เทศกาลลอยกระทงมีที่มาที่ไปอย่างไร

ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมานานแล้ว บ้างก็ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยบ้างบอกว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัย และยังมีทฤษฎีอื่น ๆ อีกหลายทฤษฎี แต่ความจริงแล้วตั้งแต่เริ่มมีประวัติศาสตร์ชาติไทยขึ้นมา ก็มีประเพณีลอยกระทงอยู่แล้ว https://dmc.tv/a18785

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 16 ก.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18277 ]
 
เทศกาลลอยกระทงมีที่มาที่ไปอย่างไร ?

เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D.; Ph.D.) จากรายการข้อคิดรอบตัว ออกอากาศทางช่อง DMC


วันลอยกระทง

     ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมานานแล้ว บ้างก็ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยบ้างบอกว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัย และยังมีทฤษฎีอื่น ๆ อีกหลายทฤษฎี แต่ความจริงแล้วตั้งแต่เริ่มมีประวัติศาสตร์ชาติไทยขึ้นมา ก็มีประเพณีลอยกระทงอยู่แล้ว

ส่วนวัตถุประสงค์และความเป็นมาของการลอยกระทงมีดังนี้

     ประการแรก เป็นการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ บูชารอยพระบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทามหานที และบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเจดีย์จุฬามณีที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในบางท้องที่ลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประทับรอยไว้ เมื่อครั้งไปแสดงธรรมในนาคพิภพ คือมีอยู่ช่วงหนึ่งพญานาคอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปแสดงธรรมในนาคพิภพ หลังจากแสดงธรรมแล้ว ขณะจะเสด็จกลับ พญานาคกราบอาราธนาให้พระองค์ช่วยประทับรอยพระบาทไว้เป็นที่ระลึก ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทามหานที พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยประทับรอยพระบาทเอาไว้ เพราะฉะนั้น ถึงคราววันลอยกระทงก็ถือว่าเป็นการบูชารอยพระบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกถึงโอกาสที่เสด็จไปแสดงธรรมในนาคพิภพบางท้องที่บูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเจดีย์จุฬามณีที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์อย่างเช่นเทศกาลยี่เป็งทางเชียงใหม่ จะมีทั้งลอยกระทงและลอยโคม แต่ก่อนทั้ง 2 อย่างนี้คู่ขนานกัน แต่ตอนนี้รู้สึกว่าลอยโคมจะมาแรงกว่าลอยกระทงในแม่น้ำ

      การลอยโคมปล่อยขึ้นฟ้านี่เองที่เป็นการจุดประทีปบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเจดีย์จุฬามณีที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์พระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีทั้งหมด 4 องค์ องค์หนึ่งบรรจุอยู่ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อถึงคราววันเพ็ญพระอินทร์จะนำหมู่เทวดาไปบูชาพระเขี้ยวแก้วที่จุฬามณี เราเองไปไม่ถึงสวรรค์ ก็จุดโคมลอยแล้วส่งใจไปบูชาพระเขี้ยวแก้วที่จุฬามณีเจดีย์ร่วมกับพระอินทร์และพวกเทวดาตอนนี้ โคมลอยยี่เป็งดังไปทั่วโลกแล้วนักท่องเที่ยวทั้งโลกแห่มาดูยี่เป็งสันทรายที่ธุดงค์ล้านนา ซึ่งขึ้นชื่อลือชาจนฝรั่งมากันเป็นพันเป็นหมื่นคน ถือเป็นเทศกาลใหญ่ที่ทั้งทางจังหวัดและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยต้องมาร่วมกันจัดมีคนไปร่วมงานเยอะมาก และไม่ใช่แค่นั้น เรายังไปจัดพิธีลอยโคมในวันวิสาขบูชาที่มองโกเลียด้วยจัดมาแค่ 2 - 3 ครั้งเท่านั้น ตอนนี้กลายเป็นเทศกาลประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมองโกเลียไปเลย มีคนเข้าร่วมงานมากมาย ที่อินเดียก็ไปจัดมาแล้ว ชาวพุทธในอินเดียเขาเห็นไทยจัดมองโกเลียจัด เขาก็จัดบ้าง เวลาจัดพิธีบวชอุบาสิกาแก้ว หลังปฏิบัติธรรมร่วมกันแล้วก็จัดพิธีลอยโคม เป็นการรวมใจทุกคนเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่าเริ่มกระจายจากประเทศไทยขยายไปหลายประเทศแล้ว

