มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๔)

มาถึงตอนนี้พระโพธิสัตว์ได้ตัดสินคดีความเละตรัสตอบคำถามที่นายคามณิจันท์รับปาก เขามาถามทั้งหมดไม่่ว่าจะเป็นเรื่องของพราหมณ์มาณพกลุ่มหนึ่งที่เรียนมนต์ได้ไม่ดี เรื่องที่น้ำในสระของพญานาคขุ่น เรื่องของนกกระทาที่ไม่ยอมไปจากจอมปลวก เรื่องของเนื้อที่ชอบกินหญ้าใต้ต้นไม้นั้น เรื่องของงู และเรื่องอื่นๆ พระโพธิืสัตว์จะทรงตัดสินคดีความและตอบคำถามเช่นไรนั้น https://dmc.tv/a2473

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 20 ก.ย. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18296 ]
 
มงคลที่ ๘

มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๔)

เพราะฉะนั้นแล บุคคลที่มีตนเป็นใหญ่ควรมีสติเที่ยวไป
บุคคลที่มีโลกเป็นใหญ่ควรมีปัญญาและมีการเพ่งพินิจ
และบุคคลที่มีธรรมเป็นใหญ่
ควรเป็นผู้ประพฤติโดยสมควรแก่ธรรม
มุนีผู้มีความบากบั่นย่อมมีแต่ความเจริญ



         พระโพธิสัตว์ตรัสถามโจทก์ว่า  "ในเวลาที่นายคามณิจันท์ ตบตีภรรยาของเจ้า มีผู้รู้เห็นหรือไม่"
 
        โจทก์กราบทูลว่า "ไม่มีพระเจ้าข้า"
 
        ทรงถามว่า "ถ้าเช่นนั้นเจ้าจะให้เราทำอย่างไร" 
 
        เขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าอยากได้บุตรคืนมาพระเจ้าข้า"

        "ถ้าอย่างนั้น ท่านคามณิจันท์จงนำภรรยาของบุรุษนี้ไปไว้ในเรือนจนกว่านางจะมีครรภ์ และในเวลาที่นางคลอดบุตรแล้วจงนำบุตรมาคืนบุรุษนี้"
 
        เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้ โจทก์ที่ฟังอยู่ถึงกับตะลึงตาเหลือก และเห็นท่าไม่ดีที่จะเสียภรรยาไป จึงคลานเข้าไปหมอบลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์ อ้อนวอนว่าขออย่าให้เขาทำตามที่รับสั่งเลย แถมยังให้ทรัพย์แก่เขาอีกแล้วหลีกหนีไป
 
        ลำดับนั้น คนเลี้ยงม้าซึ่งเป็นโจทก์คนที่สาม ก็เข้ามา กราบทูลว่า "ท่านนี้ได้ขว้างม้าของตนจนขาหัก"
 
        นายคามณิจันท์ ปฏิเสธข้อหาที่ไม่ได้เจตนา เพราะเขาทำตามคำขอร้องของเจ้าของม้า และได้ชี้แจงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนกระจ่าง ส่วนโจทก์ก็ยังยืนยันอยู่ว่า ตนไม่ได้บอกให้เอาก้อนหินขว้างม้า

        พระโพธิสัตว์ทรงล่วงรู้เหตุผลทั้งหมด จึงดำริว่า เราต้องข่มขู่บุรุษนี้ แล้วก็ทรงตัดสินว่า "บุรุษผู้นี้บอกให้เขาขว้างม้าของตนแล้วปฏิเสธว่าไม่ได้บอก มีความผิดเกิดขึ้นที่ปาก เพราะฉะนั้นท่านจงตัดลิ้นของบุรุษนี้เสีย แล้วเอาทรัพย์ของเรา พันหนึ่ง ชดใช้ค่าม้าของเขา"
 
        เมื่อโจทก์ฟังคำตัดสินเช่นนั้นก็ตกใจกลัว กลับให้ทรัพย์แก่นายคามณิจันท์เพราะกลัวอาญา และรีบหนีออกจากที่วินิจฉัยไป

       ต่อมาบุตรของช่างทำเสื่อลำแพนได้เข้าไปฟ้องร้องว่า "นายคามณิจันท์เจตนาฆ่าบิดาของเขาตาย"
 
        เมื่อทรงซักถามได้ความกระจ่างแจ้งทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว จึงตรัสถามโจทก์ว่า "ท่านจะให้เราลงโทษจำเลยอย่างไรเล่า"
 
