ภาษากาย

เรียนรู้วิธีการสื่อสารท่าทาง กิริยาที่แสดงออกมา เรื่องใกล้ตัวที่ไม่เคยรู้มีวิธีสังเกตยังไงบ้าง https://dmc.tv/a15261

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 5 มี.ค. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18286 ]
ภาษากาย
 
     ภาษากาย

เรียบเรียงมาจากรายการ ทันโลก ทันธรรม


 
     ท่านเคยเจอเหตุการณ์แบบไม่คาดฝัน เช่น ถูกย้ายงาน ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน โดยไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน หรือไม่ได้ระแคะระคาย ซึ่งมีวิธีสังเกตอยู่ เวลาที่คนเราคิดอะไรในใจก็แสดงออกเพื่อให้ผู้อื่นรับทราบผ่านทางภาษากาย
 
 
ภาษาที่แสดงออกมาจากท่าทาง
 ภาษาที่แสดงออกมาจากท่าทาง  
 
ภาษาแบ่งออกเป็น 2 อย่าง

1.ภาษาคำพูด ซึ่งมีเสียงออกมาแล้วก็แปลความทำให้เรารู้ได้ว่าเขาคิดอะไรหรืออยากจะสื่อสารอะไร ภาษาพูดปรุงแต่งได้
 
2.ภาษากาย เป็นภาษาที่ไม่ใช่คำพูดคือภาษาที่ออกมาจากจิตใต้สำนึก เป็นส่วนที่จะถอดออกมาโดยตรง จาความรู้สึกของสมองส่วนลึก ซึ่งไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งแต่อาจจะออกมาเลย เพราะฉะนั้นภาษาตรงนี้เรียกว่าร่างกายไม่เคยโกหกหรือเป็นภาษาที่บอกให้ทุกคนรู้โดยที่เราเรียนรู้ภาษากายเราอาจจะรู้ว่าเขากำลังคิดยังไงกับเราอยู่ เราจะรู้ล่วงหน้า แต่เราจะแปลความจริงที่ร่างกายจะบอกยังไง
 
โจ นาวาร์โร อดีตเจ้าหน้าที่ FBI
 โจ นาวาร์โร อดีตเจ้าหน้าที่ FBI

      ตอนนี้มีอดีตเจ้าหน้าที่ของ FBI คือ คุณโจ นาวาร์โร เป็นบุคคลที่ได้ช่วยเหลือในการที่จะอ่านหรือรู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ การสืบสวน สอบสวนได้ช่วย FBI มานานมาก โจ นาวาร์โรกลายเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยของฟลอริดา โดยตอนที่ทำงานอยู่ก็มีเหตุการณ์หลายอย่างที่เป็นการแสดงให้เห็นว่าการอ่านภาษากายสำคัญ ภาษากายที่ออกมาได้เพราะว่าสมองคนเรามีเปลือกด้านบนคอยควบคุมความคิด คำพูด การกระทำที่ผ่านการปรุงแต่ง แต่ว่าสมองส่วนที่อยู่ลึกลง

สมองส่วนที่เรียกว่า ลิมบิก(Limbic)
สมองส่วนที่เรียกว่า ลิมบิก(Limbic)
 
     โดยเฉพาะสมองส่วนที่เรียกว่า Limbic(ลิมบิก)เป็นสองส่วนที่เชื่อมโยงการแสดงออกของอารมณ์ที่อยู่ข้างในลึกๆแล้วเชื่อมโยงออกมาทางกาย โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวเพราะฉะนั้นสมองส่วนลิมบิก หลอกใครไม่ได้แสดงออกมาแล้วก็จะเป็นไปตามที่ใจนั้นคิด เพราะฉะนั้นถ้าเราเรียนรู้หรือศึกษาตรงนี้จะมีประโยชน์ เหมือนอย่างโจ นาวาร์โร ที่เคยเป็นที่ปรึกษาของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งกำลังจะมีการเซ็นสัญญาจ้างหลายพันล้านแต่ในระหว่างที่อ่านสัญญาเขาสังเกตเห็นว่ามาถึงประโยคบรรทัดหนึ่งของคู่เจรจาที่ร่างสัญญา เมื่ออ่านจบก็รู้ทันทีว่าในข้อความมีความผิดปกติ มีปัญหา จึงไปเตือนลูกค้าของเขาซึ่งเป็นฝ่ายผู้ว่าจ้าง เลยมีการเจรจากันโดยเจาะลึกรายละเอียด เมื่อเจรจากันไปจึงรู้ว่าสามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในนั้นจึงลดค่าจ้างลงไปได้มาก ภาษาพูดอย่างเดียวเราอาจไม่ได้ใจความทั้งหมดที่เป็นความจริง เป็นแค่เรื่องที่เขาอยากจะบอกเราแต่ไม่ใช่เรื่องทั้งหมดที่อยากรู้ เพราะฉะนั้นต้องมาเจาะลึกว่า โจ นาวาร์โร ได้ให้เทคนิคอะไรที่ทำให้เราช่างสังเกตแบบเขาได้
 
