ผู้ปกครองชาวกรุงเฮโลส่งลูกเรียนกวดวิชา

https://dmc.tv/a2543

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 7 ต.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18258 ]
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า ทัศนคติของผู้ปกครอง มีส่วนต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งนี้พบว่า ผู้ปกครองในเขตกรุงเทพฯ มีส่วนในการพัฒนาทางด้านความรู้และการศึกษาของนักเรียน โดยเฉพาะการส่งเสริมการเรียนกวดวิชา ซึ่งกลายเป็นสิ่งปกติของนักเรียนในกรุงเทพฯไปแล้ว แต่ในขณะเดียวกันแม้ว่าผู้ปกครองต้องการให้เด็กมีความรู้เพื่อการแข่งขันได้แล้ว สิ่งสำคัญมากไปกว่านั้น คือ ผู้ปกครองต้องการให้เด็กเป็นคนดีมากกว่าการเป็นคนเก่ง และยอมรับในความอ่อนด้อยทาง การศึกษาของบุตรว่ามาจากปัญหาเกี่ยวกับความตั้งใจของนักเรียนเองมากกว่าปัญหาอื่น

จากการสำรวจความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียนมัธยมต้นในหัวข้อ “คุณภาพการศึกษาของเด็กในสายตาผู้ปกครอง” โดยสอบ ถามจากผู้ปกครองในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 1,394 คน จากทุกระดับการศึกษา อาชีพ และอายุ ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน 2550 พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน 51.9% คิดว่าเป็นหน้าที่หลักของครอบครัว 36.9% คิดว่าเป็นหน้าที่ของโรงเรียน และ11.2% คิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาล และเมื่อสอบถามถึงการเพิ่มคุณวุฒิและเพิ่มเงินเดือนครูแล้วจะทำให้คุณภาพการสอนของครูดีขึ้นหรือไม่ 40.4% เห็นว่าดีขึ้น 35.5% เห็นว่าไม่ดีขึ้น และ 24.1% ไม่แน่ใจสำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพโดยรวมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขต กทม. ผู้ปกครองให้คะแนนในแต่ละด้านจากคะแนนเต็ม 10 ดังนี้ ด้านวิชาการให้ 7.68 คะแนน ด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อตนเองให้ 6.88 คะแนนเท่ากับด้านความเพียรให้ 6.78 คะแนน ด้านการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็นให้ 6.76 คะแนน ด้านความอดทนให้ 6.62 คะแนน และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้ 6.60 คะแนน

เมื่อถามถึงคุณสมบัติของบุตรหลานที่ต้องการถ้าสามารถเลือกได้นั้น ผู้ปกครอง 91.5% ขอให้เป็นคนดีแต่อาจไม่ต้องเก่งมาก และ 8.5% ขอให้เป็นคนเก่งแต่อาจจะไม่ค่อยดีบ้าง ส่วนการสนับสนุนส่งเสริมให้บุตรหลานกวดวิชานั้น ผู้ปกครอง 68.3% สนับสนุน โดยมีเหตุผลสำคัญที่สุดคือ กลัวบุตรหลานสอบเข้าเรียนในสถาบันที่ต้องการไม่ได้ 37.5% ระบุว่า สนับสนุนเพราะคิดว่าความรู้ที่ได้ในห้อง เรียนไม่เพียงพอ ส่วน 29% สนับสนุนเพราะกลัวบุตรหลานเรียนไม่ทันเพื่อน และ 15.6% สนับสนุนเพราะบุตรหลานร้องขอเรียนเพิ่มเติม ส่วนอีก 5% สนับสนุนเพราะไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน และอุปสรรคที่อาจจะมาสกัดกั้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของบุตรหลานให้ไม่ดีเท่าที่ควรนั้น
ผู้ปกครองนักเรียนในเขตกทม. 22.7% คิดว่าเป็นเพราะความไม่ตั้งใจเรียน 22.0% คิดว่าเป็นเพราะคบเพื่อนไม่ดี 16.9% คิดว่าเป็นเพราะมีคู่รักก่อนวัยอันควร 15.9% คิดว่าเป็นเพราะการติดเกมออนไลน์ 12.1%คิดว่าเป็นเพราะคุณภาพครูไม่ดี 8.2% คิดว่าเป็นเพราะติดการพนัน และ 2.0% คิดว่าเป็นเพราะต้องช่วยครอบครัวทำงาน
 
 
 
 
ที่มา-

http://goo.gl/210BS


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related