CG ใจไทย พันธุ์ฮอลลีวูด

https://dmc.tv/a2443

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 7 ก.ย. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18262 ]
"คนไทย ถ้าลองได้ทำอะไร ไม่แพ้ชาติใดในโลก..."
       
        ประโยคบอกเล่าจากโฆษณาชิ้นหนึ่งที่แม้จะชวนให้หมั่นไส้เล็กๆ ในความเท่ห์ แต่ก็ต้องถือว่ามีความเป็นจริงอยู่ไม่น้อย อ้างอิงได้จากการขึ้นไปยืนอย่างเชิดหน้าชูตาบนเวทีสากลของผู้คนในหลากหลายสาขาอาชีพ
       
        หลายคนอาจจะเป็นที่คุ้นหน้ารู้จักกันดี ขณะที่อีกจำนวนไม่น้อยเราอาจจะทำหน้าสงสัยว่าเขาคือใครเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลในสายงานเฉพาะทางอย่างคอมพิวเตอร์แขนงที่เรียกกันว่า "ซีจี"
       
        ทั้งที่เราอาจจะเห็น "ผลงาน" ของเขามาแล้วหลายต่อหลายชิ้นในภาพยนตร์ที่ตีตราด้วยยี่ห้อระดับ "ฮอลลีวูด"
       ...
        เพราะสามารถสร้างทุก "จินตนาการ" ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ให้กลายเป็นภาพได้ชนิดที่แยกออกได้ยากเหลือเกินว่าอันไหนของจริง อันไหนของปลอมด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก ส่งผลให้ศาสตร์แขนงที่เรียกกันว่า CG (Computer Graphic) เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในแวดวงของการสร้างงานภาพยนตร์, หนังโฆษณา หรือแม้กระทั่งละครทีวี

       
       ถ้าไม่มีศาสตร์ในแขนงนี้แน่นอนว่าเราคงจะไม่มีโอกาสได้เห็นฉากอันยิ่งใหญ่ในภาพยนตร์เรื่อง Loard of the Ring เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นหนุ่มหล่อ โทบี้ แม็กไกวร์ ในชุดไอ้แมงมุม กระโดดชักใยไปโหนไปโน่นมานี่ และก็คงจะไม่ได้เห็นช้าง ม้า พล ทหาร จำนวนเรือนหมื่นเรือนแสนในภาพยนตร์ไทยเรื่อง "พระนเรศวร" และหนังเรื่องอื่นๆ อีกมากมายแต่อย่างใด
       
        "มันคือส่วนที่เติมเต็มจินตนาการของมนุษย์ที่อยากจะเห็นอะไรก็ตาม..." ชายหนุ่มคนหนึ่งนามว่า “สุภณญ์วิช สมสมาน” หรือ “จั๊ก” บอกเล่าถึงผลพวงที่ได้จากการทำงานของซีจี
       
        ชื่อของเขาอาจจะไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ถ้าพูดถึงผลงานทางด้านซีจีของเขาอย่าง Babe, Charlotte’s Web, Superman Returns, Night At Museum ที่เกิดขึ้นมาจากการผลิตของ Rhythm & Hues Studio บริษัทด้านวิชวลเอฟเฟคที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 4 ของฮอลลีวูด เหล่านี้ก็อาจจะดึงพวกเราให้เขาใกล้ และอยากรู้จักชายหนุ่มคนนี้มากขึ้น
        .....
       ไปฮอลลีวูด
        “ผมจบครุศาสตร์ศิลปะ จากจุฬาฯ ครับ ก็เลยพอจะมีพื้นฐานทางด้านศิลปะมาก่อน เนื่องจากงาน CG มันจะมาจากสองสาย คือสายศิลปะ กับสายคอมพิวเตอร์ แล้วมาเจอกันตรงกลาง ของผมมาจากสายศิลปะ” จั๊กเล่าถึงที่มาที่ไปของตนเอง

