ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระมหาธีรราชเจ้าของชาวสยาม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นชาวไทยคนแรกที่ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นพระอุปัชฌาย์ เสด็จประทับจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา ๑ พรรษา https://dmc.tv/a20723

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 9 พ.ย. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18279 ]
ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
พระมหาธีรราชเจ้าของชาวสยาม

 เรื่อง : Tipitaka (DTP)
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๕๘
 

     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นชาวไทยคนแรกที่ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นพระอุปัชฌาย์ เสด็จประทับจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หั
ว พระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี
 

      ด้วยประสบการณ์ที่ทรงศึกษาอยู่ในทวีปยุโรปนานถึง ๙ ปี ทรงมีมโนปณิธานมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ในขณะเดียวกันยังคงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติและพระพุทธศาสนา พระราชกรณียกิจสำคัญหลายประการที่พระองค์ทรงริเริ่มไว้ยังเป็นคุณูปการต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันดังเช่น การประกาศใช้ “พุทธศักราช” เป็นศักราชทางราชการแทนการใช้รัตนโกสินทร์ศกเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ด้วยทรงเห็นว่า คริสต์ศาสนิกชนใช้คริสต์ศักราช (ค.ศ.) ในประเทศตะวันตก ดังนั้นพุทธศาสนิกชนในแผ่นดินสยามจึงควรใช้ศักราชที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เพื่อแสดงถึงความผูกพันระหว่างรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) + ๒๓๒๔ = พุทธศักราช (พ.ศ.) อาทิ ร.ศ. ๑๔๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๘พระพุทธศาสนาและชาวสยามที่มีมาอย่างช้านาน และเป็นการประกาศให้ทั่วโลกทราบด้วยว่าประเทศสยามเป็นเมืองพุทธที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะเป็นประมุข ดังพระราชดำริว่า

     “...ศักราชรัตนโกสินทร์ที่ใช้อยู่ในราชการเดี๋ยวนี้ มีข้อบกพร่องสำคัญอยู่ คือเปนศักราชที่สั้นนัก จะกล่าวถึงเหตุการณ์ใด ๆ ในอดีตภาคก็ขัดข้อง ด้วยว่าพอกล่าวถึงเรื่องราวที่ก่อนสร้างกรุงขึ้นไปแล้ว ก็ต้องหันไปใช้จุลศักราชบ้าง มหาศักราชบ้างและข้างในวัดใช้พุทธศักราช ฝ่ายคนไทยสมัยที่อยากจะกล่าวถึงเหตุการณ์อันมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มักหันไปใช้คฤสตศักราช ซึ่งดูเปนการเสียรัศมีอยู่ จึงเห็นว่าควรใช้พุทธศักราชจะเหมาะดีด้วยประการทั้งปวง เปนศักราชที่คนไทยเราซึมทราบดีอยู่แล้ว ทั้งในประกาศใช้พุทธศักราชอยู่แล้วและอีกประการ ๑ ในเวลานี้ก็มีแต่เมืองเดียวที่มีพระเจ้าแผ่นดินถือพระพุทธศาสนา...” ที่มา..หอจดหมายเหตุ
รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) + ๒๓๒๔ = พุทธศักราช (พ.ศ.)
อาทิ ร.ศ. ๑๔๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๘

     ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระไตรปิฎกบาลีด้วยอักษรไทยพระราชทานทั้งในและต่างประเทศ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์สกลมหาสังฆปริณายกในเวลานั้น ให้ทรงเป็นแม่กองชำระคัมภีร์อรรถกถา แล้วทรงบริจาคพระราชทรัพย์ให้จัดพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎกเป็นเล่มสมุดพระราชทานในราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ และพระราชทานในนานาประเทศ ๔๐๐ จบ

     ทั้งทรงสนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุ - สามเณร โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง เรียกว่า “นักธรรม”และให้เปลี่ยนการสอบบาลีสนามหลวงจากการสอบปากเปล่ามาเป็นการสอบด้วยวิธีเขียน และให้การเลิกสอบเปรียญตรี โท เอก มาเป็นสอบบาลีตั้งแต่ประโยค ๑ - ๙ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
 

