นักดาราศาสตร์เตรียมรับมือดาวหางชนโลก

https://dmc.tv/a323

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 26 ส.ค. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 18259 ]
  ในการประชุมใหญ่ของสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (International Astronomical Union - IAU) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็กในระหว่างวันที่ 14-25 สิงหาคม 2006 นอกจากนักดาราศาสตร์ทั่วโลกจะมาสะสางปัญหานิยามของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะกันใหม่ หลังจากการค้นพบเทหวัตถุดวงใหม่หลายดวงนอกวงโคจรของดาวเนปจูน
ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโตกันแล้ว

ที่ประชุมยังหยิบยกเรื่องภัยคุกคามจากดาวหางและดาวเคราะห์น้อยประเภท "เทหวัตถุใกล้โลก" (Near-Earth Objects - NEOs) มาพิจารณากันด้วย ซึ่งไอเอยูแถลงว่าได้จัดตั้งทีมงานพิเศษขึ้นมาศึกษาภัยคุกคามจากเทหวัตถุ
ใกล้โลกอย่างละเอียดและกว้างขวางยิ่งขึ้น

เทหวัตถุใกล้โลกคือ ดาวหางและดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่มีวิถีโคจรตัดกับวิถีโคจรของโลก ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวหางและดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 กิโลเมตรหรือใหญ่กว่าแล้วจำนวน 1,100 ดวง ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่จะมีอานุภาพในการ
ทำลายล้างทั่วทั้งโลกเลยทีเดียว

โลกในอดีตเคยถูกดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนมาแล้วหลายครั้ง ครั้งที่รุนแรงที่สุดจนทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกเกือบทั้งหมดสูญพันธุ์เกิดขึ้น
ในปลายยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสสิก (251 ล้านปีก่อน) ซึ่งเรียกกันว่ายุคแห่งการล้มตายครั้งยิ่งใหญ่ (the great dying)

และอีกครั้งหนึ่งในปลายยุคครีเตเชียส-เทอร์เทียรี เมื่อ 65 ล้านปีก่อนซึ่งทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์จนหมดโลก ดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยชนโลกครั้งสุดท้ายที่ทังกัสกา ไซบีเรีย เมื่อปี 1908 อานุภาพการทำลายในครั้งนั้นเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ 15 เมกะตัน ทำให้ผืนป่าแบนราบกว่า 2,150 ตารางกิโลเมตร โชคดีที่มันไม่ได้ชนโลกในเขตชุมชนหนาแน่นอย่างเมืองใหญ่ๆ ของโลก


นิค ไคเซอร์ นักดาราศาสตร์ของสถาบันดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวาย เจ้าของโปรแกรม Pan-STARRS ซึ่งใช้กล้องดิจิตอล 4 ตัวสแกนท้องฟ้าเพื่อตรวจจับดาวหางและดาวเคราะห์น้อยกล่าวว่า "เป้าหมายของเราคือการค้นหาดาวเคราะห์น้อยนักฆ่าเหล่านี้ให้พบ
ก่อนที่พวกมันจะพบเรา"

ส่วนจีโอวานนี วอลเซคชี จากสถาบันฟิสิกส์แห่งชาติอิตาลีบอกว่า เป้าหมายหลักก็คือ สร้างระบบเตือนภัยอย่างถาวรเหมือนอย่างระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ให้โลกมีเวลาพอที่จะตอบโต้ภัยคุกคาม เช่นส่งจรวดยิงเทหวัตถุใกล้โลกเพื่อหันเหทิศทางหรือส่งยานอวกาศดันให้มัน
เปลี่ยนวิถีโคจรที่ไม่เป็นอันตรายต่อโลก

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรได้คิดค้นวิธีการกำจัดดาวเคราะห์น้อยหรือ
ดาวหางที่จะชนโลกไว้หลายวิธี อาทิ การใช้ระเบิดนิวเคลียร์ทำลายอย่างในภาพยนตร์เรื่องอมาเกนดอน การใช้ฝูงยานอวกาศซึ่งมีสว่านเจาะลงใต้พื้นผิวและดันมันออกไป และการใช้กระจกรับแสงอาทิตย์จากยานอวกาศส่องไปยังพื้นผิวเพื่อให้เกิดความร้อนสูง ซึ่งจะทำให้มันเปลี่ยนวิถีโคจรได้ แต่จะเลือกใช้วิธีการใดจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของดาวเคราะห์และดาวหางแต่ละดวง
ซึ่งมีความแตกต่างกัน


