มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๒ ( ไขปริศนา )

" ท่านเป็นสัตว์ไม่กินหญ้าจึงไม่เป็นที่สงสัยของควาญช้าง ฉะนั้น ท่านต้องเข้าไปในโรงช้าง ฉวยโอกาสคาบหญ้ามาให้ฉันเถิด ส่วนตัวฉันเองเป็นสัตว์ไม่กินเนื้อ จึงไม่เป็นที่สงสัยของพ่อครัว เพราะฉะนั้น ฉันจะเข้าไปในโรงครัวนำเนื้อมาให้ท่าน " https://dmc.tv/a538

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 25 ต.ค. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 18289 ]
 
 
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๒
( ไขปริศนา )

  เมื่อสงครามเกิดขึ้น ย่อมต้องการคนกล้าหาญ      เมื่อเกิดมงคลตื่นข่าว ย่อมต้องการคนหนักแน่น  
เมื่อมีข้าวและน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก      เมื่อข้อความลึกซึ้งเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต

        เราเกิดมาภพชาติหนึ่ง เพื่อแสวงหาสิ่งที่เป็นสาระของชีวิต แสวงหาพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันแท้จริงของสรรพสัตว์ทั้งหลาย นับเป็นการแสวงหาของจริงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สามารถมีสุขได้ด้วยตัวเอง และเป็นตัวตนที่แท้จริง พระ-รัตนตรัยหรือพระธรรมกาย คือ แก่นของชีวิต เป็นชีวิตในระดับลึกที่อยู่ภายในตัวของเรา ทุกๆ คนมีสิทธิ์เข้าถึงได้ หากฝึกใจให้หยุดนิ่ง ถ้าใจหยุดได้เมื่อไร ก็เข้าถึงได้เมื่อนั้น ไม่จำกัดด้วยกาลเวลา เข้าถึงแล้วชีวิตเราจะสมบูรณ์ มีความสุขและความ
มั่นคงปลอดภัยมากขึ้น

        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน มหาสารชาดกว่า

    " อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ        มนฺตีสุ อกุตูหลํ
           ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ     อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ

        เมื่อสงครามเกิดขึ้น ย่อมต้องการคนกล้าหาญ  เมื่อเกิดมงคลตื่นข่าว ย่อมต้องการคนหนักแน่น เมื่อมีข้าวและน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก  เมื่อข้อความลึกซึ้งเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต "

        เป็นที่ทราบกันดีว่าการทำศึกสงครามนั้น ย่อมมีการสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อหรือแม้กระทั่งชีวิต ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของการทำสงคราม ต้องอาศัยนักรบที่มีความกล้าหาญ ยอมเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อให้ได้ชัยชนะมา โดยทั่วไปเมื่อมีอุปสรรคหรือปัญหาที่ลึกซึ้งเกิดขึ้น จะอาศัยคนธรรมดาทั่วไปมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหานั้นไม่ได้ ต้องอาศัยนักปราชญ์บัณฑิตมาแก้ปมปัญหาเหล่านั้น  เพราะฉะนั้น บ้านเมืองไหนมีนักปราชญ์บัณฑิตมาก บ้านเมืองนั้นก็มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง เราอาจสังเกตได้ว่า แต่ละประเทศมีการรณรงค์ ทุ่มเทงบประมาณมากมาย เพื่อให้พลเมืองมีการศึกษาสูงๆ จะได้นำวิชาความรู้มาพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า

        สำหรับเรื่องของมโหสถบัณฑิตในครั้งนี้ เป็นตอนที่ต้องอาศัยปัญญาญาณที่ลึกซึ้ง เนื่องจากมีปัญหาที่พระราชาตรัสถามไว้ ซึ่งกว่าจะตอบได้ต้องพิจารณากันนานหลายวัน
 
        *เรื่องมีอยู่ว่า เช้าวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราช ทอดพระเนตรไปทางช่องพระแกล ทรงเห็นแพะและสุนัขตัวหนึ่งมีความสนิทสนมเป็นมิตรกัน จึงได้กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพระทัย 

        เมื่อบัณฑิตทั้งหลายมาเข้าเฝ้าพร้อมหน้ากันแล้ว จึงตรัสถามเป็นปริศนาธรรมว่า " สัตว์เหล่าใดเป็นเพื่อนกันในโลกนี้ แม้ไปด้วยกันเพียง ๗ ก้าว ไม่เคยมีในกาลก่อน สัตว์ทั้งสองเหล่านั้นเป็นศัตรูกัน บัดนี้มาเป็นเพื่อนสนิทรักใคร่กัน เป็นเพราะเหตุใด " ทรงกำชับว่า " ถ้าหลังอาหารเช้าวันนี้ ท่าน    ทั้งหลายไม่สามารถแก้ปัญหาของเราได้ เราจักขับพวกท่านออกจากแว่นแคว้นของเรา "

