พระมหากัจจายนะ

พระมหากัจจายนะมิเพียงเปี่ยมด้วยคุณสมบัติและทรัพย์สมบัติ แต่ท่านยังเลิศด้วยรูปสมบัติ คือมีผิวพรรณละเอียดอ่อนผุดผ่องดุจทองคำ และมีรูปร่างสง่างามคล้ายคลึงกับพระบรมศาสดา จนทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจผิดว่าท่านคือพระบรมศาสดาเหลือเชื่อแต่เป็นความจริงดังต่อไปนี้... https://dmc.tv/a18849

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 28 ก.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18290 ]
พระมหากัจจายนะ

วารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. 2556
เรื่องจากพระไตรปิฎก
เรื่อง : มาตา

       การเหยียดผิว (Racism) เป็นสิ่งที่เคียงคู่กับประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติตลอดมา แม้ในพระไตรปิฎกก็มีหลักฐานว่า มนุษย์มีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะมาตั้งแต่ยุคต้นกัป โดยมีจุดเริ่มต้นจากมนุษย์ที่มีผิวพรรณงามเหยียดหยามมนุษย์ที่มีผิวพรรณทราม

      การเหยียดผิวและการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะเป็นสาเหตุแห่งความรุนแรงและก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ปานกลาง ไปจนกระทั่งหนักหนาสาหัส ดังเช่น โศกนาฏกรรมของประชาชนที่มีผิวพรรณคล้ำ (ชนเผ่ามิลักขะ) ที่อยู่ในวรรณะศูทรของอินเดีย และชนผิวสีในประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและแอฟริกา เป็นต้น

    การมีผิวพรรณงามจึงมิใช่แค่สิ่งที่ดึงดูดตาดึงดูดใจผู้คนเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในการกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ไปจนถึงความเป็นความตายของมนุษย์เลยทีเดียว

    เรื่องราวการสร้างบารมีของพระมหากัจจายนะที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่เราสามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการออกแบบชีวิตให้มีผิวพรรณวรรณะที่งดงามและบังเกิดในตระกูลสูง จะได้ไม่ต้องเกิดมาเผชิญกับปัญหาเรื่องการเหยียดผิวหรือการแบ่งชนชั้นวรรณะที่เป็นปัญหาคู่โลก
 

      ในครั้งพุทธกาล พระมหากัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่อาศัยอยู่ในกรุงอุชเชนีแคว้นอวันตี บิดาของท่านคือ ปุโรหิตปิติวัจฉพราหมณ์ มารดาคือ นางจันทนปทุมาพราหมณีแห่งตระกูลกัจจายนะ พระมหากัจจายนะเกิดมาพร้อมกับลักษณะที่โดดเด่น คือ มีผิวพรรณผุดผ่องเหมือนทองคำ บิดามารดาจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า “กาญจนะ”ซึ่งแปลว่า “ทอง” เมื่อเติบโตขึ้น หนุ่มน้อยกาญจนะได้ศึกษาไตรเพท ซึ่งเป็นวิชาความรู้ของพราหมณ์ตามธรรมเนียมพราหมณ์จนจบการศึกษา ต่อมาเมื่อบิดาถึงแก่กรรม หนุ่มน้อยกาญจนะก็ได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา และผู้คนพากันเรียกขานท่านว่า “ปุโรหิตกัจจายนะ” ตามนามของตระกูล

     วันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าจัณฑปัชโชติ กษัตริย์แห่งกรุงอุชเชนี ทรงทราบข่าวว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว ทรงอยากฟังพระธรรมเทศนาจึงทรงแต่งตั้งให้ปุโรหิตกัจจายนะไปกราบทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เสด็จไปยังกรุงอุชเชนี ปุโรหิตกัจจายนะรับราชโองการแล้วเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดาพร้อมด้วยผู้ติดตามอีก 7 คน

     เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนา ปุโรหิตกัจจายนะและผู้ติดตามอีก 7 คน ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จากนั้นพระบรมศาสดาประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้การบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทานั้น ไม่ได้มีลำดับขั้นตอนเหมือนการบวชในปัจจุบัน แค่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระดำรัสว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” เท่านั้น เมื่อสิ้นพระดำรัส ผม หนวด และเครื่องนุ่งห่มของผู้บวชก็อันตรธานไป มีเครื่องอัฐบริขาร ได้แก่ บาตร สบง จีวร เป็นต้น บังเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์และบุญญาธิการที่ผู้บวชสร้างสมมาแต่อดีตชาติ ทำให้ผู้บวชเป็นประดุจดังพระเถระที่มีพรรษาถึง 100 พรรษา

