คุณครูคนใหม่สู้ชีวิต แม้ 'ไม่ครบห้า'

https://dmc.tv/a1727

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 1 พ.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18261 ]
คุณครูคนใหม่กับลูกศิษย์
       เอเอฟพี - แม้เกิดมาไม่มีแขนมีขา แต่ฮิโรทาดะ โอโตทาเกะ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนญี่ปุ่นและทั่วโลกเมื่อทศวรรษที่แล้ว ด้วยหนังสือติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ว่าด้วยความเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยวในการต่อสู้เพื่อเติมเต็มชีวิตที่ 'ไม่ครบห้า'
       
        มาวันนี้เขาเริ่มต้นความท้าทายใหม่ในอาชีพครู เพื่ออบรมบ่มเพาะเยาวชนให้ยอมรับความแตกต่างในสังคม
       
        "ความฝันของผมคือ สร้างโลกที่สงบสุข ถ้าความสามารถและบุคลิกลักษณะของผมสามารถนำผมเข้าใกล้จุดหมายนี้แม้เพียงก้าวเล็กๆ ผมคงมีความสุขมากและพบความหมายของการเกิดมาในโลก" เขาพูดพร้อมรอยยิ้มฉาบทาบนใบหน้า
       
        โอโตทาเกะ วัย 31 ปี นักเขียนหนังสือเบสต์เซลเลอร์ที่โด่งดังไปทั่วโลกจากหนังสือ 'Nobody's Perfect' หรือ 'ไม่ครบห้า' ในภาคภาษาไทย ที่ตีพิมพ์ออกมาเมื่อ 9 ปีก่อน เริ่มสอนหนังสือในโรงเรียนประถมซูกินามิ ไดยอน ในโตเกียว ประเดิมปีการศึกษาใหม่เมื่อต้นเดือนเมษายน

โอโตทาเกะ นักสู้ที่ไม่เคยยอมแพ้ต่อความพิการ
       "นี่เป็นวันอันยิ่งใหญ่สำหรับครู" โอโตทาเกะประกาศต่อหน้านักเรียนที่ยืนเข้าแถวกันอยู่ในวันเปิดเทอมวันแรก "พวกเธอบางคนถามครูว่า จะสอนอย่างไร? ก็ทำไมจะไม่ได้ล่ะ พวกเธอต้องช่วยครู เช่น เขียนกระดานให้ หรือไม่ครูอาจใช้แก้มกับไหล่หนีบชอล์กเขียนเองก็ได้"
       
        หลังเลิกแถว นักเรียนบางคนมารุมล้อมดูและลูบคลำไหล่และขาคุณครูคนใหม่ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ล้อไฟฟ้า เพราะอยากรู้ว่าแขนขาพิกลพิการสองคู่นั้นเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ไหน
       
        แทนที่จะขัดขืน โอโตทาเกะในชุดสูทสีเทาอ่อน ผูกไทสีชมพู กลับยิ้มละไมให้ลูกศิษย์
       
        โอโตทาเกะเกิดมาพร้อมความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่ค่อยพบบ่อยนักที่เรียกว่า tetra-amelia อาการของความผิดปกตินี้คือ ไม่มีแขนขา
       
        คุณครูคนใหม่มาโรงเรียนพร้อมกับชินิชิ โอโนะ ผู้ช่วยที่คอยช่วยเหลือทุกอย่าง ตั้งแต่เปลี่ยนชุดกีฬาให้ ไปจนถึงขับรถรับส่ง
       
        กระนั้น ความพิการไม่ได้ขัดขวางโอโตทาเกะจากการทำกิจกรรมหลายอย่างที่ไม่น่าเป็นไปได้ เช่น เล่นบาสเก็ตบอลและเบสบอล ภายหลังการฝึกฝนและอดทนเป็นปีๆ
       
        ความมุ่งมาดปรารถนาผลักดันให้โอโตทาเกะประสบความสำเร็จในอาชีพผู้สื่อข่าวกีฬา ก่อนที่เขาจะตัดสินใจเบนเข็มมาเรียนครูเมื่อสองปีที่แล้ว
       
        โอโตทาเกะจะสอนวิชาสังคมให้เด็กเกรด 6, วิทยาศาสตร์สำหรับเกรด 5 และศีลธรรมสำหรับเกรด 1-6
       