        แม้อาจารย์เสนกะจะนั่งอยู่ด้านหน้าใกล้พระที่นั่งที่สุด ฟังแล้วก็ขบปัญหาไม่ออก ได้เหลียวมองดูมโหสถว่า จะแสดงอาการอย่างไร  ครั้นสังเกตเห็นกิริยาของมโหสถก็รู้ว่ามโหสถยังขบคิดปัญหานี้ไม่ออก ฝ่ายมโหสถรู้ว่าอาจารย์เสนกะยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้เช่นกัน เพราะปัญหานี้ต้องอาศัยเวลา ครั้นอาจารย์เสนกะเห็นไม่เข้าท่า จึงชิงไหวชิงพริบกราบทูลขึ้นก่อนว่า  " ข้าแต่พระจอมพสกนิกร ในสมาคมที่อึกทึก ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีใจฟุ้งซ่าน จิตไม่แน่วแน่ ไม่สามารถจะพยากรณ์ปัญหานั้นได้ ต้องมีจิตมีอารมณ์เดียว อยู่ในที่หลีกเร้นตามลำพัง จึงจะนั่งคิดนั่งพิจารณาปริศนาธรรมทั้งหลายได้ พระเจ้าข้า "

        เมื่อพระราชาทรงเห็นว่า แม้มโหสถเองก็ตอบไม่ได้    จึงทรงอนุญาตเลื่อนการตอบปัญหาออกไป เหล่าบัณฑิตทั้งหลาย ได้ทูลลาไปที่พำนักของตน ส่วนมโหสถบัณฑิตเมื่อออกจากท้องพระโรงแล้ว ได้ไปเข้าเฝ้าพระราชเทวีอุทุมพรมเหสีของพระราชา เพราะคิดว่า พระราชาไม่น่าจะทรงคิดปัญหานี้เองได้ พระองค์คงจะทอดพระเนตรเห็นอะไรสักอย่างเป็นแน่ จึงทูลถามพระนางว่า  " ข้าแต่พระเทวีเจ้า วันนี้หรือวานนี้พระราชาทรงประทับอยู่ที่ใดนานเป็นพิเศษ "
 
        พระนางอุทุมพรตรัสตอบว่า  " เมื่อวานนี้พระราชาได้เสด็จเดินไปเดินมาในปราสาท และได้ทอดพระเนตรที่ช่องพระแกลเป็นเวลานาน "

        มโหสถคิดว่า พระราชาจะต้องทอดพระเนตรเห็นอะไรสักอย่างเป็นแน่ จึงเดินออกไปสำรวจบริเวณนั้น ก็พบแพะและสุนัขที่มีความสนิทสนมต่อกันเป็นพิเศษ มโหสถยืนพิจารณาสัตว์ทั้งสองอยู่ครู่หนึ่ง ก็เข้าใจแจ่มแจ้งตั้งแต่ต้นจนจบถึงปัญหาของพระราชา และจับเค้าความเป็นมาของแพะ และสุนัขได้อีกด้วย

        ความเป็นมาของสัตว์ทั้งสองมีอยู่ว่า วันหนึ่งแพะตัวนั้นได้แอบเข้าไปกินหญ้าในโรงช้าง ทำให้ถูกตีจนหลังแอ่นได้รับความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก จึงหลบหนีไปนอนใกล้พระราชคฤหาสน์ วันเดียวกันนั้นเอง สุนัขซึ่งปกติทุกวันมันจะกินเฉพาะกระดูกที่ห้องเครื่องหลวงจนอ้วนพี แต่วันนั้นทนกลิ่นปลา และเนื้อไม่ไหว จึงได้แอบเข้าไปกินเนื้อเหล่านั้น จนพ่อครัวมาพบเข้า ก็ถูกไล่ตีด้วยท่อนไม้ จึงหลบหนีเข้าไปซ่อนในที่แห่งเดียวกันกับแพะตัวนั้น

        เมื่อทั้งสองมาเจอกัน ต่างปรับทุกข์กัน ในที่สุดเจ้าแพะออกอุบายว่า  " ท่านเป็นสัตว์ไม่กินหญ้าจึงไม่เป็นที่สงสัยของควาญช้าง ฉะนั้น ท่านต้องเข้าไปในโรงช้าง ฉวยโอกาสคาบหญ้ามาให้ฉันเถิด ส่วนตัวฉันเองเป็นสัตว์ไม่กินเนื้อ จึงไม่เป็นที่สงสัยของพ่อครัว เพราะฉะนั้น ฉันจะเข้าไปในโรงครัวนำเนื้อมาให้ท่าน " เมื่อสัตว์ทั้งสองตกลงพร้อมใจสามัคคีเช่นนี้ ต่างดำเนินการตามแผน ทำให้พวกมันอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

