ร.ร.แพทย์ 4 ภาคขานรับเทคโนโลยีภาพ 3 มิติ แก้ไขใบหน้า-กะโหลกศีรษะผิดปกติ

https://dmc.tv/a548

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 29 ก.ย. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 18257 ]
โรงเรียนแพทย์ 4 ภาค จับมือเอ็มเทค เซ็นสัญญา 5 ปี ขยายผลการใช้เทคโนโลยีภาพ 3 มิติ ช่วยวางแผนการผ่าตัด และออกแบบวัสดุฝังใน แก้ไขความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ ใบหน้า ขากรรไกร ฯลฯ ให้ผู้ป่วย เพิ่มความแน่นอนในการรักษา ระบุใช้รักษาผู้ป่วยมาแล้ว 200 ราย ได้ผลดีมาก ไม่มีอาการแทรกซ้อน
       
       นับวันความก้าวหน้าทางการแพทย์ยิ่งจะทำให้มนุษย์เราสามารถไว้วางใจในชีวิตได้มากขึ้นทุกขณะ ไม่เพียงแต่การคงไว้ซึ่งสุขอนามัยที่ดีของร่ายกายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความมั่นคงทางจิตใจด้วย เช่น ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติแต่กำเนิด มีเนื้องอก หรือประสบอุบัติเหตุ จนเกิดความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ ใบหน้า ขากรรไกร กระบอกตา กระดูกแขน ขา และสะโพก ฯลฯ ซึ่งทำให้ร่างกายของผู้ป่วยมีรูปทรงผิดปกติ และส่งผลต่อความสุขใจในชีวิตได้
       
       ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือ “การสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็วและวัสดุฝังในทางการแพทย์” ขึ้น ระหว่างเอ็มเทค และโรงเรียนแพทย์ของ 4 สถาบันคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วานนี้ (27 ก.ย.) เพื่อขยายผลการใช้งานไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศ
       
       รศ.นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ หัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหารสมาคมแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะนานาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชีย ในฐานะผู้บุกเบิกโครงการ ให้ข้อมูลว่า ในอดีตการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติข้างต้นจะต้องใช้การเอ็กซเรย์ การทำซีทีสแกน หรือการทำเอ็มอาร์ไอ แล้วเข้ารับการผ่าตัดด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผลการรักษาขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์เป็นสำคัญ ขณะที่การผ่าตัดในบริเวณที่ซับซ้อน มีส่วนโค้งเว้ามาก เช่น ใบหน้า กะโหลกศีรษะ กระบอกตา ขากรรไกร จะทำได้ลำบาก กินเวลามาก ต้องวางยาให้คนไข้ให้สลบไปนาน คนไข้ฟื้นตัวได้ช้า อีกทั้งอาจได้ผลการรักษาที่ไม่ดีนัก และต้องผ่าตัดซ้ำอีก
       
       จากเหตุผลนี้ จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ดังกล่าวขึ้น เพื่อให้สามารถจำลองภาพ 3 มิติของอวัยวะที่ได้รับความเสียหาย เช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า กระบอกตา ขากรรไกร ฯลฯ เปรียบเทียบกับด้านที่ยังสมบูรณ์อยู่ คล้ายกับการนำกระจกมาวางทาบให้เกิดภาพส่วนที่เสียหายไป เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนการผ่าตัดและผลิตวัสดุฝังในแทนส่วนที่เสียหายได้อย่าง
รวดเร็วและแม่นยำ เช่น วัสดุฝังในกระดูกกะโหลกศีรษะและใบหน้า จึงลดความผิดพลาดของการผลิตวัสดุฝังในด้วยมือ และจากการจินตนาการภาพส่วนที่ได้รับความเสียหายของแพทย์ระหว่างการผ่าตัด
       
       สำหรับการวิจัยพัฒนาดังกล่าว ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2542 หลังจากที่มีการพัฒนาในยุโรปเพียงไม่กี่ปี โดยได้มีการทดลองใช้งานกับผู้ป่วยแล้วร่วม 200 คน ซึ่งกว่า 80% เป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่กะโหลกศีรษะและใบหน้า ปรากฎว่ามีผลการรักษาดีมาก แทบไม่มีโรคแทรกซ้อนใดๆ เลย จนมั่นใจว่าจะสามารถขยายผลการใช้เทคโนโลยีนี้ในระดับประเทศได้ นำมาสู่การลงนามครั้งนี้ในที่สุด
       