       
        “พอจบมาได้สักพัก ก็มาทำงานเป็นช่างภาพอิสระ ซึ่งจริงๆ แล้วสำหรับคนที่ทำงานด้านวิชวลเอฟเฟค จะมีหลายคนที่เป็นช่างภาพมาก่อน เพราะคนที่ทำงานประเภทนี้ ส่วนมากมักจะเป็นคนที่ถ่ายรูปเก่ง มีทักษะในเรื่องการมองภาพ เรื่องแสง องค์ประกอบ”
       
        “ตอนนั้นเรารู้สึกว่า เรายังรู้ไม่พอ เราจบปริญญาตรี แต่ก็รู้สึกว่า ทำไมเรายังโง่อยู่ ผมก็อยากจะไปหาความรู้เพิ่ม ผมสนใจศาสตร์การทำหนัง แล้วตอนนั้นเรื่องทำหนังในเมืองไทยก็ยังไม่มีใครสอน ผมก็คิดว่า เราต้องไปหาความรู้ ตอนนั้นยังไม่คิดว่าจะไปเรียนด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิค แค่อยากจะไปหาความรู้เฉยๆ”
       
        “แล้วสมัยนั้น(ค.ศ. 1989) คอมพิวเตอร์กราฟฟิค(CG)เป็นอะไรที่ใหม่มาก เพราะเพิ่งจะออกมาตอนนั้น เราก็รู้สึกว่าด้าน CG ก็ดีนะ เพราะมันเหมือนรวมทุกอย่างที่เราอยากจะทำเข้าไว้ด้วยกัน”
       
        จากจุดเริ่มต้นที่ศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิค ต่อยอดมาเป็นการลงลึกในการนำไปใช้ในภาพยนตร์ ซึ่งเป็นความชอบส่วนตัวของจั๊กอยู่แล้ว
       
        “พอดีที่อเมริกา มันเป็นช่วงที่คอมพิวเตอร์กราฟฟิคกำลังเกิดขึ้น ตอนนั้นมีหนังเรื่อง The Abyss ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแรกๆ ที่เราได้เห็น CG เป็นรูปร่างชัดเจน ซึ่งขณะนั้นผมกำลังเรียนเทอมแรกอยู่ที่ The School Of Visual Art”
       
        “ตอนนั้นยังไม่มีนิยามคำว่า วิชวลเอฟเฟค เลย มันจะเป็นการไปเรียนคอมพิวเตอร์กราฟฟิคเฉยๆ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ในทางไหน เพราะมันสามารถเอาไปใช้ได้ทั้งด้านสิ่งพิมพ์ ทั้งพับลิชชิ่ง โฆษณา หรืองานทีวี แล้วตอนหลังเริ่มมีคนนำไปใช้ในหนัง”
       
        “พอเห็นอย่างนั้น เราก็รู้สึกว่า เออ เรามุ่งมาทำงานที่เกี่ยวกับหนังดีกว่า เพราะมันเป็นสิ่งที่เราอยากจะทำอยู่แล้ว เราอยากจะทำหนัง เรามีพื้นฐานทางด้านศิลปะและช่างภาพ พอเอาคอมพิวเตอร์กราฟฟิคเข้ามาใส่ มันก็กลายเป็นทางใหม่ที่น่าลอง ผมก็เลยลองดูตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”
       
        หลังจากที่เรียนจบ ก็มีคนรู้จักในแวดวงติดต่อไปทำงานที่ บริษัท Rhythm & Hues Studio ทันที เนื่องจากวงการ CG ในยุคแรกเริ่ม ยังไม่เป็นที่แพร่หลายสักเท่าไร
       
        “จริงๆ ตอนนั้นก็คิดจะกลับมาเมืองไทย แต่ที่เมืองไทยยังไม่มีใครทำด้านนี้ แล้วสมัยก่อน ฮาร์ดแวร์ในไทยมันแพงมาก เครื่องตัวนึงราคาสามสี่แสน แล้วซอฟแวร์ก็ประมาณห้าแสน”
       
        “ตอนที่ผมเข้าไปช่วงแรก บริษัทยังเป็นบริษัทเล็กๆ มีกันอยู่ประมาณ 20-30 คน บริษัทเริ่มก่อตั้งประมาณปี ค.ศ. 1988 ผมเข้าไปปี ค.ศ. 1991 ก็เริ่มลุยกันมา แล้วตอนนั้นมีพนักงานที่เป็นดิจิตอลอาร์ทติสจริงๆ แค่ 10 กว่าคนเอง แต่ตอนนี้เขามีพันกว่าคนแล้ว”
       
        จั๊กเล่าถึงปัญหาจากการเป็นคนไทยคนแรก และคนเดียวของบริษัทว่า ส่วนใหญ่เกิดจากเรื่องของภาษา ส่วนเรื่องของเชื้อชาติเผ่าพันธ์เป็นสิ่งที่ทางบริษัทไม่เคยหยิบยกขึ้นมาเป็นปัจจัย
ในการพิจารณางานแต่อย่างใด
       
        “แรกๆ ภาษาเราไม่ได้เรื่องเลย โอเค เราเรียนภาษาอังกฤษที่จุฬาฯ มาสี่ปี ตอนนั้นเราเก่งที่สุดในห้องเลยนะ แต่พอไปที่นู่นภาษาเราใบ้ไปเลย นั่นคือปัญหาอย่างแรก ที่ทำให้เรารู้สึกว่า มันเหนื่อยเหมือนกันนะ เพราะถึงแม้เราจะฟังรู้เรื่อง แต่บางครั้งเหมือนกับว่าเราพูด หรือสื่อสารออกไปไม่ได้ หมายความว่าเราไม่สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้สึกของเราออกไปได้ นั่นคือปัญหาใหญ่ของผมในช่วงแรกๆ”
       
        “พอถึงจุดนั้น ทุกคนเป็นโปรเฟสชั่นนอลหมด เขาไม่สนใจหรอกครับ ว่าคุณจะมาจากประเทศไหน อันนั้นคือที่ผมประสบมานะครับ ผมไปอยู่แอลเอ แล้วแอลเอจะค่อนข้างเป็นมิตร และยิ่งเป็นโปรเพสชั่นนอลแล้ว เขายิ่งไม่สนใจว่าคุณมาจากประเทศไหน เพราะผมมีเพื่อนที่มาจากพม่า, บราซิล ก็ยังทำงานร่วมกัน เราเพียงแต่รู้กันว่า คนนี้เก่งด้านไหน คนนั้นเก่งด้านไหน เท่านั้นเอง แต่เขาไม่ได้คิดว่า เฮ้ย ไอ้นี่เป็นคนเอเชีย มันต้องไม่เก่งแน่ๆ เลย”
       
        แม้จะทำงานที่ฮอลลีวูดนานถึง 15 ปี 3 เดือน แต่ในใจลึกๆ แล้ว “คุณจั๊ก”ยัง คิดถึงบ้านเกิด และต้องการที่จะกลับมาพัฒนาวงการ CG ในประเทศไทยเสมอ และนั่นคือที่มาของ The Monk Studio สตูดิโอเล็กๆ ที่ทำด้านวิชวลเอฟเฟคของเมืองไทย
       
        “ปัจจุบันผมทำ The Monk Studio ครับ หลักๆ คือทำหนัง ก็มีทำหนังและทำแอนิเมชั่นบ้าง เพราะว่าแอนิเมชั่นเป็นโปรเจคที่ดี สำหรับเทรนด์คนก่อนที่จะก้าวขึ้นมาทำหนัง การทำหนังมันโหดกว่าเยอะ เพราะมันมีดีเทลเยอะ เราก็เอาแอนิเมชั่นมาเป็นด่านแรก พอมีคนมา เราก็เทรนด์ให้เขาทำแอนิเมชั่น นี่คือระบบของที่นี่นะครับ ของเราจะเอาแอนิเมเตอร์มา อ่ะ คุณทำแอนิเมชั่นไปก่อน พอเรารู้สึกเชื่อมือคุณหรือว่าคุณเคยชินกับระบบของเราแล้ว เราก็จะดึงขึ้นมาทำหนัง
       
        “แอนิเมชั่นมันเป็นอะไรที่พูดกันได้ในวงการไงครับ อย่างแอนิเมชั่นที่เราทำก็เป็นแอนิเมชั่นโลคัล คือแอนิเมชั่นของเมืองไทย ทีมเราก็ไม่ใหญ่มีกันอยู่สิบกว่าคนเท่านั้นครับ”
       
        “The Monk Studio เปิดมาตั้งแต่เดือนมกราคม ที่ผ่านมา จริงๆ ตอนที่ผมทำงานที่อินเดีย ผมก็ใช้ชื่อ Monk อยู่แล้ว เป็นชื่อทีมที่เราเซทขึ้นมา เหมือนกับเราไปขอยืมทีมชาวบ้านเขามา ในขณะเดียวกันเราก็สอนเขาไปด้วย เพราะฉะนั้นทีมของผมกับบริษัท Rhythm & Hues ที่อินเดียนั้นจะดิวกัน ผมจะไปอินเดียวันเสาร์อาทิตย์ ไปเซททีมแล้วก็สอน"
       
        "แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็เอางานเข้ามาทำเองได้ และขณะนี้มันก็ทำให้เราสามารถที่จะใช้ทีมที่อินเดียได้ จะบอกว่า Monk มีอยู่ 10 กว่าคนที่นี่ แต่จริงๆ แล้ว Monk มีอยู่ 150 กว่าคนที่อินเดีย เราเหมือนเป็นพาร์ทเนอร์ ชิปกัน มีข้อตกลงกันอยู่ ถ้าเรามีหนังเยอะๆ เราก็ส่งไปที่อินเดีย ที่มีคนรองรับอยู่ 150 คนได้”
 
 วันพรุ่งนี้ของ CG ไทย
    

       
        “มันก็น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ นะครับ เพราะว่า ดูอย่างนเรศวร ภาพก็ออกมาสวยมาก แต่บางครั้ง ปัญหามันอยู่ที่ว่าเราอาจจะดูหนังฮอลลีวูดมากเกินไป เราอยากได้อย่างสไปเดอร์แมนที่กระโดดไปมาบนตึก แล้วมันออกมาเป็นเหล็กไหล อย่างนี้มันก็อาจจะดูเป็นการคิดเกินตัวไปนิดนึง แต่ไม่ได้หมายความว่า คิดอย่างนั้นแล้วมันผิดนะครับ"
       
        "แต่มันต้องดูว่า ตอนนี้ในมือเรามีเงินแค่ 2 บาท เราไม่สามารถไปซื้อของ 10 บาทได้ ไม่ได้หมายความว่ามันจะผิดหรือถูก แต่มันเป็นเรื่องที่เราจะต้องรู้จุดยืนของตัวเอง แล้วก็อย่าเพ้อมาก บางทีไปเพ้อมาก ว่าเราอยากได้อย่างนี้ๆๆ สมมุติดูลอร์ด ออฟ เดอะ ริงมา แล้วก็อยากทำอย่างลอร์ด ออฟ เดอะริง อะไรอย่างนี้”
       
        “การดูหนังแล้ว ได้แรงบันดาลใจมันไม่ใช่เรื่องผิด ว่าเราอยากสร้างมหากาฬแบบนี้ คุณก็ไปเขียนนิยายแบบลอร์ด ออฟ เดอะ ริงขึ้นมาได้ ให้สนุกกว่าลอร์ด ออฟ เดอะ ริงก็ยังได้ คุณเล่นเกมส์ไฟนอล แฟนตาซี คุณอาจจะเขียนออกมาเป็นเรื่องไวท์โรดอย่างที่ดร.ป็อบทำก็ได้ มันไม่ใช่เรื่องผิด ต่อให้คุณไปได้แรงบันดาลใจจากที่ไหนมา แต่ว่าคุณก็ไม่ได้ไปลอกเขามาอยู่แล้ว”
       
        “แต่พอคุณได้หนังสือเล่มนึงมา อย่างลอร์ด ออฟ เดอะ ริง แล้วคุณจะเอาไปทำเป็นภาพ มันมีปัจจัยอะไรอีกเยอะมากที่จะทำขึ้นมา เงินทุน เวลา ทุกอย่าง อย่างเรื่องบอดี้...ศพ #19 ก็เจอปัญหาเรื่องนี้ คือเรามีเงินน้อย มันก็ไม่มีทางที่จะสร้างอะไรขึ้นมาได้เต็มที่ อย่างที่เราอยากได้อยู่แล้ว เราก็เลยต้องพอเพียงครับ อย่างที่ในหลวงบอก เราต้องเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ แล้วก็ใช้ศักยภาพตรงนั้นให้มากที่สุดครับ”
       