แต่ละส่วนบ่งบอกถึงการแสดงออก
แต่ละส่วนบ่งบอกถึงการแสดงออก
 
     โจ นาวาร์โรถือว่าเป็นผู้ที่ฉลาดมาก เวลาที่เราไปดูวิธีอ่านภาษากายของนักเขียนคนนั้นเขียน คนนี้เขียนจะเห็นว่าเหมือนเป็นแพทเทิร์น ถ้าทำอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ โจ นาวาร์โร ไม่ได้คิดอย่างนั้น เขาบอกว่าภาษากายของมนุษย์เนื่องจากมันออกมาจากสมองส่วนลิมบิก เพราะฉะนั้นมันมีแพทเทิร์นหรือว่าเป็นภาษาของคนๆนั้นเอง จะมีภาษาส่วนตัวของเขา ภาษากลางๆที่อาจจะมีได้ เช่น รอยยิ้มเวลามีความสุข หรือแอบยิ้ม โดยที่เราจะรู้ว่าเขาซ่อนอะไรไว้อยู่ อาจจะเป็นภาษากายที่กลางๆ แต่จริงๆแล้วทุกคนพัฒนาภาษากายของตัวเองขึ้นมาเพราะฉะนั้นการที่ โจ นาวาร์ร จะอ่าน หรือรู้ว่าใครคิดยังไง จะต้องใช้เวลาคลุกคลีอยู่กับคนนั้นเหมือนพวก FBI ใช้เวลา 3 วัน โดยใช้วิธีการถามหลอกถามความจริงและไม่จริงเพื่อจะอ่านว่าคนนั้นพูดจริงหรือไม่
 
เทคนิคในการอ่านความคิด

1.เป็นนักสังเกตรอบตัวที่เก่งกาจ  เริ่มจากการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเราทุกอย่าง และคอยสังเกตุพฤติกรรมเขาแต่ละเวลา
 
2.สังเกตบริบทแวดล้อม  เพราะการที่เราจะเข้าใจภาษากายจะต้องดูบริบทแวดล้อม เป็นกุญแจที่จะถอดหรืออ่านภาษากาย ความหมายของสิ่งต่างๆเหล่านั้น เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นและสังเกต ดูภาษากายของเขาแล้วเก็บข้อมูล

3.เรียนรู้ที่จะแยกแยะ และถอดรหัสด้วยภาษากายที่เป็นสากล  เราต้องแยกแยะให้ออกว่าอันไหนเป็นภาษาสากล อันไหนเป็นภาษาของเขาเอง เช่น คนส่วนใหญ่เวลาเม้มปากหมายความว่าเขากำลังเจอปัญหาอะไรบางอย่าง

4.เรียนรู้ที่จะแยกแยะ และถอดรหัสภาษากาย เฉพาะบุคคล  บางคนเวลาทำอะไรที่ยากๆหรืออย่างทำงานฝีมือเขาก็จะเม้มปากไปด้วยเพราะเขากำลังจดจ่อ เพราะฉะนั้นเราต้องแยกให้ระหว่างภาษาสากล กับภาษาส่วนตัว
5.พยายามมองหาพฤติกรรมของคนนั้นๆในยามปกติ  พยายามมองหาพฤติกรรมพื้นฐานของเขา ยามปกติเขาวางมือยังไง คนที่เป็นคนชอบกอดอก นั่งไขว่ห้าง วางมือบนตักตัวเอง ในที่สุดเราจะรู้ว่าเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นรูปแบบพฤติกรรมของเขาจะเปลี่ยนไปจากเดิม

6.พยายามหาเบาะแสหลายๆอย่างมองพฤติกรรมที่เป็นกลุ่มก้อน  ต้องหาเบาะแสหลายๆอย่างแล้วมองไปที่พฤติกรรมที่มันเป็นกลุ่มก้อน

