ขุนเขาแห่งตำนานและประวัติศาสตร์แห่งเขาแก้วเสด็จ

คืนพระจันทร์วันเพ็ญลอยดวงเด่นเหนือท้องฟ้า ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งต่างจ้องมองและสังเกตว่า มีดวงแก้วดวงหนึ่งส่องรัศมีสว่างไสวดุจดังพระจันทร์วันเพ็ญ ดวงแก้วนั้นเคลื่อนคล้อยลอยมาจากปลายด้านหนึ่งของหุบเขา และลับหายไปในความมืด เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนชาวบ้านขนานนามภูเขาแห่งนี้ว่า “เขาแก้วเสด็จ” ขุนเขาแห่งดวงแก้วที่จะเสด็จมาทุกคืนวันเพ็ญ https://dmc.tv/a10063

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 7 ก.พ. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18324 ]
หนึ่งทศวรรษแห่งความทุ่มเทในศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ
 
เขียนโดย ครูแก้วใส
อ้างอิงข้อมูลจาก ประวัติธุดงคสถานเขาแก้วเสด็จ ของ อุบลเขียว
 
งานบุญทอดกฐิน
งานบุญทอดกฐิน ธุดงคสถานเขาแก้วเสด็จ 

ขุนเขาแห่งตำนานและประวัติศาสตร์
     คืนพระจันทร์วันเพ็ญลอยดวงเด่นเหนือท้องฟ้า  ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งต่างจ้องมองและสังเกตว่า  มีดวงแก้วดวงหนึ่งส่องรัศมีสว่างไสวดุจดังพระจันทร์วันเพ็ญ ดวงแก้วนั้นเคลื่อนคล้อยลอยมาจากปลายด้านหนึ่งของหุบเขา และลับหายไปในความมืด  เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง  จนชาวบ้านขนานนามภูเขาแห่งนี้ว่า “เขาแก้วเสด็จ”  ขุนเขาแห่งดวงแก้วที่จะเสด็จมาทุกคืนวันเพ็ญ ขุนเขาแห่งตำนานนี้ตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของตำบลบ้านนาและตำบลบ่อทอง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแก่งดินสอที่เชื่อมต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่ในหลายจังหวัด ไล่เรื่อยมาตั้งแต่ จังหวัดนครราชสีมา  นครนายก จนถึง จังหวัดปราจีนบุรี

      เขาแก้วเสด็จแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน  เพราะเป็นพื้นที่ใกล้เคียงเส้นทางของการเดินทัพ นับเนื่องแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ทำสงครามกับญวนยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตรัสสั่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)เป็นแม่ทัพไปปราบญวนที่เข้ามารุกรานเขมร เมืองประเทศราชของไทยในครั้งนั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงเรียกชุมนุมไพร่พลที่อ.กบินทร์บุรี และสั่งให้สร้างยุ้งฉางเพื่อสะสมเสบียงกำลังไว้เป็นทัพหนุน จนกระทั่งไทยมีชัยชนะสงครามในที่สุด ประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นได้ปรากฏเรื่องราวในหนังสือ ประวัติศาสตร์ไทย ยุคกรุงธนบุรี ถึงกรุงรัตนโกสินทร์  เขียนโดย รองศาสตราจารย์ดนัย  ไชยโยธา  ความว่า
 
“ ญวนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้สนับสนุนให้เวียงจันทน์ซึ่งเป็นประเทศราชของไทยกบฏต่อไทย  ครั้นถึงปี พ.ศ.2376   ทางญวณเกิดกบฏวุ่ยวายขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพเข้าไปขับไล่ญวณในแดนกัมพูชาแล้วตีลงไปจนถึงเมืองไซ่ง่อน  โดยมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ – ต้นตระกูล สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพบก...”
 
อาคารในศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ 
อาคารปฏิบัติธรรม
 
     มิเพียงเท่านั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ “ตำบลบ่อทอง” ที่อยู่ใกล้เคียงกับเขาแก้วเสด็จ  เคยได้รับการขนานนามว่า “บ่อทอง แหล่งแห่งทองคำ” เพราะมีผู้ขุดพบแร่ทองคำเป็นจำนวนมาก  ทำให้หมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้ ได้ยกฐานะเป็นที่ตั้งของเหมืองทองคำในสมัยนั้นเลยทีเดียว ชาวบ้านได้ขุดเจาะเหมืองทองคำให้กลายเป็นบ่อเพื่อหลอมเหลวทอง ต่อมาคนที่มาติดต่อรับทองจึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า "หมู่บ้านบ่อทอง" และได้ขยายเขตกลายมาเป็นตำบลจนถึงปัจจุบัน  จากข้อมูลดังกล่าวจะทำให้เราทราบว่า พื้นที่ในแถบ “เขาแก้วเสด็จ” เคยเป็นแหล่งของชุมชนโบราณที่แวดล้อมด้วยผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์   เพราะเหตุใด ผืนป่าเหล่านั้นจึงถูกทำลายไปเหลือเพียงดินเหนียวผสมฝุ่นทรายที่แสนจะร้อนแล้งในปัจจุบัน
 
ความสมบูรณ์ที่ถูกทำลาย
 
     ย้อนไปเมื่อ  75 ปีก่อนหน้านี้  ผืนป่าในเขตอ.กบินทร์บุรี และบริเวณโดยรอบเขาแก้วเสด็จ ยังสมบูรณ์ด้วยแมกไม้นานาพันธุ์  ที่หยัดต้นแน่นขนัดไปทั่วบริเวณ  สภาพป่าบริเวณนี้จึงมีลักษณะเป็นป่าดิบชื้น ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ดังนั้นจึงมีสัตว์ป่าเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก จากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าจึงทราบว่าสถานที่แห่งนี้ ชาวบ้านเคยล่า เก้ง กวาง หมี เลียงผา ได้เป็นจำนวนมาก  บางครั้งชาวบ้านก็พบเห็น เสือ และฝูงจิ้งจอกป่าที่ออกมาหากินอยู่บ่อยครั้ง  แม้ในปี พ.ศ.2550 ชาวบ้านแถบนี้ก็ยังสามารถล่าเลียงผาได้อยู่  จากความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าจุดกำเนิดของ “แม่น้ำบางปะกง” แม่น้ำสายเศรษฐกิจของคนไทย ได้เริ่มต้นขึ้นที่นี่ จากผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ทว่าความสมบูรณ์ทางธรรมชาติเหล่านั้นได้ถูก ทำลายจนแทบไม่เหลือเค้าเดิมของป่าดิบชื้น  กลายเป็นความรกร้างว่างเปล่า หลายคนอาจไม่เชื่อว่าต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกงอยู่ที่ อ.กบินทร์บุรี แต่ทุกวันนี้ยังพอปรากฏหลักฐานเพียงเล็กน้อยเพื่อพิสูจน์ว่าต้นกำเนิดของแม่ น้ำสายนี้เริ่มต้นขึ้นที่นี่  สังเกตได้จากลำคลองสายเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำปราจีนบุรี ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกงในที่สุด
 
ภาพกุฏิ 
บริเวณกุฏิบรรยากาศร่มรื่น เย็นสบาย

     สาเหตุที่ทำให้ป่าไม้แถบนี้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ซึ่งเป็นระยะทางยาวหลายร้อยกิโลเมตร  ในยุคเริ่มแรก  การทางรถไฟต้องตัดไม้ในบริเวณนี้มาทำไม้หมอนรางรถไฟเป็นจำนวนมาก   ทำให้ป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์หมดไปอย่างรวดเร็ว  และไม่สามารถปลูกทดแทนได้ดังเดิม  หลังจากนั้นจึงได้มีชาวบ้านต่างพื้นที่อพยพย้ายครัวเรือนเพื่อเข้ามาจับจองที่ดิน เพาะปลูกพืชไร่และทำการเกษตร อาทิ  ปลูกมันสำปะหลัง  ยูคาลิปตัส  อ้อย ฯลฯ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจดังที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน
 
ตำนาน และที่มาของชื่อ “เขาแก้วเสด็จ”
 
