จริงหรือ "คาเฟอีน" ทำร่างกายขาดน้ำ

https://dmc.tv/a3150

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 15 มี.ค. 2551 ] - [ ผู้อ่าน : 18258 ]
นิวยอร์กไทม์ส /ยูคอนน์-ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์มักอ้างเสมอว่าคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟ
ตลอดจนเครื่องดื่มหลากหลายชนิดถือเป็นยาขับปัสสาวะชั้นเยี่ยม และการเสพคาเฟอีนจำนวนมากอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ทว่าความเชื่อนี้อาจถูกปัดให้ตกไป เมื่อทบทวนงานวิจัยที่ยืนยันว่าคาเฟอีนที่พอเหมาะก็ไม่ต่างไปจากน้ำเปล่าเท่าใดนัก
       
       ข้อสรุปใหม่นี้เกิดขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์รายหนึ่งของมหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัต (University of Connecticut : UConn) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทบทวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร
ด้านการเผาผลาญอาหารที่เกี่ยวกับการกีฬา โภชนาการและการออกกำลังกาย ที่ชื่อ "สปอร์ตนูทริชัน แอนด์ เอ็กเซอร์ไซส์เมทาบอลิซึม" (Sport Nutrition and Exercise Metabolism) ใน มิ.ย.45 จำนวน 10 ชิ้น
       
       ทั้งนี้ เขาเก็บข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับข้ออ้างที่ระบุว่า คาเฟอีนที่มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายขาดน้ำ (Dehydration) จนนำไปสู่ข้อสรุปว่า หากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม "คาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะไม่ต่างจากน้ำเปล่า"
       
       "ภาวะการขาดน้ำ" นั้นเป็นผลมาจากการสูญเสียของเหลวในร่างกายมากเกินไป การดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มไม่เพียงพอ การอาเจียน และการป่วยเป็นโรคท้องร่วง
       
       อีกทั้งทารกและเด็กจะไวต่อภาวะขาดน้ำมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่น้อยกว่า และมีอัตราการผันน้ำและอิเล็กโตรไลต์ (electrolyte) ซึ่งเป็นสารประกอบเมื่อละลายน้ำแล้วจะกลายเป็นตัวนำไฟฟ้า
และแตกตัวเป็นไอออนได้มากกว่า โดยความเปราะบางนี้ยังพบในคนชราและผู้ที่กำลังป่วยเช่นกัน โดยระดับของการขาดน้ำมี 2 ระดับคือ อย่างอ่อน และปานกลาง
       
       ในส่วนของปริมาณไอออนในร่างกายกับความสัมพันธ์ต่อภาวะการขาดน้ำนั้น ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ปรมาจารย์ด้านชีวเคมีของไทย อธิบายเสริมว่า ปกติแล้วร่างกายมนุษย์จะปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของไอออนชนิดต่างๆ ที่ได้มาจากอาหารและเครื่องดื่มให้อยู่ในภาวะสมดุล แต่หากร่างกายสูญเสียน้ำไปมากก็จะทำให้ของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำเลือดมีความเข้มข้นของกรดและเบสมากขึ้น ซึ่งหากไม่ใช่รายที่มีอาการรุนแรงจริงๆ จะไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต เพราะร่างกายจะปรับสมดุลเองได้ 
       
       อย่างไรก็ดี จากการทบทวนงานวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์จากยูคอนน์ พบว่างานวิจัยส่วนใหญ่ทดลองเปรียบเทียบระหว่าง
การดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนกับการใช้ยาหลอก (placebo) คือดื่มน้ำเปล่าแต่ทำให้เชื่อว่ามีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ ผลปรากฎว่าแทบจะไม่พบความแตกต่างของปริมาณปัสสาวะ
ของผู้ดื่มเครื่องดื่มทั้ง 2 ชนิด
       
       การทบทวนงานวิจัยทั้ง 10 ชิ้น รายที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ จะกลายเป็นของเสียในร่างกาย 0-84% ของที่ดื่มเข้าไปตั้งแต่แรก ขณะที่การดื่มน้ำเปล่าจะกลายเป็นของเสียในปริมาณใกล้เคียงกันคือ 0-81%
       
       ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นที่นำมายืนยันข้อสรุปใหม่
ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารหัวเดียวกันเมื่อปี 2548 ได้เก็บข้อมูลจากผู้ใหญ่ที่กระตือรือร้น 59 คน พวกเขาถูกควบคุมการบริโภคคาเฟอีนเป็นเวลากว่า 11 วัน โดยจะได้รับคาเฟอีนแคปซูลเป็นบางวัน และบางวันก็รับแคปซูลที่หลอกว่ามีคาเฟอีนผสมอยู่ นักวิจัยพบว่าแทบไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของ
ระดับไอออนในน้ำปัสสาวะและปริมาณน้ำปัสสาวะ
       
       นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของลาร์รี อาร์มสตรอง (Larry Amstrong) ศาสตราจารย์ด้านการออกกำลังและสภาพแวดล้อมของสรีรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ ม.คอนเนตทิคัต (Neag School of Education) ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับของเหลวมาตั้งแต่ปี 2524 โดยระบุว่า ถ้าบริโภคคาเฟอีนเข้าไปในปริมาณปานกลางก็จะไม่มีผลต่อภาวะการขาดน้ำภายในร่างกาย
       
       ผลจากการศึกษาของอาร์มสตรองซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับที่อ้างไว้ในตอนแรกพบว่า..
       
       - เมื่อบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเข้าไป ร่างกายก็จะเก็บน้ำไว้ส่วนหนึ่ง
       
       - การบริโภคคาเฟอีนเป็นเหตุให้เกิดภาวะปัสสาวะผิดปกติเล็กน้อย ซึ่งน้ำก็ทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน
       
       - ยังไม่มีหลักฐานชี้ว่าการบริโภคเครื่องดื่มคาเฟอีนเป็นผลให้เกิดความไม่สมดุลของอิเลกโตรไลต์
       
       - ผู้ที่บริโภคคาเฟอีนเป็นประจำจะทนทานต่อภาวะปัสสาวะมากผิดปกติได้มากกว่า
       
       - การพิจารณาความปลอดภัยหรือเสี่ยงจากการบริโภคคาเฟอีนนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมทั้งปริมาณที่บริโภค และความต้านทานต่อคาเฟอีน
       
       หลายทศวรรษมาแล้วที่คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่ได้รับความนิยมจากบรรดานักกีฬา เพื่อทำน้ำหนักหรือเพิ่มกล้ามเนื้อก่อนการแข่งขัน อีกทั้งสมาคมกีฬาระดับวิทยาลัยของสหรัฐฯ (NCAA) และคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้จัดประเภทไว้ในกลุ่มสารต้องห้ามที่มีคุณสมบัติเป็นยาโด๊ป
       

       อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดกรณีตัวอย่างความผิดปกติและการถ่ายปัสสาวะมากผิดปกติ ในหมู่นักกีฬาหลายต่อหลายกรณี อาร์มสตรองรายงานว่าตัวอย่างเหล่านี้ไม่อาจนำมาตีความได้ ว่าถัวเฉลี่ยคนทั่วไปซึ่งออกกำลังกายหลายครั้งต่อสัปดาห์จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพใดๆ จากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีสารคาเฟอีนหนึ่งหรือสองชิ้นต่อวันเลย
       

       สำหรับการวิเคราะห์ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของเขาได้เน้นไปยัง
การบริโภคคาเฟอีนระดับปานกลาง หรือเท่ากับการดื่มกาแฟ 1-4 ถ้วยต่อวัน โดยเขาให้สัมภาษณ์เมื่อ
6ปีที่แล้วว่าเขาจะเดินหน้าศึกษาเพื่อดูว่าอาการติดเป็นนิสัยของการเสพคาเฟอีนปริมาณมากๆ เป็นเวลาหลายวันว่าจะมีผลต่อสมดุลของของเหลวในร่างกายและอิเล็กโตรไลต์หรือไม่.
 
 
 
ที่มา-

http://goo.gl/B8QCw


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related