     ประการที่สอง บูชาพระแม่คงคาการลอยกระทงเป็นการบูชาพระแม่คงคาในวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงที่มีน้ำเต็มตลิ่งบริบูรณ์ที่สุด เป็นการแสดงความขอบคุณผืนน้ำเพราะมนุษย์เราอยู่ได้ต้องอาศัยน้ำ ตั้งแต่โบราณมา ชุมชนไหนจะสร้างเมืองต้องอยู่ติดแม่น้ำไม่มีแหล่งน้ำสร้างเมืองไม่ได้ ต้องสร้างอิงแหล่งน้ำทั้งนั้น ฉะนั้นในรอบ 12 เดือน เดือนที่เหมาะที่สุดที่จะทำพิธีก็คือเดือน 12 เพราะว่าน้ำเต็มบริบูรณ์ แล้วชาวนาส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อย งานก็เสร็จแล้ว น้ำก็เต็มท่าได้จังหวะพอดี ก็เอาเทศกาลนี้มาลอยกระทงกันในคืนวันเพ็ญน้ำเต็มตลิ่งพระจันทร์สว่างเด่นบนฟ้าการบูชาน้ำก็ต้องหาอะไรที่ลอยได้ แล้วกลางคืนมืด ๆ ไม่มีความสว่าง มองไม่เห็นอะไรก็ต้องบูชาด้วยความสว่าง จะเป็นความสว่างรูปแบบไหนก็แล้วแต่ท้องที่ แต่จะเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือต้องมีความสว่างเหมือนกันหมด

     ในภาคกลางบูชาด้วยกระทงที่ทำด้วยใบตองมีเทียนปัก ต่อมามีโฟมก็ใช้โฟมทำกระทง แต่บางคนไม่เอาโฟม ชอบกระทงแบบธรรมชาติ ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทางเหนืออย่างจังหวัดตากขึ้นชื่อลือชาเรื่องกระทงสาย เขาเอากะลามะพร้าวมาขัดให้สะอาด แล้วเอาเทียนพรรษาหลอมมาใส่ในกะลาตรงกลางเอาด้ายดิบมาทำเป็นไส้เทียน เตรียมไว้เป็นพันกะลาเลย ถึงคราวก็นำไปลอยในแม่น้ำปิงที่จังหวัดตาก จุดแล้วก็ลอยตาม ๆ กันไป จนบางคนที่เห็นกระทงไหลเป็นสายก็คิดว่าคงมีเชือกผูกอยู่ข้างล่าง จริง ๆ ไม่มี เผอิญแม่น้ำปิงที่ผ่านจังหวัดตาก ข้างล่างมีสันทรายอยู่ เวลาน้ำมามันจะมาเป็นร่องน้ำ เวลาปล่อยกระทงออกไปมันจะลอยไปตามร่องน้ำเป็นสาย เนื่องจากเขาปล่อยแบบต่อเนื่องกัน กระทงก็เลยไหลไปเป็นสาย เป็นภาพที่งามมาก

