ดื่มน้ำอัดลมวันละ 2 กระป๋องเสี่ยงเป็นมะเร็งตับอ่อน 90%

https://dmc.tv/a787

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 11 พ.ย. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 18264 ]
นอกจากเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงแล้ว น้ำอัดลมยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเป็นมะเร็งตับอ่อน


เอเจนซีส์ – เตือนดื่มน้ำอัดลมวันละ 2 กระป๋อง กาแฟหรือชาใส่น้ำตาล หรืออาหารรสหวาน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์


แถลงการณ์ของสถาบันคาโรลินสกาในสวีเดนระบุว่า นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยพบว่า การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานส่งผลต่อโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน ซึ่งเป็นมะเร็งที่ร้ายแรงและตรวจพบยากที่สุดชนิดหนึ่ง

ทั้งนี้ เกือบทั้งหมดของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน 7,000 คนในแต่ละปีเสียชีวิตหลังตรวจพบเนื้อร้าย ส่วนหนึ่งเนื่องจากตรวจพบช้าเกินไป มีเพียง 2% เท่านั้นที่ยังมีชีวิตรอดหลังจากรู้ตัวว่าเป็น 5 ปี อย่างไรก็ดี การผ่าตัดตามด้วยการทำเคมีบำบัดอาจช่วยยืดอัตราการรอดชีวิตได้

ผลศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารอเมริกัน เจอร์นัล ออฟ คลินิคัล นิวทริชั่น ระบุว่านักวิจัยของของสถาบันคาโรลินสกาได้ติดตามพฤติกรรมการกินของชาย-หญิง
สุขภาพดีอายุ 45-83 ปี จำนวน 80,000 คนระหว่างปี 1997-2005 โดย 131 คนในจำนวนนี้เป็นมะเร็งตับอ่อน

"คนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือคนที่ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำเชื่อมมาก โดยกลุ่มที่บอกว่าดื่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าววันละสองกระป๋องหรือมากกว่านั้น มีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ดื่มถึง 90%" รายงานระบุ

ส่วนคนที่กินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการเติมน้ำตาลลงไปอย่างน้อยวันละ 5 ครั้ง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 70%

นักวิจัยอธิบายว่ามะเร็งตับอ่อนอาจเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินมากขึ้น อันเป็นผลจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญกลูโคส ทั้งนี้ การกินน้ำตาลมากๆ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินมากขึ้น

"เราคิดว่าสาเหตุมาจากอินซูลิน ถ้าเรากินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักขึ้น ผลคือเป็นการกระตุ้นการเติบโตของตับอ่อน ซึ่งอาจนำไปสู่มะเร็ง" ดร.ซูซานนา ลาร์สัน จากสถาบันคาโรลินสกาในสตอกโฮล์ม แจกแจงและเสริมว่า การสูบบุหรี่เป็นอีกปัจจัยสำคัญของมะเร็งตับอ่อน

ที่อังกฤษ สถิติผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนลดลง 5% ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวโยงกับการลดลงของจำนวนสิงห์อมควัน กระนั้น ดร.ลาร์สันเตือนว่า เป็นไปได้ที่การสูบบุหรี่ลดลงกลับกลายเป็นการปิดบังข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้บริโภคกินอาหารและเครื่องดื่มรสหวานมากขึ้นในช่วงหลายปีมานี้

"คำแนะนำที่ดีที่สุด โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ คือ จำกัดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล"

ก่อนหน้านี้ แพทย์เคยเตือนผู้หญิงให้จำกัดปริมาณการดื่มน้ำอัดลม เนื่องจากส่งผลให้กระดูกพรุนจากกรดฟอสฟอริกที่พบในโคล่า แต่การศึกษาของนักวิจัยสวีเดนครั้งนี้ไม่มีการเฉพาะเจาะจงประเภท แต่ครอบคลุมน้ำอัดลมทั้งหมด รวมถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล รวมถึงน้ำผลไม้ที่ผสมน้ำอัดลม

http://goo.gl/VSGIV


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related