“หลักไตรสิกขา” สร้างเด็กดี ที่ “ร.ร.ซอยแอนเนกซ์”

https://dmc.tv/a3046

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 20 ก.พ. 2551 ] - [ ผู้อ่าน : 18285 ]
โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ (กาญจนาภิเษก 2) เขตสายไหม กรุงเทพฯ ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลดีเด่น ในระดับประถมศึกษา ใน “โครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่สร้างคนดีให้สังคม ด้วยการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมดีเด่น” ของมูลนิธิธารน้ำใจ ซึ่งคัดเลือกจากโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรม โครงการส่งเสริมเกี่ยวกับ คุณธรรม จริยธรรม อย่างเป็นระบบ เพื่อเข้ารับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
       
       ** หลักพุทธศาสนา กับ การศึกษา
       จากความภาคภูมิใจนี้ อ.นภัสวรรณ ทัศนาญชลี ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวถึงที่มาของการได้มาซึ่งรางวัลนี้ ว่า จากปี 2547 ข้อมูลสารสนเทศด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการเรียนของนักเรียนที่ออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ ทางโรงเรียนได้ระดมความคิดเพื่อการแก้ไขปัญหา จึงทำแบบสอบถามไปยังผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน แต่สิ่งที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการให้โรงเรียนสอนนักเรียน คือ “อยากให้สอนลูกให้เป็นคนดี นำหน้าความเก่ง” จึงนำเรื่องนี้มาเข้าในที่ประชุมครู ในการหาแนวทางเพื่อปฏิบัติ
       
       สำหรับการพัฒนาผู้เรียนนั้น ครูผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะใช้การจัด “การศึกษาตามแนววิถีพุทธ” โดยใช้ “หลักไตรสิกขา” เพื่อเข้ามาแก้ปัญหานี้ ซึ่งหลักไตรสิกขานั้นมีอยู่ 3 ด้านที่ต้องทำควบคู่กันไป คือ 1.ความประพฤติ คือ ศีล ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ความกตัญญู การตรงต่อเวลา การมีระเบียบวินัย 2.จิตใจ คือ ความตั้งมั่นตั้งใจ เอาใจใส่ มีใจจดจ่อ อย่างมีสมาธิ(Meditation) และ 3.ปัญญา คือ การจัดการความรู้การคิดพิเคราะห์
       
       “การที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน
โดยสอดแทรกการสอนในวิธีการ และแนวทางใหม่เปรียบเสมือนกล้วยไม้ที่จะค่อยๆ งอกงาม เพราะกล้วยไม้จะออกดอกช้า แต่เมื่อออกดอกแล้วดอกจะมีความสวยงาม คงทน ฉะนั้น การศึกษาเราก็ต้องค่อยๆ ทำ จึงจะเห็นผล” อ.นภัสวรรณ อธิบาย
       
       ** บูรณาการการบริหารจัดการ
       อ.นภัสวรรณ ได้นำแนวคิดเชิงพุทธ ไปปรับใช้กับการจัดการบริหารภายในโรงเรียนด้วย ทั้งงานบริหารทั่วไป, งานบริหารงบประมาณ, งานบริหารบุคลากร รวมไปถึงงานด้านการบริหารวิชาการ ทำให้ในปี 2549 ได้เกิดเป็นแนวการปฏิบัติตามนวัตกรรมบริหารจัดการในโรงเรียน ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการบริหาร ผู้บริหารเองต้องเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลง 2.ด้านการทำงานในโรงเรียน โดยเน้นปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของทุกคน
       
       3.ด้านการเรียนการสอน เนื่องจากมีการสังเกตการณ์การสอน มีการทำวิจัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้ทั้งครูและนักเรียนเกิดการพัฒนาจากการสอนโดยใช้หลักไตรสิกขา เมื่อมีการประเมินหลังจากการนำหลักนี้เข้ามาใช้ พบว่า เพียงแค่เทอมแรก ครูทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านักเรียนสอนง่าย และมีความรับผิดชอบมากกว่าเดิม
       
       ** กิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม
       และ 4.ด้านกิจกรรมนักเรียน ที่มีจุดเด่นทั้ง 2 กิจกรรม ที่ทำอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ “กิจกรรมนิทานคุณธรรม” คือ ให้มีการประกวดการเล่านิทานคุณธรรม ประกอบท่าทางต่างๆ หน้าเสาธงทุกเช้า โดยแต่ละห้องเรียนจะเปลี่ยนกันขึ้นมาเล่าทุกวัน เด็กก็จะได้ซึมซับในเรื่องของคุณธรรมทุกวัน อีกกิจกรรมที่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน คือ “การประกวดมารยาท” คือ ให้แต่ละชั้นเรียนออกมาแสดงการทำความเคารพ ทั้งการกราบ ไหว้ เพื่อเป็นการประกวดที่หน้าเสาธงทุกเช้า กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กอ่อนน้อม และมีการไหว้สวยขึ้น
       
       “ผลตอบรับของผู้ปกครองถือว่าดีมาก ที่เห็นพฤติกรรมของลูกเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เพราะเมื่อพวกเขากลับไปที่บ้านเขาจะรู้จักภาระหน้าที่ที่ตัวเองควรจะทำมากขึ้น เช่น การทบทวนบทเรียน ทำการบ้านตามที่ได้รับมอบหมาย และช่วยงานผู้ปกครอง สิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากการที่เขามีสมาธิ มีใจจดจ่อในสิ่งที่ตนควรจะทำมากขึ้น และทางโรงเรียนได้เพิ่มกิจกรรม เพื่อการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ปกครองและครู โดยจะมีการเรียกประชุมผู้ปกครอง เพื่อแนะแนวทาง แลกเปลี่ยนความเห็นในวิธีการสอนลูกในด้านต่างๆ อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าโดดเด่นสำหรับที่นี่ คือ เรื่องของการทำงานที่ไปด้วยกันทั้งระบบ ทุกคนเข้าใจว่างานที่ทำนั้นทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไร ทำให้งานที่ทำออกมามีคุณภาพ
       
       สิ่งหนึ่งที่อยากฝากแก่ครู อาจารย์ทุกท่านทั่วประเทศ คือ อยากให้ดูว่าตอนนี้สังคมต้องการอะไร และเชื่อว่า การสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนเป็นคนดี มีคุณธรรม คือ สิ่งที่สังคมต้องการมากที่สุด แต่ก่อนที่เราจะไปพัฒนาใครเราควรที่จะพัฒนาที่ตัวเราเองก่อนจะดีที่สุด” ผอ.กล่าวทิ้งท้าย
       
       ** สมาธิเกิด การเรียนรุ่ง
       ทางฝั่งตัวแทนนักเรียนอย่าง ด.ช.จิรยุทธ์ เกิดแก่น ชั้น ป.6 ในฐานะประธานนักเรียน กล่าวถึงรูปแบบการเรียนที่สอดแทรกหลักไตรสิกขา ว่า การเรียนในรูปแบบนี้ทำให้ตนมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น จากที่เมื่อก่อนไม่ค่อยสนใจการเรียน เข้าห้องเรียนมาก็ชอบเล่น ชอบคุยกับเพื่อน บางครั้งทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง และหลังจากที่ก่อนเรียนครูได้ให้มีการฝึกทำสมาธิ สวดมนต์ ซึ่งเป็นการรวบรวมสมาธิให้กลับมามีความพร้อมที่จะเรียนในวิชาต่อไป
       
       “อยากฝากถึงเพื่อนๆ ที่ตอนนี้ยังขาดสติ ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง อยากให้ลองเปลี่ยนมาเป็นการทำสมาธิก่อนเข้าเรียน เพราะจะเป็นการฝึกให้เรามีใจจดจ่อกับสิ่งที่เราคิด ทำอยู่ เมื่อเรามีสมาธิแล้วเราก็จะเรียนอย่างเข้าใจเนื้อหา จิตใจไม่วอกแวก และที่สำคัญจะทำให้ผลการเรียนของเราดีขึ้นอีกด้วย” ประธานนักเรียน ฝากคำแนะนำ

 
 
 
ที่มา- 


http://goo.gl/K6H1k


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related