ท่าทีต่อสงฆ์ในยุคปัจจุบัน

พระภิกษุตามวัดต่าง ๆ มีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ตั้งใจรักษาศีล ปฏิบัติธรรม ฝึกจิต ยินดีในความมักน้อย สันโดษ แต่สื่อไม่ได้นำข่าว ในด้านดีของพระมาเสนอต่อสาธารณชน ผู้คนในสังคมจึงพากันเข้าใจว่า พระดี ๆ หาไม่ได้แล้ว https://dmc.tv/a21422

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 11 พ.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
ท่าทีต่อสงฆ์ในยุคปัจจุบัน

พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ. ๙
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
 

     พระสงฆ์ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากเป็นหนึ่งในพุทธบริษัท ๔ ที่เป็นเสาหลักพยุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่แล้ว พระสงฆ์ยังเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัยซึ่งถือว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของชาวพุทธถึงแม้คำว่า “พระสงฆ์” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัยจะหมายเอาอริยสงฆ์ ซึ่งมี ๔ คู่ ๘ บุรุษ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามีพระอนาคามี และพระอรหันต์ก็ตาม แต่กระนั้นพระสงฆ์ที่ยังมิได้เป็นอริยสงฆ์ก็นับว่าเป็นสังฆรัตนะ โดยเป็นสงฆ์ที่เรียกว่าสมมติสงฆ์เป็นที่พึ่งทางจิตใจให้แก่ญาติโยมได้ บทบาทที่สำคัญที่สุดของพระสงฆ์ ก็คือ การปฏิบัติตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และนำคำสอนของพระพุทธองค์มาถ่ายทอดให้แก่พุทธบริษัท และสืบทอดคำสอนนี้ไม่ให้สูญหายไป อาจกล่าวได้ว่า ที่พระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบันตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยพระสงฆ์นั่นเอง

     ในปัจจุบัน มีการเสนอข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับพระภิกษุสงฆ์ในสังคมไทยอยู่บ่อย ๆ เกิดเป็นกระแสความคิดว่า พระสงฆ์เป็นปัญหาสังคม ทำให้ชาวพุทธเสื่อมศรัทธาไม่อยากทำบุญ และเริ่มหนักขึ้นจนกลายเป็นการจ้องจับผิดพระ ถึงขนาดด่าว่าพระอย่างเสียหายพระสงฆ์ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นที่พึ่งทางจิตใจของญาติโยม มีบทบาทและมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา ถูกล่วงเกินและลดบทบาทลงอย่างเห็นได้ชัด

     แนวคิดสำคัญของชาวพุทธที่ดีที่พึงปฏิบัติต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ก็คือ การใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะตามความเป็นจริง ถ้าหากเราทำความเข้าใจโดยแยกแยะให้ดี ก็จะพบว่า พระภิกษุสามเณรในประเทศไทยมีอยู่ถึง ๓๐๐,๐๐๐ กว่ารูป จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีผู้ประพฤติผิดพระธรรมวินัยบ้าง เพราะคนในโลกนี้มีทั้งคนดีและไม่ดี จึงเป็นไปได้ที่คนไม่ดีจะหลุดเข้ามาบวช แม้ในสมัยพุทธกาลก็มีพระภิกษุจำนวนไม่น้อยที่ทำผิดศีลจนขาดจากความเป็นพระ แต่ขณะเดียวกันพระภิกษุที่ตั้งใจออกบวช ฝึกตนจนเป็นพระอริยสงฆ์ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก สำหรับในปัจจุบัน พระภิกษุที่ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติธรรมก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ดังเช่น พระภิกษุในโครงการบวชแสนรูป ที่มีการฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะเพื่อเป็นพระแท้ และยังมีการเดินธุดงค์ไปพัฒนาวัดร้างทั่วประเทศ รวมทั้งพระภิกษุตามวัดต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่ตั้งใจรักษาศีลปฏิบัติธรรม ฝึกจิต ยินดีในความมักน้อยสันโดษ แต่สื่อไม่ได้นำข่าวในด้านดีของพระมาเสนอต่อสาธารณชน ผู้คนในสังคมจึงพากันเข้าใจว่าพระดี ๆ หาไม่ได้แล้ว

     ถ้าหากเราพิจารณาให้ดีก็จะพบว่าวัฒนธรรมการเสนอข่าวของทุกวันนี้ คือ เน้นการนำเสนอข่าวลบหรือข่าวร้าย บางข่าวก็ไม่ตรงกับความเป็นจริง มีคำกล่าวหนึ่งที่สะท้อนภาพของสื่อได้ชัดเจน คือ “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์” และถ้าหากเราลองไปสำรวจข่าวที่พาดหัวอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน ก็จะพบว่า ข่าวส่วนใหญ่เป็นข่าวฆาตกรรม ข่าวคนฆ่าตัวตาย ข่าวคนทำผิดกฎหมาย ข่าวด้านลบเรื่องส่วนตัวของดารา เป็นต้น

     ดังนั้น สิ่งที่เราควรจะช่วยกันทำก็คือทำหน้าที่ของการเป็นชาวพุทธที่ดี ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงบทบาทของอุบาสกในพระพุทธศาสนาไว้ใน หานิสูตร อังคุตตรนิกายสัตตกนิบาตว่า “ธรรม ๗ ประการ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของอุบาสก คือ อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑ ไม่ละเลยการฟังธรรม ๑ ศึกษาในอธิศีล ๑ มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑ ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษ ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอก ๑ กระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ ๑” นั่นคือ ชาวพุทธที่ดีควรเข้าวัดปฏิบัติธรรม และช่วยกันดูแลพระพุทธศาสนา อุปัฏฐากพระภิกษุสามเณรให้ดี ให้ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเต็มที่พระภิกษุสามเณรรูปใดที่ปฏิบัติชอบ ก็ช่วยส่งเสริมยกย่องให้เป็นต้นแบบของสังคม ผู้ที่มาภายหลังจะได้เจริญรอยตาม แต่ถ้าพบพระภิกษุสามเณรรูปใดปฏิบัติตนไม่เหมาะสม ก็ช่วยกันจัดการแก้ไข ไม่นิ่งดูดาย แต่ไม่ควรนำมาประจานให้หมู่สงฆ์เสียหาย ดังที่ปรากฏในหน้าสื่อในปัจจุบัน ควรแก้ไขด้วยการแจ้งผู้ปกครองสงฆ์ หรือถวายความรู้ท่านบ้างด้วยจิตปรารถนาดี หากท่านไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงและสามารถกลับตัวกลับใจได้ ก็จะเป็นกำลังของพระศาสนาต่อไป หากชาวพุทธมีท่าทีที่ถูกต้องกับข่าวที่ปรากฏ และปฏิบัติต่อพระสงฆ์ได้เหมาะสมกับฐานะของตนเช่นนี้ พระสงฆ์ก็จะเป็นกำลังที่เข้มแข็งในการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญต่อไปอีกยาวนาน
 
จากหนังสือ ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา GB 101





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related