การละเล่น การแสดงและกีฬาของชาวไทย

การละเล่น การละเล่นพื้นบ้านของไทย มีทั้งของเด็กซึ่งเป็นการละเล่นง่ายๆ ภายในบ้านการละเล่นสนุกนอกบ้าน โดยจะนำอุปกรณ์การเล่นสนุกนอกบ้าน โดยจะนำอุปกรณ์การเล่นมาจากวัสดุธรรมชาติ https://dmc.tv/a18022

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 18 พ.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18303 ]

การละเล่น การแสดง และกีฬาของชาวไทย

 

การละเล่น  การแสดงและกีฬาของชาวไทย

 

     การละเล่นพื้นบ้านของไทย  มีทั้งของเด็กซึ่งเป็นการละเล่นง่ายๆ  ภายในบ้านการละเล่นสนุกนอกบ้าน  โดยจะนำอุปกรณ์การเล่นสนุกนอกบ้าน  โดยจะนำอุปกรณ์การเล่นมาจากวัสดุธรรมชาติ  เช่น

 

ขี่ม้าก้านกล้วย

ขี่ม้าก้านกล้วย

 

     นำก้านกล้วยมาลิดใบทิ้งให้เหนือติดปลายนิดหน่อยสำหรับเป็นหาง  จากนั้นกะความยาวประมาณหนึ่งคืบจากโคนก้าน  ใช้มีดฝานแฉลบด้านข้างของก้านเพื่อทำหูม้า  หักก้านกล้วยตรงกลางหูม้าลง  ก็จะได้ส่วนหัว  ถ้าต้องการให้หัวม้าคงรูปแข็งแรงให้นำแขนงไม้ไผ่ปลายแหลมมาเสียบหัวม้าทะลุไปที่ก้าน  และอาจผูกเชือกกล้วยด้านหัวและหางม้าทำเป็นสายสะพายบ่าไว้  เด็กๆ ก็จะได้ม้าก้านกล้วยมาควบวิ่งแข่งกัน

 

 รีรีข้าวสาร

รีรีข้าวสาร

 

     นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่มีอุปกรณ์การเล่น  วิธีเล่นคือ  ผู้เล่นสองคนยืนหันหน้าเข้าหากัน  โน้มตัวประสานมือจับกันเป็นรูปซุ้ม  ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อๆ กันตามลำดับ  คนหัวแถวจะพรลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้องว่า  “รีรีข้าวสาร  สองทะนานข้าวเปลือก  เลือกสองใบลาน  คดข้าวใส่จาน  เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน พานเอาคนข้างหลังไว้” 

     เมื่อร้องถึงประโยคว่า  พานเอาคนข้างหลังไว้  ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้ม จะลดมือลงกันคนที่อยู่ในซุ้มไว้  ซึ่งคนนี้จะถูกคัดออกไปจากแถว  แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหญ่จนหมดคน

 

 

ลำตัด

การแสดงพื้นบ้าน  ลำตัด

     เป็นการแสดงเพลงพื้นบ้านที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู  แต่คนไทยนำมาดัดแปลงและผสมผสานความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนและร่ำรวยอารมณ์ขัน  ลักษณะการแสดงเป็นการว่ากลอนสดแก้กันไปมาระหว่างชายและหญิง  นิยมร้องกันในภาคกลาง  ตามงานมหรสพต่างๆ  แต่เดิมใช้ผู้แสดงเป็นชาย  ต่อมาปรับให้มีชายหญิงแสดงร่วมกัน  ผู้แสดงมักแต่งกายแบบไทยพื้นเมือง  ดนตรีที่ใช้มีกลอง  รำมะนา  กรับ  ฉิ่ง

 

ฟ้อนเล็บ

การแสดงพื้นบ้าน  ฟ้อนเล็บ

 

     เป็นการร่ายรำของชาวไทยภาคเหนือ  การแสดงจะมีดนตรีบรรเลงประกอบเชื่องช้า  ผู้รำจะเกล้าผม  ทัดดอกไม้และอุบะ  นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ  สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว  นุ่งผ้าซิ่น  และสวมเล็บมือยาวทั้งแปดนิ้ว  เว้นนิ้วหัวแม่มือ

มวยไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มวยไทยคือศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทยที่ได้ชื่อว่าเป็นศาสตร์การโจมตีด้วยอาวุธทั้งแปด  ได้แก่  สองมือ  สองเท้า  สองศอก  และสองเข่าในการต่อสู้

     ศิลปะการต่อสู้ประเภทนี้สามารถพบเห็นได้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เช่น  ประเทศกัมพูชา  เรียกว่า  ขอมมวย  ส่วนประเทศลาวเรียก  มวยลายลาว  หรือมวยเสือลากหาง

     ในสมัยก่อนชายไทยนิยมร่ำเรียนศิลปะการต่อสู้แขนงต่างเพื่อใช้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม  และยังมีการแข่งขันต่อสู้ – ประลองกันตามงานวัดและงานเทศกาลเพื่อชิงรางวัลหรือเดิมพัน  ต่อมาจึงมีการดัดแปลงมวยไทยมาเป็นกีฬา  โดยเพิ่มกันใช้นวมขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตราย  จากนั้นได้มีการกำหนดกติกาในการชกและมีเวทีมาตรฐานขึ้น  คือ  สนามมวยราชดำเนินและสนามมวยเวทีลุมพินี

 

     นายขนมต้น  คือนักมวยคาดเชือก  มีชีวิตอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  และถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยศึกที่ประเทศพม่า  กษัตริย์พม่าให้จัดชกมวยหน้าพระที่นั่ง  นายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่า  9 – 140  คนอย่างง่ายดายขณะยังไม้ทันจบยก  ความสามารถของนายขนมต้มจึงเป็นที่เลี่องลือ  เป็นตำนานในฐานะนักมวยผู้เก่งกล้าของไทย

 

แม่ไม้มวยไทย

แม่ไม้มวยไทย  จระเข้ฟาดหาง

(หมุนตัวแล้วฟาดสันเท้าใส่ก้านคอ)

 

ลูกไม้มวยไทย  หนุมานถวายแหวน

 (ขกหมัดตรง/หมัดเสย  หรือหมัดเหวี่ยงข้าง

พร้อมกันสองมือเข้าที่ปลายคาง)

 

     แม่ไม้มวยไทยใช้สำหรับฝึกฝนการรุก  การรับให้คล่องแคล่ว  มี  15  ท่า  คือ  สลับฟันปลา, ปักษาแหวกรัง, ชวาซัดหอก, อิเหนาแทงกริช, ยอเขาพระสุเมรุ, ตาเถรค้ำฝัก, มอญยันหลัก, ปักลูกทอย, ขุนยักษ์จับลิง, จระเข้ฟาดหาง, หักวงไอยรา, นาคาบิดหาง, วิรุฬหกกลับ, ดับชวาลา  และหักคอเอราวัณ

 

กติกา

ลูกไม้มวยไทย  มณโฑนั่งแท่น

(กระโดดขึ้น  เอาสะโพกทิ้งลงกระแทกหน้าอก)

 

     มีกรรมการให้คะแนน  3  คน  และกรรมการตัดสินชี้ขาดบนเวที  การให้คะแนนนิยมให้เป็นยก  ยกละ  10  คะแนน  โดยดูจากการใช้ศิลปะการป้องกัน  การต่อสู้ความบอบช้ำที่ได้รับ  อันตรายจากบาดแผล  การได้เปรียบเสียเปรียบ  การถูกนับ  ฯลฯ  การชกจัดเป็นยก  มี  5  ยก  ยกละ  3  นาที  พัก  2  นาที  มุ่งผลเพียงแค่แพ้ – ชนะ  และการแสดงศิลปะการต่อสู้ชั้นสูง

 

เครื่องแต่งกาย

      ผู้ชกต้องแต่งกายตามกำหนด  คือ  นุ่งกางเกงขาสั้น  ใส่กระจับ  พันมือสวมนวม  ใส่ฟันยาง  และมีการสวมมงคล  คาดผ้าประเจียด  และก่อนชกต้องมีการไหว้ครู

      กระทรวงวัฒนธรรมกำหนดให้วันที่  6  กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น  “วันมวยไทย” 

 บทความที่เกี่ยวข้องกับการละเล่น การแสดง และกีฬาของชาวไทย

 
 

http://goo.gl/TWDxN5


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related