        โจทก์กราบทูลว่า  "ข้าพระบาท อยากให้บิดากลับคืนมา"
 
        พระราชาจึงตรัสว่า "ถ้าอย่างนั้น ท่านคามณิจันท์ผู้เจริญ ท่านจงนำมารดาของบุรุษนี้ไปเป็นภรรยาของท่าน ท่านจงเป็นบิดาของเขาแทนบิดาที่ตายไปแล้ว เพราะคนที่ตายไปแล้วย่อมหมดวิสัยที่จะเอากลับคืนมาได้"
 
        เมื่อบุรุษนั้นได้ฟังคำวินิจฉัยดังนี้ก็ไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงให้ทรัพย์แก่นายคามณิจันท์แล้วหลีกหนีไปเหมือนกับโจทก์ทั้งสามคน

        เมื่อนายคามณิจันท์ชนะความทั้งหมดแล้ว ก็มีความปลาบปลื้มยินดีปรีดาว่า แม้พระเจ้าอาทาสมุขราชยังทรงพระเยาว์ อยู่ ก็เป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถ มีพระปัญญาเฉียบแหลม มีความยุติธรรม สมกับเป็นมหาบุรุษผู้ปกครองแผ่นดินโดยธรรมโดยแท้ เขาจึงก้มลงกราบถวายบังคมด้วยความเคารพอย่างยิ่ง แล้วก็ขอโอกาสกราบทูลถามตามที่มีผู้ฝากคำถามมา ดังเหตุการณ์ ในระหว่างทางที่มีผู้ฝากคำถามมาถึงพระราชา แต่ครั้นเวลาถาม เขากลับทูลถามจากเรื่องล่าสุดถอยไปหาเรื่องต้น  ซึ่งพระโพธิสัตว์ ทรงแก้ไขเป็นเรื่องๆ ไปอย่างไม่มีข้องขัด
  • เรื่องของพราหมณ์มาณพกลุ่มหนึ่งที่เรียนมนต์ได้ไม่ดพระโพธิสัตว์ทรงแก้ไขว่า "เหตุที่พวกพราหมณ์มาณพเรียนมนต์ได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อนนั้น เป็นเพราะไก่ขันผิดเวลา เมื่อก่อนมีไก่ขันบอกเวลาได้ถูกต้อง ทำให้พวกมาณพเหล่านั้นตื่นขึ้นมาสาธยายมนต์ได้ตามเวลาในเวลาที่เหมาะสม แต่บัดนี้ไก่ตัวนั้นหายไป ได้มีไก่ที่ขันไม่เป็นเวลามาอยู่แทน ไก่ตัวนั้นบางทีก็ขันตอนกลางดึก บางทีก็ขันตอนค่อนสว่าง ทำให้มาณพเหล่านั้นตื่นไม่ตรงเวลา ถ้าตื่นขึ้นในตอนกลางดึกก็จะง่วงเหงาหาวนอน ถ้าตื่นขึ้นในเวลาจวนสว่างมาก ก็ไม่มีเวลาที่จะสาธยายมนต์ พอเพียง ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเล่าเรียนมนต์ได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อน"
  • เรื่องที่น้ำในสระของพญานาคขุ่น ทรงวินิจฉัยว่า เพราะเหล่านาคบริวารทะเลาะวิวาทกันทุกราตรี จึงทำให้น้ำในสระนั้นขุ่น ไม่ใสเหมือนแต่ก่อน
  • เรื่องของรุกขเทวดาทรงวินิจฉัยว่า เพราะรุกขเทวดาท่านนั้น ไม่เอาใจใส่รักษาคนที่เดินทางไปมาเหมือนแต่ก่อน จึงไม่มีใครนำลาภสักการะมาบูชาเหมือนแต่ก่อน
  • เรื่องนกกระทาที่ไม่ยอมไปจากจอมปลวกใหญ่ทรงวินิจฉัยว่า เพราะที่จอมปลวกใหญ่นั้นมีขุมทรัพย์อยู่ภายใต้   นกกระทาตัวนั้นจึงติดใจผูกพันอยู่ที่จอมปลวกนั้น
  • เรื่องของเนื้อที่ชอบกินหญ้าใต้ต้นไม้นั้นทรงวินิจฉัยว่า เพราะที่ต้นไม้นั้นมีรังผึ้งรวงใหญ่ น้ำผึ้งได้หยดย้อยลงมาถูกใบหญ้า อยู่เสมอ เนื้อตัวนั้นจึงพอใจกินหญ้าอยู่ในบริเวณนั้นแห่งเดียว
  • เรื่องของงูทรงวินิจฉัยว่า เพราะจอมปลวกที่งูอาศัยอยู่นั้น มีขุมทรัพย์ใหญ่อยู่ภายใต้ งูตัวนั้นมีความหวงทรัพย์ เวลาจะออกไปหาอาหาร จึงรู้สึกออกจากจอมปลวกนั้นได้ยาก เหมือนว่าร่างกายคับปล่องที่จะออก แต่ขากลับเพราะคิดถึงทรัพย์   จึงเลื้อยเข้าไปในปล่องอย่างรวดเร็วและง่ายดาย
  • เรื่องของสตรีที่ไม่อยู่บ้านทรงวินิจฉัยว่า เพราะสตรีผู้นั้นมีชู้อยู่ในบ้านระหว่างบ้านของสามีและบ้านของมารดาบิดา เวลาสตรีคนนั้นคิดถึงชายชู้ขึ้นมา ก็ลาสามีว่าจะไปค้างบ้านของมารดา แต่นางได้ไปพักอยู่ที่บ้านชายชู้ก่อน จึงค่อยไปบ้านมารดา ภายหลังเมื่อคิดถึงชู้ขึ้นมาอีก ก็ลากลับจากบ้านมารดาบิดา แต่ก็มาพักอยู่กับชายชู้อีก พอได้ ๒-๓ วัน จึงเลยไปบ้านสามี
  • เรื่องหญิงงามเมืองทรงวินิจฉัยว่า เพราะหญิงนั้นได้รับค่าจ้างของบุรุษคนหนึ่งแล้วไปหลับนอนกับบุรุษที่มาทีหลัง  เมื่อทำอย่างนี้บ่อยๆ จึงไม่มีผู้ไปมาหาสู่เหมือนแต่ก่อน
  • เรื่องของผู้ใหญ่บ้านทรงวินิจฉัยว่า เพราะผู้ใหญ่บ้านตัดสินความไม่ยุติธรรม จึงเสื่อมจากลาภยศสรรเสริญ แล้ว พระโพธิสัตว์ก็ตรัสว่า "ขอท่านจงนำความเหล่านี้ไปบอกแก่  คนเหล่านั้น ตามคำของเราดังที่ได้แก้ไขมานี้เถิด"

