เราควรมีหลักในการคบเพื่อนอย่างไรบ้าง

เราจะต้องไม่คบคนพาล ให้คบแต่บัณฑิต เพราะจะทำให้เราได้รับการถ่ายทอดความประพฤติและนิสัยที่ดีจากบัณฑิต ทำให้เรามีโอกาสเจริญก้าวหน้าได้ง่ายขึ้น ทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว https://dmc.tv/a13363

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 15 มี.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18282 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 

คำถาม: หลวงพ่อคะ เราควรมีหลักในการคบเพื่อนอย่างไรบ้างคะ?

 
คำตอบ: เราจะต้องไม่คบคนพาล แต่เราจะเลือกคบคนดี คือบัณฑิต เพราะคนพาล เป็นที่มาแห่งความชั่วช้าเลวทรามทั้งหลาย เราสามารถสังเกตคนพาลได้จากความประพฤติอันน่ารังเกียจของเขา คือ
 
เราจะต้องไม่คบคนพาล
เราจะต้องไม่คบคนพาล
 
        1. คนพาลชอบชักนำไปในทางที่ผิด เช่น ชักชวนกันไปเที่ยวกลางคืน ดื่มสุรา เล่นการพนัน เป็นต้น
 
        2. คนพาลไม่ชอบวินัย ทั้งไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมือง แต่ชอบประพฤติผิดศีลธรรม ชอบแหวกกฏเกณฑ์ กติกาของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เสมอ
 
        3. คนพาลชอบแต่สิ่งที่ผิด ชอบเห็นความพินาศเสียหายของผู้อื่น เมื่อเวลาตัวเองทำผิดก็ภูมิใจ ลำพองใจว่าจนเก่งกล้าสามารถ
 
        4. คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระของตน ชอบยุ่งเรื่องของชาวบ้าน ดูเผินๆ เหมือนหวังดี แต่ไม่ช้าความเดือดร้อน ก็เกิดจากการยุ่งไม่เข้าเรื่องของเขา
 
        5. คนพาลแม้พูดจาดีๆ ด้วยก็โกรธ วินิจฉัยของคนพาลไม่ค่อยคงเส้นคงวา บางทียิ้มด้วย เขาก็ว่ายิ้มเยาะ เผลอหัวเราะเขาก็ว่าเราเย้ย
 
        เมื่อเห็นใครมีลักษณะเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 5 ประการดังกล่าวนี้ ก็ให้ตั้งข้อสงสัยได้เลยว่าเขาเป็นคนพาล ไม่ควรคบหา ขืนคบเขาเราจะติดนิสัยพาลๆ ไปด้วย
 
        สำหรับบัณฑิตในทางธรรม หมายถึง ผู้รู้ดี รู้ชั่ว รู้ผิด รู้ถูก รู้ควร รู้ไม่ควร รู้บุญ รู้บาป ซึ่งอาจจะรู้หนังสือได้รับปริญญาหรือไม่รู้หนังสือเลยก็ตาม ถ้าสามารถอาศัยความรู้เท่าที่มีดำเนินชีวิตไปได้ด้วยดีก็เรียกว่าบัณฑิต
 
พึงคบแต่บัณฑิตเป็นเพื่อน
พึงคบแต่บัณฑิตเป็นเพื่อน
 
        เมื่อเราคบบัณฑิตเป็นเพื่อน เราก็จะได้รับการถ่ายทอดความประพฤติและนิสัยที่ดีจากบัณฑิต ทำให้เรามีโอกาสเจริญก้าวหน้าได้ง่ายขึ้น ทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว และ ถึงแม้ว่าเราจะมีศัตรูเป็นบัณฑิต แต่บัณฑิตนั้นเขาจะเป็นศัตรูกับความเห็นผิดของเราเท่านั้น เมื่อเรากลับตัวเป็นคนดี บัณฑิตย่อมไม่ถือโทษโกรธเคือง แต่จะกลับเป็นมิตรแท้ให้แก่เราจนวันตาย เพราะฉะนั้นนักปราชญ์จึงได้กล่าวไว้ว่า "มีศัตรูเป็นบัณฑิตดีกว่ามีมิตรที่เป็นพาล"
 

คำถาม: หลวงพ่อครับ ทำอย่างไรจึงจะรู้จักตัวเองว่า จริงๆ แล้วเราเป็นคนอย่างไร แล้วควรจะทำตัวอย่างไร?

