หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๗)

เดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ ผู้เขียนได้รับเชิญจากเจ้าภาพ คือ ประธานพุทธสมาคมจีนให้เข้าร่วมประชุม World Buddhist Forum ครั้งที่ ๔ ที่เมือง Wu Xi ซึ่งมีผู้แทนองค์กรชาวพุทธถึง ๕๒ ประเทศเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่พุทธบริษัทจะมารวมเป็นหนึ่งเดียว ในช่วงนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้เขียนจะเดินทางไปเมืองซีอานอีกครั้งหนึ่ง https://dmc.tv/a20890

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 23 ธ.ค. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18273 ]

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๗)

 
เรื่อง : พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘
 
 
     เดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ ผู้เขียนได้รับเชิญจากเจ้าภาพ คือ ประธานพุทธสมาคมจีนให้เข้าร่วมประชุม World Buddhist Forum ครั้งที่ ๔ ที่เมือง Wu Xi ซึ่งมีผู้แทนองค์กรชาวพุทธถึง ๕๒ ประเทศเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่พุทธบริษัทจะมารวมเป็นหนึ่งเดียว ในช่วงนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้เขียนจะเดินทางไปเมืองซีอานอีกครั้งหนึ่ง ตามที่นัดหมายกับท่านศาสตราจารย์ยูว ยีว์ ผู้มีน้ำใจเป็นกุศล ที่ช่วยนัดให้พบกับท่านเจ้าอาวาส คือพระธรรมาจารย์เจิ้งฉินฝ่าซือ ประธานพุทธสมาคมแห่งมณฑลส่านซี ซึ่งท่านมีเมตตากล่าวชวนให้ไปใหม่อีกครั้ง จะได้เตรียมพระคัมภีร์โบราณที่ทางวัดเก็บรักษาไว้มาให้ชม เพราะช่วงนี้ทางวัดมีงานบุญประจำปี อีกทั้งท่านต้องไปร่วมประชุมกับประธานพุทธสมาคมแต่ละมณฑลทั่วประเทศ อย่างไรก็ดีท่านเจ้าอาวาสเมตตาอนุญาตให้ไปที่ห้องพิเศษ เพื่อสักการะพระธาตุจอมกระหม่อมของพระถังซำจั๋งและคัมภีร์ต้นฉบับจริงที่ท่านนำมาจากอินเดีย จึงนับว่าเป็นบุญวาสนาของพวกเรา และเราเชื่อว่าจะต้องได้ไปเยี่ยมที่นี่อีกอย่างแน่นอน เพื่อทำงานภาคสนาม
 

     ฉบับนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเรื่องเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบไป

     พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าไปในดินแดนแถบเอเชียกลางในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ อาณาจักรและเมืองสำคัญในยุคดังกล่าวตั้งอยู่ริมแอ่งทาริม รอบทะเลทรายตากลามากันบนเส้นทางแพรไหม ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าขายมาแต่โบราณ สถานที่เหล่านี้ ได้แก่ เมืองคิซิลกูชา อาณาจักรทูร์ฟาน บนเส้นทางแพรไหมตอนเหนือ และอาณาจักรโขตาน เมืองนิยะเมืองตุนหวง บนเส้นทางแพรไหมตอนใต้ซึ่งล้วนแต่เป็นแหล่งที่พบพุทธคัมภีร์โบราณ

      อาณาจักรโขตานตั้งอยู่ตอนใต้ของแอ่งทาริม เชิงเขาคุนหลุน เป็นโอเอซิสที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำยูรุงกาชและการากาช1 จึงได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำ ๒ สาย อาณาจักรโขตานเป็นศูนย์กลางสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่เริ่มรับพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๖ อย่างต่อเนื่อง จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พระภิกษุจีนฝาเสี่ยน2 ผู้เคยเดินทางผ่านมา ได้บันทึกไว้ว่า “ประเทศนี้เจริญมั่งคั่งและมากไปด้วยประชากร ประชาชนทั้งหมดเป็นผู้ยึดมั่นเปี่ยมศรัทธาในธรรมะ และมักมีวิธีสันทนาการด้วยบทเพลงทางศาสนาพระสงฆ์ที่นี่มีหลายหมื่นรูป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหายาน” ความนิยมทางฝ่ายมหายานที่นี่เป็นปรากฏการณ์ตรงข้ามกับเส้นทางแพรไหมตอนเหนือที่นิยมพระพุทธศาสนาสาวกยานมากกว่า สถานที่สำคัญที่ค้นพบคัมภีร์โบราณทางตะวันออกเฉียงเหนือของโขตาน คือตันตันอูอิลิก3 ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการขุดค้นไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าไป
 

แหล่งค้นพบพุทธคัมภีร์โบราณ เส้นทางแพรไหมตอนเหนือ เช่น คิซิล กูชา ทูร์ฟาน
เส้นทางแพรไหมตอนใต้ เช่น โขตาน นิยะ ตุนหวง
ที่มา http://irfu.cea.fr/Sap/Phocea/Vie_des_labos/Ast/ast.php?id_ast=2615


พุทธโบราณสถานตันตันอูอิลิกทางตะวันออกเฉียงเหนือของโขตาน
ที่มา http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6c/Ancient_Khotan_BLER2_AKV1_FP246_FIG29.jpg/240px-Ancient_Khotan_BLER2_AKV1_FP246_FIG29.jpg



จิตรกรรมพระพุทธเจ้าพุทธโบราณสถานตันตันอูอิลิก โขตาน
ที่มา http://idp.bl.uk/archives/news32/idpnews_32.a4d


คัมภีร์สุวรรณประภาสสูตร อักษรพราหมีภาษาโขตาน กระดาษ พุทธศตวรรษที่ ๑๐
ที่มา http://idp.bl.uk/4DCGI/education/symposium/goldenlight/index.a4d

     กูชา4 เป็นอาณาจักรพุทธโบราณตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูสาท5 บนเส้นทางแพรไหมตอนเหนือพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาราวพุทธศตวรรษที่ ๖ กูชาได้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๘ อาณาจักรกูชาเป็นบ้านเกิดของพระภิกษุกุมารชีวะผู้มีคุณูปการมหาศาลแก่ประเทศจีนในด้านพระพุทธศาสนา พระภิกษุเสวียนจั้ง6 (พระถังซำจั๋ง) ได้เขียนบรรยายถึงอาณาจักรนี้ไว้ว่า “มีอารามกว่าร้อยแห่ง และมีพระสงฆ์กว่าห้าพันรูป ล้วนเป็นหินยานนิกายสรรวาสติวาทซึ่งมีคำสอนและวินัยคล้ายกับทางอินเดีย...มีพระพุทธรูปสูง ๙๐ ฟุต ประดิษฐานอยู่หน้าประตูเมืองด้านตะวันตก”
 

วัดถ้ำพุทธสถานโบราณคิซิล13 กูชา มณฑลซินเจียง จีน พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๓
ที่มา http://mongolschinaandthesilkroad.blogspot.com/2012/04/tocharian-and-tocharians.html


จิตรกรรมแสดงอมนุษย์ตามที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา เช่น เทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์อสุรา ครุฑ กินนร และ มโหราคะ วัดถ้ำพุทธสถานโบราณคิซิล กูชา มณฑลซินเจียง จีน
ที่มา http://www.visitourchina.com/kucha/attraction/kizil-grottos-kizil-thousand-buddha-caves.html


ชิ้นส่วนพุทธคัมภีร์โบราณ อักษรพราหมีภาษาโตคาเรียน14 พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๓
ที่มา http://mongolschinaandthesilkroad.blogspot.com/2012/04/tocharian-and-tocharians.html

      วัดถ้ำพุทธสถานโบราณคิซิลเป็นวัดถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลซินเจียง ประกอบด้วยถ้ำเล็กใหญ่ ๒๓๖ ถำ ขุดเจาะเข้าไปในหน้าผายาวกว่า ๒ กิโลเมตร7 จิตรกรรมภายในถ้ำเป็นเรื่องราวชาดกและอวทานของนิกายสรรวาสติวาท จากเนื้อหาในคัมภีร์ที่พบที่กูชา ทำให้ทราบว่าหนึ่งในจิตรกรรมถ้ำที่คิซิลนั้น กษัตริย์ชาวโตคาเรียนทรงพระนามว่า เมนทเร8 มีรับสั่งให้วาดขึ้นภายใต้คำแนะนำของพระเถระชื่ออนันทวรมัน9 โดยฝีมือช่างเขียนชาวอินเดียชื่อนรวาหนทัตตะ10 กับอีกท่านมาจากซีเรียชื่อปรียรัตนะ11 และกษัตริย์โขตานทรงพระนามว่าวิชยวรธนะและมูร์ลิมิน12 ได้ส่งช่างมาเขียนภาพจิตรกรรมไว้ในอีกถ้ำหนึ่งด้วย
 

บริเวณพุทธโบราณสถาน ถ้ำเบเซกลิก ทูร์ฟานมณฑลซินเจียง จีน พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘
ที่มา http://www.mygola.com/bezeklikthousand-buddha-caves-p120927


จิตรกรรมพระพุทธเจ้าพันพระองค์พุทธโบราณสถานถ้ำเบเซกลิก ทูร์ฟาน มณฑลซินเจียง จีน
ที่มา http://www.bartellonline.com/chinapic.php?i=25600


จิตรกรรมแสดงภาพพระภิกษุชาวเอเชียกลางนัยน์ตาสีฟ้า เทศนาสั่งสอนพระภิกษุเอเชียตะวันออกพุทธโบราณสถานถ้ำเบเซกลิก ทูร์ฟาน มณฑลซินเจียง จีนพุทธศตวรรษที่ ๑๕
ที่มา http://www.lankaweb.com/news/items/2012/05/17/temple-discovery-revealsbuddhisms-ancient-spread-to-china-from-india

     อาณาจักรทูร์ฟาน15 เป็นพื้นที่โอเอซิสหรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ในทะเลทรายตากลามากัน ตั้งอยู่บนเส้นทางแพรไหมตอนเหนือมีพื้นที่ ๑๗๐ ตารางกิโลเมตรโดยประมาณอยู่ระหว่างเมืองเจียวเหอและเกาชาง เขตเมืองทูร์ฟานใหม่ในมณฑลซินเจียงของจีน พุทธโบราณสถานที่เหลืออยู่ในปัจจุบันคือวัดถ้ำ     เบเซกลิก16 สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘ พุทธคัมภีร์โบราณของทูร์ฟานปัจจุบันเป็นสมบัติของเบอร์ลินคอลเลกชัน17 พบว่าชิ้นส่วนคัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าที่สุดของที่นี่มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ เป็นคัมภีร์ที่สร้างด้วยความประณีตบรรจง โดยใช้หมึกสีแดงเขียนเฉพาะคำว่า “พุทธะ” และ “โพธิสัตวะ”หรือใช้กับคำแรกของคาถาเป็นต้น อักษรที่ใช้จารึกส่วนใหญ่เป็นอักษรอุยกูร์ที่พัฒนามาจากอักษรซอกเดียน มีเพียงส่วนน้อยที่ใช้อักษรทิเบตและพราหมี เนื้อหาในคัมภีร์แปลมาจากภาษาจีน ทิเบต สันสกฤต โตคาเรียนหรือซอกเดียน18 แต่ก็พบคัมภีร์ท้องถิ่นประเภทร้อยกรองและวรรณกรรมของคฤหัสถ์19 เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบคัมภีร์ที่พิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้อีกด้วย
 

คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร อักษรพราหมีภาษาสันสกฤต กระดาษ พุทธศตวรรษที่ ๑๐
ที่มา http://idp.bl.uk/4DCGI/education/comenius/manuscripts.a4d


วัดถ้ำพุทธศาสนาโม่เกา ตุนหวงเส้นทางแพรไหมตอนล่าง มณฑลกันซู จีน
ที่มา http://epic-curiousity.com/wp-content/uploads/2014/08/mogao.jpg


ภายในวัดถ้ำหมายเลข ๓๒ โม่เกา ตุนหวง มณฑลกันซู จีน
ที่มา https://32minutes.wordpress.com/2013/06/05/mogao-caves/


จิตรกรรมเพดานถ้ำแสดงพระพุทธเจ้าหลายพระองค์โม่เกา ตุนหวง มณฑลกันซู จีน
ที่มา http://steppemagazine.com/articles/reviewcaves-dunhuang/


คัมภีร์วัชรัจเฉติกสูตร ภาษาจีน กระดาษต้นปอสิ่งพิมพ์ได้จากโม่เกา พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่หอสมุดบริติช
ที่มา http://www.aardvarknet.info/access/number43/dunhuang2_big.jpg


ม้วนคัมภีร์กระดาษ ภาษาจีน จากโม่เกา ตุนหวง มณฑลกันซู จีน พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก
ที่มา http://news.lib.uchicago.edu/blog/2012/08/


คัมภีร์พุทธศาสนา อักษรพราหมี ถ้ำโม่เกา ตุนหวงมณฑลกันซู จีน ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่หอสมุดบริติช
ที่มา http://farm5.static.flickr.com/4115/4866403781_72778fe2eb_z.jpg

      จากการศึกษาเส้นทางการเผยเเผ่นี้ ผู้เขียนและคณะนักวิจัยสถาบันดีรีสรุปได้ว่า ดินแดนของจีนนับเป็นเเหล่งข้อมูลในระดับปฐมภูมิที่มีจำนวนมหาศาล สถาบันดีรีจึงได้จัดบุคลากรและแผนการทำงานวิจัยในภาคสนาม เพื่อสืบค้นคำสอนดั้งเดิม ให้ได้มาซึ่งหลักฐานร่องรอยธรรมกายสืบไป (โปรดติดตามฉบับหน้า)








พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related