ธรรมะกับพระธรรมมีความหมายการใช้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

คำว่า “พระธรรม” เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา หมายถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่องความจริงและความดี เกี่ยวกับโลกและชีวิต ธรรมะหมายถึงความดี ความจริงประจำโลก https://dmc.tv/a13076

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 14 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18288 ]
 
 

คำถาม: ธรรมะกับพระธรรม 2 คำนี้ มีความหมายและการใช้เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไรคะ?

 
คำตอบ: คำว่า “ธรรม” อ่านว่า “ทำ-มะ” มีหลายความหมาย แต่ว่า ความหมายที่เราใช้กันโดยทั่วๆ ไป มีอยู่ 2 ประการด้วยกัน
 
        ประการที่ 1 ธรรมะหมายถึงความดี เช่น ความมีเมตตากรุณาก็เป็นธรรมะ คือเป็นความดีประการหนึ่ง การให้ทานนั้นก็เป็นธรรมะ เพราะเป็นความดีอย่างหนึ่ง
 
ธรรมะหมายถึงความดีและความจริงประจำโลก
ธรรมะหมายถึงความดีและความจริงประจำโลก
 
        ประการที่ 2 ธรรมะหมายถึงความจริง ไม่ได้เป็นความดีหรอก แต่เป็นความจริงประจำโลก เช่น คนเราเกิดมาแล้วก็มีธรรมะประจำอยู่ว่า ต้องแก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตาย การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ได้เป็นความดีอะไร แต่ว่าเป็นความจริงประจำโลก
 
        ส่วนคำว่า “พระธรรม” เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา หมายถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่องความจริงและความดี เกี่ยวกับโลกและชีวิต
 
        ไหนๆ ก็พูดกันเรื่องการใช้คำแล้ว ก็อยากจะเพิ่มเติมอีกสัก นิดหน่อย อย่างเช่น คำว่า พระพุทธเจ้า พระเถระหรือคณาจารย์ทางศาสนาในอดีต ถ้าพูดถึงพระพุทธเจ้าของเรา ท่านจะไม่พูดคำว่าพุทธเจ้าเฉยๆ ท่านจะเติมคำว่า “พระ” ลงไปเป็น “พระพุทธเจ้า” และเมื่อจะให้เกียรติอย่างสูงส่งก็มักจะใช้คำว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” นี้ก็เป็นเรื่องของการยกย่องให้เกียรติบุคคล ที่เราควรยกย่องบูชา
 
พระธรรมหมายถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่องความจริงและความดี เกี่ยวกับโลกและชีวิต
พระธรรมหมายถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่องความจริงและความดี เกี่ยวกับโลกและชีวิต
 
        ไปดูเถอะไปเปิดตำรับตำราโบราณดู ถ้าตำรานั้นเป็นพระภิกษุเขียนแล้ว ท่านจะไม่เขียนว่าพระพุทธเจ้า แต่จะเขียนว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะท่านมีสำนึกลึกซึ้งว่า การตรัสรู้ธรรมของพระพุทธองค์นั้น ทรงรู้ด้วยพระองค์เอง ไม่ใช่มีเทวดาหรือใครมาสอนให้ ท่านจึงได้เติมคำว่า “สัมมา” ลงไปเป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ซึ่งแปลว่าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
 

คำถาม: อสงไขยแปลว่าอะไรครับ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอย่างไรบ้าง?

 
คำตอบ: อสงไขย แปลตามศัพท์ว่า “ไม่พึงนับ” เพราะมันมากเหลือเกิน มากจนนับไม่ได้ แต่ถ้าจะนับให้ได้ก็ประมาณว่าเขียนเลขหนึ่งไว้แล้วเติมศูนย์ลงไปอีก 140 ตัว เขาอ่านว่า “อสงไขย” คุณลองไปนับดูแล้วกันนะ
 
        ตัวเลขนี้เขาเอามานับอะไรกัน มีอะไรที่มีจำนวนหน่วยตั้งเยอะตั้งแยะอย่างนี้ มีเรื่องเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่ง
 
        ท่านเนรูห์ พ่อของนางอินทิรา คานธี ท่านได้ศึกษาตำรับตำรามากเข้าๆ ก็มาติดว่า เอ..คำว่าอสงไขย คำนี้บัญญัติไว้ใช้นับอะไรกัน จะนับคนในประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาลหรือ มันก็ไม่น่าจะใช่ จะนับอะไรมันก็ไม่มีจำนวนมาก ถึงอสงไขยสักอย่าง แต่ทำไมถึงบัญญัติศัพท์คำนี้ขึ้นมาใช้
 
        ท่านหาคำตอบไม่ได้ ก็จะไปตอบได้อย่างไร เพราะคำนี้บัญญัติใช้เฉพาะในพระพุทธศาสนา ท่านเนรูห์นับถือศาสนาฮินดู จึงไม่รู้ว่าหน่วยอสงไขยนี่เขาเอามาคำนวณเวลาในการบำเพ็ญบารมีเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานมาก ยาวกว่าอายุของโลก เวลานี้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายให้เรารู้ว่า โลกเริ่มต้นกันตั้งแต่เป็นหมอกเพลิง แล้วเย็นลงจนในที่สุดเป็นแผ่นดินให้เราได้มาอยู่กันอย่างนี้ รู้กันมาแค่นี้ ถือว่าความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เก่งแล้ว
 