     เมื่อตอนประชุมเอเปค (APEC) ที่มีผู้นำทั่วโลกมาประชุมกันที่กรุงเทพฯ ไทยเราเป็นเจ้าภาพพอเสร็จการประชุมแล้ว ตอนภาคค่ำ ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เราก็ปล่อยโคมลอย โดยทางราชการติดต่อยืมทีมงานจากธุดงคสถานล้านนาที่ปล่อยโคมยี่เป็งให้มาช่วยปล่อยโคมข้างวัดพระแก้ว โคมลอยขึ้นไปบนฟ้าเป็นสาย ในแม่น้ำก็เอาทีมงานกระทงสายจากจังหวัดตากมาตามปกติเขาจะดูแลเรื่องความปลอดภัยของผู้นำประเทศสูงมาก ต้องอยู่ในห้องที่มีกระจกกันกระสุน ป้องกันการลอบยิง ปรากฏว่าผู้นำประเทศไม่สนเลย เปิดประตูออกมายืนดูข้างนอกเลย แถมบางคนที่เป็นคู่สามีภรรยายังถือโอกาสโอบ ๆ กันนิดหน่อย เพราะบรรยากาศโรแมนติกสุด ๆ เขาว่าอย่างนั้นนะ บรรดาผู้นำเกิดความรู้สึกประทับใจมากว่าทำไมวัฒนธรรมไทยมีความงดงามอย่างนี้ ไม่เคยไปประชุมที่ไหนในโลกที่มีความสวยงามอย่างนี้เลย มองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามก็คือพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว ซึ่งมีไฟสวยงามมากบนฟ้ามีโคมยี่เป็งลอยขึ้นไปเป็นสาย บนผืนน้ำมีกระทงลอยมาเป็นสาย

การบูชาพระแม่คงคาก็คือ การระลึกว่าตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เราได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นต้องแสดงความขอบคุณน้ำแสดงความขอบคุณไม่ใช่แค่ลอยกระทงเฉย ๆต้องรู้คุณน้ำด้วย แล้วก็ใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ใช้ทิ้งใช้ขว้าง เพราะน้ำไม่ได้มีเหลือเฟือ ต่อไปจะแย่งน้ำกัน ตอนมีน้ำอยู่ไม่รู้สึก พอแล้งน้ำก็จะพบว่า บางครั้งถึงกับอาจจะทำศึกสงครามแย่งชิงน้ำกัน จะเห็นคุณค่าของน้ำตอนที่ขาด

เพราะฉะนั้นต้องใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า แล้วก็ไม่ทำให้น้ำสกปรก ไม่ปล่อยของเสียลงน้ำ เป็นต้น รณรงค์ให้ทุกคนรู้จักการประหยัดน้ำ ใช้น้ำให้ถูกวิธีและไม่ทำให้แหล่งน้ำเสียหาย นี่คือการขอขมาพระแม่คงคา และแสดงความขอบคุณพระแม่คงคาที่ถูกต้อง ไม่ใช่ไปไหว้เทวดาพระแม่คงคา ไม่ใช่อย่างนั้น แต่แสดงความขอบคุณกับน้ำ ว่าเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตเรา ฉะนั้นเราต้องใช้น้ำให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ ถ้าอย่างนี้ถูกหลัก
 
วันลอยกระทง
วันลอยกระทง

    หลายคนบอกว่า การลอยกระทงเป็นการลอยทุกข์ลอยโศกให้ออกไปจากตัวเราบางคนก็ตัดเล็บตัดผมใส่ลงไปในกระทงบางคนก็เอาเงินใส่ลงไป แล้วก็ลอยไปเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องไหม?

อันนั้นเป็นความเชื่อที่เพิ่มขึ้นมาทีหลัง ไหน ๆ ก็ลอยไปแล้ว ก็น่าจะเอาอะไรที่ไม่ดีลอยออกไปด้วย คิดได้อย่างนี้แล้วรู้สึกสบายใจ นั่นเป็นสิ่งที่แถมขึ้นมา แต่ความจริงแค่เอาผมใส่กระทง ตัดเล็บใส่ เอาสตางค์ใส่ลงไป มันเป็นไปไม่ได้ที่ทุกข์โศก โรคภัยต่าง ๆ จะลอยออกไป มันยังไม่ไปถ้าต้องการให้ทุกข์โศก โรคภัย ลอยออกไปด้วยต้องสร้างบุญ ถ้าต้องการลอยทุกข์ ลอยโศกลอยเคราะห์ ลอยภัยออกไป ในตอนกลางวัน

