การบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 1

พระธรรมเทศนา เรื่อง การบวชในพระพุทธศาสนา โดยพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9 ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม https://dmc.tv/a15554

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พระพุทธศาสนา
[ 26 เม.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18333 ]
โดยพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9 ราชบัณฑิต)

 
การบวชพระ การบวชในร่มเงาบวรพระศาสนามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตลูกผู้ชายทุกคน
พระธรรมเทศนา เรื่อง การบวชในพระพุทธศาสนา
โดยพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9 ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม


ทำไมต้องพูดเรื่องการบวชพระ?


         ขอเจริญพร : ต่อไปนี้จะได้พูดถึงเรื่องการบวช ทำไมต้องพูดเรื่องการบวช เพราะว่าการบวชนั้นถือว่าเป็นกิจกรรมใหญ่กิจกรรมหนึ่งของพระพุทธศาสนา พอพูดถึงเรื่องการบวชก็เข้าใจกันทุกคน ว่าการบวชคือการทำอย่างไร เป็นอย่างไร บางคนก็เคยบวชมาแล้ว บางคนก็เคยไปร่วมในการบวช บางคนก็เป็นเจ้าภาพ และบางคนก็อาจจะเคยเห็น ก็พูดรวมๆ ได้ว่า พอพูดถึงเรื่องการบวชทุกคนก็เข้าใจแล้วรู้จัก
 
     แต่จะรู้จักในรายละเอียดลึกซึ้งอย่างไรนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราะฉะนั้นวันนี้ก็จะมาพูดถึงเรื่องการบวช หรือมากะเทาะเปลือกให้เห็นแก่นแท้ ประเด็นสาระของการบวชให้เห็นสาระในพระพุทธศาสนา โดยจะแบ่งประเด็นการพูดออกไปหลายๆ ประเด็น

บวชคืออะไร  บวชเพื่ออะไร วัตถุประสงค์เพื่ออะไร บวชดีอย่างไร ทำไมจึงต้องบวช

       ประเด็นแรก คือ บวชคืออะไร  บวชเพื่ออะไร วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ประการต่อมาบวชดีอย่างไร ทำไมจึงต้องบวชกัน และบวชอย่างไรจึงจะได้วัตถุประสงค์ตามต้องการ หรือบวชแล้วได้ดีตามต้องการ แล้วบวชอย่างไรขาดทุน คือไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประเด็นแรกชื่อว่า  บวชคืออะไร แต่โบราณมาแปลว่าบวชคือการงดเว้น จากความชั่ว บาป อกุศลทั้งปวง เมื่อบวชแล้วก็จะตั้งใจงดเว้นจากการทำชั่วทำผิดไม่เกลือกกลั้วกับความชั่วอีกต่อไป ในขณะเดียวกันที่จะพัฒนาตัวเองให้สูงขึ้น จนสำเร็จมรรคผลนิพานได้ นี่คือความหมายของคำว่าบวชในพระพุทธศาสนา
 
     ในความหมายของทั่วๆ ไปก็คือความหมายของการถือเพศนักบวช เป็นกุศโลบายงดเว้นจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เพราะว่าผู้บวชนั้นเมื่อบวชแล้วก็จะสงบ เสงี่ยม เรียบร้อย ประพฤติปฏิบัติไม่เป็นโทษเป็นพิษเป็นภัยแก่สังคม เพราะว่าอยู่ในกรอบแห่งธรรมวินัย จิตใจตั้งมั่นอยู่ในธรรมะ ก็จะไม่เบียดเบียนใครให้ได้รับความเดือนร้อน จึงถือว่าการบวชหมายถึงการถือเพศเป็นนักบวชแล้ว จะงดเว้นจากการเบียดเบียนจากคนอื่นแลตนเอง นี่คือความหมายของคำว่าบวช


