เศรษฐกิจฟองสบู่

เศรษฐกิจฟองสบู่ ความกังวลเกี่ยวกับราคาสินทรัพย์จะเป็นหุ้น บ้าน หรือที่ดินมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้คนสนใจที่จะลงทุนกล้าๆกลัวๆในความเสี่ยง เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่หรือไม่ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะฟองสบู่หรือไม่ https://dmc.tv/a15858

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 3 ก.ค. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18291 ]

เศรษฐกิจฟองสบู่

เศรษฐกิจฟองสบู่
เรียบเรียงมาจาก รายการ ทันโลก ทันธรรม
 
 

 
 
รู้ทันเศรษฐกิจฟองสบู่


 เศรษฐกิจฟองสบู่
ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องฟองสบู่ราคาสินทรัพย์
หุ้น บ้านที่ดินมีราคาเพิ่มสูงขึ้น
 
 
     ถ้าติดตามข่าวเศรษฐกิจช่วงนี้จะพบความกังวลเกี่ยวกับเรื่องฟองสบู่ ราคาสินทรัพย์จะเป็นหุ้น บ้าน หรือที่ดินมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้คนสนใจที่จะลงทุนแต่ก็กล้าๆ กลัวๆในความเสี่ยง เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้นักเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อไหร่จะเกิดภาวะฟองสบู่หรือยังไม่เกิด  ทำให้หลายๆครั้งเกิดฟองสบู่แตกทำให้ผู้คนไม่ทันตั้งตัวและ เศรษฐกิจทั้งระบบต้องล้มลงและทรุดลงอย่างทันตา
 

     เศรษฐกิจฟองสบู่ คือ ภาวะที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานที่ชัดเจนซึ่งเหตุผลของเศรษฐกิจฟองสบู่เกิดจากการเก็งกำไร  มีความคาดหวังว่าสิ่งหนึ่งจะมีมูลค่าสูงขึ้นมาก  จึงมีการลงทุนตรงจุดนั้นมากเมื่อมีการลงทุนมากก็เกิดดีมานด์มาก ทำให้เกิดราคาสูงขึ้นมากและมีการเก็งกำไร เกิดความเชื่อว่าจะทำให้ราคาสูงขึ้นที่ทำให้เศรษฐกิจเป็นฟองสบู่ คือ แมงเม่า ถ้าไม่มีแมงเม่า หรือ Zero-sum game (แมงเม่า คือ ผู้ซื้อรายย่อย) เป็นการที่เศรษฐีคนหนึ่งเสียเงินและเศรษฐีอีกคนหนึ่งได้เงิน
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
 เศรษฐกิจฟองสบู่ เกิดจากการเก็งกำไรจากกลุ่มผู้หวังผลประโยชน์
 
 
     หลักการของการเก็งกำไรคือเราซื้อเราลงทุน เมื่อมีคนหนึ่งเข้ามาเก็งกำไรต่อ ถ้าคนไหนได้กำไรก็ได้ไปแต่ถ้าคนไหนเสียก็เสียไป แต่เงินลงทุนก็ยังหมุนเวียนอยู่ระหว่าง 2 กลุ่ม เงินไม่ได้เพิ่มขึ้นแค่เปลี่ยนมือผู้ถือเงิน แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อแมงเม่าเข้าไป เช่น มองเห็นว่าที่ดินตรงนี้ราคาขึ้น คอนโดที่มีราคาสูงก็ไปกู้แบงค์มาซื้อ เหมือนกับประเทศสหรัฐอเมริกาตอนที่เกิดภาวะฟองสบู่เรื่องที่ดิน  เมื่อเศรษฐกิจเจริญมากขึ้นคนจึงเริ่มซื้อบ้านหลังที่ 2 หลังที่ 3 เพื่อเก็งกำไร เพราะในอนาคตที่ตรงนี้จะเจริญขึ้น แต่สุดท้ายกำลังซื้อไม่พอเศรษฐกิจตก เงินไม่พอจ่ายก็ต้องถูกบังคับขาย ราคาตกแบงค์ก็ล้มเศรษฐกิจล้มเสียหายระบบนี้คือฟองสบู่เป็นการสร้างดีมานด์ที่ไม่จริง 
 