     สำหรับความเป็นมาของชื่อที่แท้จริงนั้นได้มีคนเก่าคนแก่ของที่นี่ได้เล่าเรื่องสืบกันมาแต่โบราณ ถึงความเป็นมาของชื่อเขาแก้วเสด็จ ความว่า
 
     “มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นบริเวณหุบเขาแห่งนี้บ่อยครั้ง  โดยเฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ
ขณะที่พระจันทร์เต็มดวงอยู่กลางฟ้า ในเวลาประมาณเที่ยงคืน  ชาวบ้านหลายคนที่ลอบวางกับดักสัตว์จะเห็นดวงไฟกลมโต ทว่ามีสงเย็นตา ดูสวยงาม ลอยผ่านภูเขาหายเข้าไปในความมืด ความสว่างของดวงไฟนั้นมากพอที่จะส่องให้เห็นภูเขาได้ทั้งลูกเหมือนยามกลางวัน”
 
    จากคำบอกเล่าดังกล่าว คนเก่าแก่ท่านนั้นได้กล่าวเสริมว่า
 
     “ช่วงแรก ๆชาวบ้านที่พบเหตุการณ์นี้ ต่างวิ่งหนีเพราะตกใจกลัว นึกกันไปว่าเป็นภูตผี แต่เมื่อเห็นบ่อยเข้าก็เลิกกลัวเพราะดวงไฟนี้ไม่เป็นอันตรายต่อใคร ทั้งยังมีความสวยงามสว่างไสว ชาวบ้านแถบนี้จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นดวงแก้วกายสิทธิ์ของเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขาที่คอยมาปกปักรักษา    ทำให้ภูเขาแห่งนี้มีนามว่า เขาแก้วเสด็จ นับแต่บัดนั้น”
 
สงบ 
บรรยากาศโดยรอบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมอย่างมาก

     จากคำบอกเล่านี้ทำให้เราทราบถึงที่มาที่ไปของชื่อ “เขาแก้วเสด็จ” ว่ามีความหมายตามตำนาน แต่ในปัจจุบันนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาที่เคยติดตาม Case Study จากคุณครูไม่ใหญ่คงทราบว่า แท้จริงแล้ว ดวงไฟดวงนั้นมิใช่อะไรอื่น แต่เป็นดวงแก้วกายสิทธิ์ของยักษ์ที่มีหน้าที่เฝ้าสมบัติอยู่ที่เขาแก้วเสด็จ ในทุกคืนวันเพ็ญ ยักษ์ตนนี้จะมีหน้าที่ขนย้ายสมบัติไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย โดยนำดวงแก้วกายสิทธิ์เป็นหัวหน้าหมู่สมบัติทั้งหลาย  ให้สมบัติเหล่านั้นก็จะเคลื่อนที่ตามไปอย่างง่ายดาย ดุจบุตรน้อยที่คล้อยตามหลังมารดา
 
จากความฝัน สู่ ความจริง
 
     หากมองจากภาพจะพบว่า เขาแก้วเสด็จ ขุนเขาที่มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่  โอบล้อมเนื้อที่หลายพันไร่ เกิดเป็นพื้นที่ในหุบเขาเบื้องล่าง  ดั่งชลอเมืองสวรรค์มาไว้ในหุบเขาก็ไม่ปาน แต่จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่าเบื้องหลังความเป็นมาของพื้นที่หลายพันไร่นั้น เกิดจากความฝันที่สร้างแรงบันดาลใจมาสู่ความจริง   คุณมาโนช  ชัยสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินกว่าหลายร้อยไร่ในเขตเขาแก้วเสด็จ ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้มีจิตกุศลศรัทธาและถวายที่ดินผืนแรกของเขาแก้วเสด็จให้กลายเป็นธรณีสงฆ์  โดยมีจุดเริ่มต้นจากความฝันที่แจ่มชัดเมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งฝันนั้นก็ยังไม่เคยเลือนหายไปจากความทรงจำเลยแม้สักครั้งเดียว
 