บวชเพื่ออะไร

 
        ประเด็นต่อไป คือ  บวชเพื่ออะไร ในการบวชในพระพุทธศาสนานั้นตั้งแต่โบราณมาท่านกำหนดไว้ว่าบวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่นี่ถือเป็นเป้าหมายแรก อันดับแรก ที่ทั้งผู้บวชเองและทั้งผู้ให้บวชอุปการะคือ พ่อแม่ก็จะคิดว่าบวชแล้วเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ตอบแทนข้าวป้อนน้ำป้อนนมเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ให้พ่อให้แม่ได้เห็นชายผ้าเหลือง โบราณถือกันมาอย่างนั้น
 
บวชเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสืบทอดพระพุทธศาสนา
การบวชพระเป็นสิ่งที่มีค่า ที่บุตรพึงกระทำต่อบิดามารดา
 

บวชเพื่อทดแทนคุณพ่อแม่ได้จริงหรือ?

          เพราะฉะนั้น จึงนิยมบวชกันโดยมีเป้าหมายทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ถ้าจะถามว่าทดแทนบุญคุณพ่อแม่ได้จริงหรือ ความจริงแล้วการทดแทนบุญคุณพ่อแม่ไม่ใช่เพียงแค่การบวชเท่านั้น การบวชคือการทดแทนบุญคุณพ่อแม่ประการหนึ่งในหลายๆ ประการ เพราะว่าชาวพุทธแต่โบราณมา โดยเฉพาะคนไทย เมื่อมีลูกผู้ชายก็จะตั้งใจไว้ว่าจะให้ลูกบวชได้เห็นชายผ้าเหลืองของลูก ถ้าลูกคนใดบวชให้ก็จะปลื้มอกปลื้มใจหนักหนา ได้ดีอก ดีใจ เห็นชายผ้าเหลืองของลูกสมปรารถนา รอคอยมาเป็นเวลายี่สิบปีขึ้นไป คอยประคบประหงม หากอวัยวะพิการเดี๋ยวจะบวชไม่ได้ พ่อแม่ทะนุถนอมลูก โดยเฉพาะที่เป็นผู้ชายมายี่สิบกว่าปีเพื่อที่จะให้ได้บวช
 
     เพราะฉะนั้นเมื่อลูกคนใดบวชให้พ่อแม่ได้ พ่อแม่ก็ดีใจปลื้มใจสมหวังสมปรารถนา ถ้าลูกคนใดพออายุครบที่จะบวชได้ แต่ไม่ยอมบวชให้พ่อให้แม่ ไม่ยอมเสียสละ อ้างนู่นอ้างนี่ กลัวลำบาก หรือมองว่าบวชแล้วไม่ได้อะไร ก็ปฏิเสธ เมื่อลูกปฏิเสธ หัวใจพ่อ หัวใจแม่แทบจะสลาย เพราะความปรารถนา ความตั้งใจรอคอมมายี่สิบปี ไม่ใช่ประเดี๋ยวเดียว นานหนักหนา
 
     เพราะฉะนั้นลูกคนใดบวชให้พ่อให้แม่ได้ถือว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณหัวใจพ่อ หัวใจแม่ ท่านได้ปรารถนา สมหวัง นี่คือเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการบวชประการแรกที่เราถือกันมาแต่โบราณ
 
 

บวชสร้างบุญ

 
       ประการต่อมาการบวชนั้นเป็นการสร้างบุญ สร้างบารมีให้แก่ตัวเอง วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายตั้งแต่เริ่มแรกสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงกำหนดกลุ่มหรือคณะเรียกกันว่าคณะพระภิกษุสงฆ์ ว่าหมู่สงฆ์หรือคณะสงฆ์บุคคลตัวอย่างที่หลีกเว้นจากการคลุกคลีในเรื่องของโรค ทรงกำหนดวิธีในเรื่องของการบวชทรงกำหนดพระวินัยมาดัดกรอบให้ประพฤติปฏิบัติทรงวางระเบียบเข้าไว้เพื่อให้ผู้ที่มีบวชนั้นขัดเกลาตัวเองเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส ให้หลุดพ้นเบื้องต้นโดยเฉพาะพัฒนาตัวเองให้สงบเรียบร้อย สวยงามน่ากราบน่าไหว้น่าชื่นชมใครพบเห็นเข้าก็จะทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสนี่ในภายนอก ส่วนภายในคือเรื่องจิตใจให้ปล่อยให้วางให้ละกิเลสค่อยๆ ขัดเกลาไปจนกระทั่งบริสุทธิ์สะอาดผุดผ่องและได้บรรลุธรรม บรรลุธรรม ตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับสูงจนกระทั่งหมดกิเลส ได้เด็ดขาดซึ่งเรียกว่าเป้นพระอรหันต์นี่ก็คือเป้าหมายของวัตถุประสงค์ของการตั้งหมู่คณะขึ้นมา เป็นบุคคลต้นอย่างที่จะพัฒนาให้หลุดพ้นจากกิเลส จากทุกข์ทั้งปวง 
 
