โน๊ตขลุ่ยเพลงลอยกระทง

โน้ตเพลง (ขลุ่ย) เพลงลอยกระทง เพลงรำวงลอยกระทง และเนื้อเพลง https://dmc.tv/a14685

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 17 พ.ย. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 19400 ]

โน๊ตขลุ่ยเพลงลอยกระทง




โน๊ตขลุ่ยเพลงลอยกระทง

โน๊ตเพลงขลุ่ยวันลอยกระทง

โน้ตเพลง (ขลุ่ย) เพลง ลอยกระทง ขลุ่ย ท่อนเดียว


----  -ช-ช  --มช  -ล-ดํ  ---รํ  -ดํ-ล  ---ช  ---ม

 ---ช  -ล-ดํ  --ชล  -ดํ--  -ช-ล  -ดํ-รํ  -ดํ-ล --ชช

----  ---ดํ   ---ดํ  --ดํดํ   ----  ---ช  ---ช --ชช

---ดํ  --ดํดํ   ---รํ  -มํ--  -มํ-รํ  -ดํ-ล  --ชล  -ดํ-รํ

----  ---มํ   ---มํ  --มํมํ   ----  ---ดํ  ---ดํ  --ดํดํ

---ดํ  --ลช  --ลดํ  -ล-ดํ   ---ดํ --ลช  --ลดํ -ล-ดํ 
กลับ

จบ


โน๊ตขลุ่ยเพลงลอยกระทง

โน้ตเพลง (ขลุ่ย) เพลง รำวงลอยกระทง   100% ขลุ่ย


โน้ตเพลง (ขลุ่ย) แบบที่ 1
- - - -       - ร - ร        - - ท ร      - ม - ซ       - - - ล     - - ซ ม      - - - ร     - - ร ท
- - - ร     - ม - ซ        - - - ม       - ซ - -        - ร - ม     - ซ - ล     - ซ - ม    - ร - ร
- - - -      - ซ - ซ       - ซ - ซ     - - ซ ซ        - - - -       - ร - ร      - ร - ร      - - ร ร
- - - ซ     - -ซ ซ         - - - ล       - ท - -       - ท - ล     - ซ - ม    - ร - ม     - ซ - ล
- - - -      - ท - ท       - ท - ท     - - ท ท       - - - -       - ซ - ซ    - ซ - ซ   - - ซ ซ
- - - ซ     - - ม ร       - - ม ซ      - ม - ซ        - - - ซ      - - ม ร     - - ม ซ    - ม - ซ

โน้ตเพลง (ขลุ่ย) แบบที่ 2
- - - -    - ซ - ซ    - ม - ซ    - ล - ดํ     - - -  รํ     - ดํ - ล      - - - ซ      - ซ - ม
- - - ซ   - ล - ดํ     - - - ล      - - ดํ -     - ซ - ล    - ดํ - รํ      - ดํ - ล     - ซ - ซ
- - - -     - - - ดํ     - - - ดํ      - ดํ - ดํ     - - - -       - - - ซ       - - - ซ     - ซ - ซ
- - - ดํ   - ดํ - ดํ      - - - รํ     - ม - -     - ม - รํ     - ดํ - ล      - ซ - ล      - ดํ - รํ
- - - -     - - - ม      - - - ม     - ม - ม      - - - -      - - - ดํ        - - - ดํ     - ดํ - ดํ
- - - ดํ   - ล - ซ    - ล - ดํ     - ล - ดํ     - - - ดํ     - ล - ซ      - ล - ดํ     - ล - ดํ


 

เนื้อเพลงรำวงลอยกระทง

 
เพลงรำวงลอยกระทง

วันลอยกระทง


วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

(ซ้ำ 1 รอบ )
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

ขลุ่ย

 
     ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย ทำด้วยไม้ไผ่ปล้องยาวๆ ไว้ข้อทางปลายแต่เจาะทะลุข้ออย่างไฟให้แห้งแล้วตบแต่งผิวให้ ไหม้เกรียมเป็นลวดลายสวยงาม

