ทำไม...ถึงสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์รูปทรงแบบนี้ ? ผิดไหม ? ใช่รูปจานบินไหม ?

แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องการออกแบบสร้างสถูปหรือเจดีย์ไว้อย่างไร ? https://dmc.tv/a22842

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ข่าววัดพระธรรมกาย รวมคำถาม-คำตอบ
[ 25 พ.ย. 2560 ] - [ ผู้อ่าน : 18302 ]
ทำไม...ถึงสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์รูปทรงแบบนี้ ?
ผิดไหม ? ใช่รูปจานบินไหม ?

เคลียร์ข่าววัด
เรื่อง : ร.ลิ่วเฉลิมวงศ์
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐

 
ทำไม...ถึงสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์รูปทรงแบบนี้ ? ผิดไหม ? ใช่รูปจานบินไหม ?

 ทำไม..ถึงสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์รูปทรงแบบนี้ ? ผิดไหม ? ใช่รูปจานบินไหม ?

     จริง ๆ ทางวัดไม่ได้สร้างเป็นรูปจานบิน แต่สร้างโดยอาศัยพุทธปรัชญา ความรู้จากการปฏิบัติธรรม และสถาปัตยกรรมของพระพุทธศาสนาในสมัยโบราณเป็นต้นแบบ ซึ่งหากย้อนยุคไปดูสถูปหรือเจดีย์ทางพระพุทธศาสนายุคแรกของโลกจากหลักฐานที่ค้นพบทางโบราณคดีแล้วจะพบว่า..สถูปหรือเจดีย์ทางพระพุทธศาสนายุคแรกของโลกที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นเป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม

     อีกทั้งจากหลักฐานทางโบราณสถานจำนวนมากก็แสดงให้เห็นว่า..สถูปหรือเจดีย์ยุคดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม ซึ่งพระมหาธรรมกายเจดีย์ก็เช่นกัน ได้สร้างตรงตามรูปแบบและหลักการในยุคดั้งเดิม คือ เป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม
 
 
 
 
 
 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องการออกแบบสร้างสถูปหรือเจดีย์ไว้อย่างไร ?

     จากบันทึกการจาริกของสมณะเสวียนจั้งหรือพระถังซัมจั๋ง*** ในครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ มีบุรุษชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เข้ามาน้อมถวายสัตตุก้อนสัตตุผงเจือน้ำผึ้ง แล้วฟังธรรม และก่อนจากไปก็ได้ขอวัตถุสิ่งของที่เนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้บูชา ซึ่งพระองค์ก็ได้ประทานพระเกศ (ผม) และพระนขา (เล็บ) ที่ตัดแล้วให้ จากนั้นพวกเขาทั้งสองจึงได้ทูลถามถึงวิธีการสักการบูชาสิ่งที่เนื่องด้วยพระองค์ว่าจะต้องทำอย่างไร

     ด้วยเหตุนี้..พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงกำหนดรูปแบบสถูปสำหรับบูชาขึ้น โดยนำผ้าสังฆาฏิพับวางเป็นทรงสี่เหลี่ยมไว้ด้านล่าง แล้ววางซ้อนด้วยผ้าอุตราสงค์ ทับซ้อนด้วยจีวร ตามด้วยบาตร แล้วจึงตั้งธงคทาขึ้นด้านบน

     ดังนั้น..รูปแบบสถูปหรือเจดีย์ทรงบาตรคว่ำที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ จึงเป็นต้นแบบของการสร้างเจดีย์นับแต่นั้นมา ดังตัวอย่างรูปทรงของสถูปสาญจี ซึ่งเป็นสถูปเก่าแก่ที่สร้างขึ้นราว ๒,๒๐๐ ปีก่อน ซึ่งมีรูปครึ่งทรงกลม โดยประยุกต์มาจากรูปทรงบาตรคว่ำ
 

พระปฐมเจดีย์ยุคแรกสร้างเป็นทรงโอคว่ำ เพราะถอดแบบการสร้างมาจากมหาสถูปสาญจี

     พระปฐมเจดีย์ ถือเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ยืนยันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิครั้งแรก โดยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระสมณทูต ๕ องค์มาเผยแผ่ จนพระพุทธศาสนาปักหลักในประเทศไทยมาถึงยุคปัจจุบัน
 

      พระปฐมเจดีย์ถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๔ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงถวายแด่พระสมณทูตที่มาเผยแผ่ ซึ่ง พระปฐมเจดีย์นี้ได้ถอดแบบการสร้างมาจากมหาสถูปสาญจี (มหาสถูปยุคแรกในพระพุทธศาสนา จากหลักฐานทางโบราณคดี) แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป พระปฐมเจดีย์ถูกบูรณะซ่อมแซมในยุคต่อ ๆ มา โดยสร้างองค์เจดีย์ที่มียอดแหลมขึ้นครอบเจดีย์องค์เดิมหลายครั้ง จนทำให้พระปฐมเจดีย์มียอดแหลมสูงขึ้นดังปัจจุบัน ตามประวัติการบูรณะดังนี้ (ข้อมูลจากหนังสือภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)

     - พญาพานทรงสร้าง เจดีย์ทรงปรางค์ครอบเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ โดยมีความสูงระดับนกเขาเหิน

     - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระเจดีย์รูประฆังคว่ำครอบเจดีย์ทรงปรางค์

     - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประดับกระเบื้องเคลือบที่องค์เจดีย์ และสร้างระเบียงชั้นล่างรอบองค์เจดีย์ทั้ง ๔ ด้าน อีกทั้งเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธียกยอดพระมหามงกุฎพระปฐมเจดีย์

     - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ประดับกระเบื้องที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จ และปรับปรุงพระวิหารต่าง ๆ และที่สำคัญทรงให้เขียนภาพจิตรกรรมแสดงความเป็นมาของพระปฐมเจดีย์ที่ตั้งซ้อนกันถึง ๓ องค์

     - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของรัชกาลที่ ๖ บรรจุใต้ฐานพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ ซึ่งถือเป็นการเสร็จสมบูรณ์
 
 

     ดูจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว แม้เจดีย์แห่งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิก็ยังสร้างเป็นทรงโอคว่ำ ซึ่งพระมหาธรรมกายเจดีย์ก็สร้างเป็นทรงโอคว่ำหรือทรงโดมเช่นกัน แล้วจะมากล่าวหาว่า..พระมหาธรรมกายเจดีย์สร้างผิดเพี้ยนจากหลักการได้อย่างไร...

พระธาตุพนมในยุคดั้งเดิมสร้างเป็นทรงเตี้ย

     มากไปกว่านั้น..ถ้าเราได้ศึกษาประวัติศาสตร์การสร้างเจดีย์อย่างถ่องแท้ จะพบว่าการสร้างเจดีย์ให้มียอดสูงแหลมนั้นเกิดขึ้นในยุคหลัง ๆ ดังวิวัฒนาการของ “พระธาตุพนม” ซึ่งเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็สร้างเป็นทรงป้อม ๆ เตี้ย ๆ โดยใช้ดินก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมแล้วเผาให้สุก ขนาดกว้าง ยาว สูง อย่างละ ๒ วา จากนั้นได้มีการบูรณะจนมียอดแหลมสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคต่อ ๆ มา ดังรูป
 

 
 

สุดทึ่ง! มหาสถูปเกสริยาคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์มาก


     มหาสถูปเกสริยา มหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งเป็นมหาสถูปที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธเจ้าที่ประทานแก่ชาววัชชี ก็มีลักษณะคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์มาก และที่น่าทึ่งไปกว่านั้น..มหาสถูปเกสริยายังมีองค์พระปฏิมากรประดิษฐานอยู่รายล้อมองค์พระเจดีย์ คล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์ที่มีองค์พระปฏิมากรรายล้อมองค์พระเจดีย์อีกด้วย
 

เจดีย์บุโรพุทโธมีพุทธปฏิมากรรายล้อมคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์

     อย่างกรณีของ เจดีย์บุโรพุทโธ ในประเทศอินโดนีเซียก็เช่นกัน เป็นเจดีย์ที่มีพุทธปฏิมากรรายล้อมองค์พระเจดีย์คล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์เหมือนกัน

     จากหลักฐานทางโบราณสถานในพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าพระมหาธรรมกายเจดีย์สร้างขึ้นตรงตามหลักการยุคดั้งเดิมในประวัติศาสตร์ใกล้ยุคพุทธกาลมากที่สุด

     ดังนั้น จะกล่าวหาว่าพระมหาธรรมกายเจดีย์สร้างผิดเพี้ยนได้อย่างไร ก็ในเมื่อสถูปหรือเจดีย์ยุคดั้งเดิมเกือบทั้งหมดสร้างเป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม อีกทั้งเจดีย์หลาย ๆ องค์ก็ยังมีพระปฏิมากรประดิษฐานบนเจดีย์อีกด้วย

*** “บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตกแห่งมหาราชวงศ์ถัง” พระไตรปิฎกจีนฉบับไทโช เล่ม ๕๑ หน้า ๘๗๓ บรรทัดที่ ๒-๑๓ [T๕๑n๒๐๘๗_p๐๘๗๓a๐๒(๐๐) - ๑๓(๐๖)]




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วัดพระธรรมกาย ปฏิเสธข่าวการคาดการณ์ของสื่อมวลชนบางสำนัก กรณีอดีตพระพรหมเมธี จะพำนัก ณ วัดสาขาในประเทศเยอรมนี
      วัดพระธรรมกายส่งรายงานบัญชีรายรับรายจ่ายให้เจ้าคณะปกครองสงฆ์ทราบเป็นประจำทุกปี
      วัดพระธรรมกายไม่เกี่ยวข้องการตั้งเจ้าอาวาสวัดใน จ.เชียงใหม่
      นายนพรัตน์ ไม่เคยเป็นเลขานุการวัดพระธรรมกาย
      วัดพระธรรมกาย ชี้แจงที่ดินสร้าง ‘บุญรักษา’ เป็นธรณีสงฆ์
      วัดพระธรรมกาย ปฏิเสธกรณีข่าวโยงโกตี๋ และกรณีมีอาวุธในอาคารบุญรักษา
      วัดพระธรรมกาย ปฏิเสธข่าว กลุ่มลูกศิษย์เรียกร้องถอนตราฮาลาล
      ชี้แจงกรณีผู้แจ้งว่าเป็นลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย แสดงความคิดเห็นหรือทำกิจกรรมต่างๆ
      คำชี้แจงวัดพระธรรมกาย วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560
      แถลงการณ์วัดพระธรรมกาย วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560
      คำชี้แจงวัดพระธรรมกาย วันที่ 7 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.
      วัดพระธรรมกายชี้แจง กรณีร่องน้ำและถังน้ำมันเปล่า โซนอาคารบุญรักษา ไม่ได้ขัดขวางเจ้าหน้าที่




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related