     ในความฝันดังกล่าว  คุณมาโนชจำได้ว่ายืนอยู่บริเวณด้านหน้าเขาแก้วเสด็จ แต่ในความรู้สึกเสมือนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และพลันขุนเขาตระหง่านเบื้องหน้าได้เปลี่ยนมาเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ ที่มีชีวิต มีรัศมีสว่างไสว และที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งไปกว่านั้น คือท่านเป็นพระพูดได้ ท่านได้พูดกับคุณมาโนชด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ก้องกังวาน เปี่ยมด้วยพลานุภาพว่า ให้เก็บผืนดินแห่งนี้ไว้ให้ดี ต่อไปในภายภาคหน้าจะมีผู้มีบุญนำไปสร้างเป็นบุญ สถานอันศักดิ์สิทธิ์” เมื่อตื่นขึ้นจากความฝัน นับแต่นั้นเป็นต้นมาคุณมาโนชก็ไม่ละทิ้งความตั้งใจ ได้รักษาผืนดินแห่งนี้ไว้ให้ดีที่สุด เพราะเชื่อมั่นว่าจะต้องผู้มีบุญนำที่ดินผืนนี้ไปใช้เป็นบุญสถาน จากความฝันที่เสมือนจริงในครั้งนั้น จึงได้กลายมาเป็นความจริงในวันนี้
 
งานบุญ 
ความจริงในวันนี้
 
     จุดเริ่มต้นเกิดจากคุณมาโนช ได้พบกับหมู่คณะนักสร้างบารมี ได้เห็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลเปี่ยมด้วยศีลาจารวัดร  และยิ่งได้ฟังธรรมะจากพระมหาดร.สมชาย านวุฑฺโฒ จึงมีจิตเลื่อมใสศรัทธา ตั้งใจถวายที่ดินผืนนี้ให้เป็นธรณีสงฆ์ ในระยะเริ่มแรกนั้นได้มีพระภิกษุมาจำพรรษาประมาณ 7 รูป โดย พระครูสมุห์กมล กมลสุโภ เจ้าอาวาสวัดหนองไผ่ล้อมในปัจจุบัน  ได้มาเป็นผู้บุกเบิกธุดงคสถานแห่งนี้ในครั้งแรก  และตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “ธุดงคสถานเขาแก้วเสด็จ”  ตามตำนานของสถานที่ ที่มีแก้วกายสิทธิ์ เสด็จผ่านภูเขาแห่งนี้ให้เป็นสิริมงคล

จุดศูนย์กลางของการแผ่ขยายเผยแผ่วิชา
 
     พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้มีดำริว่าจะขยายวิชชาธรรมกายให้กว้างไกลยิ่งขึ้น  แต่จากสภาพพื้นที่ของวัดพระธรรมกายในสมัยสิบกว่าปีที่แล้วนั้น  ได้มีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นอย่างมากมาย จนทำให้เนื้อที่วัดแน่นขนัด  ไม่สามารถใช้เป็นพื้นที่ฝึกอบรมพระธรรมทายาท ผู้ที่จะออกไปประกาศพระศาสนา ให้อย่างเต็มที่ได้  ดังนั้นท่านจึงมองหาสถานที่สร้างศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทแห่งใหม่ ที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่  ห่างไกลชุมชนเมือง สงบและวิเวกด้วยป่าเขาและธรรมชาติ  ท่านจึงมอบนโยบายให้พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทตฺตชีโว)  รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย  หาสถานที่ดังกล่าวเพื่อเตรียมรองรับพระธรรมทายาทที่จะทวีจำนวนขึ้นในอนาคต
 
สามเณร 
สามเณรเดินมุ่งหน้าสู่โรงเรียนปริยัติธรรม

     พระภาวนาวิริยคุณ  ท่านจึงได้ปรึกษากับพระมหาดร.สมชาย านวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ถึงสถานที่ก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทที่จะเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอนาคต  ประจวบเหมาะกับช่วงเวลานั้นคุณมาโนช  ชัยสิทธิ์ได้ปวารณาถวายพื้นที่แห่งนี้  พระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒจึงเดินทางมาสำรวจพื้นที่ในครั้งแรก และตกลงใจว่า “เขาแก้วเสด็จ” แห่งนี้ คือ สถานที่ฝึกอบรมพระธรรมทายาทได้อย่างแท้จริง การก่อสร้างและการบุกเบิกจึงได้เริ่มต้นขึ้นนับแต่นั้น  