7.สิ่งสำคัญในการมองหาการเปลี่ยนแปลงพฤตกรรมอย่างฉับพลัน  มองทางด้านการแสดงออกอย่างฉับพลันทันที ยกตัวอย่างเหมือนเด็กที่เล่นอยู่ แล้วเขาก็บอกให้หยุดเล่นโดยไม่มีสาเหตุคือมีเงื่อนงำ

8.เรียนรู้ที่จะตรวจจับสัญญาณ ที่ส่งออกมาแล้วอาจจะทำให้เราแปลผิด  เช่น บางคนชอบจับคอตัวเองเพราะเป็นโรคกระดูกคอ
 
9.การแยกแยะระหว่างความสบายใจ และความอึดอัดใจแตกต่างกันอย่างไร  ซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเองจะแสดงออกมาเป็นกลุมทั้งความสบายใจและความอึดอัดต้องอาศัยการสังเกต
 
10.เวลาสังเกตผู้อื่น ให้ทำอย่างแนบเนียน  เมื่อไหร่ที่สังเกตคนอื่นจงทำอย่างแนบเนียน อย่าให้เขาทราบว่าเรากำลังจ้องดูเขาอยู่
 
     การสังเกตจะทำให้เรารู้เขาและระวังไม่ให้เขารู้เราได้ ที่สำคัญเราแสดงความจริงใจออกไปดีกว่า ไม่ต้องระมัดระวังอะไร ความจริงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่นี่คือส่วนของทางโลกที่จะทำให้รู้ภาษากายแต่นี่คือส่วนของทันโลก
 
     ส่วนของทันธรรม โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ
 
ตัวอย่างนักพูดที่ดี
ตัวอย่างนักพูดที่ดี 

     ภาษากายหรือ Body Language แม้กระทั่งคำพูดหรือการสื่อสาร พบว่าเนื้อหาที่เปล่งออกไป คำพูดที่เปล่งออกไปมีผลต่อความเข้าใจและความประทับใจกับผู้ฟัง แค่  7%  แต่อีก  93% อยู่ที่ภาษากาย ไม่ใช่ว่าเดินไปเดินมาแล้วดูกิริยาอาการว่าเป็นคนดูดีไม่ดี เท่ห์แค่ไหน แม้เป็นคนๆเดียวกันพูดเรื่องเดียวกันถ้อยคำที่กล่าวไปเหมือนกันทุกอย่าง แต่วันที่กล่าวกำลังอารมณ์ดีเบิกบาน แต่อีกวันพูดด้วยความหดหู่พูดไปงั้นๆ ผู้รับสารก็มีความประทับใจที่แตกต่างกัน ต่อให้ใช้คำพูดเนื้อหาสาระเหมือนกันหมดก็ตามภาษากายมีผล เราจะต้องศึกษาแล้วว่าทำยังไงเราจะศึกษาเข้าใจภาษากายให้ดี เพื่อเราจะได้สามารถเป็นผู้ที่สื่อสารอย่างทรงพลัง และสามารถเข้าใจภาษากายได้ดีด้วย ภายนอกเราต้องเรียนรู้ภาษากายให้ดีเพื่อที่จะได้รู้ว่าคนที่มาติดต่อแต่ละคนเขาจริงใจแค่ไหน คิดอะไรอยู่ อารมณ์เป็นยังไง พออ่านออกเราจะได้เจรจาธุรกิจ การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงนั้นไว้เป็นประเด็นหลัก แต่เน้นว่าเราจะทำอย่างไรเราจึงจะสื่อสารอย่างมีพลัง
 
