มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒ ( สืบหาบัณฑิต )

การที่เรากระทำสิ่งใดลงไปก็ตาม สิ่งนั้นสามารถส่งผลเชื่อมโยงถึงกันได้ ยิ่งปัจจุบัน เราอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ข้อมูลข่าวสารถึงกันหมด หากเรากระทำสิ่งที่ไม่ดี ย่อมจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อคนรอบข้างและคนทั้งโลก เหมือนไม้ขีดไฟก้านเดียวสามารถลุกลามเผาป่าเผาเมืองได้ แต่หากเรากระทำความดีแม้เพียงเล็กน้อย และแม้จะกระทำกันเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่ก็สามารถขยายผลแห่งความดีไปทั่วโลกและจักรวาลได้ https://dmc.tv/a402

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 18 ก.ย. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 18289 ]
 
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒
( สืบหาบัณฑิต )

คนโง่ถึงจะมีกำลัง ก็หายังประโยชน์ให้สำเร็จไม่ แม้จะได้ทรัพย์มา ด้วยกรรมอันหยาบช้า
นายนิรยบาลทั้งหลาย ย่อมฉุดคร่าเอาคนโง่ ผู้ไม่ฉลาด ครํ่าครวญอยู่ ไปสู่นรกอันร้ายกาจ
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐกว่า คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่

    การที่เรากระทำสิ่งใดลงไปก็ตาม สิ่งนั้นสามารถส่งผลเชื่อมโยงถึงกันได้ ยิ่งปัจจุบัน เราอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ข้อมูลข่าวสารถึงกันหมด หากเรากระทำสิ่งที่ไม่ดี ย่อมจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อคนรอบข้างและคนทั้งโลก เหมือนไม้ขีดไฟก้านเดียวสามารถลุกลามเผาป่าเผาเมืองได้ แต่หากเรากระทำความดีแม้เพียงเล็กน้อย และแม้จะกระทำกันเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่ก็สามารถขยายผลแห่งความดีไปทั่วโลกและจักรวาลได้ ความดีที่เกิดจากการฝึกฝนใจให้บริสุทธิ์หยุดนิ่งนี้ เป็นกระแสความดีที่มีผลต่อสัตวโลก ช่วยทำให้บรรยากาศของโลกเกิดกระแสแห่งความบริสุทธิ์ ขจัดสิ่งที่เป็นมลทินทั้งหลายให้หมดสิ้นไป เพื่อให้โลกมีสันติสุขที่แท้จริง

มีวาระพระบาลีใน ขุททกนิกาย ชาดก ความว่า
 
    "คนโง่ถึงจะมีกำลัง ก็หายังประโยชน์ให้สำเร็จไม่ แม้จะได้ทรัพย์มา ด้วยกรรมอันหยาบช้า นายนิรยบาลทั้งหลาย ย่อมฉุดคร่าเอาคนโง่ ผู้ไม่ฉลาด ครํ่าครวญอยู่ ไปสู่นรกอันร้ายกาจ คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐกว่า คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่"

    ผู้รู้ได้กล่าวอุปมาไว้ว่า มีปัญญาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน เพราะปัญญาเป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ ช่วยให้เราสามารถแสวงหาสมบัติทั้งภายนอกภายใน ทั้งสมบัติโลกิยะและโลกุตตระ ส่วนผู้ไร้ปัญญาแม้มีทรัพย์สมบัติมากมาย เมื่อไม่รู้จักใช้หรือดูแลรักษา วันหนึ่งสมบัตินั้นก็อาจแปรเปลี่ยนหรือหมดลงได้  ดังนั้น ปัญญาจึงเป็นทรัพย์อันประเสริฐ ผู้มีปัญญาสามารถยกฐานะจากคนธรรมดาหรือยาจกเป็นมหาเศรษฐีได้ ปัญญาจะสร้างชื่อเสียง ทำให้เป็นที่ยอมรับนับถือของชนทุกระดับชั้น เหมือนอย่างเรื่องของมโหสถบัณฑิตที่จะได้ติดตามศึกษาต่อไป
 
    ครั้งที่แล้ว ถึงตอนที่พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบิน และได้รับการพยากรณ์จากอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งสี่ว่า เป็นศุภนิมิต ที่ พระองค์จะได้ผู้เป็นมหาบัณฑิตมาเป็นคู่บุญคู่บารมี จึงทรงมีพระทัยเต็มตื้นไปด้วยปีติโสมนัส ตรัสถามว่า "แล้วเดี๋ยวนี้ บัณฑิตผู้นั้นอยู่ที่ใด ท่านอาจารย์จะบอกเราได้หรือไม่" ด้วยอำนาจแห่งความเชี่ยวชาญในโหราศาสตร์ ท่านเสนกบัณฑิต  ได้ตรวจยามสามตา ท่านสามารถรู้เห็นประหนึ่งเห็นด้วยตาทิพย์ จึงได้กราบทูลว่า "วันนี้คงเป็นวันที่บัณฑิตถือปฏิสนธิในครรภ์มารดา หรือมิฉะนั้นก็เป็นวันที่คลอดจากครรภ์มารดาแล้ว"

