั้นตัวเล็กๆต้องช่วยกัน
ช่วยกันสร้างโลกใบนี้ ให้เป็นโลกแก้ว
 
    สำหรับพระภิกษุสงฆ์ตามวัดต่างๆ ก็จะมีการสัมมาคารวะพระผู้ใหญ่โดยจะทำ 2 ครั้ง คือ ช่วงเข้าพรรษา กับช่วงออกพรรษา โดยแต่ละวัดจะส่งตัวแทนไปกราบคารวะพระผู้ใหญ่ตามวัดต่างๆ ประเพณีนี้คล้ายคลึงกับประเพณีกราบทำวัตรพระผู้ใหญ่ของไทย
 
    นอกจากนี้ ในวันออกพรรษายังเป็นสัญลักษณ์ของความสว่างไสวของชีวิตของชาวเชียงตุง เพราะจะมีการถวายเทียน เรียกว่า “เทียนเหง” หรือประเพณีจุดเทียน 1,000เล่ม (เทียนเล่มเล็กๆที่ป้าเฮเลนถวายคุณครูไม่ใหญ่) แต่ก่อนยังไม่มีไฟฟ้า จึงจุดเทียนบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อส่องทางสว่าง ต้อนรับการเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากโปรดพุทธมารดา การถวายเทียนออกพรรษา ชาวบ้านจะขึ้นรถเดินทางไปถวายเทียนตามวัดต่างๆในเชียงตุง ตกกลางคืนก็จะมีการจุดเทียนตามวัด
 
    เมื่อถึงเวลา 6โมงเย็น ก็จะถึงเวลาสว่างที่สุดของชาวเชียงตุง ทุกๆวัดจะมี พิธีจุดไฟต้นแปก (ต้นแปก ทำมาจากไม้ฟืนของแต่ละบ้าน ที่ชาวเชียงตุงในแต่ละหมู่บ้านจะนำมารวมกันต่อประกอบเป็นโครงคล้ายต้นไม้ใหญ่ แล้วนำเปลือกสนมาหุ้มอีกชั้นหนึ่ง) โดยชาวบ้านจะมาช่วยกันทำที่วัด ก่อนออกพรรษา 2-3วัน เมื่อพิธีจุดต้นแปกเริ่มขึ้น ทำให้นึกถึง การจุดเทียนใจไฟนิรันดร์ อนันตชัย ที่พวกเราพร้อมใจกันจุดเทียนใจทุกวันอาทิตย์ ในช่วงเข้าพรรษาที่วัดพระธรรมกาย
 
 
    แสงเทียนและภาพทุกภาพ ทุกกิจกรรม ในวันออกพรรษาที่เชียงตุง เป็นภาพที่ติดตาตรึงใจ ตอกย้ำให้พวกเราทุกคนที่ได้มาเยือนเชียงตุง เห็นถึงพลังศรัทธาของชาวเชียงตุง ที่ยึดมั่นในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด และถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นแบบอย่างของวัฒนธรรมชาวพุทธอันดีงาม ที่ชาวโลกจะได้นำไปเป็นแบบอย่างเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมที่ดีงาม แต่เสื่อมหายไปในยุคนี้ ให้หวนกลับคืนมาใหม่ เพื่อให้สมกับที่ยุคนี้เป็น ยุคของการฟื้นฟูศีลธรรมโลก


http://goo.gl/6d5yY


พิมพ์บทความนี้

ไปหน้าทบทวนฝันในฝัน



บทความอื่นๆ ในหมวด

      กิจกรรมพัฒนาวัดพิชิตปิตยาราม ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
      กิจกรรมพัฒนาวัดอู่ข้าว ต.คลอง 7 จ.ปทุมธานี
      อานุภาพบุญจากการมาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนที่ 1
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ได้ตึก 18 ล้านแค่เพียงกระพริบตา
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ความทรงอภิญญาของคุณยายฯที่ผมเจอกับตัวเอง
      ประกาศผลสุดยอดสามเณรแสดงธรรมระดับโลก
      เปิดใจสามเณรแชมป์แสดงธรรมระดับภาค ชิงชัยสู่เวทีแสดงธรรมระดับโลก
      ซุปเปอร์บิ๊กบุญ ตักบาตรแสนรูป ครั้งประวัติศาสตร์
      เส้นทางสามเณร สู่เวทีแชมป์เทศน์ระดับโลก
      เล่าเรื่องคุณยาย ตอน เรื่องเหลือเชื่อของการบูชาข้าวพระที่คุณยายฯฝากไว้
      บวชเณรล้านตักบาตรแสน สานฝันคุณยาย สร้างพระแท้
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน แค่มองหน้า..ก็รู้ทั้งหมด
      แฝด 4 บวชเณรล้านอ่างทองทำลายสถิติโลก




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related