รณรงค์รักหัวใจ เริ่มต้นที่ครอบครัว

https://dmc.tv/a2883

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 9 ม.ค. 2551 ] - [ ผู้อ่าน : 18256 ]


หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญในการส่งเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย แต่หากหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนและอาหารในเลือดจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเพียงพอ เนื่องจากมีแผ่นไขมันหนาๆ เกาะสะสม หรือที่เรียกว่า "โรคหัวใจขาดเลือด" หรือ "หลอดเลือดหัวใจตีบ" (Coronary Arterial Disease) จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นขาดเลือด และส่งผลให้การทำงานของหัวใจลดลง ซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือทำให้อวัยวะสำคัญต่างๆ อาทิ สมอง ไต ได้รับเลือดมาเลี้ยงน้อยลง ผลที่ตามมาคือการทำงานของอวัยวะนั้นๆ ผิดปกติ

โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้ จากการศึกษาของภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจ หลอดเลือด และเบาหวาน ทุก 6 นาที และทุกชั่วโมงมีคนกรุงเทพฯ อย่างน้อย 8 คนเสียชีวิตจากโรคหัวใจ นอกจากนี้ จากสถิติทางการแพทย์ พบว่า ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา โรคหัวใจขาดเลือดคือสาเหตุของการตายอันดับหนึ่งของประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้ว

พ.ญ.อรนุช ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ไฟเซอร์ ประเทศไทยและอินโดไชน่า กล่าวว่า หน่วยงานด้านสุขภาพทั่วโลกได้ชูแนวคิดหลัก คือ "ร่วมมือร่วมใจเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี" ให้ความสำคัญกับบทบาทของสถาบันครอบครัวที่มีต่อสุขภาพหัวใจสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากสถาบันครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิตในอนาคต

ครอบครัวควรปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมตั้งแต่ในวัยเด็ก อาทิ การกินอาหารที่มีความสมดุลทางโภชนาการ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่เสพของมึนเมา การเฝ้าระวังน้ำหนัก เและการตรวจสุขภาพประจำปี โดยแฉพาะอย่างยิ่งการตรวจวัดระดับโคเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ครอบครัวของเราเป็นครอบครัวที่มีหัวใจแข็งแรง




เมื่อปีที่ผ่านมา บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) ร่วมกับศูนย์หัวใจสิริกิติ์ และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรม "รักหัวใจใส่ใจโคเลสเตอรอล" เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนถึงสาเหตุ วิธีการสังเกตอาการเริ่มต้น วิธีการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการดูแลปฏิบัติตนหากเป็นโรค

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด มีหลายสาเหตุด้วยกัน หลักๆ ได้แก่ "ไขมันในเลือดสูง" ผู้ที่มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่มีไขมันในระดับปกติถึง 5 เท่า การตรวจวัดระดับโคเลสเตอรอลเป็นประจำ (อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง) จะช่วยให้เราป้องกันและรักษาภาวะโคเลสเตอรอลสูงได้อย่างทันท่วงที

ปัจจัยต่อมาคือ "ความดันโลหิตสูง" นับเป็นภัยมืดที่ก่อตัวอย่างเงียบๆ ในร่างกายของเรา โดยมากกว่า 90% ไม่ทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาจากพันธุกรรม เชื้อชาติ ความเครียด ความอ้วน และการสูบบุหรี่ มีส่วนนน้อยที่สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน (จากเนื้องอกบางชนิด) ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด เป็นต้น

มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ประกาศในปี พ.ศ. 2542 ถือว่าผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง คือ ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตตัวบนมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 160/95 มิลลิเมตรปรอท

"การสูบบุหรี่" ตามรายงานองค์การอนามัยโลกพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 3 เท่า

"อายุ" แผ่นไขมันสะสมในหลอดเลือดมีแนวโน้มจะเกิดมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นอุบัติการณ์ของ การเกิดโรคนี้จึงมากขึ้นตามอายุ และพบมากในผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป




"เพศ" เป็นที่ทราบกันว่าเพศชายมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิงซึ่งอยู่ในวัยที่ยังไม่หมดประจำเดือน แต่ภายหลังจากที่หมดประจำเดือนแล้ว โอกาสเป็นจะเท่ากันทั้งในชายและหญิง

