สอนตัวเองอย่างไรให้มองโลกได้ถูกต้องตามความเป็นจริง

คนเราจะมองโลกได้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้นั้น ต้องเข้าใจธรรมชาติของชีวิต หรือมีสัมมาทิฏฐิ คือมีความเข้าใจถูกในเรื่องโลกและชีวิตเสียก่อน https://dmc.tv/a13349

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 13 มี.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18272 ]
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 
 

คำถาม: หลวงพ่อคะ คนเราจะสอนตัวเองอย่างไรจึงจะมองโลกถูกต้องตามความเป็นจริงคะ?

 
คำตอบ: คนเราจะมองโลกถูกต้องตามความเป็นจริงได้ ต้องเข้าใจธรรมชาติของชีวิต หรือมีสัมมาทิฏฐิ คือมีความเข้าใจถูกในเรื่องโลกและชีวิตเสียก่อน เช่น
 
        1. ชีวิตตายแล้วไม่สูญ ตราบใดที่เรายังไม่หมดกิเลสเข้านิพพาน ตายแล้วก็ยังต้องกลับมาเกิดอีกนับภพนับชาติไม่ถ้วน แต่เมื่อไรหมดกิเลสเข้านิพพานแล้ว จึงไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดให้ทุกข์อีก
 
        2. ความดีความชั่วที่ทำเอาไว้นั้นไม่สูญเปล่า ยังตามให้ผลอีกแม้ชาติหน้า คือถ้าทำดี ความดีก็ตามคุ้มครองให้ผลเป็นความสุข เหมือนเงาติดตามตัวให้ความร่มเย็นตลอดไป ส่วนความชั่วเมื่อทำลงไปก็ให้ผลเป็นความทุกข์ เหมือนวงล้อเกวียนที่ตามบดขยี้รอยเท้าโคที่ลากเกวียนไปตลอดทาง เหมือนคำโบราณว่า “กงเกวียนกำเกวียนไม่หนีไปไหน” พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
 
        “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าคนมีใจชั่วเสียแล้ว จะพูดหรือทำก็พลอยชั่วไปด้วย เพราะการพูดชั่ว ทำชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามสนองเขา เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น.”
 
        3. นรกมีจริง สวรรค์มีจริง ข้อนี้อย่าสงสัย ขอเพียงขยันนั่งสมาธิ(Meditation)มากๆ ไม่ช้าก็จะเห็นว่านรก-สวรรค์มีจริง เรื่องนี้ไม่ใช่มาพูดลอยๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิสูจน์แล้วว่ามีจริง หลวงปู่ หลวงตา นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายก็พิสูจน์แล้วว่ามีจริง คนที่ยังไม่เห็น ก็เพราะยังไม่ได้พิสูจน์ ยังไม่ได้ฝึกสมาธิจริงๆ จังๆ อยากให้ทุกคนไปเรียนรู้วิธีพิสูจน์เสียเร็วๆ จะได้หายสงสัย ครูบาอาจารย์ผู้มีความรู้มีอยู่นะ รีบไปขอเรียนจากท่านเสีย
 
ผู้ที่มองโลกได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่แท้จริง
ผู้ที่มองโลกได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่แท้จริง
 
        เมื่อเข้าใจความจริงทั้ง 3 ประการนี้แล้ว ก็ต้องหมั่นเตือนตัวเองว่า คนเรานั้นอายุสั้น จะตายวันตายพรุ่ง ตายเมื่อไรไม่มีใครรู้ล่วงหน้า เพราะฉะนั้น รู้ว่าอะไรเป็นความชั่วก็รีบละ รีบเว้นเสีย ส่วนอะไรที่เป็นความดี ก็รีบๆ ทำเข้า อย่าไปยั้งมือ ทำให้เต็มที่ทำให้สุดกำลัง
 
        ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะไม่มีวันพลาดเลย ชาตินี้ถึงจะต้องทำงานเหนื่อยหน่อยแต่ก็เป็นสุข แล้วก็จำไว้ด้วยว่าอย่าคิดไปพึ่งใคร แม้เทวดา พระอินทร์ พระพรหม พระเจ้า ก็ไม่ต้องไปคิดพึ่ง พ่อแม่ พี่น้อง หรือคนที่รักเรา หวังดีกับเราที่สุด ก็อย่าไปคิดพึ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้ ไม่แน่นอน ให้เราคิดพึ่งตัวเอง ทำความดีให้เต็มที่เอาไว้เป็นที่พึ่งดีกว่า
 
        ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมองโลกถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เป็นชาวพุทธที่แท้จริง
 

คำถาม: หลวงพ่อครับ ถ้าเราถูกใส่ความ เราควรจะทำอย่างไรดีครับ?

