การเป็นคนโกรธง่ายจะแก้ไขด้วยวิธีใด

ความโกรธมักจะเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้ดังใจเราต้องการ เช่นเวลาขอให้คนอื่นช่วยทำงานให้ พอเขาทำไม่ได้ดังใจเข้า เราก็ชักจะโกรธแม้ในเวลาทำอะไรให้ตัวเอง แต่ไม่ได้ดังใจต้องการ ก็ยังโกรธตัวเอง https://dmc.tv/a13253

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 21 ก.พ. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]
 
 
 

คำถาม: มีหลายคนเตือนว่า ลูกเป็นคนโกรธง่าย โดยเฉพาะเวลาที่ถูกเพื่อนๆ เตือน จะแก้ไขอย่างไรดีเจ้าคะ?

 
คำตอบ: ความโกรธมักจะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้ดังใจต้องการ เช่นเวลาขอให้คนอื่นช่วยทำงานให้ พอเขาทำไม่ได้ดังใจเข้า เราก็ชักจะโกรธแม้ที่สุดเวลาทำอะไรให้ตัวเอง แต่ไม่ได้ดังใจต้องการ ก็ยังโกรธตัวเอง บางคนสุขภาพไม่ดีก็จะหงุดหงิด มักจะโกรธง่าย
 
ผู้ที่ตักเตือนเราคือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้เรา
ผู้ที่ตักเตือนเราคือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้เรา
 
        เมื่อเป็นเช่นนี้ เราต้องหาสาเหตุก่อนว่าโกรธเพราะไม่ได้ดังใจ หรือเพราะสุขภาพไม่ดี แล้วแก้ไขให้ตรงเหตุ ส่วนเรื่องโกรธเวลาเพื่อนเตือนนี่ เราจะต้องพยายามเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ ต้องคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า “ผู้ที่ตักเตือนเราคือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้เรา” พร้อมกันนั้น ก็ให้นึกทบทวนดูด้วยว่า สิ่งที่เขาตักเตือนเรานั้นจริงหรือไม่ เราควรต้องขอบคุณเขา เพราเขากล้าเสี่ยงต่อการที่จะถูกเราโกรธเนื่องจากเขาหวังดีต่อเรา
 
        การยอมรับคำตักเตือนของเพื่อน แล้วหันมาพิจารณาสำรวจแก้ไขข้อบกพร่องของตัวเองให้เป็นคนอารมณ์ดี ไม่มักโกรธเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการพัฒนาตนแล้ว ยังรักษามิตรภาพไว้ได้อย่างเหนียวแน่นอีกด้วย
 

คำถาม: อยากจะเรียนถามหลวงพ่อว่า คนใจใหญ่ กับคนที่ไม่รู้จักประมาณตนนี้ ต่างกันอย่างไร?

 
คำตอบ: ต่างกันมาก คนใจใหญ่ คือคนที่เมื่อรู้ว่าตัวเองมีความสามารถขนาดไหนก็ทำเต็มที่เต็มความสามารถของตัว ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถ้าตัวเองจะทำเพียงเล็กน้อยก็เอาตัวรอดได้แล้ว แต่ด้วยความใจใหญ่ของเขาจึงชอบทุ่มสุดตัว มีความสามารถเท่าไรก็ทุ่มเทลงไปหมด เพื่อคนอื่นจะได้พลอยอาศัย พลอยมีความสุขตามไปด้วย
 
        ส่วน คนที่ไม่รู้จักประมาณตน คือคนที่ไม่รู้จักว่าตัวเองมีความสามารถแค่ไหน แล้วอุตริไปทำงานใหญ่ๆ ทั้งที่ความจริงมีความสามารถอยู่แค่หยิบมือเดียว ผลที่สุดก็เลยทำไม่สำเร็จ อย่างนี้เรียกว่าไม่รู้จักประมาณตน
 
        ต่างกับคนใจใหญ่ที่รู้ความสามารถของตัวแล้วทำเต็มความสามารถเลย ทำโดยไม่ออมกำลัง เมื่อทำไปแล้ว ผลประโยชน์นั้น เกิดแก่ตัวเองก็ยินดี คนอื่นพลอยได้ประโยชน์ด้วยก็เต็มใจให้เขาได้อย่างนี้ เรียกว่าคนใจใหญ่
 
ตัวเล็กแต่ใจใหญ่
ตัวเล็กแต่ใจใหญ่
 
        เรามาเป็นคนใจใหญ่เหมือนภูเขา ใจกว้างเหมือนมหาสมุทรกันดีกว่า เพื่อว่าจะได้ใช้ความสามารถที่เรามีอยู่ ทำคุณประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติอย่างเต็มที่ เราลงมือทำทั้งทีทำอะไรก็ขอให้ทำเต็มกำลัง ไม่ใช่ทำอย่างออมกำลัง
 
คำถาม: ทำอย่างไรจึงจะหายเครียดได้อย่างแท้จริง และเป็นวิธีที่ดีที่สุดครับ?
 
คำตอบ: วิธีคลายความเครียดที่ดีที่สุด คือ การฝึกสมาธิ(Meditation)เป็นประจำ แต่คนส่วนมากมักจะหาวิธีคลายความเครียดด้วยการไปดูหนังดูละครบ้าง ใช้ยาระงับประสาทคลายความเครียดบ้าง บางทีก็เล่นไพ่หวังจะคลายความเครียดบ้าง
 
        การทำอย่างนี้เป็นการแก้ที่ไม่ถูกจุด กลับกลายเป็นการสะสมความเครียดลึกๆ เอาไว้ในใจ เช่น การดูหนังดูละคร นอกจากเสียทรัพย์แล้ว ในบางครั้งถ้าไม่ระมัดระวังให้ดีไปดูเรื่องที่ไม่สมควรเข้า เช่น เรื่องเสื่อมเสียศีลธรรมต่างๆ ก็จะยิ่งเพิ่มความเครียด ความขุ่นมัว ความหยาบของใจเข้าไปอีก
 
        การใช้ยาระงับประสาทก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่ระวัดระวังก็จะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน ประสิทธิภาพการคิดต่ำลง แม้ที่สุดการพนันแบบเล่นๆ ไม่เอาเงินเอาทองกัน ก็ไม่ควรเพราะเป็นการเพิ่มความเครียดอีกรูปแบบหนึ่งโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งอาจเพาะนิสัยมีเหลี่ยมมีคูเพิ่มขึ้นมาอีกก็ได้
 
        วิธีคลายความเครียดที่ถูกต้อง จะต้องมีผลให้การทำงานทางจิตมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทนต่อความเครียดได้ เมื่อถึงเวลาใช้ความคิด ก็คิดได้นาน คิดได้ต่อเนื่องโดยไม่มีอาการอ่อนล้า คิดได้ลึกซึ้งละเอียดลออ รอบคอบ ซึ่งวิธีคลายเครียดที่จะให้ได้ผลอย่างนี้ มีอยู่วิธีเดียว คือ การทำสมาธิ
 
วิธีคลายความเครียดที่ถูกต้อง คือ การทำสมาธิ
วิธีคลายความเครียดที่ถูกต้อง คือ การทำสมาธิ
 
        การทำสมาธิมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายๆ คือ ทุกคืนก่อนนอนให้นั่งในท่าที่สบายที่สุด อาจจะเป็นนั่งเก้าอี้ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิก็ได้ แต่ไม่ควรนั่งพิง แล้วก็หลับตานิ่งๆ ทำความรู้สึกเหมือนกับว่าเรานั่งอยู่ลำพังคนเดียวในโลก จากนั้นก็นึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เราจำได้อย่างติดตาติดใจ นึกอาราธนาพระพุทธรูปแก้วใสให้มานั่งอยู่ในกลางตัวเรา โดยที่องค์พระนั้นนั่งหันหน้าไปทางเดียวกับเรา
 
        ให้นึกถึงองค์พระนี้ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย คือนึกซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วก็นึกอย่างเบาๆ โดยไม่ใช้ความพยายาม ทำนองเดียวกับนึกถึงบ้าน นึกถึงหน้าคุณพ่อคุณแม่ของเรา เป็นการนึกจากในกลางท้อง ไม่ใช่นึกจากสมอง เมื่อนึกแล้วจะเห็นภาพองค์พระหรือไม่ก็ตาม ไม่ต้องกังวล ขอแต่เพียงให้ได้นึก แล้วใจก็จะสงบลงเอง ความเครียดก็จะค่อยๆ มลายหายไป ในขณะที่กำลังนึกถึงองค์พระองค์นี้อยู่ ถ้ามีเรื่องอะไรสอดแทรกเข้ามาในความคิด ก็ให้มีสติรู้ทัน และอย่าไปต่อต้าน มิฉะนั้นจะเกิดความหงุดหงิด ให้ถือเสียว่าเมื่อมาเองได้ ก็ย่อมไปเองได้เช่นกัน
 
        ต่อเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 5-10 นาที เรื่องที่สอดแทรกเข้ามายังไม่ไป ยังรบกวนอยู่ จึงค่อยทำบริกรรมภาวนา คือท่องในใจว่า “สัมมา อะระหังๆๆ” ประคององค์พระให้นิ่งๆ ไปช้าๆ โดยทำความรู้สึกว่าแม้คำ “สัมมา อะระหัง” นั้น ก็คล้ายกับว่าเสียงนั้นดังผุดขึ้นมาจากกลางองค์พระในกลางท้องของเรา
 
        เมื่อประคองใจไปอย่างนี้เรื่อยๆ ไม่ช้าเรื่องที่มารบกวนก็จะหายไป แม้แต่คำว่า “สัมมา อะระหัง” ก็จะเลือนไปเองโดยอัตโนมัติคงมีแต่องค์พระอยู่ในมโนภาพเท่านั้น ในไม่ช้าใจก็จะสงบลง ความเครียดก็จะหายไป
 
        นอกจากจะนั่งสมาธิอย่างนี้ทุกคืน ไม่ว่าจะนั่งแค่ครึ่งชั่วโมง หรือถึงหนึ่งชั่วโมงแล้วก็ตาม ในเวลาทำงานถ้ารู้สึกเครียดขึ้นมาเมื่อไรก็ให้วางงานทิ้งไว้เสียชั่วคราว นั่งหลับตาทำสมาธิในที่ทำงานนั่นแหละสักพักหนึ่งอาจจะ 10-15 นาที ก็จะหายเครียดเอง แล้วจึงค่อยทำงานต่อไป การงานก็จะก้าวไกล อนาคตก็จะแจ่มใส จิตใจก็เบิกบาน แล้วคุณจะเป็นที่ต้องการของทุกๆ คน

http://goo.gl/B3qzz


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related