      เมื่ออุปสมบทแล้ว พระเถระทั้ง 8 ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จสู่กรุงอุชเชนี ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากพระราชา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระดำรัสให้พระมหากัจจายนะไปแทนเนื่องจากพระมหากัจจายนะเป็นพระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถมาก ท่านจึงสามารถอธิบายธรรมะที่พระบรมศาสดากล่าวเพียงย่อ ๆ ให้ละเอียดได้ และสรุปเนื้อหาพระธรรมเทศนาที่ยาว ๆ ออกมาเป็นหัวข้อย่อย ๆ ได้ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจธรรมะที่ลึกซึ้งได้โดยง่าย
      ดังนั้นเมื่อท่านไปถึงกรุงอุชเชนีแล้ว ท่านจึงสามารถแสดงธรรมให้พระราชาทรงเลื่อมใสได้โดยง่าย และสามารถประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นอวันตีได้สำเร็จทำให้ทั่วทั้งพระนครรุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ด้วยความสามารถนี้ ต่อมาพระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ คือเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านผู้อธิบายเนื้อความโดยย่อให้พิสดาร

      สำหรับเหตุแห่งความเป็นผู้เลิศในด้านผู้อธิบายเนื้อความโดยย่อให้พิสดารนั้น มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า “ปทุมุตตระ”

      ในสมัยนั้น พระมหากัจจายนะบังเกิดในตระกูลคฤหบดีผู้มั่งคั่ง และมีโอกาสไปฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วันหนึ่งท่านเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้อธิบายเนื้อความโดยย่อให้พิสดาร ท่านปรารถนาที่จะเป็นอย่างพระรูปนั้น จึงถวายมหาทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเวลา 7 วัน แล้วตั้งความปรารถนาว่า “ด้วยผลแห่งสักการะนี้ ขอให้ข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านจะสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า “กุลบุตรผู้เจริญ ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จำแนกอรรถแห่งคำที่ตรัสโดยสังเขปให้พิสดารในศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า”

     นอกจากมีคุณสมบัติอันเลิศข้างต้นแล้วพระมหากัจจายนะยังมีคุณธรรมที่สูงส่ง มีศีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นที่เคารพรักของมนุษย์และเทวดาดังจะเห็นได้ว่า เวลาที่ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์)ได้พบพระมหากัจจายนะ ก็จะทรงเข้าไปอุปัฏฐากรับใช้และนวดเท้าทั้งสองของท่าน แม้แต่พระบรมศาสดายังทรงกล่าวยกย่องพระมหากัจจายนะท่ามกลางหมู่สงฆ์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีทวารอันตนคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายเช่นเดียวกับมหากัจจายนะบุตรของเรา ย่อมเป็นที่รักของเหล่าเทวดา”

     พระมหากัจจายนะมิเพียงเปี่ยมด้วยคุณสมบัติและทรัพย์สมบัติ แต่ท่านยังเลิศด้วยรูปสมบัติ คือมีผิวพรรณละเอียดอ่อนผุดผ่องดุจทองคำ และมีรูปร่างสง่างามคล้ายคลึงกับพระบรมศาสดา จนทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจผิดว่าท่านคือพระบรมศาสดาเหลือเชื่อแต่เป็นความจริงดังต่อไปนี้...

       วันหนึ่ง ขณะที่พระมหากัจจายนะกำลังห่มจีวรจะเข้าไปบิณฑบาตในเมือง มีบุตรชายของเศรษฐีแห่งเมืองโสไรยะคนหนึ่ง ชื่อโสไรยะ นั่งยานพาหนะผ่านมากับบรรดาสหาย ครั้นนายโสไรยะเห็นวรรณะอันงดงามผ่องใส ดึงดูดตาดึงดูดใจของพระเถระ ก็เกิดความคิดอกุศลขึ้นมาว่า “พระเถระรูปนี้สวยจริงหนอ ควรจะเป็นภรรยาของเรา หรือมิฉะนั้น ภรรยาของเราก็ควรจะมีผิวพรรณงดงามเหมือนพระรูปนี้”

     ด้วยบาปหนักที่จาบจ้วงพระอรหันต์ ทำให้นายโสไรยะกลายร่างเป็นผู้หญิงในทันที นายโสไรยะซึ่งขณะนี้กลายเป็นนางโสไรยะไปแล้ว รู้สึกตกใจและอับอายมาก จึงรีบลงจากยานพาหนะแล้วเดินไปยังกรุงตักสิลาบรรดาเพื่อนฝูงของนายโสไรยะพากันออกตามหาเขา แต่ก็หาไม่พบ ส่วนบิดามารดาของเขาก็เศร้าโศกเสียใจ เพราะคิดว่าบุตรคงเสียชีวิตไปแล้ว

      ฝ่ายนางโสไรยะได้ติดตามกองเกวียนของพ่อค้าไปจนถึงกรุงตักสิลา เมืองหลวงของแคว้นคันธาระ บุตรชายของเศรษฐีแห่งกรุงตักสิลาเห็นนางมีรูปงามจึงเกิดความรักและรับนางเป็นภรรยาทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน ก่อนหน้านี้ เมื่อครั้งเป็นผู้ชาย โสไรยะมีบุตรอยู่แล้ว 2 คน ดังนั้นจึงเท่ากับว่าเขาได้เป็นทั้งพ่อและแม่ เป็นทั้งสามีและภรรยาในชาติเดียวกันต่อมา เขามีโอกาสกราบขอขมาพระมหากัจจายนะ เมื่อท่านอโหสิกรรมให้ เขาจึงคืนร่างเป็นชาย แล้วขอบวชในสำนักของท่าน และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

