ถ้าไม่จุดธูปเทียนก่อนแต่พระสวดมนต์เลยจะผิดวินัยหรือไม่

งานมงคลหรืออวมงคล ถ้าประธานไม่จุดธูปเทียนก่อน พระที่นิมนต์มาถึงก็สวดเลย ตามวินัยมุขเล่ม 2 ของนักธรรมโทและวินัยสงฆ์ พระจะผิดวินัยไหม https://dmc.tv/a13067

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 13 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18294 ]
 

คำถาม: ผมอยากถามว่า งานมงคลหรืออวมงคล ถ้าประธานไม่จุดธูปเทียนก่อน พระที่นิมนต์มาถึงก็สวดเลย ตามวินัยมุขเล่ม 2 ของนักธรรมโทและวินัยสงฆ์ พระจะผิดวินัยไหมครับ?

 
คำตอบ: ไม่ผิดหรอก เพราะนี่เป็นเรื่องศาสนพิธี พิธีกรรมเกิดตามหลังวินัย ถ้าจะเอาผิดวินัย ถือว่าไม่ผิด แต่ว่าถ้าจะถามเกี่ยวกับพิธีกรรมละก็ เราเคยชินกันมาว่าประธานต้องจุดธูปเทียนก่อน พอไม่ได้จุด บางทีอาจจะรู้สึกขัดตาบ้าง แต่ถ้าถามว่าผิดไหม ก็ต้องบอกว่าไม่ผิด
 
        หลวงพ่อครับที่วัดธรรมกายเวลาทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็น ทำไมจึงไม่จุดธูปเทียนเหมือนวัดอื่นๆ ครับ ?
 
        เป็นคำถามที่ดีมากเลย ที่ถูกต้องก็ควรจะจุดธูปเทียนก่อนที่จะสวดมนต์ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็นกัน และในบทสวดตอนต้นก็เป็นบทสวดบูชาคุณของพระรัตนตรัย ของที่นำมาใช้เป็นเครื่องบูชานั้น ตั้งแต่สมัยปู่ย่า ตายายมาแล้ว ท่านใช้ธูป 3 ดอก สำหรับจุดบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต หรืออีกนัยหนึ่งบูชาพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
 
การจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
การจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
 
        ท่านจุดเทียนอีก 2 เล่ม ก็เพื่อบูชาพระธรรม ที่ใช้ 2 เล่มก็เพราะว่าธรรมะนั้นแบ่งออกเป็น ธรรมและวินัย หรือพระธรรมมีคุณ 2 ประการคือ 1. เป็นความจริงตลอดกาล 2. ปฏิบัติตามธรรมแล้วพ้นทุกข์ได้
 
        ส่วนดอกไม้ที่จัดไว้ในแจกันก็เพื่อบูชาพระสงฆ์ ซึ่งบวชมาจากสกุลต่างๆ กัน พอบวชแล้วก็ถือเป็นสกุลเดียวกัน คือลูกพระพุทธเจ้านี่ก็เป็นเหตุผลในมุมมองหนึ่ง
 
        ถ้าจะว่าจริงๆ ถามว่าจุดธูป จุดเอาอะไร ก็บอกว่าจุดเอาความหอม ปู่ย่า ตายายเวลาทำธูป ก็อาศัยทั้งกำยาน ทั้งกฤษณา ท่านเอาของหอมสารพัดชนิดมาผสมกัน จุดแล้วก็หอมดี แต่ขณะนี้หาธูปหอมจริงๆ เหมือนสมัยโบราณหายากเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร เพราะเดี๋ยวนี้ส่วนมากเขาใช้ขี้เลื่อยผสมกับกาวแล้วไปพอกกับก้านธูปเอาหัวน้ำหอมมาหยดๆ ลงไปหน่อย เพราะฉะนั้นมันเลยหอมตอนยังไม่จุด พอจุดแล้วก็กลับมีกลิ่นฉุนแสบจมูก เดี๋ยวนี้ธูปนอกจากไม่หอมแล้ว เวลาจุดยังมีกลิ่นแสบจมูก แถมมีควันมากอีกด้วย
 
        ที่วัดพระธรรมกายเลยปักธูปไว้เฉยๆ ไม่ได้จุด ธูปหอมๆ อย่างตำราโบราณเราทำไว้ใช้เองในวัดเหมือนกัน แต่ทำไว้ใช้ในงานใหญ่เช่น วันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ก็สั่งทำไปแล้ว ธูปดอกหนึ่งใหญ่ขนาดลำแขน จุดแล้วต้องให้คุ้ม ให้หอมไปทั้งวัด ปีหนึ่งเลยจุดไม่กี่ครั้ง ในเมื่อจะจุดเอาหอมก็ต้องให้หอมจริงๆ
 
        สำหรับเทียน สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ท่านทำเทียนหอม แต่เดี๋ยวนี้เทียนหอมก็หายาก ที่วัดพระธรรมกายใช้เทียนหอม ซึ่งทำเตรียมเอาไว้แล้วกว่าร้อยกิโลกรัม จะจุดในวันมาฆบูชา ก็พยายามเตรียมทุกอย่างไว้ให้เรียบร้อยถูกต้องตามพิธี แต่เทียนทั่วไปเดี๋ยวนี้ไม่หอม เลยไม่จุดในวันที่ไม่ใช่วันสำคัญ ไม่ใช่ไม่รักษาธรรมเนียม แต่ก็เป็นอย่างที่ว่ามานี้ เพราะฉะนั้นถึงวันสำคัญทางศาสนา โดยเฉพาะวันมาฆบูชา ขอให้มาเวียนเทียนร่วมกันที่วัดพระธรรมกายเถอะ รับรองได้จุดเทียนหอมด้วยมือตนเองกันทุกคน
 

คำถาม: การสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัย หากตั้งอยู่ในทิศทางที่ไม่ดี ก็จะ ทำให้อยู่แล้วไม่เป็นสุข ไม่เจริญในชีวิตเท่าที่ควร ความเชื่อถือนี้มีมูลความจริงอย่างไรบ้าง และข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรคะ?

 
คำตอบ: บ้านไหน ที่ทำงานไหนจะอยู่เป็นสุข พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักไว้ 4 ประการ ถ้ามีครบ 4 จะอยู่เป็นสุข ถ้าไม่ครบ ความสุขก็จะลดหย่อนไปตามส่วน หลัก 4 ประการก็คือ หลักปฏิรูปเทส นั่นเอง มีดังนี้
 
        1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ หรือ อาวาสเป็นที่สบาย ทำเลที่ตั้งบ้าน ถ้าสภาพพื้นที่ไม่ดีจะมีผลต่อสุขภาพจิต สุขภาพกายของผู้อยู่อาศัย เช่น ลุ่มเกินไป แล้งเกินไป ฝนชุกเกินไป ลมโกรกเกินไป การเปลี่ยนแปลงของอากาศแต่ละวันมากเกินไป เป็นต้น
 
        กล่าวคือบ้านที่อยู่ในทิศทางลมไม่ดี เช่นมีลมแรงจัดเกินไปก็พังง่าย หรืออยู่ในช่องทางที่อับลม อากาศก็อบอ้าวตลอดปี ที่เขาใหญ่หุบเขาบางด้าน เย็นสบาย แต่บางด้านอบอ้าวตลอดปี บ้านใครตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ภูมิอากาศไม่อำนวย คนในบ้านก็แย่เหมือนกัน คนที่มีบ้านอยู่กลางแจ้ง ในที่โล่งๆ ถ้าสร้างบ้านหันหน้าไปทางตะวันออกหรือตะวันตกก็ลำบาก เพราะย้อนแสงตะวัน แดดส่องร้อนทั้งวัน ในกรุงเทพฯ ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะบ้านอยู่ติดๆ กัน
 
        คนที่สร้างบ้านไม่ดูทิศทางลม ไม่เปิดทางรับลมเลย บางห้องในบ้านจะร้อนอบอ้าว อากาศร้อนมีผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย เวลาสร้างบ้านจึงต้องดูแบบบ้าน แบบอาคารให้เหมาะสม เช่น อยู่ในประเทศไทยอากาศร้อน แดดแรง มีฝนชุก แบบบ้านก็ควรรับลมได้ดี กันฝนได้ดีและระบายอากาศได้ดี เช่น บ้านทรงไทย
 
        สรุปว่าในเรื่องลักษณะทางภูมิศาสตร์นี้ เราต้องดูสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ทิศทางลม และแบบบ้านให้เหมาะสมกัน
 
        2. อาหารเป็นที่สบาย ควรอยู่ในย่านที่หาอาหารได้พอเพียง ราคาข้าวปลาอาหารก็ต้องไม่แพง แม้ที่สุดในบ้านก็ไม่ควรปล่อยบริเวณให้ว่างเปล่า ต้องรู้จักปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองในบ้านบ้าง และถ้าได้แม่ครัวฝีมือดีก็จะยิ่งดีใหญ่ อาหารดีทำให้สุขภาพกายสุขภาพจิตของคนในบ้านดีด้วย อาหารเป็นเรื่องใหญ่ อย่ามองข้าม คนแก่กินข้าวไม่ลง ถ้าต้องไปเจอกับอากาศร้อนอบอ้าว มีผลถึงตายทีเดียวนะ
 