การสื่อสารจะมีพลังแบ่งเป็น 3 แบบ
 
1.ใจ  จะได้ดีมากน้อยแค่ไหนจะมาจากใจตรงนี้เป็นแก่น ถ้าใจเราเองสดชื่นมีพลัง ใจเราบริสุทธิ์ ภาษากายที่สื่อออกไปทางกายทางวาจาก็จะมีพลัง เพราะฉะนั้นให้พวกเราทุกคนหมั่นสวดมนต์ นั่งสมาธิ(Meditation) ทำภาวนาสม่ำเสมอให้ใจของเราเองผ่องใสอยู่เนืองนิตย์ แล้วอากัปกิริยาที่เราเองแสดงออกทุกอย่างจะพอดีๆ ถึงคราวจะไปเจรจาธุรกิจ การงานสำคัญให้ถือเป็นหลักว่า หาที่เงียบๆนั่งหลับตา ใจนิ่งๆสักพัก คืนก่อนวันสำคัญนั่งเป็นชั่วโมงๆ ตื่นแต่เช้ามืดมานั่งต่ออีกสักชั่วโมง แล้วช่วงก่อนจะถึงวันสำคัญถ้าโอกาสเอื้ออำนวยให้ก็หาเวลานั่งสัก 5 นาทีถึงเวลาเราสื่อสารออกไปจะพบว่าดีเยี่ยมนี่ประการแรก
 
2.นิสัย  เราจะต้องฝึกนิสัยเราเองใน 3 เรื่องให้ติดตัว อันดับแรกนิสัยรักความสะอาด ถ้าตัวเราเขรอะทั้งตัว ลูบตรงไหนขี้ไคลติดมือ จะสื่อภาษากายก็คงจะลำบากหรือถ้าเกิดเสื้อผ้าเราสกปรก ขี้ตา ขี้หูเกรอะกรัง คนฟังก็ไม่อยากจะฟังเราพูดอะไร รู้สึกว่าเราไม่ค่อยน่าเชื่อถือแล้ว เพราะฉะนั้นต้องฝึกความสะอาดตรงนี้ให้ติดเป็นกิจวัตร เป็นนิสัยของตัวเองเริ่มจากตัวของเรา ดูแลทุกอย่างเรื่องกลิ่น เรื่องความสะอาดให้ดี ข้าวของเครื่องใช้ดูให้ดีในปัจจัย 4 1.เสื้อผ้า 2.เครื่องนุ่งห่ม 3.ที่อยู่อาศัย 4.ถ้วย ชาม ข้าวปลา
 
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ภายในที่อยู่อาศัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ภายในที่อยู่อาศั
 
     ประการที่สอง เรื่องของความเป็นระเบียบไม่เฉพาะสะอาดอย่างเดียว ของให้อยู่ในที่ควรอยู่ ให้ดู 2 อย่างคือของอยู่กับที่ ของแต่ละอย่างควรอยู่ตรงไหนเรียงให้ดี สิ่งนี้มันจะสะท้อนออกมาจากภาษากาย สื่อได้ดีมันต้องสะอาดเป็นด่านที่หนึ่ง ด่านที่สองคือความเป็นระเบียบ กิริยาในการเคลื่อนไหวทุกอย่างให้ดูไม่ขัดกัน เขาะทำอะไรเราก็ทำตามเขาประการที่สามที่ควรฝึกคือความสุภาพ สุภาพทางกายภาพคือไม่ทำอะไรโครมคราม เดี๋ยวแก้วตก จานแตก ปิดประตูโครมคราม ของรอบตัวพังไปหมด อย่างนี้ภาษากายเรียกว่าซุ่มซ่าม และในแง่ของอารมณ์สุภาพคือไม่ทำให้ข้าวของเสียหาย ไม่ทำด้วยความรุนแรง จะหยิบใช้อะไรละมุนละม่อม ในแง่อารมณ์คืออย่าทำให้อารมณ์คนอื่นเขาเสีย บางทีของไม่เสีย แต่อารมณ์คนเสียได้ไม่สุภาพเหมือนกัน เช่นเขานั่งอยู่ไปก้าวข้ามหัวเขา เพราะทำให้คนอื่นเขาอารมณ์เสียต้องนึกถึงมารยาทสังคม เพราะฉะนั้นจะดูยังไงว่าสุภาพดู 2 ประเด็นหลัก ทำให้ข้าวของเสียหายไหม ทำให้อารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเสียหายด้วยรึเปล่า ถ้าผ่าน 2 ข้อนี้ได้ถือว่าความสุภาพเราสอบผ่านฝึกอย่างนี้จนชินติดตัวจะไปเจอใครไม่ต้องเกร็ง เพราะว่าเป็นธรรมชาติติดตัวเราเอง ใจเราเองก็ผ่องแผ้วสบาย แล้วมีนิสัยสะอาดเป็นระเบียบสุภาพ แค่ไตร่ตรองอีกนิดคนนี้มีลักษณะพิเศษยังไงรึเปล่า เราควรปฏิบัติกับเขาให้เหมาะสมอย่างไร รู้กาลเทศะทุกอย่างตามมาทันที
 