     บุคคลที่เข้ามาบวชก็ถือว่ามีเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเอง สั่งสมบุญสั่งสมบารมีเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานตามอย่างโบราณบัณฑิตทั้งหลายคือเหมือนกับบุคคลในสมัยพุทธเจ้า ต่างก็สละครอบครัว สละบ้านเรือน สละทรัพย์สมบัติ สละความสุขส่วนตัวเข้ามาบวชแล้วก็พัฒนาตนเอง สร้างบุญสร้างบารมีจนได้เป็นพระอริยะบุคคลกัน นี่ก็คือเป้าหมายของการบวช

    ชีวิตขั้นที่สองรองจากการเกิดก็คือการบวช การบวชนั้นถือว่าเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนดีมีศีลธรรม การตอบแทนบุญคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิดการบวชก็เป็นการที่ลูกผู้ชายทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติ แต่เมื่อการบวชนั้นดีอย่างไร แล้วเมื่อบวชแล้วจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร


ลูกผู้ชายบวชให้ได้อย่างน้อย 1 พรรษา
บวชศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

บวชเพื่อศึกษาเล่าเรียน

    เป้าหมายอีกอย่างหนึ่งก็คือบวชมาเพื่อศึกษาเล่าเรียนการศึกษาเล่าเรียนหมายถึงการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เราเรียกกันว่าพระธรรมวินัยหรือเรียกสั้นๆ ว่าพรธรรม บวชมาเพื่อเรียนธรรมะ ธรรมะในที่นี่ก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วก็ทรงแนะนำสั่งสอนผู้คนในยุคพระพุทธองค์ได้รับผลแห่งความรู้ความเข้าใจที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนำเอาไปประพฤติปฏิบัติมีความสุขในชีวิตจนกระทั่งถึงได้นิพพานสมบัตินอกจากจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติแล้ว ก็ยังจะได้นิพพานสมบัติแต่ว่าการที่จะได้สมบัติทั้งหลายทั้งปวงนี่ก็จะต้องศึกษาให้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าในระดับต่างๆ
 
     การบวชก็จะได้มาศึกษาเล่าเรียนธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า  ปัจจุบันนี้จะศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าได้โดยไม่ต้องบวช เวลาแลโอกาสนั้นมักจะไม่ค่อยอำนวยเพราะว่าชีวิตคฤหัสถ์นั้นถือว่ามีหน้าที่ๆ จะต้องทำ จะต้องปฏิบัติมาก ไม่สามารถที่จะละเว้นไม่สามารถที่จะปล่อยวางได้ ถ้าหากว่ามามีชีวิตเป็นนักบวชจะมีเวลาในการที่จะศึกษาเล่เรียนทำความเข้าใจในด้านทั้งปริยัติ ก็คือศึกษาเล่าเรียนทำความเข้าใจทั้งในด้านปริยัติตามคำสอนตามตัวหนังสือตามความหมายให้รู้ให้เข้าใจ และศึกษาในด้านปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรมะที่ได้ศึกษาเล่าเรียนที่ได้รู้ได้เข้าใจมาแล้วการบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนนี้เพื่อให้เป็นเป้าหมายหรืองวัตถุประสงค์ของการบวชโบราณท่านจึงบอกว่าบวชเรียนคือบวชแล้วต้องเรียนต้องศึกษา
 
