แจงป.ตรีไม่มีหลักสูตรออกแบบต้านแผ่นดินไหว มีแต่ป.โท

https://dmc.tv/a1789

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 18 พ.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18277 ]
ว.ส.ท.เผย จะมีกม.คุ้มครอง การสร้างตึกอาคารในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เร็วๆนี้ ด้านคณบดีวิศวะ ฯ แจง ป.ตรี ไม่มีหลักสูตรการออกแบบโครงสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว เป็นเพียงวิชาเลือก หากจะเรียนต้องเป็นระดับปริญญาโท แนะติดป้ายประกาศและป้องกันอันตรายหากเกิดแผ่นดินไหวในอาคาร และซ้อมป้องกันปีละครั้ง และออกกฏหมายการออกแบบสร้างอาคารป้องกันแผ่นดินไหวในระยะยาว

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากกรณีที่มีการเกิดแผ่นดินไหวเมื่อ16 พ.ค. ที่ส่งผลกระทบทำให้อาคารสูงที่สร้างขึ้นที่กรุงเทพมหานครเกิดการสั่นสะเทือนนั้น  รศ.ดร.วิโรจน์   บุญญภิญโญ คณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ขณะนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในประเทศไทยที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างต้านทานแผ่นดินไหว จะมีเฉพาะการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น ส่วนในระดับปริญญาตรีนั้นจะเป็นเพียงวิชาเลือกหนึ่งในสาขาของวิศวกรรมโยธา

 คณะอนุกรรมการ ฯว.ส.ท.กล่าวอีกว่า การออกแบบต้านแผ่นดินไหว นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งในวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง ซึ่งอยู่ในสาขาวิศวกรรมโยธา โดยจะเป็นการสอนการออกแบบโครงสร้างอาคารที่สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนของพื้นดิน
ที่มีผลกระทบต่อตัวอาคาร อีกทั้งสอนให้รู้ถึงลักษณะของการเกิดแผ่นไหวที่ส่งผลต่อตึก และอาคาร อย่างการเกิดแผ่นดินไหวเมื่อวานนี้ที่เกิดขึ้นนั้น คนที่อยู่ที่ตึกสูงๆ ในกรุงเทพฯ จะรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย เพราะอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิด แต่สำหรับคนที่อยู่ในจ.เชียงรายนั้นจะรู้สึกได้ว่าแผ่นดินไหวแรง อีกทั้งจะเห็นรอยร้าวของตึกอาคารได้

 อย่างไรก็ตามมีเพียง 9 จังหวัดทางภาคเหนือเท่านั้นที่มีกฎหมายคุ้มครองเกี่ยวกับการสร้างตึกและอาคาร
ที่จะต้องต้านการเกิดแผ่นดินไหว แต่หลังจากที่ได้ความช่วยเหลือจากกรมอุตุนิยมวิทยาในเรื่องของทุนในการจัดการ และมีเครือข่ายที่ช่วยเฝ้าระวังและวัดแรงสั่นสะเทือนมากขึ้นนั้น ทางว.ส.ท. ได้มีการดำเนินการขอกฎหมายคุ้มครองการสร้างตึกและอาคารในเขตของกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย เพราะในกรุงเทพฯ มีตึกอาคารสูงๆเป็นจำนวนมาก การออกแบบโครงสร้างอาคารจึงมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นขอกฏษฎีกา คาดว่าน่าจะมีกฎหมายออกมาบังคับเร็วๆนี้

 ศ.ดร.วิโรจน์กล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องการออกแบบโครงสร้างเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว ว.ส.ท.จะมีการจัดอบรมขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้ได้จัดเป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจะจัดในปลายเดือนตุลาคม ที่จ.เชียงใหม่ เพื่อให้วิศวกรได้คำนึงถึงการสร้างตึกอาคาร ต้านแผ่นดินไหวได้ ส่วนเรื่องที่จะมีหลักสูตรเพื่อเปิดสอนเรื่องนี้โดยตรงหรือไม่นั้น ทางว.ส.ท.เคยได้หารือเกี่ยวกับเรื่องการจัดหลักสูตรเรื่องนี้แล้ว คาดว่าจะทราบผลเร็วๆนี้

 ด้านรศ.ดร.อุรุยา วีสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)กล่าวว่า มธ.จะมีหลักสูตรการออกแบบสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหวนั้น ในหลักสูตรของป.โท ซึ่งจะเป็นสาชาวิชาสัมมนาพิเศษเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา ส่วนในระดับป.ตรี นั้นจะเป็นวิชาเลือกในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง โดยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างตึกเมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว แต่ถ้าเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนเรื่องนี้โดยตรงนั้นไม่มี

 คณบดีคณะวิศวฯมธ. กล่าวอีกว่า จริงๆแล้วการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจะขึ้นอยู่กับจุดศูนย์กลางที่เกิด และความแข็งแรงของดิน อย่างกรุงเทพฯ นั้นถือว่าค่อนข้างอันตราย เพราะพื้นดินค่อนข้างจะเป็นดินอ่อนเสี่ยงต่อตัวตึกและอาคารจะทรุดได้ง่าย แต่ที่ได้รับผลกระทบน้อยนั้น เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลาง ซึ่งถ้าเกิดแผ่นดินไหวที่เชียงราย หรือใกล้ๆกรุงเทพฯ ก็ถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก ส่วนแนวทางในการป้องกันเรื่องนี้นั้น ควรจะมีการติดป้ายประกาศและวิธีป้องกันการปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว อาทิอยู่ใต้โต๊ะ เพื่อป้องกันสิ่งของตกใส่ศีรษะ หรือมีการซ้อมป้องกันปีละครั้ง แต่ถ้าจะป้องกันในระยะยาวนั้นจะต้องมีกฎหมายออกมากำหนดในการออกแบบสร้างอาคาร เพื่อป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว

 ศ.ดร.ดิเรก คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าในระดับการเรียนการสอนปริญญาตรี นั้น จะไม่มีหลักสูตรที่จัดสอนเรื่องการออกแบบสร้างอาคารต้านหรือป้องกันแผ่นดินไหวโดยตรง แต่จะเป็นวิชาเลือกในหลักสูตรการออกแบบอาคารทั่วไป สาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งจะมีการสอนถึงการออกแบบผูกเหล็กต้านแผ่นดินไหวรวมอยู่ด้วย โดยชื่อว่าหลักสูตรการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว เด็กจะเลือกลงเรียนหรือไม่ก็ได้ ส่วนในระดับปริญญาโทนั้นจะมีการเปิดสอนสาขาการออกแบบต้านอาคารแผ่นดินไหว

 คณบดีคณะวิศวฯ กล่าวอีกว่าการที่จะสร้างตึกหรืออาคารเพื่อป้องกันแผ่นดินไหวนั้นจะต้องคำนึงอยู่ 2 อย่าง คือ 1 จุดกำเนิดของการเกิดแผ่นดินไหว
และ 2. ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง อย่างในกรุงเทพฯ นั้นเป็นเพียงการสั่นสะเทือนเล็กน้อย เมื่อเทียบกับภาคเหนือ เพราะอยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางมาก ทำให้การสร้างอาคารในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ไม่มีการบังคับให้ต้านแผ่นดินไหว

 อย่างไรก็ตามการออกแบบสร้างอาคารนั้น ควรจะต้องมีการออกแบบต้านอาคารแผ่นดินไหวทุกอาคาร โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เพราะมีอาคารสูงจำนวนมาก และถ้าอาคารเหล่านั้นได้พังลง ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะขยายจำนวนมาก

 

http://goo.gl/dhDVz


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related