เชื้อ “MRSA” ภัยเงียบคร่าชีวิตมนุษย์

https://dmc.tv/a898

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 23 พ.ย. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 18261 ]
       การค้นพบเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “เอ็มอาร์เอสเอ” (Methicilin Resistant Staphylococcus Aureus) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องตกอยู่ในภาวะดื้อยาและกระทบต่อการรักษานั้น เป็นปรากฏการณ์ทางการแพทย์ที่ร้อนแรงยิ่งในสังคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่เชื้อ MRSA ได้คร่าชีวิตเด็กน้อยชาวอเมริกันไปแล้วถึง 4 คน และนับวันจะมีจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว
       อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น หากแต่ในประเทศไทยก็กำลังเฝ้าระวังโรคนี้อย่างไม่วางตาเช่นกัน
       ศ.นพ.พิเศษพงศ์ ปัทมะสุคนธ์ กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ จากมหาวิทยาลัยเนวาดา ได้อธิบายถึงเชื้อโรค MRSA ว่า เป็นเชื้อโรคที่มีอยู่ทั่วๆไป   ซึ่งในอดีตจะพบเพียงแค่ภายในโรงพยาบาล เพราะโรงพยาบาลเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคมากมาย แต่ปัจจุบันนี้เชื้อโรคชนิดนี้เป็นเชื้อแบคทีเรียที่แพร่กระจายได้ดีในสังคมที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คนปกติที่เดินตามท้องถนนก็สามารถติดเชื้อนี้ได้โดยไม่รู้ตัวเพราะเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะมีการขยายตัว
ได้อย่างรวดเร็ว
       

       ที่สำคัญคือ คนไข้ที่อ่อนแอมากๆ ก็จะสามารถติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตามในทางการแพทย์ยังถือเป็นเชื้อโรคที่สามารถควบคุมได้
       
       สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อโรคชนิดนี้เป็นผลมาจากการดื้อยา เนื่องเพราะผู้ป่วยบางรายจะไม่ยอมรับประทานยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งให้หมด คิดว่าอาการหายดีแล้วก็เลยไม่รับประทานยาต่อ และเมื่อเกิดโรคอีกครั้งต่อไปจะไม่สามารถใช้ยาตัวเดิมได้ จึงต้องเพิ่มยาตัวใหม่ที่แรงขึ้น จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อโรคชนิดนี้แพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายได้
       
       “กลุ่มเสี่ยงที่จะมีโอกาสติดเชื้อโรคชนิดนี้ นอกจากผู้ที่มีอาการดื้อยาแล้วก็คือ ตำรวจ พยาบาล ทหาร นักกีฬา หรือผู้ที่ชอบใช้สิ่งของร่วมกัน อย่างเช่นการไปเข้าไปใช้บริการสปา เป็นต้น เพราะเชื้อโรคจะแฝงตัวอยู่ในทุกสถานที่ที่เราทำกิจกรรม”
       
       นอกจากนี้ ศ.นพ.พิเศษพงศ์ ยังได้บรรยายถึงลักษณะอาการของผู้ที่ติดเชื้อ MRSA ว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ทางผิวหนังก่อนเป็นลำดับแรก และจะลุกลามไปยังทุกส่วนของร่างกายได้อย่างทั่วถึงถ้าไม่รีบดำเนินการรักษาก็อาจจะเสียชีวิตได้อย่างกะทันหัน
       
       “ผิวหนังจะเป็นด่านแรกที่เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปสัมผัสถึง เพราะผิวหนังเปรียบเสมือนประตูบานแรกที่จะเปิดรับผู้คนที่มาเยี่ยมเยือน ซึ่งอาจจะเป็นทั้งคนดีและไม่ดี เราอาจจะเต็มใจรับ หรือบางครั้งอาจจะไม่เต็มใจรับก็ได้ อย่างเช่นเชื้อโรคชนิดนี้ผู้ป่วยอาจจะได้รับโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาการเริ่มแรกที่เชื้อนี้ไปทำปฏิกิริยากับผิวหนัง ก็จะทำให้ผิวหนังเป็นแผลผุพอง ลักษณะคล้ายกับฝี”
       
       “และที่สำคัญเชื้อโรคชนิดนี้ไม่เพียงแต่เกิดที่บริเวณผิวหนังเท่านั้น แต่ยังสามารถไปติดเชื้อกับอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณ จมูก ก้น หรือในเม็ดเลือดขาว เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการแบบนี้จะไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ในเบื้องต้นว่าติดเชื้อ MRSA หรือไม่ แพทย์จะต้องทำการเจาะเลือดเพื่อไปทดสอบจึงจะสามารถทราบผลได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีอาการผิวหนังเป็นแผลหรือเป็นฝีควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน
มิเช่นนั้นอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้” ศ.นพ.พิเศษพงศ์ อธิบาย
       
       ทางด้าน ผศ.นพ.ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์ สาขาจุลชีววิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวสถานการณ์ของโรคในประเทศไทยว่า ขณะนี้ยังไม่พบเชื้อ MRSA แต่อย่างใด เพียงแต่พบเชื้อตัวหนึ่งที่ลักษณะอาการของโรคคล้ายกับเชื้อ MRSA นั่นคือ เชื้อ CAMRSA(Community acquired Methcilin Resistant Staphylococcus)
       
       กล่าวคือมีคนไข้รายหนึ่งอายุประมาณ 30 ปี เป็นผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งทางโรงพยาบาลได้รับการส่งตัวมาจากโรงพยาบาลตากสินด้วยมีอาการเป็นแผลที่เท้า และทางแพทย์เกรงว่าจะติดเชื้อ CAMRSA จึงส่งตัวมาที่โรงพยาบาลศิริราชให้ตรวจรักษาอาการ ทางทีมแพทย์จึงได้มีการเจาะเลือดไปตรวจพิสูจน์และพบว่าติดเชื้อ CAMRSA ซึ่งจะมีลักษณะอาการเหมือนกับเชื้อโรค MRSA แต่เกิดมาจากคนละสายพันธุ์เพราะ MRSA เป็นเชื้อโรคที่เกิดจากการดื้อยา แต่เชื้อ CAMRSA เป็นเชื้อโรคที่เกิดจากชุมชน และอาการของโรคจะมีความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งจากการตรวจสอบประวัติพบว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้รับเชื้อโรคชนิดนี้มาจากโรงพยาบาลอย่างแน่นอน แต่คงจะได้รับเชื้อมาจากชุมชนที่อาศัยอยู่
       
       สำหรับการเฝ้าระวังรักษาตัวเองไม่ให้ติดเชื้อโรคชนิดนี้ ผศ.นพ.ชาญวิทย์แนะนำว่า ทุกครั้งที่มีการทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วหรือเมื่อไปสัมผัสกับเชื้อโรคที่อยู่ภายนอก ควรจะรีบล้างมือด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ และชำระล้างร่างกายให้เรียบร้อย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคร้ายแทรกตัวเข้ามาทำร้ายได้ และเมื่อมีอาการเป็นแผลตามผิวหนังไม่ควรปล่อยไว้นานควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาที่ถูกวิธี
       
       “แม้ขณะนี้ไทยยังไม่พบ MRSA แต่เราก็กำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์และวิจัยค้นหาอย่างต่อเนื่อง เพราะ MRSA เป็นเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบที่กว้างขวาง รวมทั้งขณะนี้ทางทีมแพทย์ก็ได้เร่งค้นคว้าเกี่ยวกับเชื้อ CAMRSA ซึ่งเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดในประเทศไทย เพื่อที่จะได้ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคตัวนี้แพร่กระจายออกไปสู่ประชาชน”ผศ.นพ.ชาญวิทย์สรุป
 
 
 
 
ที่มา-
 

http://goo.gl/KrQ9F

     
Tag : โรค  เสียชีวิต  

พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related