        ส่วนจั๊ก วิเคราะห์วงการ CG โดยเฉพาะในส่วนของแอนิเมชั่นไทยเอาไว้ว่า ต้องดีขึ้นอยู่แล้ว ถือเป็นธรรมดา คือจะเลวลงไปกว่าที่เคยเกิดขึ้นไม่ได้
        “มันเป็นเรื่องของวิวัฒนาการ อย่าง ก้านกล้วยเป็นแอนิเมชั่นที่ผมประทับใจมากๆ เลย ว่าเราสามารถที่จะทำอย่างนั้นได้นะ แล้วตอนนี้ก็กำลังจะมีอีกหลายๆ เรื่องที่จะออกมา มันก็ทำให้วงการมันดีขึ้น เพียงแต่เราต้องไม่ประมาท เพราะเราทำได้ ประเทศรอบๆ ข้างเรา เขาก็ทำได้”
       
        "ตอนนี้ที่ประเทศไทยก็มีทำอยู่อีกหลายเรื่อง หลังจากก้านกล้วยแล้ว ของบีบอยก็ทำอยู่เรื่องนึง ของสหมงคลฟิล์มเขาก็ทำ คิดว่าปีหน้าน่าจะเห็นอีกสักสามสี่เรื่องนะครับ”
       
        เมื่อถามถึงกรณีที่หนึ่งในทีมงานผู้สร้างภาพยนตร์พระไตรปิฎกแสดงทัศนะเกี่ยวกับแอนิเมชั่นไทยเอาไว้ว่า ต้องอีกร้อยปีจึงจะสร้างได้นั้น คุณจั๊กหัวเราะก่อนที่จะบอกว่า
        “(หัวเราะ)ไม่จริง ไม่จริงเลยครับ ทำได้ เพียงแต่ว่าเราต้องเริ่มต้นตรงไหนสักที่นึง ถ้าเราไม่เริ่ม เราก็จะไม่มีวันพัฒนาขึ้น เรื่องแรกเราอาจจะไม่ดี แต่เรื่องสองเราก็ต้องดีขึ้น เพราะมันคือการสร้างงาน เป็นการสร้างทีม สร้างบุคลากรขึ้นมา สำคัญมาก คือการสร้างบุคลากร คุณต้องให้โอกาสเขา อย่างเราดูหนังก้านกล้วยอย่างนี้"
       
        "ผมกล้าเอาหัวพนันได้เลยว่า ก้านกล้วยสอง มันต้องออกมาดีกว่าก้านกล้วยหนึ่ง เพราะว่าเขาได้ลองทำแล้ว เขาได้มีการเรียนรู้แล้ว ได้ลองผิด ลองถูก ทีนี้เขาก็จะมีประสบการณ์ เรื่องที่สองก็ต้องดีกว่าเรื่องแรก ถูกกว่าเรื่องแรก และเร็วกว่าเรื่องแรกแน่นอน”
       
        “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามาจากทางรัฐบาลเนี่ย ถ้าเขาไม่สนับสนุน วงการนี้มันก็ไม่เกิด ถ้าเรื่องแรกมันจะแย่ก็ช่างมันสิ เรื่องที่สองมันก็ต้องดีขึ้น เรื่องที่สามมันก็จะยิ่งดีขึ้น มันเป็นการสร้างคน สร้างอาชีพ พัฒนาบุคลากร”
       
        “ผมคิดว่ามันควรจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างแรงเลยครับ เพราะนายทุนเขาก็คงจะไม่กล้า รัฐบาลนี่แหล่ะ ที่จะต้องสร้างวงการนี้ขึ้นมา ความเห็นส่วนตัวของผมคือ ถ้าหนังมันจะออกมาเลวร้าย แล้วมันยังไง ถ้าตอนแรกมันเลว ตอนที่สองมันก็จะต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ”
 
 
 
 
ที่มา-

http://goo.gl/DdSis


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related