พุทธศาสนากับภาษาไทย

พระพุทธศาสนากับภาษาไทย

         สังคมไทยมีความผูกพันกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จนไม่สามารถแยกออกจากวิถีชีวิตประจำวันได้ มีอิทธิพลต่อบุคคล สังคม และวัฒนธรรม ของไทยเป็นอย่างมาก พระพุทธศาสนาจึงกลายเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย ในหลายๆด้าน โดยเฉพาะ “ด้านภาษา” ภาษาไทยส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตโดยคำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาเถรวาท ส่วนภาษาสันสกฤตได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ

        

ขอบคุณภาพจาก เว็บ dharmahall.blogspot.com

    

          ภาษาที่ใช้บันทึกหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา(พระไตรปิฎก)มาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล คือภาษามคธ หรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า “ภาษาบาลี” เชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรของตัวเอง เป็นภาษาพูดที่ถ่ายทอดกันมาโดยการท่องจำ ใช้ในถิ่นใดก็ใช้อักษรของถิ่นนั้นถ่ายเสียงจึงยากที่จะศึกษา เมื่อไปอยู่ในภาษาใดก็ใช้ภาษานั้น

          พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ  เพราะถือเป็นสิ่งแทนองค์พระศาสดา พระไตรปิฏกแต่เดิมเป็นภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่มีในมัชฌิมประเทศที่เรียกว่า แคว้นมคธ ในครั้งพุทธกาล ต่อมาพุทธศาสนาแพร่หลายไปในนานาประเทศที่ใช้ภาษาอื่น เช่น ธิเบตและจีน ได้แปลพระไตรปิฏกจากภาษาบาลีเป็นภาษาของตน เพื่อประสงค์ที่จะให้เรียนรู้ได้ง่าย ส่วนประเทศ ลังกา พม่า ไทย ลาว และ เขมร  รักษาพระไตรปิฏกไว้ในเป็นภาษาบาลี เพื่อรักษาพระธรรมวินัยไม่ให้คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะการศึกษาภาษาบาลี เพราะถ้าไม่รู้ภาษาบาลีแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถรู้และเข้าใจพระพุทธวจนะในพระไตรปิฏก นับได้ว่าภาษาไทยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาเถรวาท จนมาถึงทุกวันนี้
    

ขอบคุณภาพจาก เว็บ matichonweekly.com

 

          ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้

1.มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ ฯลฯ

2.ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร ฯลฯ

3.นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ ฯลฯ

ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย ฯลฯ 

ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้

จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยด้านภาษาอย่างยิ่งอีกด้านหนึ่ง


ที่มาข้อมูล : เว็บ myfirstbrain.com/student

      เว็บ cybervanaram.net

                  เว็บ baanjomyut.com

 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

วันภาษาไทยแห่งชาติ
กลอนวันภาษาไทย
เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ
พุทธศาสนากับภาษาไทย
คำขวัญวันภาษาไทยแห่งชาติ พร้อมภาพประกอบสวยๆ


บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/ความรู้รอบตัว/พุทธศาสนากับภาษาไทย.html
เมื่อ 3 กรกฎาคม 2567 12:28
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv