รองรับพระธรรม น้อมนำถวาย

พระไตรปิฎกบาลีหรือพระบาลีเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยุคแรกคำสอนของพระองค์เรียกโดยรวมว่าพระธรรมวินัย ต่อมาในภายหลังจึงแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ หมวด คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก https://dmc.tv/a21171

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 4 มี.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18269 ]
รองรับพระธรรม น้อมนำถวาย
 
เรื่อง : Tipitaka (DTP)
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๙
 

     พระไตรปิฎกบาลีหรือพระบาลีเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยุคแรกคำสอนของพระองค์เรียกโดยรวมว่าพระธรรมวินัย ต่อมาในภายหลังจึงแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ หมวด คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พุทธศาสนิกชนถือว่าพระไตรปิฎกที่บรรจุคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นี้เปรียบเสมือนตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดั่งพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสกับพระอานนท์ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ภายหลังที่พระองค์ทรงล่วงลับไปแล้ว
 

     นับแต่โบราณกาล พระธรรมคำสอนของพระบรมครูได้รับการจารจารึกเป็นอักขระลงบนแผ่นใบลาน เก็บรวมเข้าผูกด้วยสายสนองมีไม้ประกับประกบหน้าหลังไม่ให้แตกมัด และรักษาไว้อย่างดีในห่อผ้า พร้อมป้ายฉลากเขียนรายละเอียดของเรื่องที่จารนั้นเสียบบอกไว้หน้าคัมภีร์ ทุกองค์ประกอบสะท้อนให้เห็นความตั้งใจที่จะน้อมถวายคัมภีร์ไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานจึงถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนให้ความเคารพบูชา ทั้งยังสรรค์สร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุที่คู่ควรเพื่อรองรับมัดคัมภีร์ใบลาน อาทิเช่น หีบพระธรรมและตู้พระไตรปฎิก ด้วยเชื่อมั่นว่าธรรมทานและวัตถุทานอันเลิศที่ได้น้อมถวายไว้ดีแล้วในบวรพระพุทธศาสนานี้ จะเป็นพลวปัจจัยส่งผลดลบันดาลให้ทายกทายิกาผู้มีส่วนในการสร้างได้ผลานิสงส์มหาศาล ดั่งปรากฏในคัมภีร์สังคีติยวงศ์ วรรณกรรมพระพุทธศาสนา ที่รจนาโดยสมเด็จพระวันรัตวัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลที่ ๑ กล่าวถึงอานิสงส์ของการถวายตู้บรรจุพระธรรมไว้
 
 

     สรุปความได้โดยสังเขป คือ หากผู้ถวายตู้บรรจุพระธรรมได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ด้วยกุศลผลบุญแห่งการถวายจะทำให้เป็นผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่จะได้ในสิ่งที่ปรารถนา มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติและบริวาร มีผิวพรรณงดงาม มีกลิ่นกายหอมฟุ้งมีสติปัญญาหลักแหลม

    หากเกิดเป็นกษัตริย์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครองทวีปทั้ง ๔ มีแก้ว ๗ ประการเกิดมาเป็นของคู่บุญ เมื่อเสด็จไปทางใดก็จะมีเหล่าเสนามาตย์พร้อมทั้งขบวนรถ ขบวนช้างขบวนม้า และขบวนทหารราบ แวดล้อมติดตามเป็นขบวนใหญ่ถึง ๗ โยชน์ หากไปบังเกิดเป็นเทวดา กุศลผลบุญจะดลบันดาลให้ได้เป็นพระอินทร์ ครองสวรรค์ช้นั ดาวดึงส์ถึง ๗ ครั้งครั้นกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง เมื่อได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจะออกบวชและได้บรรลุธรรม และในที่สุดหากผู้ถวายตั้งจิตปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในอนาคต ผลบุญจากการถวายตู้พระธรรมนี้ จะเป็นพลวปัจจัยเกื้อหนุนให้เข้าถึงพุทธภูมิในภายภาคหน้า
 

    อานิสงส์ที่กล่าวไว้ในวรรณกรรมยุคปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ดังกล่าว ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ชาวสยามน่าจะรู้จักการสร้างและตกแต่งหีบหรือตู้พระธรรมเพื่อถวายเป็นศาสนสมบัติมาก่อนหน้านั้นแล้ว แม้ไม่มีหลักฐานชัดเจนแต่ก็สามารถศึกษาประวัติที่มาได้จากหลักฐานข้างเคียงตัวอย่างเช่น ข้อความที่ปรากฏในหนังสือสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน ซึ่งกล่าวไว้ว่า ในจารึกปราสาทพระขรรค์ ที่จารึกภาษาสันสกฤตด้วยอักษรขอม พ.ศ. ๑๗๓๔ พบที่เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ปรากฏคำว่า “หีบจีน ๕๒๐ ใบ” และปรากฏชื่อเมืองของอาณาจักรโบราณ ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าอยู่ในเขตสยามประเทศ นี้เป็นหนึ่งในหลักฐานที่คาดคะเนได้ว่าหมู่ชนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักใช้หีบมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัย
 