        "มีบางสิ่งที่มีเพียงผมเท่านั้นที่จะสอนเด็กๆ ได้ เช่น การเคารพและการยอมรับ ซึ่งไม่มีอยู่ในตำราเรียนเล่มไหนๆ"
       
        เขาสำทับว่า การมีคนพิการอยู่ในห้องเรียน เหมือนที่ครั้งหนึ่งเขาเคยอยู่ในสภาพนั้นเพราะพ่อแม่ตัดสินใจส่งเขาเข้าเรียนในโรงเรียนปกติ จะช่วยสร้างบรรยากาศของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว
       
        "การเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ตามธรรมชาติผ่านประสบการณ์การอยู่ร่วมกับนักเรียนพิการ น่าจะดีกว่าการสอนปาวๆ ว่าการเลือกปฏิบัติเป็นสิ่งไม่ดี"
       
        หลักการชีวิตอื่นๆ ที่โอโตทาเกะตั้งใจถ่ายทอดให้เด็กๆ ยังรวมถึงการกำหนดเป้าหมายและไปให้ถึงโดยใช้ความมุมานะอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
       
        "ถ้ามองสภาพผม คุณคงคิดว่าเป็นไปไม่ได้เด็ดขาดที่ผมจะเลี้ยงและส่งลูกบาส แต่ถ้าเด็กมองผมและคิดว่า 'ว้าว! เขาคงต้องพยายามสาหัสสากรรจ์ถึงทำแบบนั้นได้' พวกเขาจะรู้สึกว่าต้องท้าทายตัวเองในการทำอะไรสักอย่างโดยไม่ยอมแพ้กลางคัน หรือการเห็นโอโนะช่วยผม เด็กๆ อาจรู้สึกว่า การช่วยเหลือคนอื่นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริง ผมคงมีความสุขมาก"
       
        อดีตนักข่าวที่ผันตัวเองมาเป็นครูหวังว่า จะสามารถกำราบเด็กเฮี้ยว ที่เป็นปัญหาหนักในโรงเรียนญี่ปุ่น และถูกโทษว่าเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายของนักเรียนหลายคน
       
        "ผมหวังว่านักเรียนของผมจะยอมรับกันและกัน และรู้สึกว่าธรรมชาติสร้างให้แต่ละคนเกิดมาแตกต่างกัน"
       
        อย่างไรก็ตาม คุณครูไม่ครบห้ารู้ดีว่าต้องต่อสู้กับความท้าทายใหญ่หลวง ในสายตาของเขา คนพิการในญี่ปุ่นได้รับการยอมรับน้อยกว่าในชาติตะวันตก
       
        โอโตทาเกะมองว่า ญี่ปุ่นเป็นสังคมเอกเทศที่มีปัญหาในการยอมรับคนพิการ เพราะไม่ชินกับการสัมผัสกับคนพิการในชีวิตประจำวัน ซึ่งนี่คือสาเหตุและทางออกของปัญหานี้
       
        "ปกติแล้ว คนส่วนใหญ่จะได้เจอคนพิการในโอกาสพิเศษเท่านั้น จึงมีปฏิกิริยาราวกับอยู่กันคนละโลก แต่ถ้าคุ้นเคยกับการต้องข้องเกี่ยวกับผู้พิการในชีวิตประจำวัน พวกเขาจะไม่มองคนพิการเป็นบุคคลพิเศษอีกต่อไป"
       
        การต่อสู้กับปัญหาการเลือกปฏิบัติเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของโอโตทาเกะ
       
        "ไม่ว่าคุณจะพิการหรือไม่ แต่ถ้าคุณเข้ากับคนอื่นได้ คุณก็จะได้รับการยอมรับจากคนๆ นั้น"
       
        สำหรับตัวเอง เขามีจุดกึ่งกลางระหว่างการใช้สถานการณ์ของตัวเองเพื่อสร้างความแตกต่างในสังคม ควบคู่ไปกับต่อสู้เพื่อให้คนญี่ปุ่นยอมรับผู้พิการ
       
        "ผมผ่านชีวิตมาไกลบนพื้นฐานความคิดง่ายๆ ว่าในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ผมท้าทายตัวเองให้ทำในสิ่งที่อยากทำ และผมอยากให้สังคมเลิกมองแค่ความพิกลพิการของผม แต่อยากให้ยอมรับความพิการนั้น"
 
 
 
 
 
ที่มา- 

http://goo.gl/9YSw0


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related