 
คำตอบ: คนจะรู้จักตัวเองได้ต้องเป็นคนที่ศึกษาธรรมะมาก และเป็นคนที่ช่างสังเกต เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากจะรู้จักตัวเองจริงๆ ละก็ ต้องตั้งใจทำ 3 อย่างต่อไปนี้นะ
 
คนจะรู้จักตัวเองได้ต้องเป็นคนที่ศึกษาธรรมะมาก และเป็นคนที่ช่างสังเกต
คนจะรู้จักตัวเองได้ต้องเป็นคนที่ศึกษาธรรมะมาก และเป็นคนที่ช่างสังเกต
 
        1. ต้องปลีกเวลาศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ให้รู้ว่ามาตรฐานของคนดีตามพุทธนิยมเป็นอย่างไร เพราะนั่นเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องโดยธรรม ไม่ใช่โดยทางโลก เมื่อรู้แล้วก็พยายามปฏิบัติตามนั้น
 
        2. อย่าเสียเวลาไปจับผิดคนอื่น เพราะไม่เกิดประโยชน์แก่ตนเอง มิหนำซ้ำยังทำให้ใจเศร้าหมอง ตรงกันข้ามให้หมั่นสังเกตดูความประพฤติที่ดีงามของผู้อื่น แล้วนำมาประพฤติปฏิบัติตามให้ได้โดยเต็มตามกำลังความสามารถของเรา
 
       3. ต้องสละเวลาสำรวจข้อบกพร่องของตนเองเป็นประจำ วิธีสำรวจข้อบกพร่องของตัวเองที่ง่ายที่สุด คือหมั่นนั่งสมาธิเป็นประจำทุกคืนก่อนนอน เพราะมีหลักธรรมดาอยู่ว่า คนเราเมื่อหลับตา ในขณะที่มีสติครบถ้วน จะมองไม่เห็นคนอื่น แต่มองเห็นตัวเอง เมื่อพบข้อบกพร่องแล้วก็พยายามแก้ไขเสีย เช่น ถ้าพบว่าตัวเองยังเป็นคนเห็นแก่ได้อยู่ก็รีบให้ทานเสีย ถ้ายังมักโกรธอยู่ก็รีบถือศีล วันธรรมดาก็ให้ถือศีล 5 วันพระก็พยายามถือศีล 8 ถ้ายังอาฆาตพยาบาทอยู่ก็ให้แผ่เมตตามากๆ
 
วิธีสำรวจข้อบกพร่องของตัวเองที่ง่ายที่สุด คือหมั่นนั่งสมาธิเป็นประจำทุกคืนก่อนนอน
วิธีสำรวจข้อบกพร่องของตัวเองที่ง่ายที่สุด คือหมั่นนั่งสมาธิเป็นประจำทุกคืนก่อนนอน
 
        การแก้ไขข้อบกพร่องของตัวเองเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน วันใดที่เราแก้ไขตัวเองจนดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุดจนหมดกิเลสแล้ว วันนั้นแหละเราจะสามารถตอบตัวเองได้ว่า เราได้ทำหน้าที่ของเราสมบูรณ์ที่สุดแล้วหรือยัง
 
คำถาม: หลวงพ่อครับ พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีใช้เงินหรือเปล่าครับ เงินเดือนผมขึ้นทุกปีแต่ก็ไม่เคยพอใช้สักทีครับ ไม่ทราบว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้?
 