       สรุปแล้วเป้าหมายของวัตถุประสงค์ก็มีอยู่สามประการด้วยกันก็คือ บวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ บวชเพื่อสั่งสมอบรมตนเอง ประการที่สามบวชมาเพื่อศึกษาเล่าเรียน นี่เป็นเป้าหมายของวัตถุประสงค์ของการบวช
 
 

บวชนั้นดีอย่างไร

    บวชนั้นดีอย่างไร การบวชเป็นความดี ทุกคนก็ยอมรับความดี แต่ว่าถ้าจะให้ละเอียดลงไปก็ต้องแยกแยะออกมาเป็นข้อๆ เป็นประเด็นๆ ไป ที่ว่าบวชแล้วดีอย่างไร
 
     ความดีของการบวช นั่นก็คือ ได้มีโอกาสนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์คำว่าผ้ากาสาวพัสตร์หมายถึงผ้าที่เย็บย้อมด้วยน้ำฟาดหรือน้ำที่มีสีหาดปัจจุบันนี้ก็คือผ้าเหลืองที่เราเรียกว่าผ้ากาสาวพัสตร์ การบวช คือ ผู้ที่โอกาสได้ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้ากาสาวพัสตร์ดีอย่างไรวิเศษอย่างไร เป็นธงชัยของพระอรหันต์ ผ้ากาสาวพัสตร์เป็นเครื่องนุ่งห่มพระพุทธเจ้าที่ห่อหุ้มพระองค์หรือห่อหุ้มตัวของพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่เริ่มแรก



สัญลักษณ์ของการบวช
 
        ถ้าจะกล่าวว่าผ้าเหลืองหรือผ้ากาสาวพัสตร์เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ถ้าหากว่านุ่งห่มถูกต้อง จะกลายเป็นบุคคลที่สูงขึ้น ยกระดับสูงขึ้น เพราะถือว่าได้ทรงไว้ซึ่งธงชัยของพระอรหันต์ ในประเทศไทยเรามีกฎหมายคุ้มครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่จะนำไปนุ่งไปห่ม ถ้าหากว่านำไปนุ่งไปห่มไม่ถูกต้องถือว่าผิด และผิดกฎหมายถึงกับติดคุกติดตะราง
 
     คนที่สมัครตัวมาบวชจะบวชเป็นพระภิกษุก็ตาม สามเณรก็ตาม แล้วบวชถูกต้องตามพระวินัยก็มีสิทธิที่จะได้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ซึ่งเป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้า ของพระอรหันต์ทั้งหลาย ถือว่ามีบุญมีวาสนาแกร่งกล้า มีโอกาสอย่างนั้นส่วนผ้ากาสาวพัสตร์หุ้มห่อ ผู้คนก็จะให้ความเคารพนับถือกราบไหว้ พ่อแม่ปู่ย่าตายายปกติก็ไม่ได้กราบลูกไหว้ลูกกัน แต่พอลูกได้มานุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ พ่อแม่ก็จะกราบลูก ไหว้ลูก ได้อย่างสนิทใจ นั่นถือว่าได้กราบพระ ได้กราบลูกของพระพุทธเจ้านุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
 
     แม้แต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก็จะให้ความเคารพผ้ากาสาวพัสตร์เช่นเดียวกัน นี่ก็คือบวชแล้วดีได้มีโอกาสนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ และต่อมาบวชนั้นได้มีโอกาสทดแทนบุญคุณพ่อแม่ดั่งที่ได้แสดงมาในตอนต้น การบวชมีเป้าหมายได้แสดงความกตัญญูรู้คุณพ่อรู้คุณแม่ รู้ความดีของพ่อแม่รู้ความปรารถนาของพ่อแม่ พ่อแม่ต้องการให้บวชได้นุ่งเหลืองห่มเหลืองจะได้เกาะชายผ้าเหลืองรอมาเป็นเวลานานประคบประหงมเลี้ยงดูมารู้ใจพ่อรู้ใจแม่บวชให้พ่อให้แม่ก็ดี ดีตรงที่รู้คุณพ่อรู้คุณแม่ ได้ทำให้พ่อแม่ชื่นอกชื่นใจเท่ากับว่าปลดเรื่องหนี้สิ้นปดเรื่องค่าน้ำนมอย่างที่โบราณท่านได้พูดกันมา  