    หีบในช่วงแรกที่ได้รับอิทธิพลจากจีนใช้บรรจุเสื้อผ้าหรือสิ่งของเครื่องใช้ เมื่อนิยมใช้สืบทอดเรื่อยมา จึงเริ่มมีการดัดแปลงออกแบบให้เหมาะกับประโยชน์การใช้สอยในวิถีชีวิตของคนไทย หากเป็นหีบหรือตู้ของชนชั้นสามัญทั่วไป วัสดุและการตกแต่งอาจไม่วิจิตรหรูหรานัก แต่หากเป็นของชนชั้นสูงย่อมใช้วัสดุคุณภาพดีและตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง โดยเฉพาะหากหีบและตู้นั้นสร้างขึ้นเพื่อรองรับพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวัสดุและการตกแต่งย่อมละเอียดประณีตยิ่งๆขึ้นไป เกิดการผสมผสานเป็นผลงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ เก็บไว้ในหอไตรตามอารามต่างๆ จากหีบทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ที่ได้รับอิทธิพลจากจีน ก็ปรับเป็นหีบพระธรรมทรงสี่เหลี่ยม ด้านล่างทำฐานสอบเข้า ส่วนปากหีบเผยออก มีฝาครอบปิดด้านบน มีหูทำด้วยโลหะด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน หรือพัฒนาจากหีบกลายเป็นตู้ด้วยการต่อขาลงมา ๔ มุม ตู้ด้านบนสอบเข้า ด้านหน้าด้านหลังกว้างกว่าด้านข้างมีประตูเปิดปิด ๒ บาน ภายในมีชั้นไม้สำหรับวางห่อคัมภีร์ใบลาน ๓-๔ ชั้น ขนาดของตู้แตกต่างกันไป จำแนกตามลักษณะของ “ขา” หรือ “ฐาน” ได้ ๔ แบบ
 

    ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อธิบายลักษณะของตู้พระธรรมไว้ในหนังสือ “ตู้ลายรดน้ำ” ว่า “ตู้พระธรรมที่แท้จริงนั้น มีทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ส่วนบนสอบ มีขาตั้งตรงมุม ๔ ขายาวจากมุมของตู้ลงไปประมาณ ๑๕ หรือ ๒๐ นิ้ว โดยทั่วไปขาของตู้พระธรรมนั้น ส่วนมากตกแต่งเป็นลายรดน้ำ หรือทำเป็นลายจำหลักไม้บ้างแต่เป็นส่วนน้อย แม้ว่าตู้พระธรรมจะมีขนาดแตกต่างกันอยู่มากก็ตาม ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปพอกำหนดได้ดังนี้ คือ สูง ๕๐ นิ้ว กว้าง ๔๐ นิ้วและลึก ๓๐ นิ้ว ขาตู้ยาว ๑๕ หรือ ๒๐ นิ้ว” (ตู้ลายรดน้ำ, ๒๕๐๓ : ๑๒)
 

     ตู้พระธรรมที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ สมัย คือ สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ แม้ตู้พระธรรมจะแตกต่างกันด้วยยุคสมัยและรูปแบบการตกแต่งทางศิลปะ แต่สิ่งที่แน่วแน่ตรงกันคือ ความตั้งใจของทายกทายิกาที่ถวายตู้พระธรรมไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เพื่อรองรับคำ สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมคำ อธิษฐานให้ผลบุญดังกล่าวส่งผลให้ตนประสบความสำ เร็จและบรรลุในสิ่งที่ปรารถนาไว้ดีแล้ว อันมีที่สุด คือ มรรค ผล นิพพานดังคำ จารึกที่ปรากฏที่ตู้ขาหมูมีลิ้นชัก ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ มีคำ จารึกที่ขอบล่าง ด้านหน้าว่า “ตู้ใบนิ นายแกน แมหนับแมทองยูสร้าง เมื่อพระพุทธะสาศะนาล่วงแล้ว ๒๔๐๘ พระวะษา ปีฉะลูสัพตศก เป็นเงินตราขอให้เป็นปัจจัยแก่พระนิพพานเถิด”

บุญเตือน ศรีวรพจน์. รามเกียรติ์จากตู้ลายรดน้ำ. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๕.
ศิลป์ พีระศรี. เรื่องตู้ลายรดน้ำ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๕๐๓.
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์. ลายรดน้ำ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related