     ส่วนสาเหตุที่ทำให้พระมหากัจจายนะมีผิวพรรณวรรณะที่งดงามผ่องใสนั้น เกิดจากการทำบุญด้วยทองคำในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
 

       ครั้งนั้น พระมหากัจจายนะเคยถวายแผ่นอิฐทองคำมีค่าแสนหนึ่ง ทำเป็นฐานของพระสุวรรณเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและตั้งความปรารถนาว่า “ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่บังเกิดขึ้นจากการถวายแผ่นอิฐทองคำนี้ ขอให้สรีระของข้าพเจ้าจงมีวรรณะเหมือนทองคำทุกภพทุกชาติ” ด้วยอานิสงส์แห่งบุญพิเศษนี้ ทำให้ความปรารถนาของท่านบังเกิดเป็นความจริง คือ ได้เกิดมามีผิวพรรณวรรณะงดงามเป็นพิเศษโดดเด่นยิ่งกว่าคนทั่วไป

       ย้อนไปในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้าท่านก็เคยถวายอาสนะที่ทำด้วยแก้วผลึกที่ฉาบทาด้วยทองชมพูนุทซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ มีฉัตรทำด้วยรัตนะทั้ง ๗ ประการ กางกั้นไว้บนยอดและถวายพัดวาลวีชนี พัดบวรจามรี แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยอานุภาพแห่งการบูชาในครั้งนี้ ทำให้ท่านได้เสวยทิพยสุขในเทวโลก ได้บังเกิดเป็นเทพราชาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์เป็นเวลายาวนานถึง 10 กัป มีรัศมีแผ่ไปโดยรอบร้อยโยชน์อยู่เป็นนิจและได้ไปบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีฤทธานุภาพมาก มีรัตนชาติบังเกิดขึ้นมากมายเหลือคณานับ ล้วนส่องสว่างโชติช่วงดังอาทิตย์อุทัย ตลอดทั้งกลางวันกลางคืน

       พระมหากัจจายนะระลึกชาติไปดูประวัติการสร้างบารมีของท่านในชาตินั้นก็พบว่าเมื่อท่านถวายอาสนะที่ทำด้วยแก้วผลึก ที่ฉาบทาด้วยทองชมพูนุทอันเป็นทองคำบริสุทธิ์ เพื่อเป็นที่ประทับนั่งของพระปทุมุตตรพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ตรัสว่า“ผู้ใดได้ถวายอาสนะที่ทำด้วยทองและแก้วนี้ เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักเป็นจอมแห่งเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ 10 กัป จักมีรัศมีแผ่ไปโดยรอบตลอดร้อยโยชน์ ครั้นมาสู่มนุษยโลกแล้ว จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่าปภัสสระ จักเป็นผู้มีเดชอันรุ่งเรือง จักได้เป็นกษัตริย์มีรัตนะ 8 ประการ โชติช่วงอยู่โดยรอบทั้งกลางคืนกลางวันดังพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น”เมื่อระลึกชาติเห็นความดีที่ทำไว้แล้วท่านก็บังเกิดความปลื้มปีติเป็นยิ่งนัก

      อานิสงส์จากการถวายอาสนะแก้วผลึกฉาบทาด้วยทองชมพูนุทแด่พระปทุมุตตรพุทธเจ้าและถวายแผ่นอิฐทองคำสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมทั้งบุญอื่น ๆ ที่ท่านตั้งใจทำ ส่งผลให้พระมหากัจจายนะได้เสวยสุขทั้งในสวรรค์และในโลกมนุษย์ เวียนว่ายตายเกิดอยู่แต่ในสุคติภูมิเท่านั้น ในชาติสุดท้าย ท่านได้มาเกิดในตระกูลพราหมณ์ ซึ่งเป็นวรรณะที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดของอินเดียในสมัยนั้น และมีผิวพรรณงดงามดุจทองคำ แถมยังพรั่งพร้อมด้วยสมบัติทั้งปวงที่มนุษย์พึงปรารถนา คือ รูปสมบัติ คุณสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติ ซึ่งทุกประการล้วนจัดอยู่ในแนวหน้าเมื่อบวชแล้ว ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ได้เป็น 1 ใน 41 พระภิกษุสาวกที่ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ ได้เป็น 1 ใน 80 อสีติมหาสาวก และพรั่งพร้อมด้วยคุณสมบัติ คือ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยปฏิสัมภิทาญาณ 4 คือ มีความรู้แตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุกติและปฏิภาณ

http://goo.gl/B52lKN


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related