นอกจากนี้ ความเครียด ความอ้วน และการขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงโรคบางชนิด อาทิ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ โรคเกาต์ เป็นต้น ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย

อาการหลักของภาวะหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้แก่ อาการจุกแน่นหน้าอก ซึ่งมีลักษณะจำเพาะดังนี้

ตำแหน่งการเจ็บ มักเป็นตรงกลางหน้าอกเยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อย และมักจะรู้สึกเจ็บลึกๆ อยู่ภายใน บางครั้งอาการปวดนี้จะอยู่ตรงกลางหน้าอกทางด้านล่างและอาจเลยลงมาถึงบริเวณช่องท้องส่วนบนได้

ลักษณะเจ็บ มักจะมีอาการจุกๆ แน่นๆ อึดอัด บางทีรู้สึกเหมือนถูกรัดหรือมีก้อนอะไรมาทับหน้าอก อาจจะมีการปวดร้าวไปจนจุกคอหอย บางทีอาจปวดร้าวไปที่หัวไหล่ ต้นแขน หรือด้านในของแขน และอาจเลยไปถึงข้อมือหรือนิ้วมือ ซึ่งบางครั้งอาจปวดร้าวไปที่กรามและคอด้านซ้ายอีกด้วย

ระยะเวลาการเจ็บ มักเจ็บหน้าอกอยู่ราว 2-10 นาที และมักจะหายได้โดยการพัก ถ้าเจ็บนานกว่านี้ และพักแล้วไม่หายแสดงว่าอาการขาดเลือดอยู่ในระดับรุนแรงมาก

อาการอื่นที่อาจพบร่วมด้วย บางรายมีอาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ บางรายมีอาการเหงื่อซึม เป็นลม ตัวเย็น คลื่นไส้ อาเจียน โดยในผู้สูงอายุอาจมีอาการเหนื่อยง่าย เหนื่อยหอบ และหายใจลำบากร่วมกับอาการแน่นๆ ในหน้าอก หรือรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง จนถึงหมดสติ หรือในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้ภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการดังกล่าว

สำหรับการป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทำได้โดย

1. ควบคุมน้ำหนักตัว หากอยากทราบว่าเรานั้นมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ทำได้ด้วยการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) โดยนำน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) ส่วนสูง 2 (หน่วยเป็นเมตร) ซึ่งควรมีค่า BMI อยู่ในระดับ 18-23 จึงจะถือว่าไม่อ้วน หรือประเมินโดยการวัดรอบเอว ซึ่งผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้ว และผู้หญิง 32 นิ้ว

2. กินอาหารให้ได้สมดุล โดยเน้นกินผักและผลไม้สดให้ได้อย่างน้อยวันละ 5 ทัพพี และหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง (อาหารที่มีโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง) อาทิ เนื้อสัตว์ติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ นม เนย ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารที่ปรุงจากกะทิ ควรใช้น้ำมันชนิดไม่อิ่มตัว อาทิ น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันข้าวโพด ในการประกอบอาหาร (เพราะมีส่วนผสมของกรดไลโนเลอิกที่เป็นตัวนำโคเลสเตอรอลไปเผาผลาญได้ดี) แทนน้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าว และควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง (เพราะมักมีส่วนผสมของเกลือในปริมาณสูง) รวมถึงอาหารรสจัด

3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที และไม่ควรออกกำลังกายโดยใช้กำลังและแรงเบ่งสูง เช่น การยกน้ำหนัก วิดพื้น วิ่งอย่างรวดเร็ว เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรทำตัวให้ว่องไว กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ

5. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

6. ไม่สูบบุหรี่
7. รู้จักปล่อยวาง เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดทางอารมณ์และจิตใจมากจนเกินไป สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการหายใจช้าๆ และสูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ โดยหายใจเข้าให้นับ 1-3 แล้วจึงค่อยหายใจออกพร้อมกับนับ 1-4 ทั้งนี้การฝึกหายใจช้าๆ จะช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง และความดันโลหิตลดลงอีกด้วย
 
 
 
 
ที่มา-

http://goo.gl/PqD8A


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related