ยุคบุกเบิก ด้วยหัวใจพระโพธิสัตว์
           
     วันปฐมเริ่มขุดดินก้อนแรก ถือเอาวันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญขึ้น 15ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรง กับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เป็นวันก่อตั้งศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ แต่ด้วยสภาพพื้นดินที่ค่อนข้างทุรกันดาร  ทำให้การปรับพื้นที่มีความยากลำบากพอสมควร เนื้อที่หลายร้อยไร่เต็มไปด้วยหญ้าคาและป่ากกสูงท่วมหัว ทั้งยังมีแอ่งน้ำและปลักโคลนเป็นหย่อมๆ ยากแก่การสัญจรไปมา นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าดุร้ายที่ออกหากินยามค่ำคืน อาทิ เสือโคร่งลายพาดกลอน และฝูงสุนัขจิ้งจอกที่ออกเห่าหอน ทำให้แม้แต่ชาวบ้านก็ยังหวาดกลัวที่จะเข้ามา ยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่แห่งนี้ยังมีสภาพดินปนทรายทำให้เพาะปลูกอะไรไม่ได้มาก นอกจากปลูกมันสำปะหลัง  หรือต้นยูคาลิปตัสที่น่าจะเหมาะกับสภาพดินมากที่สุด พื้นที่หลายส่วนยังมีโขดหินตะปุ่มตะป่ำคอยขัดขวางการปรับพื้นที่อยู่เป็นระยะ พระภิกษุสงฆ์ผู้บุกเบิกรุ่นแรกจึงต้องถางหญ้าคาและป่ากก ให้เป็นพื้นที่กว้างมากพอสำหรับการปักกลดอยู่ธุดงค์
 
ความอุดมสมบูรณ์
บรรยากาศทั่วโดยรอบเขาแก้วเสด็จ

     บรรยากาศในช่วงแรกของยุคบุกเบิกนั้น  กลางวันมีแดดร้อนจัดและอบอ้าว จนเห็นเป็นเปลวแดดเต้นระยิบอยู่เบื้องหน้า  มองไปสุดลูกตาก็เห็นเพียงผืนฟ้าจรดผืนดิน ไม่มีแม้ร่มเงาของไม้ใหญ่ยืนต้น  ยามกลางคืนหมู่แมลงก็คอยรบกวน ไม่มีแม้แสงไฟ อาศัยเพียงแสงตะเกียงดวงน้อยที่คอยส่องสว่าง  สมัยนั้นแม้ระบบไฟฟ้าและน้ำประปาก็ยังไม่มีใช้  พื้นที่แห่งนี้จึงเรียกได้ว่า ค่อนข้างกันดารมากเพราะอยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนเหลือเกิน พระสงฆ์ต้องเดินฝ่าทุ่งหญ้าคาด้วยเท้าเปล่าเป็นระยะทางไปกลับถึง 4 กิโลเมตร  หากวันใดฝนตก  สภาพการสัญจรเหมือนถูกตัดขาด แม้แต่เดินเท้าก็ยังไม่ได้ ยิ่งรถยนต์ด้วยแล้วก็ยังไม่สามารถบุกฝ่าป่ากกเข้ามาได้เลย มีเพียงหนทางเดียว คือพระภิกษุต้องไปขอร้องชาวบ้านละแวกรอบนอกให้ช่วยกันขับรถแทรกเตอร์มาส่ง จึงจะสามารถผ่านโคลนเลนในป่าหญ้าไปได้ ทำให้การกรุยทางในช่วงแรกจึงค่อนข้างทุลักทุเลและต้องใช้ความสมบุกสมบันพอสมควร
 