     *คำพยากรณ์ของท่านเสนกะนับได้ว่าแม่นยำทีเดียว เพราะวันนั้นเป็นวันที่ท่านผู้เป็นมหาบัณฑิตแห่งมิถิลานครได้ถือปฏิสนธิในครรภ์มารดา  เมื่อพระเจ้าวิเทหราชทรงสดับแล้วทรงกำหนดไว้ในพระราชหฤทัย พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในเรื่องบัณฑิตคนที่ ๕ นี้ตลอดเวลา ถึงกับปรารภกับท่านเสนกะบ่อยๆ แต่ด้วยเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา ก็ทรงอดพระทัยรอถึง ๗ ปี 

    ครั้นครบกำหนด ๗ ปี ทรงดำริว่า "ธรรมดาผู้มีบุญญาธิการ อายุเพียง ๗ ปี ก็จะปรากฏแววแห่งความเฉลียวฉลาด เราควรที่จะให้อำมาตย์ออกไปเที่ยวสืบเสาะดู ให้รู้ตำแหน่งที่อยู่ของบัณฑิตนั้น" จึงทรงรับสั่งกับท่านเสนกะว่า "ท่านอาจารย์ นับแต่วันที่ท่านทำนายสุบินนิมิตมาจนถึงบัดนี้เป็นเวลา ๗ ปี แล้ว ป่านนี้บุคคลผู้นั้นคงจะมีอายุพอที่จะปรากฏแววอันใดได้บ้าง เราปรารถนาจะพบเขาเสียจริง"
 
     พระองค์ทรงมีพระบัญชาให้อำมาตย์ ๔ คน ออกไปเที่ยวสืบเสาะหาในหมู่บ้าน ๔ ตำบล ซึ่งอยู่คนละทิศกัน อำมาตย์ได้ไปแสวงหาตามทิศต่างๆ แต่ก็หาพบไม่ ยกเว้นอำมาตย์ที่ไปทางทิศตะวันออก ได้ไปถึงยวมัชฌคาม และเข้าไปนั่งพักภายในศาลาอันโอ่โถงวิจิตรตระการตา มีสระโบกขรณี  น้ำใสเย็น มีสวนดอกไม้ สวนผลไม้ ก็คิดในใจว่า "ผู้ที่สร้างศาลาหลังนี้ ต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่งทีเดียว สังเกตจากรูปแบบของการก่อสร้างแล้ว มิใช่สติปัญญาของสามัญชนที่พึงจะกระทำได้ อย่างน้อยก็อาศัยความรู้ความสามารถของผู้ที่มีปัญญาระดับนักปราชญ์บัณฑิตทีเดียว" คิด ดังนั้นจึงได้ไต่ถามบุคคลที่มาพักผ่อนอยู่บริเวณนั้น จึงรู้ว่าเป็นการออกแบบของบัณฑิตน้อยอายุเพียง ๗ ขวบ เท่านั้น
 
    ท่านอำมาตย์ได้ซักไซ้ไล่เลียงเรื่องราวของกุมารผู้เป็นบัณฑิตอย่างละเอียดลออ และได้เขียนรายงานกราบทูลพระราชา มีใจความว่า "ณ บ้านยวมัชฌคาม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก    มีศาลาหลังหนึ่งมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า "ศาลาเด็กน้อย" เพราะ  ผู้สร้างคือเด็กมีอายุเพียง ๗ ขวบ โดยเป็นผู้กำหนดแผนผังของศาลาหลังนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม ทั้งเป็นผู้ชักชวนเพื่อนๆ รุ่นราว คราวเดียวกัน ขอทรัพย์จากบิดามารดา ให้มาร่วมทุนกันคนละ ๑ กษาปณ์ ได้เงินรวม ๑,๐๐๐ กษาปณ์ จากนั้นบัณฑิตน้อย จะเป็นผู้สั่งงานให้ช่างทำตามที่ตนออกแบบทุกประการ

    ศาลาหลังนี้แบ่งเป็นส่วนๆ มีห้องพักที่จัดไว้เพื่ออนุเคราะห์มหาชนที่มาขออาศัย มีห้องสำหรับชนทั่วไป หญิงอนาถาคลอดบุตร สมณพราหมณ์ คฤหัสถ์ผู้เดินทาง และห้องเก็บสินค้าของพ่อค้าผู้มาพัก บริเวณศาลามีสนามเล่นกว้างขวาง สามารถให้เด็กจำนวนเป็นพันลงมาเล่นพร้อมๆ กันได้ และยังมีห้องโถงกว้างขวาง ซึ่งเป็นห้องประชุมใหญ่สำหรับเวลามีเรื่องราวที่จะต้องวินิจฉัย และยังเป็นสถานที่สำหรับให้การอบรมแก่มหาชนด้วย

    เมื่อสร้างศาลาเสร็จ บัณฑิตน้อยจะเรียกช่างศิลป์มาเขียนภาพอันวิจิตรตระการตา โดยเป็นผู้คอยกำกับ ศาลานี้บังเกิดขึ้นอย่างงดงามเปรียบเสมือน สุธรรมาเทวสภา หลังจากสร้างศาลา ก็ให้ขุดสระโบกขรณีด้วยดำริว่า เพียงแค่ศาลาใหญ่ยังไม่งดงามเพียงพอ หากไม่มีสระก็จะไม่เป็นที่บันเทิงใจ สระจะทำให้ศาลาน่าอยู่ขึ้น และรู้สึกเย็น สระโบกขรณีมีลักษณะเป็นเวิ้งกว้างลดเลี้ยวอย่างมีศิลปะนับได้พันคุ้ง มีท่าน้ำสำหรับลงอาบ และแม้มหาชนจะมากันมากมาย ก็สามารถกระจายกันลงไปอาบน้ำได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องเบียดเสียดกัน

    ทัศนียภาพของสระมีความเป็นธรรมชาติ มีดอกบัวงดงาม บัณฑิตน้อยได้ให้ปลูกดอกอุบลและปทุม ยามมีดอกก็บานสะพรั่งสลับกันหลากสี น้ำในสระใสเย็น มองเห็นได้ถึงพื้นดิน ฝูง ปลาก็พากันว่ายเวียนวนไปมา ราวกับสุนันทาโบกขรณีอันมีในดาวดึงสพิภพ บัณฑิตน้อยได้จัดการเป็นที่เรียบร้อย โดยหวังอนุเคราะห์มหาชน มุ่งทำสถานที่ให้เป็นทาน สมณพราหมณ์ทั้งหลายต่างมารับภัตตาหารที่นี่ ทำให้มหาชนมีโอกาสได้ทำทาน และได้ใช้สถานที่แห่งนี้ตามอัธยาศัยอย่างสบายใจ

     ยิ่งไปกว่านั้น ในกาลอันควร บัณฑิตน้อยยังกำหนดให้มีการประชุมกันในห้องโถงของศาลา ทั้งได้แนะนำมหาชนในสิ่งที่ควรและไม่ควรทำ หมู่ชนที่พากันมาฟังธรรม ต่างอนุโมทนาสาธุ-การในภูมิปัญญาและภูมิธรรมของท่าน จนได้รับการขนานนามว่า มโหสถบัณฑิตกุมาร เพราะเป็นบุตรของท่านสิริวัฒนเศรษฐี อีกทั้งขณะที่ท่านคลอดออกจากครรภ์มารดา คือ นางสุมนาเทวี ได้ถือแท่งโอสถซึ่งทรงสรรพคุณวิเศษมาด้วย กุมารน้อยได้นำโอสถไปฝนทาที่ศีรษะของบิดา ซึ่งปวดมา ๗ ปี ทำให้อาการปวดศีรษะหายไปในทันที จึงมีนามว่าโอสถอยู่ด้วย และโอสถนั้นยังเกิดอุปการะคุณต่อมหาชนทั่วไป ใครเจ็บไข้ได้ป่วยรักษาไม่หายหรือใกล้ตาย   ครั้นได้รับการรักษาด้วยยาวิเศษของมโหสถ ต่างหายเป็นปลิดทิ้ง ทำให้ชื่อเสียงของกุมารยิ่งลือกระฉ่อนออกไปทุกๆ วัน"

    นี่เป็นจุดเริ่มต้นของบัณฑิตน้อย ผู้อุบัติขึ้นมาเพื่อประโยชน์แก่มหาชน ท่านได้สร้างบารมีอันยิ่งใหญ่ด้วยตนเองตั้งแต่อายุยังน้อย น่าอัศจรรย์ว่า เด็กเพียงแค่ ๗ ขวบ จะทำได้ถึงขนาดนี้ นับเป็นแบบอย่างให้เราได้ศึกษา และประพฤติปฏิบัติตาม เราจะได้มาติดตามกันในตอนต่อไป ให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติธรรมกัน เพื่อเพิ่มพูนปัญญาบารมีของเรา จนกระทั่งเกิดปัญญาบริสุทธิ์ ได้เข้าถึงพระธรรมกายกันทุกๆ คน
 
*มก. มโหสถบัณฑิต เล่ม ๖๓ หน้า ๓๒๘

http://goo.gl/gnrSk


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related