พุทธศาสนากับภาษาไทย

พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางด้านภาษาของไทย https://dmc.tv/a23558

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 23 ก.ค. 2561 ] - [ ผู้อ่าน : 18322 ]

พุทธศาสนากับภาษาไทย

พระพุทธศาสนากับภาษาไทย

         สังคมไทยมีความผูกพันกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จนไม่สามารถแยกออกจากวิถีชีวิตประจำวันได้ มีอิทธิพลต่อบุคคล สังคม และวัฒนธรรม ของไทยเป็นอย่างมาก พระพุทธศาสนาจึงกลายเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย ในหลายๆด้าน โดยเฉพาะ “ด้านภาษา” ภาษาไทยส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตโดยคำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาเถรวาท ส่วนภาษาสันสกฤตได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ

        

ขอบคุณภาพจาก เว็บ dharmahall.blogspot.com

    

          ภาษาที่ใช้บันทึกหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา(พระไตรปิฎก)มาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล คือภาษามคธ หรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า “ภาษาบาลี” เชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรของตัวเอง เป็นภาษาพูดที่ถ่ายทอดกันมาโดยการท่องจำ ใช้ในถิ่นใดก็ใช้อักษรของถิ่นนั้นถ่ายเสียงจึงยากที่จะศึกษา เมื่อไปอยู่ในภาษาใดก็ใช้ภาษานั้น

          พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ  เพราะถือเป็นสิ่งแทนองค์พระศาสดา พระไตรปิฏกแต่เดิมเป็นภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่มีในมัชฌิมประเทศที่เรียกว่า แคว้นมคธ ในครั้งพุทธกาล ต่อมาพุทธศาสนาแพร่หลายไปในนานาประเทศที่ใช้ภาษาอื่น เช่น ธิเบตและจีน ได้แปลพระไตรปิฏกจากภาษาบาลีเป็นภาษาของตน เพื่อประสงค์ที่จะให้เรียนรู้ได้ง่าย ส่วนประเทศ ลังกา พม่า ไทย ลาว และ เขมร  รักษาพระไตรปิฏกไว้ในเป็นภาษาบาลี เพื่อรักษาพระธรรมวินัยไม่ให้คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะการศึกษาภาษาบาลี เพราะถ้าไม่รู้ภาษาบาลีแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถรู้และเข้าใจพระพุทธวจนะในพระไตรปิฏก นับได้ว่าภาษาไทยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาเถรวาท จนมาถึงทุกวันนี้
    

ขอบคุณภาพจาก เว็บ matichonweekly.com

 

          ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้

1.มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ ฯลฯ

2.ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร ฯลฯ

3.นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ ฯลฯ

ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย ฯลฯ 

ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้

จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยด้านภาษาอย่างยิ่งอีกด้านหนึ่ง


ที่มาข้อมูล : เว็บ myfirstbrain.com/student

      เว็บ cybervanaram.net

                  เว็บ baanjomyut.com

 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ






พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related