 
     และเมื่อผู้ซื้อรายย่อยเข้าไปโดยใช้เงินกู้ใช้เงินเก็บเข้าไป ตัวอย่างเช่น ในปี 1600 เรื่องราคาดอกทิวลิป ทิวลิปนำเข้ามาในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ผลิตขึ้นมาส่งออก มีการเก็งกำไรทิวลิปไปทั่วโลก เมื่อราคาต้นกล้าทิวลิปขึ้นโดยมีคนปั่นราคาและชักชวนลงทุน  แต่เมื่อราคาขึ้นระดับที่สูงที่สุดแล้วก็ไม่มีใครซื้อราคาก็ดิ่งลงทันที  เสียหายถึงขั้นเศรษฐกิจที่เนเธอร์แลนด์พังซึ่งเกิดเมื่อประมาณ 400 ปีที่แล้ว เมืองไทยเราเจอช่วงต้มยำกุ้งผู้ซื้อรายย่ยก็กว้านซื้อเพราะเห็นหุ้นกำลังขึ้น แต่เมื่อหุ้นได้กำไรเกิดการปล่อยขายหู้นก็ตก ผู้ซื้อรายย่อยเกิดการขาดทุน


   ปัจจัยที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่


1. ความโลภ ความโลภของคนที่ไม่สิ้นสุด

2. ความคาดหวัง
คาดหวังว่าหุ้นจะสูงขึ้นเรื่อยๆไม่มีวันตก

   
 
   เหมือนกับราคาทองคำเกิดจากการซื้อมีคนซื้อที่มากกว่าคนที่ใช้จริง ทองคำที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและที่ใช้ในเครื่องประดับมีความต้องการใช้จริง 30% อีก 70% เป็นเรื่องของการเก็งกำไรเพราะคาดหวังว่าราคาทองจะต้องเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จึงซื้อเก็บไว้  แต่พอถึงจุดหนึ่งคนต้องใช้เงินคนเลยต้องขายเมื่อเกิดการขายพร้อมๆ กัน ราคาทองก็ตกลงมา
 

 เศรษฐกิจฟองสบู่
กำลังซื้อทองมากกว่าความต้องการใช้จริง
 
 
   ปัจจุบันไม่ว่าธนาคารหรือโรงรับจำนำทองคำต้องขาดทุนเหมือนกัน นี่คือเรื่องที่เกิดจากความคาดหวังว่าราคาต้องขึ้นไม่มีลง แต่ความจริงทุกอย่างไหลไปไหลมาหมด ต้องเซ็ตฐานราคาใหม่เพราะมันไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง สำคัญเราต้องดูปัจจัยพื้นฐาน ระวังการปล่อยข่าวลือเรื่องหุ้นไทยที่เขยิบขึ้นสูง ซึ่งเกิดจากคนที่หวังผลเพื่อปั่นหู้นของตัวเอง เพราะต้องการให้มีคนเข้าลงทุนหวังผลกำไรในระยะสั้นและระยะกลาง  เป็นเทคนิคที่เกิดขึ้นจากการดึงผู้ซื้อรายย่อย  เมื่อถึงเวลาตัวเองได้กำไรก็ปล่อยเพื่อชดเชยภาระการขาดทุนของตนเองแต่คนที่เสียหายที่สุดคือผู้ซื้อรายย่อย  เพราะทุกเรื่องเกิดจากความโลภของมนุษย์ในการหาเงิน  ฉะนั้นข่าวลือต่างๆถ้าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริงอย่าฟัง เพราะถ้าเราจะทำธุรกิจด้านการซื้อขายหุ้นเราต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง                           


มิติที่ใช้ตัดสินการเกิดสภาวะฟองสบู่


1. ราคาสินทรัพย์  ราคาสินทรัพย์ได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่เป็นหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น คอนโด ถ้ากำลังซื้อเยอะยังมีคนต้องการซื้อคอนโดหลังที่ 2-3 เพื่อเก็งกำไร ราคาต้องปรับแน่นอนแต่ถ้าหากยังถือได้ต่อราคาก็ไม่ลง ความสามารถในการถือลดลง เข้าสู่มิติที่ 2

2. ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ ถ้าเกิดเห็นคอนโดหลังหนึ่งขายหมดแล้วแต่มีคนอยู่แค่ 10% แปลว่าไม่มีการใช้ประโยชน์จากสื่งที่มีอยู่ วิธีแรก คือ ดูราคาว่าสูงเกินไปรึเปล่า อย่างที่สอง คือ คอนโดที่ซื้อแล้วแต่ไม่มีคนอยู่  