        3. บุคคลเป็นที่สบาย แม้บ้านเราจะตั้งอยู่ในทะเลที่ดี อาหารดี คือมีที่อยู่ที่กินดี แต่ถ้าบุคคลในบ้านไม่ได้รับการฝึกนิสัยในการอยู่ร่วมกัน ต่างคนต่างเอาแต่ใจตัวเอง นิสัยไม่ดี ความประพฤติไม่ดี ไม่มีใครเกรงใจใคร ไม่มีใครเล็กใครใหญ่ ทุกคนเก่งเท่ากันหมด ไม่ยอมกันในทุกเรื่อง ถ้าอย่างนั้น บ้านนั้นไม่มีสุข ยิ่งถ้าสามีก็กินเหล้า ภรรยาก็เล่นไพ่ ลูกก็ชอบเที่ยวเตร่เฮฮา กลับบ้านดึกๆ เรียกว่าศึกภายในเต็มเพียบเลย
 
        ยิ่งรวมเข้ากับสภาพย่ำแย่รอบๆ บ้าน ซึ่งมีทั้งโก๋กี๋ หน่วยงัดแงะ มีทั้งซ่อง ทั้งบาร์ ยาเสพติด ฯลฯ คนภายนอกเหล่านี้ถึงไม่ได้ตั้งตัวเป็นศัตรูก็เท่ากับเป็นศัตรู ศึกภายในก็ย่ำแย่อยู่แล้ว เจอศึกภายนอกกระหนาบเข้ามาอีก บ้านนี้หาความสุขไม่ได้แน่
 
        4. ธรรมะเป็นที่สบาย หรือการใฝ่ธรรม พูดง่ายๆ ว่ารักดี ให้ดูว่าคนในบ้านรักดีไหม พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านอบรมคนเป็นไหม เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถึงแม้คนในบ้านจะขยันขันแข็ง แต่ถ้าจิตใจไม่ใฝ่ธรรม ไม่รู้เรื่องบาปเรื่องบุญพอ ถึงขยันทำมาหากิน มีเงินมากมายมหาศาล ก็อย่าหวังเลยว่าจะมีความสุข แม้จะมีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพ แต่อยู่แล้วก็ไม่มีความสุข
 
บ้านไหนจะอยู่เย็นเป็นสุขได้ให้ยึดหลักปฏิรูปเทส
บ้านไหนจะอยู่เย็นเป็นสุขได้ให้ยึดหลักปฏิรูปเทส
 
        ถ้าคนในบ้านแต่ละคนมีธรรมประจำใจ รู้ค่าของการทำบุญ ให้ทาน ตั้งใจรักษาศีลเพื่อปรับปรุงตนเอง รู้จักนั่งสมาธิเพื่อสำรวจข้อบกพร่องของตนเอง เรียกว่ามีหลักธรรมประจำบ้าน คนในบ้านก็จะมีความสุข
 
        อย่าลืมว่า “รอยยิ้มของเด็กๆ ความจริงใจของผู้ใหญ่ การรู้จักสละอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนาออกจากใจ” เป็นสิ่งที่ซื้อไม่ได้ด้วยอำนาจเงิน แต่จะได้ด้วยธรรมะที่เราศึกษามาดีแล้ว ข้อ 4 นี้สำคัญมาก
 
        ถ้าใครบูชาเงินตรา แต่ไม่บูชาธรรม เขาจะหาความสุขไม่ได้ตลอดชีวิต
 
        ต่อไปถ้าจะตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ไหน ถ้ามีหลัก 4 ประการนี้กำกับไว้ ทุกคนในบ้านก็จะมีความสุข ถ้ามีเหตุจำเป็นว่าจะต้องลด ต้องตัดทอนข้อไหนออกไปบ้าง  เช่นเป็นต้นว่า บ้านอาจจะได้ทำเลไม่ดี อาหารอาจจะขาดแคลนไปบ้าง คนที่อยู่ด้วยอาจจะไม่ค่อยถูกอัธยาศัย แต่ว่า ถ้าหลักธรรมประจำใจของเราและของทุกคนในบ้านยังมั่นคง เราก็ยังพอหาความสุขได้
 
        ถ้ามี 3 ประการแรก แต่ขาดประการสุดท้าย คือธรรมะไม่มี ครอบครัวนี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ชาตินี้จะหาความสุขไม่ได้เลย ยามตื่นก็เดือดร้อนวุ่นวาย ยามหลับก็กระสับกระส่าย ยิ่งยามตายจะให้ไปดีไปสงบ ไม่มีทาง เพราะบ้านหลังนี้ไม่ใช่วิมานของเราเสียแล้ว

http://goo.gl/mlrTb


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related