     ส่วนด้านการศึกษาของกุลบุตร พระองค์ทรงเปลี่ยนคตินิยมการสร้างวัดประจำรัชกาลตามราชประเพณีเดิมมาเป็นการสร้างโรงเรียนแทน เพราะทรงเล็งเห็นว่าวัดต่าง ๆ ซึ่งสร้างในรัชกาลก่อนมีจำนวนมากเกินกำลังจะทำนุบำรุงดูแลให้ทั่วถึง ประกอบกับการศึกษาและสถานศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ จึงมิได้โปรดเกล้าฯให้สร้างวัดเพิ่มเติม แต่เปลี่ยนมาสร้างโรงเรียนแทน โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยจึงเปรียบเสมือนวัดประจำรัชกาลของพระองค์ อาคารหลายหลังภายในโรงเรียนจึงมีรูปทรงคล้ายโบสถ์และศาลาวัด ถึงแม้ตลอดช่วง ๑๕ ปี แห่งรัชสมัยทรงมิได้สร้างวัดขึ้นเพิ่มเติม แต่ทุกปีพระองค์ทรงอุทิศพระราชทรัพย์พระราชทาน เรียกว่า
     
     “เงินพระราชอุทิศ” เพื่อใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามที่ชำรุดทรุดโทรม อาทิเช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เป็นต้น
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

     ในส่วนพระองค์เองทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถด้านการประพันธ์ ทรงปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่พสกนิกรผ่านบทพระราชนิพนธ์จำนวนมาก มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเช่น เทศนาเสือป่า พระราชนิพนธ์ที่รวบรวมพระบรมราโชวาทที่ทรงให้แก่คณะเสือป่า ณ พระราชวังสนามจันทร์ ในวันประชุมไหว้พระเป็นพระราชนิพนธ์ที่สะท้อนถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างเด่นชัด เนื้อหาในเรื่องทรงมุ่งเน้นถึงความจำเป็นของคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ให้ทุกคนหวงแหนและช่วยกันปกป้องเมื่อคราวศาสนามีภัย ดังความบางตอนที่กล่าวไว้ว่า
 

ภาพการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้มีการซ่อมแซมเพิ่มเติม อาทิ
ซ่อมบุษบกที่ประดิษฐานพระพุทธมหารัตนปฏิมากร และซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นต้น

      “...พระพุทธศาสนาเปนศาสนาสำหรับชาติเรา เราจำเปนต้องถือด้วยความกตัญญูต่อบิดามารดา และโคตรวงศ์ของเรา จำเปนต้องถือไม่มีปัญหาอะไร เมื่อข้าพเจ้ารู้ได้แน่นอนจึงได้กล้าลุกขึ้นยืนแสดงเทศนาทางพระพุทธศาสนาแก่ท่านทั้งหลาย เป็นความจำเปนที่เราทั้งหลายผู้เปนไทยจะต้องมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเปนศาสนาสำหรับชาติเราถ้ามีอันตรายอย่างใดมาถึงพระพุทธศาสนา เราทั้งหลายจะเปนผู้ที่ได้รับความอับอายด้วยกันเปนอันมาก เหตุฉะนี้ เปนหน้าที่ของเราที่จะต้องตั้งใจ ที่จะรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อย่าให้มีอันตรายมาถึงได้..."
 

      คุณูปการที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่แสดงถึงความเทิดทูนพระพุทธศาสนา คือทรงคิดค้นธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติ และทรงให้ความหมายไว้ชัดว่า สีขาว หมายถึงพระรัตนตรัย ธงไตรรงค์นี้ปรากฏสู่สายตาชาวโลกเป็นครั้งแรก เมื่อทหารอาสาของไทยเข้าร่วมการสวนสนามฉลองชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ณ ประเทศฝรั่งเศส แต่ธงที่เชิญไปในครั้งนั้นมีลักษณะพิเศษที่ต่างจากธงไตรรงค์ปัจจุบัน คือ ด้านหน้าเป็นรูปทรงช้างเผือก ด้านหลังเป็นตราพระปรมาภิไธยย่อแถบบนและแถบล่างมีพุทธชัยมงคลคาถาบทแรก ในท่อนสุดท้ายโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน
ข้อความจาก “ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ” (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน) เป็น “ตนฺเตชสา ภวตุ เม ชยสิทฺธินิจฺจํ” (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยชนะจงมีแก่ข้าพเจ้าเสมอ) เพื่อเป็นการแสดงชัยชนะของสยามประเทศ เมื่อเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑
 

     พระปรีชาสามารถในด้านต่าง ๆ ของพระองค์ประกอบกับพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศนานัปการ พระองค์จึงทรงได้รับการยกย่องเทิดพระเกียรติและถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งหมายถึง มหาราชผู้เป็นจอมปราชญ์




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related