 เศรษฐกิจฟองสบู่
การซื้อเพื่อเก็งกำไรในอนาคตที่ไม่แน่นอน
 
 
3. ความถี่ของการซื้อขาย ถ้าหากราคาดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นแต่ความถี่ซื้อขายก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ก็เป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นว่าอาจเกิดฟองสบู่ขึ้น เพราะมีการเปลี่ยนมือกันบ่อย คนที่เก็งกำไรก็ขายต่อหรือคนที่ถือต่อไม่ได้ยอมตัดกำไรลงมา ยิ่งมีการขายมากเท่าไหร่ที่มีแนวโน้มว่าสูงราคาจะตกลงมา เมื่อคนขายมีมากกว่าคนซื้อราคาก็ตก

4. จิตวิทยา ถ้าสังเกตจะเห็นว่าช่วงก่อนเกิดภาวะฟองสบู่ทุกอย่างดูปกติ คนจะมองโลกในแง่ดี เศรษฐกิจกำลังเจริญ ราคาสินทรัพย์เพิ่ม แบงค์ปล่อยสินเชื่อเยอะ ราคาหุ้นที่ถีบตัวขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว เป็นลักษณะทางจิตวิทยาที่คนจะไม่ฟังคำเตือน ไม่ว่าจะมีใครออกมาเตือนเพราะมองภาพรวมว่าทุกอย่างเป็นปกติ ให้คิดได้เลยว่าอาจเข้าใกล้สภาวะฟองสบู่แตก

    
วิธีการป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่
 

     เศรษฐกิจฟองสบู่เป็นเรื่องที่ต้องผนวกกันทุกฝ่าย อย่างแรกคือรัฐบาลฝ่ายที่ดูแลทางด้านนี้ต้องไม่มองโลกในแง่ดีเกินไปและไม่เก็บงำข้อมูล  เมื่อถึงเวลาออกมาเตือนประชาชนก็ออกมาเตือนอย่างเป็นระบบ  ต้องบอกสภาวะสภาพที่แท้จริงดูเหตุภาพรวมและนโยบายต่างๆซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ควรที่จะวางนโยบายชะลอ กรณีถ้าหากมีแนวโน้มภาวะฟองสบู่แบงค์ชาติรวมทั้งองค์กรต่างๆ ต้องรัดเข็มขัดเรื่องวินัยทางการเงิน
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
 การเจริญเติบโตของประเทศต้องควบคู่กับเศรษฐกิจที่ดี
 
 
     รวมทั้งตลาดหุ้นก็ต้องแตะเบรกฉะนั้นก็เป็นเรื่องของการยืดหยุ่น ในมิติหนึ่งคือเรื่องของการเจริญของประเทศ เศรษฐกิจของประเทศ แต่อีกมิติหนึ่งคือป้องกันไม่ให้เกิดฟองสบู่ต้องเชื่อมโยงกัน รวมทั้งประชาชน อย่าเชื่อข่าวลือ ไม่รู้จริงอย่าเสี่ยงและอย่าให้ความโลภบดบังใจตัวเองทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ  เมื่อเงินไหลไปก็ต้องมีการโยงใยต่อเงินก็ไหลไปไม่หยุด
 
     ถ้าตรงไหนที่มีศักยภาพ เช่น หุ้นประเทศไทยต่ำเงินจะไหลมาที่เรามีปัญหาเงินร้อนกันอยู่ตอนนี้  เพราะเงินไหลเข้ามาหุ้นก็ถีบขึ้นถ้าผู้ซื้รายย่อยที่เข้ามาถ้าได้กำไรพอแล้ว ก็จะไปมองประเทศที่กำลังแย่แต่ต้องเป็นประเทศที่มีศักยภาพ  เมื่อเรามีเงินลงทุนก็มีแนวโน้มว่าจะไปได้ดีก็เริ่มช้อนหุ้นแล้วปล่อยทั้งหมด  แต่คนที่เดือดร้อนคือผู้ซื้อรายย่อยที่เข้ามาแต่ไม่รู้ว่าควรปล่อยหุ้นเมื่อไหร่  เพราะฉะนั้นไม่มีใครรู้เลยว่าจังหวะอยู่ตรงไหน ขึ้นอยู่กับข่าวลือ และข่าวต่างๆทั่วทุกมุมโลก ภาวะของยุโรป ภาวะของอเมริกากระทบหุ้นทั้งหมดกระทบความเชื่อมั่นจึงเกิดการเทขายหุ้น  

