วอนสังคม ...อย่าให้สื่อร้ายทำลาย"เด็ก"

https://dmc.tv/a3381

บทความธรรมะ Dhamma Articles > DMC NEWS
[ 6 พ.ค. 2551 ] - [ ผู้อ่าน : 18257 ]


ใครๆ ก็มักจะพูดว่า "ดูละครแล้วย้อนดูตัว" ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะบทละครที่เขียนขึ้นมานั้น มักได้แรงบันดาลใจมาจากความจริงในชีวิตมนุษย์ เพียงแต่เติมสีสันให้สนุกสนาน

แต่หารู้ไม่ว่าการปรุงรสเหล่านี้ส่งผลเสียต่อเด็กและเยาวชน ทำให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบ จนกลายมาเป็นอีกปัญหาหนึ่งในสังคมไปแล้ว

  ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ร่วมกับเอแบคโพลล์ จัดเสวนาในหัวข้อ “เฝ้าระวังสื่อร้ายทำลายเด็ก” ขึ้น โดยมี ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลินิกวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และ อัญญาอร พานิชพึ่งรัก เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ



 ดร.นพดล เผยถึงผลการสำรวจเรื่อง การศึกษาอิทธิพลของการชมรายการโทรทัศน์ กับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในกลุ่มคนดู : กรณีศึกษาเด็ก เยาวชน และประชาชนอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 2-6 ขวบ ในเขตกรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และนครศรีธรรมราช พบตัวเลขที่น่าสนใจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาพรวมของเด็กที่ดูโทรทัศน์คนเดียวที่สูงถึงร้อยละ 75.4 ความเป็นจริงของสิ่งที่พบเห็นจากรายการโทรทัศน์ พบที่เป็นการแต่งตัวโป๊ วาบหวิวร้อยละ 53.6 ภาพการแสดงทางรายการโทรทัศน์ที่ไม่ชอบแต่พบมากสุดใน 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 38.8 ล้วนเป็นของภาพการทำร้ายร่างกาย ตบตี

  "ผลสำรวจน่าตกใจก็คือ เด็กอายุ 13-19 ปี ร้อยละ 15.3 รู้สึกอยากเป็นพระเอกที่ได้ข่มขืนคนอื่นๆ ได้ และเห็นว่าการข่มขืนเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ร้อยละ 20.2 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร แต่ตัวเลขในด้านดีก็ยังมีให้พบเห็นเช่นกัน เช่น สิ่งที่เคยทำและคาดว่าเคยเห็นมาจากโทรทัศน์ ร้อยละ 40 เป็นเรื่องของการพูดจาดี และร้อยละ 37.9 เป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ โดยภาพรวมของข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ อาจสรุปได้ว่าภาพในทางที่ไม่อยากให้เกิดนั้น ยังคงมีล้นจออยู่ อย่างไรก็ตาม ภาพที่ดีก็ยังมีอยู่ให้เห็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน นับเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งดีๆ ยังมีให้เห็นในสื่อโทรทัศน์" ดร.นพดลกล่าว 

  หัวหน้าศูนย์เครือข่ายกล่าวต่อว่า ข้อมูลที่ได้มาครั้งนี้เป็นเหมือนจุดตั้งต้นให้ได้เห็นที่มาของปัญหา
ว่ากลุ่มเฉพาะหรือกลุ่มเป้าหมายที่จัดสำรวจ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก 13-19 ปี หรือ 7-12 ปีนั้น เป็นกลุ่มเด็กที่ต้องเฝ้าจับตามองให้มาก ต้องทำให้พวกเขาเห็นแต่สิ่งที่ดี เพราะจะทำให้พวกเขาห่างไกลจากพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ แม้ว่าภาพเหล่านั้นจะเป็นความจริงในสังคมที่เด็กควรจะรับรู้ แต่หากปล่อยปละละเลยหรือให้เห็นภาพเหล่านั้นบ่อยจนเกินไป อาจจะทำให้เกิดการลอกเลียนแบบทางพฤติกรรมขึ้นมาได้


  ด้าน นพ.สุริยเดว ชี้แจงว่า การมีสื่อที่ไม่เหมาะสมจำนวนมากในโทรทัศน์ ผิดในแง่คุ้มครองผู้บริโภค และผิดที่ไม่คุ้มครองสิทธิของเด็ก ปล่อยให้ถูกทำร้ายทางจิตใจและอารมณ์ ต้องเสพแต่สื่อรุนแรง ฉากการแสดงความรักอย่างโจ่งแจ้ง หากปล่อยให้สื่อร้ายรังแกสังคมไปเรื่อยๆ โลกยุคต่อไปจะเป็นโลกของเซ็กส์และความรุนแรง เพราะตอนนี้สิ่งที่ทำให้เด็กเปลี่ยนแปลงไป เป็นเพราะตัวของผู้ใหญ่เองที่ทำให้เป็นเช่นนั้น จะโทษเด็กอย่างเดียวไม่ได้