 
คำตอบ: นักสู้ เขามีหลักในการต่อสู้อยู่ 3 ประการ พูดย่อๆ คือ ไม่หนี ไม่สู้ ไม่รู้ไม่ชี้ ดังนั้น เมื่อถูกใส่ความสิ่งที่เราจะต้องทำ คือ
 
        1) ไม่ท้อแท้หนีหน้าลาออก เพราะถ้าทำอย่างนั้นจะกลายเป็นว่า เราทำความผิดจริง เป็นคนชั่วคนเลวจริง คนชั่วทั้งหลายเมื่อใส่ความสำเร็จง่ายๆ ก็จะได้ใจ จะยิ่งใส่ความคนดีๆ ให้เดือดร้อน โดยหวังว่าเมื่อคนดีๆ เหล่านั้นลาออก เขาก็จะเข้ามาครองอำนาจ ครองบ้านครองเมืองแทน ความยุ่งยากเดือดร้อนก็จะเกิดขึ้นมากมายในสังคม เพราะฉะนั้น เมื่อถูกใส่ความ เราอย่าเป็นคนขี้รำคาญ ขี้น้อยใจ สรุปแล้วคืออย่าหนี
 
        2) ไม่สาดโคลนเข้าใส่กัน เมื่อถูกใส่ความแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปใส่ความกลับ มิฉะนั้นจะหาข้อยุติไม่ได้ ซ้ำยังจะเดือดร้อนไปทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนบริสุทธิ์ก็จะพลอยเดือดร้อนไปด้วยกลายเป็นบาปติดตัวเราไปเสียอีก
 
        3) ตั้งใจทำงานของเราไปเรื่อยๆ เมื่อมั่นใจว่าเราทำงานนั้นอย่างถูกต้องสุจริต ก็ให้ทำงานต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยความอดทน แต่ต้องมีข้อแม้ว่าต้องทำงานด้วยความรัดกุมเป็นพิเศษ เช่น เคร่งครัดในระเบียบวินัยมากขึ้น และมีการตรวจสอบควบคุมมากเป็นพิเศษ แม้งานจะล่าช้าไปบ้างก็ต้องยอมรับ
 
        คนโดยทั่วไปเมื่อถูกว่าร้ายมักจะหวั่นไหว เปิดช่องให้ฝ่ายตรงข้ามโจมตีได้หนักขึ้น เพราะฉะนั้นเพื่อปิดช่องว่างรอยโหว่ต่างๆ ไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามโจมตีได้ เราจึงต้องหมั่นปลุกปลอบให้กำลังใจตัวเอง อย่าให้เกิดความท้อแท้ได้ เมื่อเราไม่ท้อแท้เรรวน การงานยังคงดำเนินไปได้ตามปกติ ผู้ใหญ่ก็ดี บุคคลภายนอกก็ดี ย่อมเข้าใจความจริงได้ในไม่ช้า
 
เมื่อถูกใส่ความให้อดทนทำความดีอย่างไม่หยุดยั้ง
เมื่อถูกใส่ความให้อดทนทำความดีอย่างไม่หยุดยั้ง
 
        ถ้าเราท้อแท้หมดกำลังใจ ปล่อยให้งานการเสียหาย ก็จะเกิดความผิดพลาดในงาน ทำให้ฝ่ายตรงข้ามโจมตีได้ ทั้งๆ ที่แต่เดิมเราไม่มีความผิดความชั่ว ก็จะเกิดความผิดความชั่วหลังจากท้อแท้นี่เอง
 
        ถ้าจะอุปมาการใส่ความข้างต้น ก็เท่ากับ นักมวยเขาต่อยหมัดแย็บ หลอกล่อให้รำคาญ แต่ยังไม่มีหมัดน็อค หมัดรุนแรงที่จะทำร้ายคู่ต่อสู้ได้ ถ้าหมัดแย็บได้ผลทำให้คู่ต่อสู้พะว้าพะวง ก็จะมีหมัดน็อคตามมาภายหลังแน่ๆ
 
        เมี่อเราได้อดทน ทำความดีอย่างไม่หยุดยั้งอย่างนั้นแล้ว ถ้าอุปมาเป็นนักมวยก็บอกได้ว่าเป็นนักมวยชั้นเยี่ยม แต่อย่าเพิ่งพอใจอยู่เพียงแค่นี้ ควรสร้างบุญกุศลเพิ่มขึ้นด้วยทุกๆ วันแล้วบุญนั้นจะตามมาช่วยเราอีกแรงหนึ่ง
 
        ฉะนั้น ในระยะเวลาที่กำลังถูกสอบสวน หรือถูกใส่ความให้พยายามตั้งใจ ให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนาให้มากเป็นพิเศษ
 
        ถ้าทำครบทั้ง 3 ประการนี้แล้วก็ทำใจเย็นได้ จะช้าหรือเร็วก็จะชนะแน่นอนและเป็นการชนะที่ใสสะอาด ไม่ก่อเวรกับใครด้วย
 
        โบราณท่านสรุปวิธีต่อสู้เมื่อถูกใส่ความทั้ง 3 ประการนี้ว่า
 
        1) อย่าหนี
 
        2) อย่าสู้
 
        3) ทำความดีของเราเรื่อยไป
 
        ยิ่งกว่านั้นในระหว่างที่ก้มหน้าก้มตาทำความดีนั้น ให้พยายามพูดให้น้อย อย่าต่อความยาวสาวความยืด เพราะคำพูดผิดพลาดที่เกิดจากความพูดมาก ความพลั้งเผลอในคำพูด อาจเป็นชนวนให้เป็นเรื่องเสียหายใหญ่โตขึ้นได้

http://goo.gl/0q2vF


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related