 
เมืองไทยจะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่อีกหรือไม่


      ปัจจุบันสภาวะในเมืองไทยยังไม่ได้เข้าขั้นเศรษฐกิจฟองสบู่ แต่หลายสิ่งเริ่มมีการเก็งกำไร ตัวอย่างเช่น ที่ดินหนองคาย ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆเพราะมีการเก็งกำไร แต่ถ้าหากว่าคนที่ซื้อสามารถถือต่อได้มีศักยภาพในการซื้อจริงเป็นคนมีสตางค์ราคาก็ไม่ตก  และมีเงินเพื่อพัฒนาต่อ ราคาหุ้นก็ยังไม่ได้สูงจนเกินไป อัตราการเจริญเติบโตของแต่ละบริษัทก็ยังอยู่ในภาวะที่เป็นไปตามระบบ
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
 ผลจากการเก็งกำไรเป็นตัวก่อภาวะฟองสบู่
 

      สิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นเรื่องระบบของโครงสร้างพื้นฐานการลงทุน 2 พันล้านล้าน ทำให้หุ้นเพิ่มขึ้น 1% ตลอดต่อเนื่อง 7 ปีส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพเงินก็ไหลเข้ามา เพราะถ้าหากไม่มีมาตรการทางการเงินที่มีวินัย  ก็สามารถจะควบคุมว่าเมื่อถึงเวลาหนึ่งต้องมีการเทขายหรือบังคับขาย  หุ้นตกลงไปแล้วความเสียหายก็ถูกควบคุมได้  แต่ว่าระบบเศรษฐกิจแบบนี้เงินที่อยู่ในกระแสโลกวิ่งไปวิ่งมาไม่อยู่กับที่  เมื่อถึงจุดอิ่มตัวของประเทศไทยก็ไปประเทศอื่นต่อ แต่เราจะรู้ทันและป้องกันเศรษฐกิจฟองสบู่ได้หรือไม่อย่างไร เพราะนี่คือส่วนของทันโลก
 
  
ส่วนของทันธรรม
โดย พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) 


รู้ทันเศรษฐกิจฟองสบู่
 
 
     ยุคนี้เศรษฐกิจฟองสบู่เราระวังกันมากเพราะถ้าหากเกิดขึ้นสะเทือนหนัก ประเทศไทยเจอหนักที่สุดครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่ฟองสบู่แตก ผลข้างเคียงคือค่าเงินบาทที่ร่วงลงมาจาก 1 ดอลลาร์แลกได้ 25 บาท กลายเป็น 57 บาท ธุรกิจน้อยใหญ่ล้มระเนระนาด ไฟแนนซ์ปิดตัวลงกว่า 50 แห่ง สหรัฐอเมริกาก็เคยเกิดฟองสบู่เมื่อตอนที่อสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำเกิดปัญหาแบงค์ล้ม  ต้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยไว้สะเทือนทั้งประเทศและสะเทือนไปทั่วโลก  
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
วิกฤติต้มยำกุ้งเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2540 
 
 
     เกิดจากความโลภที่มุ่งแสวงหาผลกำไรโดยการเก็งกำไร แต่ถ้าทุ่มเทกับการผลิตฟองสบู่ไม่ได้เป็นปัญหา  แต่เมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่แท้จริงแต่ใช้การเก็งกำไรเป็นตัวนำมากไป ผลที่ตามมาคือเกิดฟองสบู่ ความโลภมนุษย์มากเกินเหตุ แต่เมื่อฟองสบู่แตกก็เป็นปัญหาเดือดร้อนกันถ้วนหน้า  ทั้งคนที่เก็งกำไรและคนที่ไม่ได้เก็งกำไรก็สะเทือนไปด้วย     


พระพุทธเจ้าให้แนวทางในการบริหารเศรษฐกิจให้เจริญอย่างพื้นฐานมั่นคงอย่างไร?

  
     ในพระไตรปิฏก กูฏทันตสูตร พระองค์เล่าไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระองค์บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ มีชาติหนึ่งที่พระองค์เกิดเป็นกษัตริย์มีอำนาจมากทรงพระนามว่า พระเจ้ามหาวิชิตราช ขยายอาณาเขตกว้างขวางมาก ขณะนั้นมีชาวบ้านราษฏรยากจน ลำบาก เดือดร้อนเป็นโจรกันบ้างมีความไม่สงบเกิดขึ้น แต่พระองค์มองการแก้ปัญหาอย่างเฉียบคม โดยการแบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนระดับบน และ กลุ่มคนระดับล่าง คนระดับบนเศรษฐกิจดีอยู่แล้วแต่คนที่ต้องช่วยเหลือเป็นกลุ่มคนระดับล่างคือรากหญ้า  ท่านแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ถ้าเปรียบเทียบจากปัจจุบัน


1. กลุ่มผู้ใช้แรงงาน  ไม่ว่าจะเป็นแรงงานการเกษตร เกษตรกรรายย่อย หรือเป็นคนงานตามโรงงานต่างๆเป็นต้น  กลุ่มนี้ท่านบอกไว้ว่าให้อุดหนุนอุปกรณ์การทำงานของพวกเขา เช่น ถ้าเป็นการเกษตรก็ให้พืชพันธุ์ เมล็ดพันธุ์พันธุ์ดี แต่การช่วยให้ช่วยคนที่ขยันไม่ได้ช่วยทุกคนเท่ากันหมด แบบนี้ไม่มีแรงจูงใจ ต้องคัดเลือกแล้วเลือกช่วยคนที่ขยันเพราะคนที่เอาการเอางานเมื่อเราให้ไปหนึ่งเขาจะขยายผลให้กลายเป็นสิบ  แต่คนที่ขี้เกียจให้ไปหนึ่งก็กินใช้หมด แต่ถ้าเลือกช่วยคนขยัน ตั้งใจ ทุ่มเททำงาน ลงไปแล้วเกิดประโยชน์เศรษฐกิจมีการหมุนเวียน 


 เศรษฐกิจฟองสบู่
กลุ่มคนระดับล่าง
 
 
2. กลุ่มพ่อค้า แม่ค้ารายย่อย คือ ทำให้เขามีอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ถ้าเป็นอย่างในปัจจุบัน เช่น สินค้า OTOP หรือ การตั้งกองทุน SME มีกองทุนหมู่บ้านกู้ยืม พ่อค้า แม่ค้ารายย่อยก็สามารถไปกู้ยืมไปลงทุนได้  แต่ช่วยให้เขามีต้นทุนในการทำธุรกิจเล็กๆของตัวเองให้ค่อยๆยืนหยัดขึ้นมาได้ แต่ท่านก็บอกไว้ว่าต้องเลือกช่วยพ่อค้า แม่ค้ารายย่อยที่ขยันเอาการเอางาน ถ้าให้คนขยันย่อมได้คืนกลับมาดีกว่าให้คนขี้เมาเพราะหนี้ไม่ได้คืน เพราะให้ต้องมีประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย ต้องฉลาดในการให้ไม่ได้ให้หว่าน 
 
3. กลุ่มข้าราชการระดับล่าง ต้องดูให้เขายืนหยัดอยู่ได้เขาจะสามารถทำหน้าที่ตัวเองได้ สวัสดิการ การดูแล ครอบครัวเขาเจ็บป่วย ปัจจัย 4 ให้พออยู่พอสมเพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารราชกิจต่างๆ ให้ราบรื่นเรียบร้อยต่อไป แต่การจะทำได้พระองค์จะขอความร่วมมือจากคนระดับบน 4 กลุ่ม 

1. กลุ่มกษัตริย์ เช่น เจ้าเมืองประเทศราช เป็นต้น อยู่ในสายปกครอง ถ้าเทียบกับปัจจุบัน คือ กลุ่มการเมือง
 
2. กลุ่มอำมาตย์ถ้ายุคปัจจุบัน คือ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น อธิบดี ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระดับ ซี9  ซี10 ซี11 กลุ่มเหล่านี้ก็มีความสำคัญเพราะคุมกลไกการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กลุ่มการเมืองมาบริหารประเทศจะทำงานจริงๆก้ต้องอาศัยกลุ่มข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นมือเป็นไม้ให้
 