     แม้คณะสงฆ์จะพบเจอกับความยากลำบากในทุกรูปแบบ แต่ถึงกระนั้นท่านก็สวมหัวใจพระโพธิสัตว์ที่ไม่เคยย่อท้อต่อการสร้างความดี วันแล้ววันเล่าท่านได้สร้างกุฏิขึ้นเองท่ามกลางสายฝนและเปลวแดด ตกค่ำมีเพียงกลดหลังน้อยเป็นที่พักพิงกลางทุ่งกว้างที่มืดและน่าอันตราย ชาวบ้านที่พบเห็นความยากลำบากของพระภิกษุธรรมทายาทกลุ่มนี้ ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ ว่าคณะสงฆ์ชุดนี้คงอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน เห็นทีจะต้องถอนกลดกลับไปเป็นแน่ เพราะที่ผ่านมาทุกปีจะมีพระธุดงค์มาปักกลดยังที่แห่งนี้หลายต่อหลายรูป แต่เพราะทนต่อสภาพความยากลำบากของพื้นที่ไม่ไหว จึงไม่เคยมีพระธุดงค์รูปใดอยู่ได้นานเลยสักรูป 
 
    แต่แล้วคนในหมู่บ้านต้องพบกับความประหลาดใจ เมื่อ 7 วันผ่านไปพระภิกษุชุดนี้ยังคง ปักหลักอยู่ที่เดิม มิได้ย้ายหายหนีไปไหน มิหนำซ้ำยังดูมีทีท่าว่าการปรับพื้นที่ยังมีความเจิญก้าวหน้ามากขื้นเป็นลำดับอีกด้วย พระภิกษุชุดแรกได้ช่วยกันบุกเบิกสร้างศูนย์การศึกษาแห่งนี้ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ จาก 7 วันเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน และกลายเป็นหลายปีในที่สุด

เริ่มเห็นเป็นรูปร่าง
 
สามเณรที่เขาแก้วเสด็จ 
สามเณรเหล่ากอของสมณะ 
 
     เมื่อก่อสร้างธุดงคสถานครบ 1 ปี พระอาจารย์ กมล กมลสุโภ  ได้เปิดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนขึ้นเป็นครั้งแรก มีบุตรหลานชาวบ้านในหมู่บ้าน  ละแวกใกล้เคียงมาร่วมโครงการบรรพชากว่า 100 รูป สถานที่อบรมในโครงการบรรพชาสามเณรรุ่นแรกในครั้งนั้น คือ ศาลาจากซึ่งสร้างขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ซึ่งเป็นศาสนสถานหลังแรกที่ขึ้นอย่างเป็นการถาวร ก่อนจะรื้อถอนมาเป็นศาลาแก้วกายธรรมในปัจจุบัน  ศาลาจากแห่งนี้ได้เป็นทั้งที่ปฏิบัติธรรม ที่ฉันภัตตาหาร สถานศึกษาพระธรรมวินัย และเป็นที่จำวัดไปพร้อมกัน  สามเณรโรงเรียนเตรียมพุทธศาสตร์ในยุคแรก เมื่อจะเริ่มเรียนหนังสือต้องขึงซันแลนกั้นเป็นห้องๆ คล้ายกับโรงเรียนประชาบาล ถึงเวลาสอนจะมีเสียงปะปนกันระเบ็งเซ็งแซ่
 
     ยามฝนตกหนักหลังคามุงจากรั่วทำให้สามเณรทุกรูปพากันเปียกปอน กิจกรรมการเรียนจึงต้องเปลี่ยนไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ  หากเกิดพายุฝนตอนกลางวันสามเณรต้องยืนฉันภัตตาหาร หากฝนตกตอนกลางคืนก็เป็นที่รู้กันว่า คืนนั้นต้องทนนอนหนาวจำวัดท่ามกลางหยาดฝนเป็นแน่แท้ แม้จะจำวัดหลับบ้างไม่หลับบ้าง แต่สามเณรก็ได้เจริญพุทธานุสสติเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงใจ ไปจนกระทั่งจบปีการศึกษาแรก ลำบากขึ้นมาครั้งไหนสามเณรทุกรูปจะนึกถึงภาพความทุ่มเทเสียสละของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ นึกถึงความเมตตาของพระอาจารย์ และนึกถึงความศรัทธาของญาติโยม ที่ต้องหาปัจจัยเลี้ยงชีพด้วยความยากลำบากเมื่อนำมาสร้างบุญ เพื่อหวังว่าจะได้อานิสงส์ใหญ่จากเนื้อนาบุญในพระพุทธศาสนา จึงทำให้มีกำลังใจศึกษาและปฏิบัติธรรมต่อไปอย่างไม่ท้อถอย
 