3.อ่านภาษากายให้ออก  คนในโลกมีความหลากหลายมากแต่ก็มีลักษณะร่วมอยู่ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบ่งจริตของคนเป็น 6 กลุ่ม(3คู่) ดังนี้
 
1.ศรัทธาจริต เป็นคนที่เอาศรัทธานำหน้า มีความเชื่อศรัทธาทุกอย่างได้ง่าย มีความ แช่มช้อย นุ่มนวล ต้องเนี้ยบ เฉียบ เรียกว่าต้องสวย เด่นไว้ก่อน ช้าบ้างไม่ว่าแต่ต้องดูดี เข้าคู่กับราคะจริต โทนเดียวกันแต่จะออกไปในทางรักสวยรักงามมากเป็นพิเศษ
 
2.พุทธจริต คนกลุ่มนี้ชอบความมีเหตุมีผล ทุกอย่างต้องมีหลักการ เราจะสื่อสารกับคนกลุ่มนี้เราต้องดูว่าเขาชอบอย่างนี้ ทุกอย่างต้องมีที่มาที่ไป เข้าคู่กับ โทสะจริต คนที่อารมณ์เร็ว ใจร้อน จะออกเจ้าอารมณ์ ถ้ามีเจ้านายอยู่ใน 2 กลุ่มนี้ต้องรู้ว่าสั่งแล้วทันใจ อืดอาด ยืดยาด ไม่ค่อยโปรด
 
ลักษณะของคนวิตกกังวล
ลักษณะของคนวิตกกังวล

3.วิตกจริต ขี้กังวล ห่วงหน้าพะวงหลัง  ทำอะไรตัดสินใจไม่เด็ดขาด ลังเล คิดไม่ออก คิดหน้าคิดหลัง จะเข้าคู่กับกลุ่ม โมหะจริต หลงๆ ลืมๆ ช้าๆ เบลอๆ เฉื่อยหน่อยบางทีนั่งแดดส่องก็อยู่อย่างนั้น ถ้าจะต้องสั่งงานคนกลุ่มนี้แทบจะต้องจับมือกันทำอะไรที่ต้องใช้ความคิดความอ่านก็ลำบาก ก็ต้องเข้าใจว่าแต่ละคนเขาเป็นคนกลุ่มไหน ดูภาษากายเขาก่อนถ้าเป็นการพบปะชั่วครั้งชั่วคราว ถ้าเป็นคนทำงานด้วยกันก็ต้องเข้าใจให้มากขึ้น เราจะได้อ่านตัวเขาออก สามารถปฏิบัติกับกลุ่มคนได้อย่างพอดี
 
อ่านความคิดจากการแสดงท่าทาง
 อ่านความคิดจากการแสดงท่าทาง
 
     ฝึกพื้นฐานจนชินเมื่อเจอใครเราจะได้เพาะนิสัยช่างสังเกต เจอใครก็จะดูออกว่าเขามีท่าทางอย่างนี้ แค่เขากัดริมฝีปากก็รู้ว่าเขาคิดอะไรเริ่มอ่านออก แค่มองหน้าใบหน้ามีการขยับนิดหน่อยก็รู้ว่าเขาคิดอะไรอยู่ ไปต้องนั่งสมาธิให้รู้ญาณ วาระจิต แค่ดูอากัปกิริยาแสดงออกทางกาย สีหน้า ท่าทาง แทบจะอ่านใจเขาออกแล้ว เราจะเป็นคนอ่านคนออก รู้จักคน เมื่อรู้จักแล้วเวลาเราสื่อสารออกไปทำได้ดี มีประสิทธิภาพ  อยากจะปรับภาษากายให้ดีปรับที่ใจเพราะว่าใจเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มที่สมองส่วนลิมบิกแล้วออกมาที่ภาษากายเพราะฉะนั้นทำใจให้ใส ภาษากายก็จะออกมาดี อยากปรับภาษาพูดให้ดีก็ต้องเป็นภาษาสร้างโลกที่จะเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้น ถ้าเราคิด พูด ทำ แต่ในสิ่งที่ดีร่างกายเราก็จะส่งออกมาแต่ภาษากายที่ดี
 
รับชมวิดีโอ
 


รับชมคลิปวิดีโอภาษากาย
ชมวิดีโอภาษากาย   Download ธรรมะภาษากาย
 
 

 

http://goo.gl/8DqzK


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related