        ประการต่อมาก็คือบวชแล้วได้เป็นลูกของพระพุทธเจ้า สำคัญอีกข้อหนึ่ง คือนอกจากได้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วยังได้ชื่อว่าเป็นลูกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกกันโดยทั่วไปว่าเป็นพุทธบุตรการเป็นพุทธบุตรหรือเป็นลูกของพระพุทธเจ้าแล้วไม่ใช่ว่าเป็นกันง่ายๆ พระพุทธเจ้าทรงกำหนดวิธีการอุปสมบทหรือวิธีการบวชเข้าไว้ในพระวินัยหรือปฏิบัติกันมาตลอด
 
      สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน การบวชถือว่าเป็นวิถีสำคัญแลศักดิ์สิทธิ์ ต้องทำภายในพระอุโบสถ มีพระอุปัชฌาย์ มีคู่สวด มีพระอันดับ ต้องมีการสวดต้องมีการสวดประกาศว่ามีคุณสมบัติพร้อมทุกอย่าง นั่นก็คือมีการคัดสรรผู้ที่จะบวชมากพอสมควร ไม่ใช่บวชกันได้ง่ายๆ และเมื่อบวชถูกต้องแล้วก็จะได้เป็นลูกของพระพุทธเจ้าหรือเป็นพุทธบุตร แล้วเป็นได้ตลอดชีวิต ความเป็นพุทธบุตรก็เหมือนกับเป็นลูกของพ่อ เป็นลูกของแม่ ถ้าเกิดจากแม่คนใด พ่อคนใดก็จะเป็นลูกของคนนั้นตลอดเช่นเดียวกันถ้าได้บวชถูกต้องตามพระธรรมวินัยก็จะได้เป็นลูกของพระพุทธเจ้าตลอดไปแล้วก็การบวชดีอย่างนี้ 
 
 
การสอบบาลีสนามหลวง ปี2556
บวชแล้วได้ศึกษาเล่าเรียน ได้ประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อกำจัดกิเลสพัฒนาตนเองให้สูงขึ้น
 
 
      และสุดท้ายก็คือบวชแล้วก็คือได้ศึกษาเล่าเรียน ได้ประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อกำจัดกิเลสพัฒนาตนเองให้สูงขึ้น ดีตรงที่ว่าได้พัฒนาตนเองอย่างสมบูรณ์แบบ ภาษาพระเรียกว่าได้ความเป็นอุปนิสสรณิกา เป็นการบวชเพื่อสลัดออกจากทุกข์ เพราะว่าผู้บวชนั้นมุ่งในการกำจัดกิเลส มุ่งที่จะพัฒนาตนเองทั้งทางร่างกายและทางด้านจิตใจก็จะสามารถบรรลุมรรคผลนิพานได้และก็จะหลุดพ้นจากกองทุกข์กองกิเลสได้
 
         เพราะฉะนั้นจึอาจกล่าวสรุปได้ว่า บวชแล้วดีอย่างไรหรือบวชแล้วได้อะไร บวชแล้วดีที่ว่าบวชแล้วได้ ได้อะไร ก็ได้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ได้ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ได้เป็นพุทธบุตร ได้ศึกษาเล่าเรียน ควรจะเป็นอย่างไรจึงจะได้กำไรบวชแล้วได้กำไรได้อานิสงส์จากการบวชไม่ใช่ว่าเพียงแค่ได้อย่างที่ว่าคือถ้าบวชถูกต้องแล้ว ได้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ได้ทดแทนบุญคุณพ่อแม่ได้เป็นลูกของพระพุทธเจ้าแต่ว่าข้อสุดท้ายที่ว่าได้ศึกษาเล่าเรียนได้ประพฤติปฏิบัตินั้นจะเป็นเรื่องที่ตามมาหลังจากบวชแล้วการที่บวชแล้วจะได้กำไร บวชแล้วจะไม่ขาดทุน