เขาแก้วเสด็จ 
สามเณร ณ ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ 
 
     สามเณรวัชรินทร์ เจิมแสน สามเณรรุ่นแรกของศูนย์การศึกษาเขาแล้วเสด็จได้บอกเล่าถึงความประทับใจ       
 
     “สามเณรรักธุดงค์ และเคารพพระอาจารย์ทุกรูปเลยครับ มีความอบอุ่นและสุขใจเมื่อได้อยู่กับเพื่อนสามเณรที่เป็นเหมือนพี่น้องกันจริงๆ มาอยู่ที่นี่สามเณรประทับใจธรรมะและการนั่งสมาธิ(Meditation)ที่พระอาจารย์สอน ทำให้สามเณรรู้ซึ้งถึงบาปบุญคุณโทษมากขึ้น  ว่างๆ ท่านก็พาพัฒนาธุดงค์ ความตั้งใจ คือ อยากจะสอบให้ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นพระนาคหลวงให้ได้ครับ เเล้วจะกลับมาเป็นพระอาจารย์สอนสามเณรที่ธุดงค์ของเรา และอยากจะเข้าถึงธรรม เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง”
 
      หากใครได้มีโอกาสมาศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จในเวลานี้ จะพบเห็นพระภิกษุสามเณร ร่วมกันพัฒนาธุดงค์ในด้านต่างๆ รวมไปถึงเด็กชายหญิงตัวเล็กๆ อายุประมาณ 7-8 ขวบ ช่วยกันปลูกและรดน้ำต้นไม้ เก็บขยะเพชรพลอย ด้วยความขะมักเขม้นและแจ่มใส เป็นที่น่าชื่นใจแก่ผู้พบเห็น
             
     และนี่ คือ หัวใจของการสร้างคนให้เป็นคนดี ด้วยการเชื่อมโยง “บ้าน วัด และโรงเรียน” ได้อย่างแท้จริง  
 
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้
 
     หลังจากนั้นไม่นาน  ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก หนทางขรุขระที่เต็มไปด้วยปักโคลนเลนได้กลายเป็นถนนเข้าสู่พื้นที่ โดยถนนเส้นแรกนี้  คุณมาโนช  ชัยสิทธิ เจ้าภาพผู้ถวายที่ดินได้ควบคุมการทำถนนด้วยตนเอง ทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาของหมู่คณะ ต่อมาจึงได้ขุดสระน้ำไว้เก็บกักน้ำ ซึ่งแต่เดิมพระภิกษุได้อาศัยน้ำฉันน้ำใช้จากลำธารสายเล็กๆ ที่ไหลลงมาจากภูเขา ทว่าปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอ ทั้งยังมีสารเคมีปนเปื้อนจากแปลงเกษตร ทำให้ช่วงหนึ่งพระภิกษุที่ใช้น้ำบริเวณนี้ ต่างประสบปัญหามือเปื่อยเท้าเปื่อยไปตามๆ กัน  คุณมาโนชจึงสร้างสระน้ำเพื่อเก็บน้ำสะอาดเอาไว้ให้พระภิกษุสามเณรได้ใช้ 
 
เขาแก้วเสด็จ 
เขาแก้วเสด็จ ศูนย์ฝึกอบรมพระภิกษุที่ใหญที่สุดในเอเชียภูมิภาค
 
     จากนั้นจึงมีสิ่งก่อสร้างที่ทยอยเกิดขึ้นตามลำดับ  อาทิ กุฏิพระภิกษุ  กุฏิสามเณร หอฉัน ศาลาแก้วกายธรรม  โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา “เตรียมพุทธศาสตร์”  อาคารเรือนพยาบาล “อายุวัฒนะ”   สระน้ำขนาดใหญ่ทั้ง ๓ สระ โรงกรองน้ำ  ระบบไฟฟ้า  โรงทานมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ Network 21 ที่ผลิตอาหารหล่อเลี้ยงพระภิกษุได้วันละหมื่นรูป  และที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ คือ ศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์  ศูนย์ฝึกอบรมพระภิกษุที่ใหญ่ที่สุดในแถบเอเชียภูมิภาคที่สามารถรองรับพระภิกษุได้เป็นเรือนพันในแต่ละครั้งของการอบรม 
 