     ก่อนลอยกระทงให้ไปทำบุญก่อน ถวายสังฆทานเลี้ยงพระหรือว่าทำบุญในด้านต่างๆ พอกลางคืนมาลอยกระทงก็ระลึกนึกถึงบุญนี้ แล้วอธิษฐานว่าด้วยอานิสงส์ผลบุญนี้ ขอให้ทุกข์โศก โรคภัยเคราะห์ไม่ดีทั้งหลาย ออกไปจากชีวิตข้าพเจ้าอย่างนี้ถึงจะได้ ส่วนผมหรือเล็บตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เอาไปใส่ถังขยะให้เข้าใจหลักนิดหนึ่งว่า ชีวิตคนเรามีระเบิดเวลาอยู่ ถ้าเปรียบชีวิตเราเหมือนนาวาชีวิตระเบิดลูกนี้ก็เหมือนกับเป็นหินโสโครกใต้น้ำ เป็นทุ่นใต้น้ำที่เรามองไม่เห็น บางคนเราเห็นเขาเป็นคนดี ทำไมปุ๊บปั๊บรถชนตายไปแล้ว บางคนปุ๊บปั๊บป่วยตายไปเลย ทำให้สงสัยว่า ทำไมคนดี ๆตายเร็ว ที่จริงเป็นเพราะกรรมในอดีตของเขา ถ้าดูแค่ชาตินี้แล้วเขาอาจจะยังไม่ควรตาย แต่คนเราเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ชาติก่อน ๆ ที่เขาทำไม่ดีมาก็มี มันมาส่งผลตอนนี้พอดีถามว่าจะแก้อย่างไร วิธีการคือจะต้องสร้างบุญ ถ้าเราสร้างบุญก็เหมือนเติมน้ำ เหมือนเรือวิ่งอยู่ มีหินโสโครกอยู่ ถ้าเรือไปเกยหินเมื่อไรก็เรียบร้อย จมเลย แต่พอน้ำสูงขึ้น เรือก็วิ่งผ่านไปได้ หินโสโครกยังมีอยู่เหมือนเดิม แต่เรือวิ่งผ่านไปได้โดยไม่เกยตื้น เรือก็ไม่แตก เพราะน้ำหนุนให้เรือลอยผ่านไปเลย ชีวิตเราเหมือนกันวิบากกรรมในอดีตตามมา แต่ถ้าเราสร้างบุญแล้วบุญจะหนุนส่งให้นาวาชีวิตของเราสูงขึ้น แล้วลอยข้ามวิบากกรรมนั้นไปได้

     เพราะฉะนั้น อยู่ ๆ ไปลอยกระทงเฉย ๆ เคราะห์กรรมยังไม่ได้หายไปนะ ต้องไปสร้างบุญก่อน แล้วก็ตั้งใจสวดมนต์นั่งสมาธิ(Meditation)เป็นพิเศษด้วยเพราะวันเพ็ญเป็นวันดี ลอยกระทงเสร็จแล้วกลับมานั่งสมาธิ สวดมนต์ แล้วก็เปิด DMC ดู ใจจะได้อยู่ในบุญกุศล ถ้าลอยกระทงแล้วคิดว่าลอยเคราะห์ลอยโศกไปแล้ว เสร็จแล้วไปดื่มสุรา แล้วก็ตีหัวกันกรรมใหม่ก็ตามมาเลย บางครั้งไปเล่นดอกไม้ไฟกันแล้วไฟไหม้บ้านก็มี เพราะฉะนั้นจะผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปได้ ต้องสร้างบุญ นี่คือหัวใ

วัตถุประสงค์ของการจุดดอกไม้ไฟคืออะไร?