  "ผมอยากวอนขอให้ผู้ผลิต ผู้จัดรายการ ช่วยเหลือสังคม ด้วยการนำเสนอรายการหรือละครที่มีความรุนแรง ควรออกอากาศหลัง 20.00 น. และควรทำละครน้ำเน่าที่มีคุณค่า ด้วยการบอกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดทันทีเมื่อจบละครในตอนนั้นๆ ไม่ใช่รอจนอวสานแล้วมาบอกว่าสุดท้ายคนไม่ดีต้องรับโทษ เพราะเด็กๆ จะลอกเลียนแบบความไม่ดีเหล่านั้นไปจนหมดแล้ว" หัวหน้าคลินิกวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าว

  ส่วนเรื่องของประกาศการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (เรตติ้ง) ลัดดา ตั้งสุภาชัย กล่าวว่า ช่วงนี้เหมือนช่วงสุญญากาศ แต่อยากขอให้สถานีปฏิบัติตาม เพราะประกาศฉบับนี้เกิดจากการประชุมร่วมกับผู้ผลิต ผู้แทนสถานี ผ่านการพิจารณาหลายครั้ง แต่ดูเหมือนสังคมยังไม่เข้มแข็งพอ เยาวชนยังขาดภูมิคุ้มกันที่ดี ดังนั้นจึงควรจะมีกติการ่วมกัน แม้โทรทัศน์จะไม่ใช่สื่อเดียวที่ทำให้เด็กมีปัญหา แต่ถ้าไม่คิดสร้างสังคมที่ดีร่วมกัน อนาคตของชาติก็จะมีแต่แย่ลง 



  ด้าน อัญญาอร พานิชพึ่งรัก กล่าวว่า ตอนนี้รายการหรือละครโทรทัศน์บางครั้งยังไม่ปฏิบัติตามประกาศการออกอากาศละครอยู่ รวมไปถึงเรื่องของการจัดระดับความเหมาะสมของรายการ บางรายการยังจัดระดับความเหมาะสมได้ไม่ตรงกับรูปแบบของรายการ

  “สิ่งที่น่าห่วงตอนนี้ก็คือเนื้อหาของละครแต่ละเรื่องที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งพระเอกข่มขืนนางเอกได้ไม่ผิด มีฉากตบตีรุนแรงในแทบทุกเรื่อง บางคนอาจว่าไม่ใช่ปัญหา แต่เคยสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานตนเองหรือไม่ว่า พวกเขามีพฤติกรรมอย่างไร จริงอยู่พ่อแม่ ต้องดูแลลูก แต่สังคมที่เป็นกลุ่มคนในหมู่มาก ก็ควรจะมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งเหล่านี้ด้วยเหมือนกัน เพื่อสังคมของเราจะได้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ" อัญญาอร กล่าวทิ้งท้าย

  เห็นได้ชัดว่าปัญหาเหล่านี้ ไม่เพียงสื่อเท่านั้นที่ต้องหาทางแก้ไข หากแต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันสอดส่องพฤติกรรมของเยาวชน โดยเฉพาะครอบครัวที่ต้องให้ความใกล้ชิดกับบุตรหลานให้มากเป็นพิเศษ อีกทั้งควรชี้แนะข้อดีข้อเสียในการนำเสนอเรื่องราวๆ ต่างๆ ผ่านสื่อให้เด็กได้รับทราบทุกครั้งด้วย
 
 
 
 
 
 
ที่มา-

http://goo.gl/xv1Pb


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ผู้แทนวัดพระธรรมกาย อำนวยพรปีใหม่ พ.ศ.2567 สื่อมวลชน
      กรณีปล่อยข่าวเท็จใน Social Network
      วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต จัดปฏิบัติธรรม เมืองลิมบวก
      วัดพระธรรมกายดีซี จัดพิธีส่งมอบดวงแก้วสำเร็จ
      วัดพระธรรมกายอิบาราขิ จัดงานบุญวันอาทิตย์
      กองบริหารงานผู้นำรถ จัดอบรมผู้นำรถ
      วัดพระธรรมกายบอสตัน จัดประชุมเตรียมงานวิสาขบูชา
      ร.ร.เตรียมพุทธศาสตร์ จัดพิธีทอดผ้าป่า
      วัดพระธรรมกายฮ่องกง จัดพิธีทอดผ้าป่า
      คณะครูโรงเรียนธีระวัฒน์บำเพ็ญ อบรมธรรมะ
      วัดพระธรรมกายปารีส จัดปฏิบัติธรรม เมืองอ๊อกลี่
      ยพสล. เชิญชวนร่วมบวชแสนเข้าพรรษา
      สธ.ระบุกฏหมายคุมยาสูบใหม่ช่วยลดจำนวนนักสูบ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related