     ณ เวลานี้ไม่ว่าจะมองไปทางใด  ก็จะพบแต่ความสะอาดสะอ้าน และสุขสงบด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม ดั่งชลอวัดป่าเวฬุวัน  สถานที่ปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ในสมัยพุทธกาล  ลงมาไว้เบื้องหน้าเขาแก้วเสด็จ ให้กลายเป็นเมืองแห่งธรรมะ ที่สว่างไสวด้วยดวงใจของยอดนักสร้างบารมี ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ร่วมกันสร้างสถานที่แห่งนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางของการฝึกอบรมพระภิกษุที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งโลก  
 
โรงทาน 
โรงทานมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ
 
     ตลอด 1 ทศวรรษ ศูนย์การศึกษาเขาแล้วเสด็จได้สร้างคนดีให้เกิดขึ้นแก่สังคมอย่างมากมาย เป็นดั่งเทียนเล่มน้อยที่จะคอยให้ความสว่างไสวสู่สังคมโลกในอนาคต แต่สันติธรรมอันอำไพจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของเหล่าพุทธบริษัท 4 ที่ช่วยกันส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยการไม่ทอดธุระหรือนิ่งดูดาย  ท่านใดที่เคยมีส่วนร่วมสร้างศาสนสถานแห่งนี้  ก็ขอให้ท่านภาคภูมิใจไว้ว่าท่าน คือ ผู้สถาปนาแหล่งแห่งการสร้างพระแท้และคนดีให้บังเกิดขึ้นในโลก บุญกุศลที่เกิดจากการสร้างวัด สร้างศูนย์การศึกษา ซึ่งเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมให้กับประชาชนทั้งหลายนั้น ย่อมมีอานิสงส์มากเกินกว่าจะนับจะประมาณได้
 
     อานิสงส์นั้นอุปมาดั่งฝนรัตนชาติที่ตกทั่วแสนโกฏิอนันตจักรวาล ก็ยังไม่อาจเทียบได้กับทรัพย์สมบัติและอานิสงส์ที่พึงบังเกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนสร้างศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ  เพราะบุญที่เกิดจากการสร้างศูนย์ฝึกอบรมพระ  สร้างวิหารทานเพื่อรองรับคณะสงฆ์จากทิศทั้ง 4 นั้น ถือว่าเป็นบุญใหญ่  เพราะได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง  ดังนั้นการที่ท่านได้ร่วมบุญแม้เพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นอิฐสักก้อน  ตะปูสักตัว หรือดินสักกำมือ  ล้วนนำมาซึ่งหนทางแห่งการเข้าถึงธรรมของมนุษย์ทุกชีวิตทั้งสิ้น  เพราะที่นี่ คือ แหล่งสร้างพระภิกษุสามเณร ซึ่งในอนาคต พระภิกษุเหล่านั้นท่านก็จะย่ำธรรมยาตราออกไปประกาศพระพุทธศาสนา ยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
 
หมู่กุฏิพระ 
เขาแก้วเสด็จในวันนี้
 
    บัดนี้ ความพากเพียรทั้งหลายที่ทุกท่านได้ร่วมสถาปนาให้เกิดขึ้น ได้สัมฤทธิ์ผลมา 1 ทศวรรษแล้ว  นับจากวันนี้เป็นต้นไป เราย่อมมีความหวังได้ว่า โลกใบนี้จะเกิดสันติสุขขึ้นอย่างแท้จริง  เกิดจากที่นี่แหล่งสร้างพระแท้ เพื่อเผยแผ่ความรู้ที่แท้จริงไปทั่วโลก ซึ่งโลกได้รู้จักในนามว่า “ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ”  ขุนเขาแห่งแก้วกายสิทธิ์และผ้ากาสาวพัสตร์ที่เรืองรองสว่างไสวไปทั่วโลก               
 
 

http://goo.gl/Mneyv


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related