อสงไขยกัป
อสงไขยกัป
 
        แต่ทางด้านพระพุทธศาสนารู้ยิ่งกว่านั้นคือ รู้ว่าโลกเริ่มจากหมอกเพลิง แล้วเย็นลงเป็นแผ่นดิน จนกระทั่งมนุษย์สามารถอยู่บนพื้นโลกได้ แต่อีกหน่อยเมื่อมนุษย์ก่อเวรรบราฆ่าฟันกันมากๆ เข้า โลกก็จะร้อนระอุกลับไปเป็นหมอกเพลิงอีกครั้งหนึ่ง เวลานับจากโลกเป็นหมอกเพลิงแล้วเย็นลง จนกลับไปเป็นหมอกเพลิงอีกครั้งหนึ่ง ท่านเรียกว่า กัปหนึ่ง
 
        ถามว่ากัปหนึ่งกี่ปี ?  ตอบว่าอย่าไปนับเลย นานมาก แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้อุปมาไว้อย่างนี้
 
        สมมติว่ามีภูเขาแท่งทึบอยู่ 1 ลูก ลักษณะเหมือนลูกเต๋า แต่เป็นลูกเต๋ายักษ์กว้าง 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ คือ กว้าง 16 กิโลเมตร ยาว 16 กิโลเมตร และสูง 16 กิโลเมตร ในทุกๆ 100 ปี มีผู้เอาผ้าบางเหมือนควันไฟไปลูบ พอลูบทีหนึ่งมันก็จะสึกไปนิดหนึ่ง อีก 100 ปี ก็มาลูบอีกทีหนึ่ง ลูบอย่างนี้ทุกๆ 100 ปี ถ้าเมื่อไรมันสึกไปจนกระทั่งภูเขาลูกนี้ราบเตียนเสมอกับพื้นดิน เมื่อนั้นให้นับว่ากัปหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่ากี่ปี
 
        พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมัยที่เกิดเป็นพระโพธิสัตว์และได้รับพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งข้างหน้า โดยจะใช้เวลาบำเพ็ญบารมีอย่างน้อยที่สุด 4 อสงไขย แสนมหากัป ลองเขียนเลข 4 ลงไปตัวหนึ่งแล้วเติมศูนย์อีก 140 ตัว แล้วประมาณเวลาว่า โลกเป็นหมอกเพลิงแล้วก็เย็นลง จนมีผู้คนมาอาศัยอยู่ แล้วในที่สุดโลกก็ไหม้กลับไปเป็นหมอกเพลิงอีก ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้นานเท่าไร นับประมาณเวลาอย่างนี้ไป 4 อสงไขยครั้งกับอีกแสนครั้ง รวมกันเข้าไป นั่นแหละเป็นระยะเวลา น้อยที่สุดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องใช้สำหรับฝึกตนเองให้เป็นคนดี จนกระทั่งสามารถที่จะสอนให้คนอื่นรู้ตามได้อีกด้วย
 
ระยะเวลาการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ระยะเวลาการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
        ท่านใช้เวลากันนานถึงขนาดนั้น เพราะฉะนั้นเวลาปฏิบัติธรรม เราจึงได้ซาบซึ้งกันนักหนาว่า แหม...เรานี่โชคดีนะ เกิดมาได้พบพระพุทธศาสนา แม้ไม่พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ก็ยังได้เจอคำสอนของพระองค์ นี่ถ้าให้เราไปค้นเองว่าบาปเป็นอย่างไร คงไม่รู้หรอก ขนาดบารมีอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเสียเวลาค้นมาถึง 4 อสงไขย กับแสนมหากัป ถ้าให้พวกเราค้นเอง อย่าว่าแต่ 4 อสงไขยเลย อีกี่ล้านอสงไขยกัป เราก็ค้นไม่เจอ
 
        ขนาดมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาวางเส้นทางไว้ให้ เรายังสะเปะสะปะคลำไม่เจอเลย ท่านเนรูห์ที่ว่ามีปัญญามาก มาเจอตัวเลขอสงไขยเข้ายังงง...ไม่รู้ใช้ทำอะไร เราศึกษาพระพุทธศาสนาแล้วจะพบเสมอว่า เวลาที่พระอรหันต์ท่านระลึกชาติ ไม่ใช่ระลึกแค่ 2 ชาติ 3 ชาติ หรือ 5 ชาติ 10 ชาติ ล้านชาติ ไม่ใช่ แต่ท่านระลึกชาติ ย้อนไปเป็นกัปเป็นอสงไขยๆ ชาติทีเดียว
 
        ทำไมทำได้อย่างนั้น ท่านทำได้ เพราะธรรมดา พระอรหันต์ใจท่านใสเป็นแก้ว ใสเป็นเพชร ความสว่างของใจสามารถใช้ส่องย้อนระลึกไปดูอดีตได้ การกระทำต่างๆ ที่เกิดในโลกนี้จริงๆ แล้วถูกบันทึกอยู่ในใจของเรานี่เอง เราเกิดมากี่ชาติ ใจของเราบันทึกไว้หมด แต่เป็นบันทึกละเอียด ซึ่งพอจะอุปมาเทียบเคียงกันได้กับวิดีโอเทปที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพทั้งเสียงนั่นแหล่ะ
 
        การบันทึกเรื่องราวในใจก็บันทึกเป็นภาพเป็นเสียงเช่นกัน เป็นภาพซ้อนภาพ เสียงซ้อนเสียง เมื่อฝึกสมาธิแล้วมาเจออย่างนี้เข้า จึงไม่แปลกใจเลยเวลาใครเขามาบอกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ มันบันทึกได้เท่านั้นเท่านี้ อย่ามาคุยเลยว่าคอมพิวเตอร์มันเก่ง คนเราเก่งกว่าบันทึกได้มากกว่านั้นตั้งมากมาย ค่อยๆ ฝึกสมาธิไปแล้วจะรู้เอง

http://goo.gl/6v3gx


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related