        จากนั้นพราหมณ์ได้กราบทูลลา และนำความเหล่านั้นไปบอกแก่พราหมณ์มาณพ พญานาค รุกขเทวดา นกกระทา แล้วไปขุดเอาทรัพย์ที่จอมปลวกที่นกกระทาอยู่อาศัยได้ทรัพย์มามากมาย จากนั้นก็ไปที่ต้นไม้ที่เนื้อนั้นหากิน นำรวงผึ้งไปถวายพระราชา และไปสู่ที่อยู่ของงู ได้ขุดเอาทรัพย์ใต้จอมปลวกได้ทรัพย์มากมาย แล้วจึงไปบอกสตรีผู้อยู่ไม่ติดเรือนให้เลิกคบชู้สู่ชาย และบอกถึงพฤติกรรมที่ไม่ควรของหญิงงามเมือง และให้สติแก่ผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชโองการทุกประการ แล้วจึงกลับไปอยู่ในที่พระราชทาน ได้รับความสุขสำราญเหมือนแต่ก่อน และได้ตั้งใจบำเพ็ญบุญกุศลจนตลอดชีวิต

        เราจะเห็นได้ว่า พระบรมโพธิสัตว์ของเราทรงมีพระปัญญา เป็นเลิศ ไม่เฉพาะแต่ในภพชาตินี้ ที่ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเท่านั้น แต่ทรงเป็นผู้รอบรู้ในทุกด้านมาทุกภพทุกชาติ ทรงหยั่งรู้เหตุผลทุกอย่างได้อย่างลึกซึ้ง เพราะพระองค์ทรงสั่งสมปัญญาบารมีมามาก ความเป็นผู้มีปัญญาไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุแต่อยู่ที่บุญ ดังนั้นถ้าเราปรารถนาความเป็นผู้รู้ เราก็ต้องสั่งสมบุญ สั่งสมปัญญาบารมีกันให้มากๆ  ให้สั่งสมความรู้ควบคู่กับความบริสุทธิ์ ด้วยการหมั่นประพฤติธรรมเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา แล้วเราจะได้เป็นนักปราชญ์บัณฑิตที่แท้จริงกัน
 
 
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

http://goo.gl/3lNQJ


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related