อิตาลีเห็นผล"โรคหัวใจ"ลดฮวบ หลังมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่

https://dmc.tv/a3031

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 16 ก.พ. 2551 ] - [ ผู้อ่าน : 18265 ]


ถือโอกาสนำมาเล่าเพื่อเป็น"กำลังใจ"แก่คนที่กำลังพยายามจะ"หย่าขาด"กับบุหรี่ว่า หากเลิกได้แล้ว มันเห็นผลดีจริงๆ นอกจากเพื่อสุขภาพของตัวคุณเป็นหลักแล้ว อย่างน้อยยังถือว่า คุณได้"ทำบุญ"ด้วยการไม่ทำร้ายใคร ให้ตายด้วยโรคร้ายจากควันบุหรี่ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่สูบ แต่ต้องมานั่ง"สูดควัน"จากมวนบุหรี่ของคุณๆอยู่ทุกวี่ ทุกวัน!!!

ทั้งนี้ จากตัวเลขขององค์การอนามัยโลก บอกว่าแต่ละปี "บุหรี่" ได้คร่าชีวิตผู้คนไปราว 4,000,000 คน และในจำนวนนี้ มีอยู่ 1 ใน 4 ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ อันมีสาเหตุมาจากบุหรี่ !!!

แต่ที่น่ายินดี ก็คือ อย่างน้อยตอนนี้ การที่หลายประเทศมี"กฎหมาย"บี้แบนบุหรี่ออกมา ได้ส่งผลแล้วว่า มันช่วยได้ อย่างที่ประเทศอิตาลี เมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีข่าวดี เมื่อมีผลสำรวจจากกรมอนามัยที่กรุงโรม พบว่าในกลุ่มชาย-หญิงอายุระหว่าง 35-64 ปี ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันเวลาเข้าไปนั่งตามร้านอาหาร,บาร์,คาเฟ่ มีอัตราของ"โรคหัวใจ"ลดฮวบถึง 11% หลังจากมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ออกมาบังคับใช้เมื่อปี 2548

ฟรานเซสโก โฟราสทีเร่ เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา หัวหน้าคณะสำรวจ กล่าวถึงผลสำรวจที่ได้ว่า แสดงให้เห็นถึง ประโยชน์ด้านสุขภาพ ที่เกิดขึ้นแล้ว หลังจากที่หลายประเทศในยุโรป อาทิ อิตาลี,อังกฤษ,ไอร์แลนด์ ฯลฯ มีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ตามสถานที่สาธารณะ

"การห้ามสูบบุหรี่ในอิตาลีได้ผล และสามารถช่วยป้องกันสุขภาพของประชาชนได้อย่างเห็นผลจริงๆ ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดสุดก็คือ ผลร้ายต่อกลุ่มคนที่ไม่สูบบุหรี่นั้นลดลง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันแสดงให้เห็นถึง ความสำเร็จของการใช้มาตรการ กฎหมายด้านสาธารณสุขว่า ประเทศต่างๆ ก็สามารถเห็นผลสำเร็จเช่นนี้ได้ "

ว่าแล้ว ฟรานเซสโก ก็เล่าถึงผลการศึกษาชิ้นนี้ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาว่า เขาและทีมงานใช้ข้อมูลเปรียบเทียบของผู้ป่วยโรคหัวใจตั้งแต่ปี 2543-2547 นำมาเปรียบเทียบกับตัวเลขของ 1 ปีถัดมา หลังจากมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ออกมาบังคับใช้

นอกจากตัวเลขผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้มาจากบันทึกของโรงพยาบาลต่างๆ ทีมงานยังดูปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจประกอบด้วย อาทิ ปัจจัยเรื่องคลื่นความร้อน,ไข้หวัด,มลพิษทางอากาศ โดยมีการดำเนินการประเมินคุณภาพของอากาศตามสถานที่ต่างๆ 40 แห่ง

สำหรับที่อิตาลี จากข้อมูลที่มีการศึกษากันมา บอกว่ามีผู้ชายที่สูบบุหรี่อยู่ราว 30%,ผู้หญิงอยู่ราว 20% และกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ของที่นั่น ก็เป็นการห้ามสูบบุหรี่ในอาคาร อย่างเช่น ในออฟฟิศ,ร้านค้า,ร้านอาหาร,ผับ,บาร์,ดิสโก้เธค

จากรายงานยังว่า หลังจากมีกฎหมาย"แบน"บุหรี่ ก็ทำให้ยอดขายบุหรี่ในอิตาลีลดลงไป 5.5% และกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดก็คือ กลุ่มหนุ่มสาวที่อาศัยอยู่ในถิ่นยากจน
 
 
 
ที่มา- 
 

http://goo.gl/zbcwP


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related