นักวิชาการชี้"ไขมันทรานส์"ร้าย "เนย-พาย-ยีสต์-โดนัท-เค้ก"เพียบ

https://dmc.tv/a2337

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 11 ส.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18260 ]
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ที่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในการเสวนาเรื่อง "ทรานส์ : ไขมันอันตราย" ว่า ปัจจุบันโรคเรื้อรังกลายเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองเสื่อม โรคมะเร็ง ทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคอ้วน เบาหวาน และความดันเลือดสูง จากข้อมูลปี 2548 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าโรคเรื้อรังได้คร่าชีวิตคนทั่วโลกถึง 35 ล้านคน และประมาณการณ์ว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะคร่าชีวิตคนทั่วโลกถึง 400 ล้านคน หากไม่มีแนวทางป้องกัน โดยร้อยละ 80 ของการเสียชีวิตจะกระจุกอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยพบว่า คนวัยทำงานและผู้สูงอายุถูกคุกคามจากโรคเรื้อรังมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคนไทยราว 25 ล้านคน กำลังเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองเสื่อม โดยสาเหตุสำคัญคือการบริโภคอาหารพลังงานสูงมากเกินไป โดยเฉพาะกลุ่มอาหารที่มีไขมันสูงชนิดไม่ดี (LDL)

ดร.วิสิฐ จะวะสิต สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า กลุ่มอาหารไขมันสูงเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ โดยเฉพาะไขมันทรานส์ เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้จากกระบวนการผลิตด้วยวิธีไฮโดรจีเนต (Hydrogenated oil) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตโดยการใช้ก๊าซไฮโดรเจนทำปฏิกิริยากับไขมัน ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวแปรเปลี่ยนเป็นไขมันอิ่มตัวสูงขึ้น ซึ่งไขมันชนิดนี้จะมีคุณสมบัติกระตุ้นให้ไขมันชนิดไม่ดีเพิ่มปริมาณมากขึ้นในร่างกาย ขณะเดียวกันก็ลดไขมันชนิดดี ซึ่งหากบริโภคไขมันดังกล่าวไปเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะภาวะหัวใจขาดเลือด ทั้งนี้ ไขมันดังกล่าวส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ

ดร.วิสิฐกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาได้ทำการสำรวจกลุ่มอาหารจำนวน 247 ผลิตภัณฑ์ในสถานประกอบการ 28 แห่ง พบว่า กลุ่มอาหารที่มีความเสี่ยงของไขมันทรานส์มากที่สุดประกอบด้วย เนย พาย ยีสต์ โดนัท และขนมเค้ก แต่ยังพบในปริมาณน้อยเพียงร้อยละ 3 ของตลาดอาหารภายในประเทศ ทั้งนี้ ได้นำมาตรวจสอบพบปริมาณไขมันทรานส์สูงกว่าร้อยละ 0.7 กรัมต่อหน่วยการบริโภค ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่เกินกำหนดและเสี่ยงต่อการเกิดโรค อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาหารดังกล่าวยังมีไขมันชนิดไม่ดีอื่นๆ ด้วย อาทิ ไขมันอิ่มตัวมากกว่าร้อยละ 4 กรัมต่อหน่วยบริโภค นอกจากนี้ ยังพบกลุ่มอาหารที่มีความเสี่ยงรองลงมา ได้แก่ ไก่ทอด ผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ คุกกี้ เวเฟอร์ มันฝรั่งทอด ครีมเทียม และมาการีน ซึ่งกลุ่มอาหารดังกล่าวมีในท้องตลาดสูงถึงร้อยละ 38

"อาหารในกลุ่มโดนัททอดเป็นปัญหามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโดนัทที่จำหน่ายตามร้านที่มีชื่อเสียง หรือตามรถเข็น ตามร้านค้าริมทาง พวกนี้มีกรดไขมันเกินกว่าที่กำหนด ที่สำคัญยังมีไขมันชนิดไม่ดีอื่นๆ ปนอยู่" ดร.วิสิฐกล่าว และว่า มีรายงานจากประเทศสหรัฐยืนยันว่า หากลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์เพียงครึ่งเดียวจะสามารถป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ร้อยละ 10-12 และหากไม่รับประทานเลยจะป้องกันได้ถึงร้อยละ 18-22 โดยหันไปรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน
 
 
 
 
ที่มา- 
 

http://goo.gl/ims5O


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related