นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความนั้นตามความจริงแล้ว พึงกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
เหตุที่นำความสุขมาให้
ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเหตุนำสุขมา การแสดงธรรมของสัตบุรุษ เป็นเหตุนำสุขมา
ความต้องการของคน 6 ประเภท
ธรรมดากษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่งใจในกำลังทหาร ต้องการในการได้แผ่นดิน มีความเป็นที่สุด
พระพุทธลีลา
พระ ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ ไม่ก้าวพระบาทยาวในที่ไกลมาก ไม่ก้าวพระบาทถี่ในที่ใกล้มาก เสด็จดำเนินไม่เสียดสีพระชานุ และข้อพระบาททั้งสอง เสด็จดำเนินไม่เร็วนักไม่ช้านัก ขณะเสด็จดำเนินก็มีสมาธิ พระหฤทัยตั้งมั่น ไม่ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน หรือลงเบื้องต่ำ ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก มีพระอาการเยื้องกรายคล้ายพญาช้าง ทรงทำโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง ทรงงดงามดุจดวงจันทราในยามรัตติกาล
พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 36 อชิตพราหมณ์บรมโพธิสัตว์ออกบวช
การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ยากมาก เพราะต้องผ่านการสร้างบารมีมาอย่างน้อย 20 อสงไขยกับหนึ่งแสนมหากัป
พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 38 อชิตพราหมณ์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในช่วงรุ่งอรุณ พระอชิตพราหมณ์บรมโพธิสัตว์ จักได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 30 พระเจ้าสังขบรมจักรพรรดิ (2)
จักรวรรดิวัตร คือ ธรรมอันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำหรับพระมหาจักรพรรดิ และพระราชาเอกในโลก มี 12 ประการ
อานิสงส์ถวายดอกอ้อ
ฉับพลันทันใดกินนรีก็คิดว่า ไทยธรรมที่ควรถวายในมือของเราก็ไม่มี หากเราจะไม่สั่งสมบุญอะไรเลย ก็จะทำให้เราคลาดจากบุญนี้ไป เราจะทำอย่างไรดีหนอ เมื่อคิดอย่างนี้กินนรีผู้มีบุญก็มองไปรอบๆ อาณาบริเวณ ขณะที่ในใจของนางนั้นเต็มเปี่ยมด้วยความปีติอันไม่มีประมาณ ก็มองไปเห็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ออกดอกงามสะพรั่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำก็ดำริว่า แม้ในมือของเราไม่มีไทยธรรม เราก็จะเอาดอกอ้อนี่แหละบูชาสมณะรูปนี้
เตรียมใจให้พ่อ รอวันไปสวรรค์ ตอนที่ 4
ทุกคนล้วนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม เราจะต้องดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ด้วยการปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บุญไม่มีขายอยากได้ต้องทำเอง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสพระคาถาว่า “ปุญฺญญฺ เจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย” แปลความว่า ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่าความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข.