เด็ก ม.ต้นคลั่งเกมหนัก ห่วงปิดเทอมเด็กเล่นเกมงอมแงม

https://dmc.tv/a1585

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 3 เม.ย. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18266 ]
ห่วงปิดเทอมเด็กติดเกมหนัก เด็กมัธยมต้นคลั่งสุด แถมอายุลดต่ำลงเรื่อยๆ ระบุมีเด็กติดเกม 1 ใน 5 คน แนะตัดไฟแต่ต้นลมสังเกตพฤติกรรม อย่ารอให้เด็กติดงอมแงม ขณะที่ “กรมสุขภาพจิต” แจก “คู่มือพ่อแม่ดูแลลูกยุคไซเบอร์” สกัด 2,000 ชุดฟรี ระบุแนะ 10 ข้อปฏิบัติป้องกันแก้ปัญหาเด็กติดเกม–อินเทอร์เน็ต ชี้ได้ผล 80-90% ลูกเล่นเกมน้อยลง ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้น

       วันนี้ (3 เม.ย.) นพ.หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาเด็กติดเกมและอินเทอร์เน็ตทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 จึงให้สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์จัดตั้งศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม และอินเทอร์เน็ตขึ้น เพื่อพัฒนางานด้านวิชาการในรูปแบบการอบรมหลักสูตรต่างๆ ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ซึ่งล่าสุดมีการพัฒนาเพทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองสำหรับพ่อแม่ในรูปแบบของวีซีดี ความยาว 30 นาที พร้อมคู่มือพ่อแม่ดูแลลูกยุคไซเบอร์ ที่บรรจุเนื้อหาวิธีการปฏิบัติของพ่อแม่อย่างง่ายๆ แต่ได้ผล 10 วิธี ได้แก่
       
       1.การสร้างวินัยและความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเล็ก 2.ลดโอกาสการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 3.ใช้มาตรการทางการเงิน 4.ฟังและพูดดีต่อกัน 5.จับถูกชื่นชม ให้กำลังใจ 6.ร่วมตกลงกติกาอย่างเป็นรูปธรรมและบังคับใช้อย่างหนักแน่นแต่อ่อนโยน 7. มีทางออกให้สร้างสรรค์ให้เด็ก 8.สร้างรอยยิ้มเล็กๆ ในครอบครัว 9.ควบคุมอารมณ์และสร้างความสุขเล็ก ในใจของพ่อแม่เอง และ 10.เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราทันที
       
       “ยิ่งในช่วงปิดเทอม เป็นช่วงที่เด็กจะใช้เวลาอยู่กับเกมคอมพิวเตอร์มากที่สุด ดังนั้น หากพ่อแม่ผู้ปกครองมีปัญหาลูกติดเกมสามารถที่จะนำข้อปฏิบัติ 10 ข้อนี้ไปใช้ ซึ่งพบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนเมื่อนำไปปฏิบัติจริงแล้วจะช่วยให้ลูกเลิกเล่นเกมลดลง บางคนลูกสามารถควบคุมการเล่นเกมได้ มีความรับผิดชอบ ไม่ก้าวร้าว การพูดจา ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้น” นพ.หม่อมหลวงสมชาย กล่าว
       
       ด้าน นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า นอกจากนี้ได้ร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์พัฒนาเครื่องมือคัดกรองเด็กติดเกมอย่างถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ โดยพัฒนาเป็นแบบคัดกรองง่ายๆ 16 ข้อ มีทั้งฉบับพ่อแม่ประเมินพฤติกรรมลูกของตนเองว่าคลั่งไคล้หรือติดเกมหรือไม่ และฉบับเด็กและเยาวชน เพื่อใช้ประเมินว่าตนเองคลั่งไคล้หรือติดเกมอยู่ในระดับไหน หมกหมุ่นมากน้อยหรือไม่ เพียงใด เล่นเกมจนเสียการควบคุมตนเองกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ การอยู่ร่วมกันในครอบครัว
       
       นพ.ชาญวิทย์ กล่าวต่อว่า เมื่อปีที่ผ่านมาได้มีการทำแบบคัดกรองสำรวจผู้ปกครองจำนวน 1,600 รายทั่วประเทศและเด็กตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนถึงมหาวิทยาลัย 1,400 คนทั่วประเทศ พบว่าเด็กในกลุ่มที่มีความคลั่งไคล้เล่นเกมวันละ 2-3 ชั่วโมง แบ่งเป็นชาย 11.2% เด็กหญิง 9.2% ส่วนกลุ่มที่มีเด็กติดมาก เล่นเกมวันละไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง แบ่งเป็นชาย 3.8% เด็กหญิง 4.3% ซึ่งรวมแล้วจะมีเด็กกลุ่มที่มีปัญหาติดเกมประมาณ 15% ดังนั้นในจำนวนเด็ก 5 คน จะมีเด็กที่ติดเกม 1 คน ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าเป็นเด็กในช่วงมัธยมต้นมากที่สุด ส่วนเด็กที่เริ่มติดเกมจะอยู่ที่ช่วงประถมศึกษาปีที่ 4-5 ซึ่งเมื่อมีการคัดกรองเด็กเรียบร้อยแล้วก็จะมีการเริ่มต้นไปสู่การเยียวยาแก้ปัญหา เช่น การอบรมผู้ปกครอง นำเด็กไปเข้าค่ายร่วมกัน เป็นต้น
       
       “ติดเกมก็เหมือนติดยาเสพติด หากเริ่มซื้อเกมบอยให้เด็กก็เหมือนชักชวนให้เด็กสูบบุหรี่ เกมเพลสเตชันก็เหมือนกัญชา เกมคอมพิวเตอร์ก็เหมือนติดยาบ้า หากพัฒนาไปเป็นเกมออนไลน์ก็เหมือนติดเฮโรฮีน ยิ่งปล่อยไว้นานยิ่งแก้ยาก ดังนั้น ควรจะรีบแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นหากเห็นว่าเด็กเริ่มเล่นเกมนานมากขึ้น ไม่ต้องถึง 2 ชั่วโมงต่อวันก็ควรเข้าไปดูแลลูกได้เลย”นพ.ชาญวิทย์ กล่าว
       
       นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำ 10 ข้อปฏิบัติมาใช้ถือเป็นการปลูกฝังวินัยให้กับเด็ก หากจะเล่มเกมเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินนั้นสามารถทำได้ แต่จะต้องมีการควบคุม คือ เล่นเกมได้แต่ต้องคุมตัวเองได้ไม่ให้ไปกระทบการเรียน หรือการทำงาน โดยเริ่มต้นที่ตัวของพ่อแม่เอง โดนจะต้องมีวินัย ฝึกฝนการควบคุมตนเอง ควบคุมอารมณ์ ไม่ให้ลูกเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ง่าย อาจจำกัดคอมพิวเตอร์หากมีลูก 2 คน ก็มีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว เด็กจะมีการแบ่งปันกันตามธรรมชาติ และมีปัญหาน้อยกว่า ส่วนการป้องกันเด็กใช้อินเทอร์เน็ตนอกบ้านก็ควรมีการจำกัดเงินค่าขนมไม่ให้มากจนเกินไป
เมื่อเด็กมีเงินมากก็นำเงินไปเล่นเกมได้มาก ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ พบว่าหากพ่อแม่พูดจาดี หลายครอบครัวลูกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและยอมให้ความร่วมมือ ในกติกาที่ตกลงกันในครอบครัว และเมื่อลูกทำดีก็รู้จักชมเชยให้กำลังใจด้วย
       
       “พ่อแม่ต้องมีกิจกรรมทางเลือกอื่นๆ ให้แก่เด็ก โดยเฉพาะเรื่องที่สร้างความภาคภูมิใจ เช่น กีฬา ศิลปะ ดนตรี เพราะเด็กที่เล่นเกมต้องการที่ชนะได้รับเสียงปรบมือและความภาคภูมิใจเมื่อชนะได้ ขณะที่บางครอบครัวเด็กติดเกมเพราะพ่อแม่ทะเลาะกัน เด็กจึงหลีกหนีไปอยู่ในโลกเล็กๆ ที่มีความสุขกับเกม ดังนั้น หากต้องการให้ลูกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พ่อแม่ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้ คุมอารมณ์ตนเองให้ได้ด้วยเช่นกัน” นพ.บัณฑิต กล่าว
       
       นางจินตนา เจริญสุข ตัวแทนผู้ปกครอง ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ครอบครัวเหมือนมีสงครามในบ้าน ชีวิตเริ่มไม่มีความสุข ปิดเทอมแต่ละครั้งเหมือนตกนรก เพราะไม่รู้จะทำอย่างไรกับลูกดี ซึ่งตั้งแต่ ป.1 ก็ซื้อคอมพิวเตอร์มาให้ลูกเพราะเห็นว่าโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ และมีความจำเป็น จนลูกชายติดเกมมากขึ้น พอบอกเตือนลูกก็ไม่ฟัง ยิ่งช่วง ป.4-ป.5 ยิ่งเล่มเกมอย่างหนักทำให้เกรดเฉลี่ยที่เคยอยู่ที่ 3 ตกลงเหลือ 1 จึงส่งลูกเรียนกวดวิชา แต่ก็ไม่ดีขึ้น เพิ่งมารู้ว่า ที่โรงเรียนลูกเรียนไม่รู้เรื่องเพราะวันทั้งวันเห็นแต่ภาพเกม มองกระดาษดำก็เป็นเห็นเป็นสีเลือดไปหมด คิดแต่จะทำอย่างไรให้ชนะเกมได้ ควบคุมตัวเองไม่ได้ แต่ในที่สุดก็ผ่านช่วงเวลานั้นมาได้เพราะได้เข้ามาอบรม และร่วมกิจกรรมค่าย กับทางสถาบันฯ และได้รับกำลังใจจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งหลังจากที่ได้เข้า ก็ไม่ได้ตั้งเป้าว่าลูกจะต้องเลิกเล่นเกมแต่ขอให้มีการพูดคุยกับลูกได้มากขึ้น ซึ่งลูกดีขึ้นมาก มีความเปลี่ยนแปลง เราได้เปิดอกคุยกันอย่างเต็มที่ และทำข้อตกลงร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก
       
       นพ.บัณฑิต เสริมว่า ขณะนี้มีการเปิดค่ายบำบัดเด็กติดเกมในช่วงปิดเทอมให้กับเด็กที่มีปัญหากว่า 1,000 คนแล้ว ซึ่งจากการติดตามผลพบว่า 80% พฤติกรรมเด็กดีขึ้น รวมทั้งมีการอบรมพ่อแม่ไปแล้ว 4 รุ่น รุ่นละ 80-100 คน ทำให้บางครอบครัวเด็กเล่นลดลงหรือไม่เล่นเลย ครอบครัวมีความสุขและสบายใจขึ้น
       
       ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถขอรับคู่มือพ่อแม่ดูแลลูกยุคไซเบอร์ ซึ่งมีจำนวนจำกัด 2,000 ชุดได้ฟรี ที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ในวันและเวลาราชการ หรือเขียนจดหมายจ่าหน้าซองถึงตัวเอง พร้อมติดแสตมป์ 9 บาทบนซองขนาด A4 ใส่ซองมาที่ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เลขที่ 75/1 ถ.พระราม 6 เขตราชเทวี กทม.10400 หรือสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2354-8305-7 ระหว่างวันที่ 3-12 เมษายนนี้ และดูรายละเอียดได้ที่ www.icamtalk.com
 
 
 
 
 
ที่มา-
 

http://goo.gl/xI2t0

     
Tag : เด็กดี  ปัญหา  นรก  ครอบครัว  

พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related