     ด้านหน้าเจาะรูกลม ๆ เรียงแถวกัน 7 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเสียง ขลุ่ยไม่มีลิ้นเหมือนปี่ แต่เขาใช้ไม้อุดเต็มปล้อง แล้วปาดด้านล่างให้มีช่อง ไม้อุดนี้เรียกว่า ดาก  ทำด้วยไม้สักเพราะไม่มีขุยมาบังลม    ด้านหลังใต้ดากลงมา เจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปาดตอนล่างเป็นทางเฉียงไม่เจาะ ทะลุตรงเหมือนรูด้านหน้า รูที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ เรียกว่า รูปากนกแก้ว

     ใต้รูปากนกแก้วลงมา เจาะรูอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เพราะเวลาเป่า ผู้เป่าจะใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ เหนือรูนิ้วค้ำด้านหลัง และ เหนือรูบนของรูด้านหน้าทั้ง 7 รู แต่อยู่ทางด้านขวา เจาะรูอีกรูหนึ่งเรียกว่า รูเยื่อ เพราะแต่ก่อนจะใช้เยื่อไม้ไผ่ปิดรูนี้  ต่อมาก็ไม่ค่อยได้ใช้ ตรงปลายเลาขลุ่ยจะเจาะรูให้ซ้ายขวาตรงกัน  เพื่อร้อยเชื่อก เรียกว่า รูร้อยเชือก
        
     ดังนั้น จะสังเกตว่า ขลุ่ย 1 เลา จะมีรูทั้งสิ้น 14  รู
 
     เพลงที่นิยมฝึกเป่าขลุ่ย ได้แก่ เพลงค้างคาวกินกล้วย เพลงลาวดวงเดือน เพลงนางครวญ 2 ชั้น เพลงพม่าแทงกบ เพลงคลื่นกระทบฝั่ง 2ชั้น
 

เทคนิคการเป่าขลุ่ยในวันลอยกระทงให้ไพเราะ

โน๊ตเพลงขลุ่ยวันลอยกระทง

 


         เทคนิคการเป่าขลุ่ยให้ไพเราะ มีวิธีต่างๆ  เช่น การเป่าเสียงสั่น เสียงเอื้อน เสียงรัว หรือมีเสียงควงประกอบด้วยเป็นต้น  โดยอาศัยการหมั่นฝึกฝนได้หลายอย่างดังนี้

         1. การเป่าเสียงสั่น ต้องบังคับลมให้ออกมาเป็นช่วงๆ ให้ลมทยอยออกมาถี่ๆ หรือห่างๆ ตามต้องการที่จะทำให้เกิดเสียงคล้ายคลื่นตามอารมณ์ของเพลง

         2. การเป่าเสียงรัว หรือการพรมนิ้วทำได้โดยใช้นิ้วเปิดปิดสลับกันถี่ๆ ใช้สอดแทรกเพื่อให้เพลงเกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น

         3. การเป่าเสียงเอื้อน คือการใช้นิ้วค่อยๆเปิดบังคับลมให้เสียงขลุ่ยโรยจากหนักไปเบาหรือจากเบาไปหนักที่เสียงใดเสียงหนึ่ง

         4. เสียงโหยหวน หวน ใช้ลมและนิ้วบังคับเพื่อให้เสียงต่อเนื่องระหว่างสองเสียง เช่นเสียงคู่สาม คู่ห้า ซึ่งเป็นเสียงที่มีความกลมกลืนกันมากเท่ากับเสียงโดกับเสียงซอล เป็นต้น

         5. การหยุด หรือ การชะงักลม การเป่าขลุ่ยบางจังหวะควรมีการหยุด การเบา การเน้นเสียงบ้าง เพื่อให้เพลงเกิดความไพเราะมากขึ้น

        6. เสียงเลียน หรือ เสียงควง คือการทำเสียงโดยใช้นิ้วต่างกันแต่ได้เสียงเดียวกัน ใช้เมื่อทำนองเพลงช่วงนั้นยาว ทำได้โดยการเป่าเสียงตรงก่อนแล้วจึงเป่าเสียงเลียนและกลับมาเป่าเสียงตรงเมื่อหมดจังหวะ การเป่าโดยใช้เสียงตรงและเสียงเลียนนี้จะทำให้เพลงเกิดความไพเราะได้อีกแบบหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อย่างมากในการเลือกขลุ่ย เพราะขลุ่ยที่ดีเสียงตรงกับเสียงเลียนต้องเท่ากัน

        เท่านี้วันลอยกระทงนี้ เราจะได้ยินเสียงขลุ่ยที่เพราะๆ กันแล้ว

http://goo.gl/9yGcW


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related