เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบชาวพุทธ

เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง..ปีใหม่มาถึงอีกแล้ว ได้โอกาสในการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น เริ่มต้นอย่างไร ให้ปีใหม่นี้ เป็นปีที่จะดียิ่งๆ ขึ้น "เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบชาวพุทธ" มาติดตามกันได้เลยค่ะ... https://dmc.tv/a17272

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข้อคิดรอบตัว
[ 14 ม.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]

เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบชาวพุทธ

 

เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบชาวพุทธ
ในปีใหม่นี้เราจะเริ่มต้นกันอย่างไรต่อไป และเราควรตั้งใจทำอะไรให้ดีกว่าปีที่ผ่านมา . . .

 

สวัสดีปีใหม่ 2557
ข้อ ความส่ง อวยชัย ปีใหม่นี้
คิด สิ่งดี สมหวัง ดั่งใจหมาย
รอบ ข้างล้วน ศิริ ทุกข์มลาย
ตัว ท่านไซร้ เข้าถึงธรรม เร็วพลันเทอญ


เริ่มต้นปีใหม่
เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบชาวพุทธ

 

เรียบเรียงจากรายการข้อคิดรอบตัว ที่ออกอากาศทางช่อง DMC
โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

 

เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบชาวพุทธ

     ด้วยความเมตตาของพระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ เราจะได้ทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ตามหลักของชาวพุทธกัน

     ในช่วงนี้ก็ป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ หลายๆ คนก็ออกมาเฉลิมฉลองกัน อยากทราบว่าความเป็นมาของปีใหม่สากล ปีใหม่ไทย ปีใหม่จีน มีความเป็นมาอย่างไร

     เจริญพร คือคนเรามักจะสนใจธรรมชาติรอบตัว มนุษย์เรานี้เก่ง โดยเฉพาะคนโบราณอาจเก่งกว่าคนยุคปัจจุบันนี้ด้วย จากการค่อยๆ สังเกต จึงพบว่าเดี๋ยวก็เข้าหน้าหนาว เดี๋ยวก็หน้าร้อน เดี๋ยวก็เป็นหน้าฝน ถ้าในเขตอบอุ่นก็ฤดูใบไม้ผลิ ต้นไม้ก็แตกใบออกมา เดี๋ยวก็หน้าร้อน  แล้วก็ใบไม้ร่วง และเข้าฤดูหนาว หิมะตก หมดช่วงนั้นก็ใบไม้ผลิอีกแล้ว เป็นวงรอบ คนสมัยโบราณจึงมีความสนใจว่าวงรอบเหล่านี้ มันมีช่วงเวลาเท่าไหร่ และทำการทดสอบด้วยการเอาไม้มาปักกลางแจ้งแล้วสังเกตเงาแดดของต้นไม้ ก็จะเห็นว่ามันค่อยๆ หมุนวน ตรวจสอบเช่นนี้ เชื่อไหมว่าเขาพบว่ามันครบหนึ่งวงรอบใช้เวลา 365 วันเศษๆ

นาฬิิกาแดด
ปีใหม่เริ่มต้นมาอย่างไร

เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบจันทรคติ

     อีกอันที่คนสังเกตคือวงรอบของพระจันทร์ เดี๋ยวพระจันทร์ก็เต็มดวง เดี๋ยวก็ค่อยๆ แหว่งเป็นเสี้ยวแล้วค่อยๆ มืดหมด แล้วค่อยๆ เห็นใหม่ขึ้นเรื่อยๆ เป็นข้างขึ้นข้างแรม เขาสังเกตเห็น 1 วงรอบราวๆ ประมาณสัก 28 วันบ้าง 30 วันบ้าง ถ้าถือพระจันทร์เป็นหลัก นับตามวงรอบของพระจันทร์ ก็เรียกว่าจันทรคติ

เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบสุริยคติ

     ถ้าถือตามพระอาทิตย์ ดูรอบปีเป็นหลัก เราเรียกว่าแบบสุริยคติ ซึ่งการนับแบบสุริยะคติจะได้รับความนิยมทางยุโรป คนนแรกที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายจริงจังคือ จูเลียส ซีซ่าร์ (Julius Caesar) จักรพรรดิแห่งโรม เอาความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์มา แล้วกำหนดให้ปีหนึ่งมี 365 วัน เศษที่ทีอยู่ประมาณจุดสองสี่ ก็คือเกือบ จุดสองห้า ก็ถือว่าทุกๆ 4 ปี ให้เพิ่ม 1 วันเป็น 366 วัน ใน 365 วันก็แบ่งเป็นเดือน ได้ 12 เดือน แต่ละเดือนมี 30 วันบ้าง 31 วันบ้าง มีอยู่ 1 เดือนพิเศษ คือเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน ส่วนที่มาว่าทำไมจึงมี 30 วันบ้าง 31 วันบ้าง หรือ 28 วันบ้าง ก็มีรายละเอียดอีก ทุก 4 ปีก็จะมี 29 วันในเดือนกุมภาพันธ์ เราจะรู้ว่าปีใดมี 29 วัน ถ้าในแง่ พ.ศ.ให้เอา 4 ไปหาร ถ้าเหลือเศษ 3 เมื่อไหร่แล้วล่ะก็ปีนั้นจะมีเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 29 วัน เช่น เอา 4 ไปหาร ปี 2559 จะเหลือเศษ 3 แต่ถ้าเป็นปี ค.ศ. คือเอา 4 ไปหารแล้วลงตัว ปีนั้นก็จะมีเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 29 วัน

เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบอินเดีย

     ส่วนคติของไทย ไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย การนับเดือนนับปีจึงถือตามจันทรคติเป็นหลัก ซึ่งวันขึ้นปีใหม่จะตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เดือนอ้ายไม่ใช่เดือนมกราคม แต่จะประมาณเดือนธันวาคม ถ้าเป็นจันทรคติแต่ละเดือนจะมีการขยับขึ้นขยับลง เวลาจะเหลื่อมไปเหลื่อมมา เพราะพระจันทร์ไม่ได้หมุนหนึ่งรอบเต็มดวงใช้เวลาที่แน่นอน 30 วัน หรือ 31 วัน บางครั้งก็ 29 วันเป็นต้น ดังนั้นเวลาจึงไม่แน่นอน อย่างที่เราจำได้ วันเพ็ญเดือน 12 น้ำนองเต็มตลิ่ง นั่นก็คือ วันลอยกระทง ก็คือในช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือเดือน 12 แต่ถ้าเป็นเดือนอ้ายคือ เดือนธันวาคม อย่างเร็วๆ บางครั้งปลายเดือนพฤศจิกายน ก็ถึงแล้ว

เริ่มต้นปีใหม่ ในแบบคติพราหมณ์

    เมื่อมีคติพราหมณ์เข้ามา คนไทยจึงไปถือวันปีใหม่เป็นช่วงตรุษสงกรานต์ ก็คือวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อยู่ในช่วงเดือนเมษายน จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2432 ในปีนั้นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 1 เมษายนพอดี ท่านจึงกำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายนของทุกปี ต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล เมื่อปี พ.ศ.2484

"สิริมงคล" ที่ควรแสวงหาในวันเริ่มต้นปีใหม่คืออะไร

     สิริ แปลว่า ศรี หมายถึงสิ่งที่ดีๆ
     มงคล คือ สิ่งที่ทำแล้วเจริญก้าวหน้า มีความสุข

     การจะหาสิริมงคลเข้าตัว เราก็ต้องทำความดี ให้มีบุญกุศล จะได้ดึงดูดสิ่งที่เป็นสิริมงคลมาสู่ตัวของเรา เพราะฉะนั้นการหาสิริมงคลเข้าตัวในวันปีใหม่ถือว่าดีมากๆ ซึ่งจริงๆ แล้วเราควรจะหาทุกๆ วัน ไม่ใช่เฉพาะวันปีใหม่ แต่ว่าวันปีใหม่เสมือนเป็นวันปฏิรูปใหม่ เปิดบัญชีใหม่ การทำความดีของเราก็ควรถือเอาวันปีใหม่ เปลี่ยนศักราชใหม่นี้ ปฏิรูปชีวิตเราให้ดีขึ้น มาสำรวจบัญชีบุญ บัญชีบาปของเราว่าปีที่ผ่านมา กำไรชีวิตแค่ไหน ขาดทุนชีวิตแค่ไหน อย่าคิดว่ากำไรชีวิตคือการได้ไปเที่ยวเมืองนอก แต่กำไรชีวิตคือที่เป็นบุญเป็นกุศล ขาดทุนชีวิตคืออะไรที่ทำแล้วเป็นบาปอกุศล ปีใหม่จะได้เพิ่มกำไร ลดการขาดทุน เพิ่มการทำความดี และลดการทำบาปอกุศล ถ้าทำอย่างนี้ได้เรียกว่าเป็นการหามงคลใส่ตัวในช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ เจริญพร

เริ่มต้นปีใหม่ในแบบชาวพุทธ
เริ่มต้นปีใหม่ในแบบชาวพุทธ

ทำไมคนนิยมทำบุญ 9 วัดในวันเริ่มต้นปีใหม่

     การทำบุญ 9 วัดเป็นค่านิยมที่เพิ่งเกิดมาได้ไม่นาน ถ้าเป็นสมัยก่อนการคมนาคมยังไม่มีความเจริญเท่าปัจจุบัน คนในหมู่บ้านในตำบลก็จะไปวัดที่อยู่ใกล้ๆ ในชุมชน ใกล้บ้านตัวเองเป็นหลัก จึงไม่ใช่ 9 วัด วัดกับบ้านคุ้นกันมาก พอเปลี่ยนเข้าสู่ยุคคมนาคมข่าวสาร คนย้ายที่อยู่กันมาก แม้บ้านจะอยู่ข้างวัดก็ไม่คุ้นกับวัดเหมือนสมัยก่อน แต่ในใจลึกๆ  มีความรักในการเข้าวัดทำบุญ จึงเกิดธรรมเนียมทำบุญ 9 วัดขึ้นมาตามธรรมชาติของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจหลักการทำบุญ หลักการสวดมนต์อย่างดีแล้วล่ะก็ แม้ทำบุญเพียงแค่วัดเดียวก็สามารถทำได้

เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการมาอยู่ "ธุดงค์ปีใหม่" ดีอย่างไร

     การมาอยู่ธุดงค์ปีใหม่ถือว่าเป็นการรับปีใหม่ที่ดีมากๆ เลย เพราะจะได้รักษาศีล 8 ได้นั่งสมาธิเต็มที่จริงจัง เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจของเราให้อยู่ในบุญกุศลเพื่อรับศักราชใหม่ ถ้าเราสังเกตคนจะชอบส่ง ส.ค.ส.กัน ส.ค.ส.ก็คือส่งความสุข ถ้าเราจะส่งความสุขให้คนอื่นได้ เราก็ต้องมีความสุขก่อน จะอวยพรให้คนอื่นมีความประเสริฐ ตัวเราเองก็ต้องมีความประเสริฐก่อน เมื่อตัวและใจเรามีความสุขก็จะแบ่งปันให้คนอื่นได้ เจริญพร
 

นาฬิิกาแดด
เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการอยู่ธุดงค์ปีใหม่

จะมอบของขวัญ หรือ ส.ค.ส.ให้แก่กันอย่างไรจึงจะถูกหลักชาวพุทธ

     หลักในการให้ของขวัญในวันปีใหม่คือ

1. อย่าให้สิ่งของที่เป็นอัปมงคล เช่น ถ้าจะให้ปฏิทิน ก็ต้องเลือกให้ภาพที่เป็นมงคล ถ้าภาพที่ทำให้เกิดใจตก ใจหยาบอย่าเอาไปให้กัน
2. อย่าให้สิ่งที่เป็นอบายมุข เช่น เหล้าสุรา

ชาวพุทธที่ดี เริ่มต้นปีใหม่อย่างไร

     1. ให้ได้ทำทาน
     2. ให้ได้รักษาศีล
     3. ให้ได้สวดมนต์ทำสมาธิภาวนา

     เราต้องตั้งผังปีใหม่ของเราด้วยบุญกุศล ดีที่สุดคือมาอยู่ธุดงค์รับปีใหม่ ถ้าเราเริ่มต้นปีใหม่ดีอย่างนี้แล้ว ก็ขอให้ตั้งใจด้วยว่าเราจะมีเป้าหมายในการพัฒนาตัวเราให้ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างไรบ้าง เช่น นักเรียนตั้งใจให้เรียนดีขึ้น คนทำงานก็ตั้งใจทำงานให้มากขึ้น และวางแผนให้เดินไปถึงเป้าหมายให้ได้ด้วย อาศัยต้นปีมาตั้งเป้าหมายอย่างนี้กัน เราจะได้ทั้งทางโลกและทางธรรม  ทางธรรมเราเองก็ได้บุญได้กุศล ทางโลกก็ได้ประสบความสำเร็จในชีวิต 

     เมื่อเราทุกคนอยู่ในบุญกุศลกันอย่างนีแล้ว ก็ขอให้ปีใหม่พ.ศ.2557 นี้ เป็นปีที่ดี เป็นปีแห่งบุญกุศล ที่เราเองทุกคนได้ประกอบบุญกุศลพร้อมทั้งทาน ศีล ภาวนา แล้วให้บุญกุศลนี้เป็นพาลวปัจจัยให้ทุกๆท่านประสบความสุขความสำเร็จในชีวิต พร้อมทั้งอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิบัติธรรมะก็ให้มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงพระธรรมกายได้โดยเร็วพลันจงทุกท่านเทอญ..

บทความที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นปีใหม่

    วันปีใหม่ |  ส.ค.ส.ปีใหม่ | คำอวยพรปีใหม่ | กลอนปีใหม่ | คำอวยพรปีใหม่ภาษาอังกฤษ | รูปปีใหม่ | การ์ดปีใหม่
 


http://goo.gl/qXKgtX


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำไมจีวรพระต้องเป็นสีเหลือง
      ขอไม่นับถือพระสงฆ์
      ข้อคิดธรรมะของพระสุธรรมญาณวิเทศ (สุธรรม สุธมฺโม) จากหนังสือ "หน้าสุดท้าย"
      I can’t respect monks, can I?
      กราบไหว้ทำไม งมงาย !
      Why do people have to pay homage? Ignorant!
      โซเดียม อันตรายใกล้ตัว
      บวชให้สุก
      พลังหญิง
      ตักบาตรใส่บุญ(ตอนที่2)
      ตักบาตรใส่บุญ (ตอนที่1)
      ปัญหามรดก
      ยิ่งใหญ่ในรายละเอียด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related