        ฝ่ายบัณฑิตอีกสามท่านกลับไปบ้านก็ยังขบคิดปัญหาไม่ออก จึงชวนกันมาหาอาจารย์เสนกะ แม้อาจารย์เสนกะก็คิด  ไม่ออกเช่นกัน จึงชวนกันไปหามโหสถเผื่อว่ามโหสถจะมีทางออกบ้าง ทั้งสี่ท่านมาแล้วก็ไม่ผิดหวัง มโหสถบัณฑิตได้แจ้งข่าวดี ว่า ได้ขบคิดปัญหาออกแล้ว ด้วยความเมตตาที่มีต่อท่านทั้งสี่     ไม่ปรารถนาเห็นเพื่อนร่วมงานต้องถูกขับออกจากแว่นแคว้น จึงให้บัณฑิตทั้งสี่เรียนคาถาคนละหนึ่งคาถา

        วันรุ่งขึ้น เมื่อพระราชาตรัสถามถึงคำตอบ เสนกบัณฑิต ก็กราบทูลเป็นคาถาที่ได้จดจำมาจากมโหสถว่า  " เนื้อแพะเป็นที่โปรดปรานของมวลอำมาตย์ และพระราชโอรสทั้งหลาย     ชนเหล่านั้นไม่บริโภคเนื้อสุนัข แต่น่าประหลาดเหลือเกินที่แพะกับสุนัขมีมิตรธรรมที่ดีต่อกัน "
 
        เมื่อกล่าวจบ ตนเองก็รู้สึกสับสนในคาถานั้น เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริง มีเพียงพระเจ้าวิเทหราช และมโหสถเท่านั้นที่แจ่มแจ้งในข้อความนั้น พระราชาจึงปลาบปลื้มพระทัยว่า สมเป็นบัณฑิตจริงๆ จากนั้นได้ตรัสถามท่านปุกกุสะเป็นคนต่อไป

        ทั้งปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะ ต่างกราบทูลเป็นคาถาที่จดจำมา ซึ่งมีเนื้อหาคล้ายคลึงกับที่เสนกบัณฑิตกล่าว  พระราชาได้สดับแล้วทรงชื่นชมโสมนัส ฝ่ายมโหสถทูลตอบเป็นคนสุดท้ายว่า  " ข้าแต่มหาราชเจ้า ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม ยกเว้นข้าพระองค์เสียแล้ว คนอื่นใครจะรู้ถึงปัญหานี้ "
 
        จากนั้นก็ได้กราบทูลว่า  " แพะมี ๔ เท้า มี ๘ กีบ มีกายไม่ปรากฏ สุนัขนำหญ้ามาให้แพะกิน ส่วนแพะคาบเนื้อมาให้สุนัข พระองค์ผู้สมมติเทพผู้ประเสริฐประทับอยู่บนปราสาท ได้ทอดพระเนตรเห็น การนำอาหารมาแลกกัน และได้ทอดพระเนตรเห็นมิตรธรรมของสัตว์ทั้งสอง พระเจ้าข้า "
 
        จากนั้นได้กราบทูลในรายละเอียดทั้งหมด  พระราชาได้สดับคำเฉลยของบัณฑิตทั้งห้า ก็ทรงปีติโสมนัสมาก ที่ทุกคนสามารถแก้ปัญหาที่ลึกซึ้งของพระองค์ได้ จึงทรงมอบรถเทียมม้าอัสดรแก่บัณฑิตทั้งห้าท่าน

        เราจะเห็นว่า เมื่อมีปัญหาลึกซึ้งเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิตเช่นนี้แหละ บัณฑิตเป็นผู้ยังโลกนี้ให้สว่าง ช่วยขจัดความมืดมิด คือ ความไม่รู้จริงให้หมดสิ้นไป ให้พวกเราทุกคนหมั่นฝึกฝนอบรมตนเอง ให้เป็นผู้พร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา หมั่นเป็นคนช่างสังเกต หมั่นเข้าไปสอบถามผู้รู้ ต่อไปเราจะกลายเป็นศูนย์รวมแห่งความรู้ทั้งหลาย ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ความรู้ทั้งหลายประมวลรวมอยู่ในศูนย์กลางกาย ดังนั้น เราจะต้องหยุดใจเพื่อเข้าไปหาแหล่งแห่งความรู้ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้ได้กันทุกคน
 
*มก. มโหสถบัณฑิต เล่ม ๖๓ หน้า ๓๖๒
 

http://goo.gl/poSzH


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related