       รศ.นพ.จรัญ กล่าวว่า ข้อดีของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้จะได้แก่ การช่วยให้การผ่าตัดทำได้รวดเร็วขึ้น มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพดีกว่าอดีต โดยมีความผิดพลาดไม่ถึง 1% ถือเป็นรายแรกในประเทศไทย และมีคุณภาพทัดเทียมสากล ที่สำคัญ ค่าใช้จ่ายในการออกแบบและผลิตวัสดุฝังในยังมีราคาต่ำกว่าต่างประเทศประมาณ 1 เท่าตัว นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้ได้กว้างขวาง เช่น การทำศัลยกรรมกระดูก ศัลยกรรมประสาท ศัลยกรรมช่องปาก และใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนให้แก่นักศึกษาทางการแพทย์ได้ด้วย
       

       ด้าน ดร.กฤษฎา สุชีวะ รองผอ.เอ็มเทค กล่าวถึงความร่วมมือระยะ 5 ปีนี้ว่า ในโครงการดังกล่าว เอ็มเทคได้ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่เริ่มต้น อาทิ การร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) และมหาวิทยาลัยคาทอลิก ประเทศเบลเยี่ยม ผู้เป็นประเทศต้นแบบวิทยาการ ตลอดจนถึงการให้ทุนนักศึกษาปริญญาเอกมาร่วมทำงานวิจัยกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการสร้างต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยในปี 2549 เอ็มเทคได้รับงบประมาณสนับสนุนในโครงการประมาณ 40 ล้านบาท ส่วนงบประมาณในปี 2550 จะยื่นเรื่องขอไว้ 50 ล้านบาท
       
       สำหรับบทบาทระยะต่อไปของเอ็มเทคๆ จะให้การช่วยเหลือแก่ทั้ง 4 สถาบันในด้านการประมวลผลข้อมูลจากเครื่องสร้างต้นแบบรวดเร็วเป็นหลัก ซึ่งแต่ละสถาบันสามารถส่งข้อมูลผู้ป่วยมาให้เอ็มเทคป้อนเข้าสู่เครื่องออกแบบต้นแบบวัสดุฝังใน
เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้งาน โดยปัจจุบันเครื่องมือนี้จะมีอยู่ที่เอ็มเทคเพียงเครื่องเดียว มีราคาเครื่องละ 3 ล้านบาท เอ็มเทคกำลังผลักดันให้เกิดห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือนี้ไปใช้งานยังมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ขณะเดียวกันก็จะให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุเพื่อทำวัสดุฝังในให้แก่สถาบันที่ต้องการด้วย
       
       นอกจากนั้น นักวิจัยเอ็มเทคยังได้มีการพัฒนาวัสดุที่จะนำมาผลิตวัสดุฝังในชนิดใหม่ที่เข้ากับร่างกายผู้ป่วยได้ดีขึ้น และไม่เกิดอาการแพ้ จากปกติที่ใช้พอลิเมอร์ชนิดพีเอ็มเอ็มเอ (PMMA) ซึ่งทันตแพทย์จะนำมาใช้กับการทำฟันเทียม โดยพยายามทำให้มีความใกล้เคียงกับวัสดุในธรรมชาติมากที่สุด เช่น สารไฮดรอกซีแอปาไทต์ จากปะการัง กระดูกวัว และควาย รวมถึงสารโพลีเอทธิลีน หรือพีอี (PE) เป็นต้น
       
       สำหรับวัตถุประสงค์โครงการครั้งนี้ รองผอ.เอ็มเทค เผยว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในการศัลยกรรมทางการแพทย์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ทัดเทียมกับคนทั่วไป อีกทั้งเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้เป็นที่รู้จัก มีการใช้งานจริง และมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยร่วมมือกับศูนย์การแพทย์ต่างๆ ของประเทศ ตลอดจนเป็นการพัฒนาบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้มีมากขึ้นด้วย
       
       ส่วนผู้ป่วยที่ต้องการติดต่อขอรับบริการสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หรือโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี สำหรับภาคกลางและกรุงเทพฯ, โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สำหรับภาคเหนือ, โรงพยาบาลขอนแก่น และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำหรับภาคใต้ หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป ศูนย์เอ็มเทค 0-2564-6500 ต่อ 4378
 
 
ที่มา- 

http://goo.gl/8rnKa


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related