ทุกวันนี้องค์การนาซามีโปรแกรมตรวจจับเทหวัตถุใกล้โลกที่ชื่อว่า "NASA"s Spaceguard Survey" ซึ่งสามารถตรวจจับเทหวัตถุใกล้โลกขนาดใหญ่ได้แล้วจำนวน 800 ดวง และอีก 103 ดวงอยู่ในบัญชีการเฝ้าติดตาม และนาซาหวังว่าจนถึงปี 2008 จะสามารถตรวจพบเทหวัตถุใกล้โลกได้จำนวน 90%

ขณะที่สภาคองเกรสสหรัฐอเมริกาได้ขอให้องค์การนาซากำหนดแผนที่จะตรวจจับตำแหน่ง ความเร็ว วิถีโคจร ของเทหวัตถุใกล้โลกขนาด 140 เมตรซึ่งสลัวๆ ให้เสร็จภายในปี 2020 ด้วย

เดวิด มอริสัน นักวิทยาศาสตร์นาซาซึ่งจะเป็นประธานทีมงานพิเศษที่ไอเอยูจะตั้งขึ้นให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ค้นพบเทหวัตถุใกล้โลกทุกสัปดาห์แทนที่จะเป็นทุกปีเหมือนเมื่อก่อน

ไอเอยูยังให้ความมั่นใจว่าดาวเคราะห์น้อยอโพฟิส (99942 Apophis) จะไม่ชนโลกในปี 2029 แต่โคจรเฉียดโลกในระยะใกล้เพียง 18,640 ไมล์ หรือ 30,000 กิโลเมตร (ใกล้โลกมากกว่าดาวเทียมพาณิชย์หลายดวง) ซึ่งคนในเอเชียและแอฟริกาเหนือจะสามารถชมดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ด้วยตาเปล่าในวันที่ 13 เมษายน 2029

เมื่อปีก่อนนักวิทยาศาสตร์กังวลใจกับดาวเคราะห์น้อยอโพฟิสขนาด 300 เมตรซึ่งการคำนวณในครั้งนั้นพบว่าโลกมีโอกาสเท่ากับ 1 ใน 5,500 ที่จะถูกชนในปี 2036 การชนของมันจะมีอำนาจทำลายล้างมหานครนิวยอร์กและปริมณฑลจนราบเรียบ ทว่าการคำนวณใหม่พบว่าโลกมีโอกาสถูกชนโดยดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เท่ากับ 1 ใน 30,000

มหันตภัยจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางกำลังเป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ตื่นตัวมากกว่าที่ผ่านมา เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2006 ที่รัฐโคโลราโด องค์การนาซาได้จัดประชุมเวิร์กช็อปเพื่อประเมินและหาวีธีการที่ดีที่สุดที่จะตรวจจับ จำแนกดาวหางและดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกรวมทั้งหาวิธีการดันให้เทหวัตถุใกล้โลก
ออกจากวิถีโคจรที่จะชนโลก

การประชุมนี้เป็นโอกาสเดียวกันกับที่ดาวเคราะห์น้อย 2004 XP14 ขนาด 410-920 เมตร โคจรเฉียดโลกเพียง 268,624 ไมล์ (432,308 กิโลเมตร) หรือ 1.1 เท่าของระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์

นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ทุกๆ 1,500 ปี จะมีดาวเคราะห์น้อยขนาดดาวเคราะห์น้อยอโพฟิสเฉียดโลก แต่ยังไม่มีสถิติว่าดาวเคราะห์น้อยที่ชนโลกอย่างที่เกิดขึ้นที่ทังกัสกาจะเกิดขึ้นทุกกี่ปี

ในทรรศนะของจีโอวานนี วอลเซคชี แล้ว ในที่สุดมนุษยชาติจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางที่เขาเรียกมันว่า
กระสุนจากอวกาศทุกดวงได้ เขาบอกว่าหลุมอุกกาบาตบนโลกเป็นประจักษ์พยานอย่างดีว่าได้เกิดอะไรขึ้น

"การชนได้ก่อกำเนิดดาวเคราะห์ขึ้น และการชนอีกเช่นกันที่ทำให้ดาวเคราะห์พบจุดจบ" เขากล่าว

ที่มา -

http://goo.gl/uYFFq


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related