บวชให้ได้อานิสงส์
 
     บวชแล้วได้อานิสงส์จากการบวชเต็มที่ก็อยู่ที่การประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติของพระก็มีหลายอย่างหลายประการแต่ว่าที่ๆ รู้กันที่นิยมทำกันตั้งแต่โบราณมา ก็คือ ทำวัตร – สวดมนต์  ท่องบ่นภาวนา ศึกษาเล่เรียน แล้วหมั่นเพียรปฏิบัติ พระที่บวชนั้นก็จะมีกิจวัตรประจำก็คือทำวัตร – สวดมนต์  อย่างในประเทศไทยเราก็มีทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นนี่ถือว่าเป็นการทำวัตรโดยปกติการทำวัตรก็คือการที่พระภิกษุสามเณรเข้าไปในอุโบสถ หรือศาลาหรือที่ใดที่กำหนดกันไปรวมกันเข้าเท่ากับว่าได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้ทำวัตรได้นึกถึงธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วก็มีสวดมนต์ต่อก็ถือว่าเป็นกิจวัตรเป็นข้อปฏิบัติถ้าหากว่าบวชแล้วได้สวดมนต์ ก็ถือว่าได้กำไร
 
           ประการต่อก็คือการท่องบ่นภาวนาส่วนใหญ่ก็จะต้องท่องบท พระสูตร พุทธพจน์ ที่ท่านกำหนดไว้ให้ขึ้นปากขึ้นใจ ไม่ต้องเปิดหนังสือ จำได้แม่นยำแล้วก็สวดพร้อมๆ กันนอกจากเป็นบุญเป็นกุศลแล้วยังเป็นหน้าที่ของพระแล้วยังเป็นการรักษาพุทธพจน์แล้วยังเป็นการท่องการจำ การท่องพุทธพจน์เป็นเหตุไม่คลาดเคลื่อนเหมือนกันจะอยู่เมืองไหนประเทศเทศไหนก็สามารถนำมาสวด แม้ไม่เคยสวดก็สามารถสวดไปด้วยกันได้เพราะว่าตัวหนังสือตัวคำสอนหรือว่าตัวพุทธพจน์แม้จะเขียนต่างกันแต่พอออกเสียงแล้วก็จะคล้ายกันหรือไปด้วยกันได้นี่คือสวดมนต์ภาวนา การสวดมนต์ภาวนาเป็นการนำเอามนต์นำเอาพุทธพจน์เข้ามาเป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัวถ้าจำไม่ได้ ทำวัตรเช้าก็ดี ทำวัตรเย็นก็ดี สวดมนต์ก็ดี เปิดตำรา เปิดหนังสือ มันก็อยู่แต่ภายนอก มันก็อยู่ที่ตา อยู่ที่ปาก แต่ว่าไม่ซึมเข้าไปในเลือดในเนื้อต้องท่องเมื่อท่องจำได้แล้วก็ภาวนานี่คือหน้าที่ ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นกำไร....ติดตาม การบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 2 ได้ที่นี่
 
รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอการบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 1
ชมวิดีโอการบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 1   Download ธรรมะการบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 1


การบวชพระคืออะไรและอานิสงส์ที่ผู้บวชจะได้จากการบวชพระนี้ มีดังบทความต่อไปนี้




http://goo.gl/yldHE


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีทอดกฐินสามัคคีสร้างทุกสิ่ง ณ ธุดงคสถานแก้วโนนแดง
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนแท่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินสร้างศาลาปฏิบัติธรรมจันทสโร
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนลำดวนสวรรค์ จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างทุกสิ่ง
      วัดพระธรรมกาย จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2564
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จัดงานบุญพิธีทอดกฐินสามัคคี
      ธุดงคสถานแก่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม
      ธุดงคสถานนครธรรม จัดพิธีบุพเปตพลีออนไลน์
      วัดพระธรรมกายออเรกอน จัดพิธีบูชาข้าวพระ
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมพัทลุง จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ถวายเครื่องปรับอากาศ
      ศูนย์อบรมเยาวชนเถินเทิดธรรม จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างทุกสิ่ง
      บรรยากาศชวนบวชโครงการอุปสมบท บูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมเพชรบูรณ์ จัดพิธีทอดกฐินสามัคคีเพื่อสร้างหอฉัน
      วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพให้แก่ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 ชุด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related