3. พราหมณ์มหาศาล ถ้ายุคปัจจุบัน คือ กลุ่มคนที่มีอำนาจในการชี้นำความคิดให้กับสังคม เป็นกลุ่มนักวิชาการและสื่อมวลชน จะขียน จะพูดอะไร ก็สามารถชักนำความคิดคนได้ ถ้าชี้ถูกทุกอย่างก็ดีราบรื่น แต่ถ้าชี้ผิดผู้บริหารประเทศจะทำให้เกิดความเจริญแต่นักวิชาการและสื่อมวลชนชี้นำว่าไม่ดีปัญหาเกิดปั่นป่วนทันที  เพราะฉะนั้นจะบริหารประเทศให้ราบรื่นต้องได้รับความร่วมมือจากกลุ่มวิชาการและสื่อมวลชน
 

 เศรษฐกิจฟองสบู่
กลุ่มคนระดับบน
 

4. คหบดีมหาศาล เศรษฐีมหาศาล  คือ นักธุรกิจรายใหญ่คนเหล่านี้มีทรัพย์มาก รวย กลุ่มข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เด่นเกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานข้าราชการแผ่นดิน อำนวยความสะดวกให้ทุกอย่างนโยบายที่ออกมาสามารถทำจริงในเชิงปฎิบัติ  เอานโบายไปผลักดันจนกระทั่งเกิดผล  วิธีการจะช่วยเริ่มจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่นำนโยบายไปขับเคลื่อน ไม่ใช่จับเงินใส่แล้วเงินจะไปถึงประชาชน ให้นโยบายคัดคนโดยอาศัยกลไกราชการเข้ามาช่วยซึ่งคนคุมกลไกคือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ส่วนกลุ่มการเมือง เช่น รัฐมนตรีในปัจจุบัน เจ้ากระทรวงต่างๆ ช่วยกันผลักดันนโยบายลงไปสู่ภาคปฎิบัติ เพราะผู้นำคนเดียวทำงานไม่ได้จำเป็นต้องร่วมมือกันลดหลั่นลงไป ทุกอย่างประกอบเป็น 4 กลุ่มจะราบรื่น 

           สังเกตว่าเมื่อถึงคราวที่พระองค์เริ่มนำทรัพย์สินในพระคลังไปช่วยประชาชนเมื่อเริ่มต้น ทั้ง 4 กลุ่มนี้สังเกตดูก่อนว่าทำจริงหรือไม่ เมื่อเห็นว่าพระองค์ทรงทำจริงทุกฝ่ายออกมาช่วยกันจะเอาทรัพย์มาถวายแต่พระเจ้าวิชิตราชไม่รับ บอกกลับไปว่า "ทรัพย์สินที่เรามีอยู่ก็มาจากภาษีอากรของประชาชน นำไปช่วยประชาชนย่อมถูกต้องแล้วถ้าจะเอามาให้เราอย่าเลย แต่สมทบไปให้ประชาชนจะดีกว่า" คนเหล่านี้ก็ต่างชื่นชมและมีส่วนร่วมช่วยประชาชน
 
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
ถ้าทุกคนร่วมมือกันไม่เอาแต่ผลประโยชน์ประเทศก็เจริญ
 

     ถ้าเป็นยุคปัจจุบันก็เหมือนกับทางผู้บริหารประเทศควรมีนโยบายในการช่วยประชาชนอย่างฉลาด ช่วยคนที่แข็งแรงเอางานเอาการ ไม่ยุ่งอบายมุข ขยันทำงาน เพราะเมื่อใส่งบประมาณระดับล่างผลที่ตามมาคือเศรษฐกิจจะหมุนรายรอบ คนมืเงินไปลงทุนทำไร่ ไถนาก็มีรายได้มาใช้จ่ายซื้อของ เครื่องใช้ อาหารการกิน ปัจจัย 4
 
      เมื่อมีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นก็มีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นวนกันเป็นวงกลม  ทุกอย่างจะเกิดผลดีตามกันมาเศรษฐกิจสะพัดในประเทศ ทุกกระบวนการภาษีก็จะกลับเข้ามาสู่รัฐบาล ถ้าช่วยแบบฉลาดไม่ได้ช่วยแบบหว่าน แต่ลงไปช่วยคนที่ควรช่วยแต่เลือกช่วย รัฐบาลการคลังอยุดได้และมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทั้งประเทศ ประชาชนก็เข้มแข็ง รัฐบาลเข้มแข็ง ธุรกิจเข้มแข็งทุกอย่างดีขึ้นหมด
 