     การจุดดอกไม้ไฟเป็นสิ่งที่เพิ่มมาทีหลัง พูดง่าย ๆ ว่า เมื่อมีงานเทศกาล มีการลอยกระทงก็พยายามหาอะไรที่ทำให้คึกคักสนุกสนาน

ควรจะอนุรักษ์หรือควรคำนึงถึงอะไรบ้างเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง?

     ควรจะนึกถึงเป้าหมายดั้งเดิม คือ 1. บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2. ระลึกถึงคุณของน้ำแล้วบริหารจัดการน้ำอย่างถูกต้องตามหลักวิชา

ในปัจจุบันความคิดเรื่องการลอยกระทงอย่างเดิมเปลี่ยนไปมากไหม?

      คิดว่ายังมีอยู่ แต่ว่าอาจจะไม่ชัดมากนักบางคนก็ชัด บางคนก็ไม่ชัด ส่วนใหญ่อาจจะนึกว่าเป็นประเพณีก็เลยรักษาประเพณีเอาไว้ แต่ความเข้าใจว่า ประเพณีนี้มีเพื่ออะไรอาจจะไม่ถึงกับชัดเจนมากนัก

ทำไมเขาถึงกำหนดให้วันเพ็ญเดือน 12 เป็นวันลอยกระทง?

    อย่างที่บอกไปแล้วว่า ถ้าจัดงานวันเดือนมืดกับเดือนสว่างอันไหนดีกว่า ก็ต้องเดือนเพ็ญที่สว่างไสว เพราะฉะนั้นงานสำคัญ ๆ เขาจะจัดตรงกับวันเพ็ญ ซึ่งปีหนึ่งมีอยู่ 12 ครั้ง การลอยกระทงถ้าจัดหน้าแล้งก็ไม่มีน้ำ ลอยไม่ได้ เลยต้องเลือกเดือนที่มีน้ำบริบูรณ์ที่สุด ซึ่งก็คือเดือน 12 ที่น้ำนองเต็มตลิ่ง

บรรดาพุทธศาสนิกชนที่เป็นวัยรุ่นและผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไรในเทศกาลลอยกระทง?

    ต้องระวัง เพราะว่าการลอยกระทงต้องลอยกลางคืน ต้องรอให้พระจันทร์ขึ้นก่อน พอมืด ๆ อากาศเย็น ๆ หนาว ๆ จะค่อนข้างโรแมนติก

     เพราะฉะนั้นวัยรุ่นหรือหนุ่มสาวก็ชักจะคิดฟุ้งซ่านเนื่องจากโอกาส จังหวะ อารมณ์ และบรรยากาศพาไป ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดีก็อาจจะเกิดเรื่องเสียหายได้ พ่อแม่ก็ควรจะดูแลลูกด้วย ถ้าไปด้วยกันเป็นครอบครัวได้ก็จะดี ในขณะเดียวกันฝ่ายหญิงก็ควรจะต้องรู้ว่า เราต้องรักนวลสงวนตัวเราถึงจะมีค่า ถ้าไปทำอะไรแบบปล่อยตัวปล่อยใจไปง่าย ๆ เขาจะไม่เห็นค่า แล้วจะเกิดความเสียหายตามมาในภายหลัง

      อย่าให้เทศกาลที่ควรจะเป็นการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลายเป็นทางมาของเรื่องไม่ดีอย่างนี้ไม่ถูกต้อง ควรทำให้ถูกวัตถุประสงค์ คือบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วระลึกถึงคุณของน้ำ ขณะเดียวกันก็ให้ระวังของแถมที่จะตามมาซึ่งเป็นความเสียหายต่าง ๆ คือ การเมาสุราการทะเลาะวิวาท แล้วก็เรื่องชายหญิง ตรงนี้ต้องระวังให้ดี ให้เราป้องกันข้อเสียแล้วเสริมข้อดีจะได้เป็นการรักษาอนุรักษ์ประเพณีลอยกระทงไว้อย่างถูกต้องและดีงาม


http://goo.gl/15hUi0


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related