คำตอบ: เกี่ยวกับวิธีใช้เงิน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้ว่า ความสุขของฆราวาส เกิดจากเหตุ 4 อย่าง คือ
 
        1. สุขจากความมีทรัพย์
 
        2. สุขจากการใช้ทรัพย์ไปในทางที่ชอบ
 
        3. สุขจากการไม่มีหนี้
 
        4. สุขจากการทำงานไม่มีโทษ คือการงานที่ไม่ผิดกฎหมายไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดศีลธรรม คือเป็นความสุขที่เป็นแก่น เป็นรากฐานของข้ออื่นๆเพราะถ้าติดคุกหรือมีคดีความเสียแล้ว ถึงมีทรัพย์เท่าไรก็หาความสุขไม่ได้หรอกนะ
 
        การที่จะให้ได้รับความสุขโดยครบถ้วนอย่างนี้ ต้องรู้จักวิธีแบ่งการใช้ทรัพย์ออกเป็น 5 งบด้วยกัน แต่ละงบจะมากบ้างน้อยบ้างก็ตามแต่เห็นสมควร คือ
 
        1. ใช้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว ถือเป็นงบที่สำคัญที่สุดจะขาดตกบกพร่องไม่ได้ ต้องไม่ให้เดือดร้อนด้วยกันทุกฝ่าย เพราะจะทำให้เสียความมั่นคงในครอบครัว
 
        2. ใช้เลี้ยงมิตรสหายและผู้ร่วมงาน ถือเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกัน จะได้มีความรักใคร่นับถือเกรงใจกัน งานที่ร่วมกันทำจะได้ราบรื่น ไม่สะดุดหรือติดขัด เมื่อถึงคราวจำเป็นจะต้องเอ่ยปากไหว้วานใครให้ช่วย ก็จะได้รับความร่วมมือโดยง่าย ทั้งยังเป็นที่รักที่เกรงใจของคนหมู่มาก แต่ก็ต้องระวังการใช้เงินงบนี้ ให้เป็นครั้งเป็นคราวไม่ให้เกินตัว เดี๋ยวจะเป็นการก่อหนี้สินเพิ่มขึ้น
 
        3. ใช้ป้องกันรักษาสวัสดิภาพของร่างกาย เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เมื่อถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วยหรือคราวจำเป็นฉุกเฉินเช่นน้ำท่วม ไฟไหม้ จะได้มีจับจ่ายใช้สอยได้ทันท่วงที ในทางปฏิบัติเราควรเก็บงบนี้ไว้ในธนาคารจำนวนหนึ่งให้ได้ แม้ว่าเราจะมีฐานะยากจนเพียงไรก็ตาม
 
        4. ใช้บำรุงบูชาบุคคลที่ควรบูชา ตั้งแต่บำรุงญาติ ต้อนรับแขก ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เสียภาษีให้รัฐ แม้ที่สุดใครจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เทวดา หรือที่เรียกว่าเทวดาพลี ก็ควรจำกัดอยู่ในงบนี้
 
        5. ใช้บำรุงพระพุทธศาสนา วิสัยของบัณฑิตนั้น เมื่อได้อาศัยประโยชน์จากพระพุทธศาสนา คือได้ความสุขกาย สุขใจ ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาแล้ว เขาย่อมบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ตอบแทนบ้าง ด้วยการทำบุญ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เต็มกำลังศรัทธา เพื่อให้เป็นบุญกุศลติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ งบนี้สำคัญมากถือเป็นเสบียงบุญติดตัวไปตลอดเวลาที่เรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร
 
ต้องรู้จักวิธีแบ่งการใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
ต้องรู้จักวิธีแบ่งการใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
 
        คนเราเมื่อรู้จักใช้ทรัพย์ ซึ่งได้มาด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน ไปทำประโยชน์ให้เต็มที่อย่างนี้แล้ว แม้จะหมดเปลืองอย่างไรก็ไม่ควรเสียดาย เพราะคุ้มแสนคุ้มแล้ว

http://goo.gl/qb7dE


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related