     ดังนั้นถ้ารัฐบาลโน้มน้าวกลุ่มระดับบน 4 กลุ่มมาช่วยกันออกนโบายชวนกันให้มาช่วยประชาชนและใครที่มาร่วมได้รับสิทธิพิเศษเรื่องภาษี  นำมาลดหย่อนภาษีได้เป็นแรงจูงใจให้กลุ่มธุรกิจมาช่วยประชาชน อย่างเช่น พระเจ้ามหาวิชิตราช ท่านกล่าวว่า "ถ้าท่านไปช่วยประชาชนเราจะสมทบให้อีก"  สร้างแรงจูงใจถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในกลุ่มธุรกิจทุกคนแข่งกันช่วยประชาชน
 
    เมื่อภาพลักษณ์ดีธุรกิจก็ย่อมเจริญก้าวหน้า ถ้ากระแสสังคมเป็นไปอย่างนี้ระเบียบราชการ ระเบียบภาษี การสร้างแรงจูงใจในสื่อมวลชน นักวิชาการ ราชการชั้นผู้ใหญ่ให้ความร่วมมือเต็มที่ขับเคลื่อนนโยบายเต็มกำลัง  กลุ่มการเมืองในท้องถิ่นและส่วนกลางต่างช่วยกันคนละไม้คนละมือ รับรองว่าเศรษฐกิจเจริญทั้งประเทศ ไม่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจที่เก็งกำไรจนเกินไปอย่างนี้ฟองสบู่ไม่เกิด แต่จะแข็งแรงเข้มแข็งทั้งประเทศ         
 
 
การเก็งกำไรที่ไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
 
 
     การเก็งกำไรที่มีอยู่ในระดับควบคุมในแง่มุมหนึ่งก็ทำให้เศรษฐกิจไหลลื่น เช่น คนนี้ทำให้ธุรกิจดีเจริญก้าวหน้าค่อยๆเก็บเงินมาเอากำไร เพื่อขยายงานที่ช้าต้องใช้เวลานาน ตัวอย่าง Google ค่อยๆขยายงานไป อาจจะมีมูลค่าหุ้นทั้งบริษัทตัวทรัพย์สินแค่ 1 ล้านบาท แต่คนมองว่ามีอนาคต คนอาจจะยอมซื้อหุ้น 5 พันล้านเพราะดูว่าอนาคตจะดีเขาเลือกซื้ออนาคต เมื่อซื้อเจ้าของ Google ก็มีเงินมาลงทุนขยายงานมูลค่าหุ้นก็เกินพันล้านสามารถโตได้หลายเท่า
 
 เศรษฐกิจฟองสบู่
 ผู้บริหารบริษัท Google
 
 
     ในแง่มุมนี้การเก็งกำไรอนาคตก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายต้องดูพื้นฐานที่เหมาะสม ไม่เกินขอบเขตไม่ใช่การเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐานรองรับ  เพราะฉะนั้นการเก็งกำไรต้องอยู่บนพื้นฐานที่เหมาะสมและมีการใช้ประโยชน์จริง  ผู้บริหารประเทศต้องดูให้ออกอย่าดูแค่ปัจจุบันว่าตัวเองบริหารประเทศดีแค่ปีสองปี แต่หลังจากนั้นเกิดฟองสบู่แตกไม่ได้ ต้องมองระยะยาวและกล้าหาญในการตัดสินใจ  การตัดสินใจระดับประเทศทุกครั้งต้องมีคนได้รับผลกระทบ คนได้ประโยชน์ก็เฉยแม้จะเป็นคนส่วนใหญ่ 90% แต่คนอีก 10% ที่เสียประโยชน์กลับไม่พอใจ  ผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีความกล้าหาญเพียงพอในการตัดสินใจที่ถูกต้องและขับเคลื่อนนโยบายเพื่อระยะยาว ถ้ามีวิสัยทัศน์ก็พาประเทศชาติไปรอดได้ เหมือนพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงพัฒนาประเทศของพระองค์


รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอเศรษฐกิจฟองสบู่
ชมวิดีโอเศรษฐกิจฟองสบู่   Download ธรรมะเศรษฐกิจฟองสบู่
 

http://goo.gl/tjXGO


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related