ระวัง! โรคร้ายฆ่าชีวิต “อ๊อฟ-อภิชาติ” หอบหืด-หลอดเลือดหัวใจตีบ

https://dmc.tv/a831

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 17 พ.ย. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 18269 ]
อภิชาติ พัวพิมล
       ภายหลังจาก “อ๊อฟ” อภิชาติ พัวพิมล ดาราหนุ่มเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ซึ่งมารดามั่นใจว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากโรคหอบหืด ซึ่งเป็นโรคประจำตัว รวมทั้งมีอาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแทรกด้วยนั้น
       
       เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า หลายคนคงอยากรู้ว่า ในทางการแพทย์นั้นโรคหอบหืดมีอาการน่ากลัวมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งมีวิธีการระมัดระวังตัวเองอย่างไรเพื่อไม่ให้เป็น และป้องกันไม่ให้โรคนี้สามารถทำร้ายให้ถึงแก่ชีวิต ขณะเดียวกัน ก็ต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่แม่ของอ๊อฟ ระบุเอาไว้ว่า อาจจะมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วย
       
       เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ประดิษฐ์ชัย ชัยเสรี ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กล่าวถึงโรคหอบหืด ว่า โดยทั่วไปแล้วโรคหอบหืดเกิดจากอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล เกสรดอกไม้ ขี้ฝุ่น ไร ฯลฯ ซึ่งความรุนแรงแต่ละรายไม่เหมือนกัน บางคนไวต่อสิ่งที่แพ้ก็จะทำให้เกิดอาการหอบหืดมาก ขณะที่บางคนมีอาการหอบหืดน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น หากทราบว่าแพ้อาหารทะเล ก็ไม่ควรรับประทานอาหารทะเล เป็นต้น ดังนั้น คนที่เป็นโรคหอบหืดจะต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดี หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ ในกรณีของเด็กที่เป็นโรคหอบหืดเมื่อโตขึ้นก็สามารถหายได้เองอีกด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคหอบหืดมากถึง 6% จากประชากรทั้งหมด
       
       “สมัยนี้คนเป็นโรคหอบหืดมากขึ้น เพราะในเมืองมีมลภาวะเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการกำเริบ มี 2-3 อย่าง คือ เมื่อเป็นหวัดทำให้เกิดอาการหอบมากขึ้น หรือมีการสำลักน้ำ ก็จะเกิดการกระตุ้นให้ไอไม่หยุดบานปลายรุนแรงได้”
       
       นพ.ประดิษฐ์ชัย กล่าวต่อว่า ส่วนวิธีการรักษาหากเป็นไม่มาก ก็สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยา ยาพ่นจำพวกสเตียรอยด์ หรือฉีดยาแก้แพ้ สูดยาขยายหลอดลม หรือเพิ่มขนาดยาและตัวยาตามลักษณะอาการ ส่วนในรายที่เสียชีวิตจะมีประวัติการหอบอย่างรุนแรงมาก่อน อย่างกรณีของ ดี๊ ดอกมะดัน ซึ่งมีสถิติการเข้าออกโรงพยาบาลหลายครั้ง แต่กรณีของอ๊อฟนั้นไม่ทราบว่ามีหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการเครียด
       
       แต่หากมารดาของอ๊อฟ ให้ข้อมูลว่า มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยนั้น ก็จะเป็นคนละส่วนกัน การเสียชีวิตจึงอาจมาจากหัวใจล้มเหลว เป็นอาการหอบจากโรคหัวใจ ไม่ใช่การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
       
       “การหอบจากอาการหัวใจล้มเหลวอาจถูกกระตุ้นจากการที่กินเค็มมากไป หรือเคยรักษาโรคหัวใจมีการรับประทานยาเป็นประจำ แต่ขาดยาหรือกินไม่ครบ มีการออกแรงมาก ก็อาจเกิดอาการหอบ แน่นหน้าอก หายไม่สะดวก หัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งอาการหอบเป็นการแสดงอาการอย่างหนึ่งเท่านั้น”นพ.ประดิษฐ์ชัย กล่าว
 
 
 
ที่มา-
 

http://goo.gl/uJlsh


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related