การปฏิบัติเพื่อฝึกใจตามเส้นทางสายกลาง

ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรอันเป็นพระสูตรที่กล่าวถึงปฐมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวถึง มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง ซึ่งเป็นหนทางหรือข้อปฏิบัติที่ไม่ตึงเกินไปจนเป็นความลำบากแก่ตน (อัตตกิลมถานุโยค) ไม่หย่อนเกินไปจนเป็นการพอกพูนกามกิเลส(กามสุขัลลิกานุโยค) ... https://dmc.tv/a21867

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 19 ก.ย. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18280 ]
การปฏิบัติเพื่อฝึกใจตามเส้นทางสายกลาง

DOU ความรู้สากล
เรื่อง : พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ.๙

จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
 

     ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรอันเป็นพระสูตรที่กล่าวถึงปฐมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวถึง มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง ซึ่งเป็นหนทางหรือข้อปฏิบัติที่ไม่ตึงเกินไปจนเป็นความลำบากแก่ตน (อัตตกิลมถานุโยค) ไม่หย่อนเกินไปจนเป็นการพอกพูนกามกิเลส (กามสุขัลลิกานุโยค) ซึ่งหมายถึง อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ(Meditation) และอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นหนทางที่พระตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ซึ่งทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัตินั้นไม่ได้มีบอกไว้ชัดเจนในพระสูตรว่ามีวิธีการเช่นไร เพียงแต่บอกว่า คือ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งหลังจากที่หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้ปฏิบัติโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันจนเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ท่านได้พบว่า ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา อันประกอบด้วยมรรคมีองค์ ๘ ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นพบนั้นแท้จริงแล้วมิได้หมายถึงข้อปฏิบัติหรือความประพฤติทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน แต่หมายถึงการฝึกใจที่ดำเนินไปตามมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งท่านได้อธิบายไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตนสูตรว่า

     “นี่ที่ไปถึงพระตถาคตเจ้าอย่างนี้ ไปถึงธรรมกายเช่นนี้ ไม่ได้ไปทางอื่นเลย ไปทางปฐมมรรค ไปกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

       ดวงศีลคืออะไร ดวงศีลนะคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว อริยมรรค ๓ องค์นี้เรียกว่า ดวงศีล

       ดวงสมาธิ สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อริยมรรค อีก ๓ องค์

       ดวงปัญญา สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโปเป็นแปดองค์ในอริยมรรคนั้นทั้งสิ้น”
 

     และในการฝึกใจตามเส้นทางสายกลางหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อธิบายถึงหลักการสำคัญที่จะทำให้ค้นพบหนทางสายกลางว่าจะต้องนำเอาใจให้เข้าถึงเฉพาะซึ่งกลาง ซึ่งวิธีการเอาใจให้เข้าถึงมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางนี้ ท่านได้สรุปไว้ว่าคือการทำใจให้ “หยุด” เพียงอย่างเดียว ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตนสูตรด้วยว่า

    “ไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลาง นั่นแหละได้ชื่อว่ามัชฌิมาน่ะ พอหยุดก็หมดดี หมดชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วกัน หยุดทีเดียว พอหยุดจัดเป็นบุญก็ไม่ได้พอหยุดจัดเป็นบาปก็ไม่ได้ จัดเป็นดีก็ไม่ได้ ชั่วก็ไม่ได้ ต้องจัดเป็นกลาง ตรงนั้นแหละกลางใจหยุดก็เป็นกลางทีเดียว นี้ที่พระองค์ให้นัยไว้กับองคุลิมาลว่า สมณะหยุด สมณะหยุดพระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มา สมณะหยุดแล้ว ท่านก็หยุด นี้ต้องเอาใจไปหยุดตรงนี้ หยุดตรงนั้นถูกมัชฌิมาปฏิปทาทีเดียว พอหยุดแล้วก็ตั้งใจอันนั้นที่หยุดนั้นอย่าให้กลับมาไม่หยุดอีกนะ ให้หยุดไปท่าเดียวนั่นแหละ พอหยุดแล้วก็ถามซิว่า หยุดลงไปแล้วยังตามอัตตกิลมถานุโยคมีไหม ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตัวรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ยินดีไหม ไม่มี นั่นกามสุขัลลิกานุโยคไม่มี ลำบากยากไร้ประโยชน์ไม่มี หยุดตามปกติ ของเขาไม่มี ทางเขาไม่มีแล้ว เมื่อไม่มีทางดังกล่าวแล้วนี่ตรงนี้แหละที่พระองค์รับสั่งว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา พระตถาคตเจ้ารู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง ตรงนี้แห่งเดียวเท่านั้น (ตรงหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย) ตั้งต้นนี้แหละจนกระทั่งถึงพระอรหัตผล”

     ดังนั้น ในการสอนปฏิบัติ หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงใช้ถ้อยคำในการสอนสั้น ๆ ว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” และในการฝึกใจตามทางสายกลางด้วยการทำหยุดให้เกิดขึ้นนั้น พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ให้หลักการสำคัญว่า ต้องเอาใจให้เข้าถึงเฉพาะซึ่งกลางคือ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ดังที่ท่านอธิบายไว้ว่า “กลางนี่ลึกซึ้งนัก ไม่มีใครรู้เข้าใจกันเลยธรรมที่เรียกว่า ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางน่ะ ในทางปฏิบัติ แปลว่า ถึงเฉพาะซึ่งกลาง อะไรถึงต้องเอาใจเข้าถึงซึ่งกลางสิ เอาใจเข้าไปถึงซึ่งกลาง กลางอยู่ตรงไหน มนุษย์นี่มีแห่งเดียวเท่านั้น ศูนย์กลางกายมนุษย์”

     ศูนย์กลางกายจึงมีความสำคัญในการฝึกใจตามเส้นทางสายกลาง เป็นหนทางที่จะทำให้เข้าถึงพระธรรมกายและพระนิพพานได้ในที่สุดดังนั้นหากกล่าวโดยสรุป หลักการดำเนินจิตไปตามทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา จะเกิดขึ้นได้เมื่อเอาใจให้เข้าถึงเฉพาะซึ่งกลาง คือ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เมื่อทำได้เช่นนี้จึงจะได้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อฝึกจิตตามเส้นทางสายกลาง




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related