มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - โคนันทวิสาล

จะเห็นได้ว่า การกล่าววาจาทุพภาษิต เช่น คำหยาบ คำด่านั้น ไม่ดีเลย เหมือนที่พราหมณ์พูดกับโคนันทิวิสาล ในการเดิมพันครั้งแรก ทำให้ต้องเสียทรัพย์แก่เศรษฐีและอับอายขายหน้า แต่ครั้นพราหมณ์กล่าวถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะหู และเสริมสร้างกำลังใจให้แก่กัน ก็สามารถกู้ชื่อเสียงกลับคืนมาได้ และยังได้ทรัพย์สินอีกมากมาย เพราะคำพูดที่ไพเราะนั้นมีฤทธิ์ มีอานุภาพ https://dmc.tv/a2555

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 11 ต.ค. 2550 ] - [ ผู้อ่าน : 18453 ]
 
มงคลที่ ๑๐

มีวาจาสุภาษิต - โคนันทวิสาล

เรากล่าวบุคคลผู้เปล่งวาจาไม่หยาบคาย
อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้งกันได้
เป็นคำจริง ไม่ทำให้ใครๆ ขัดใจกันนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

        สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนมีพื้นฐานของชีวิตเหมือนกัน เพราะต่างเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งสิ้น ตั้งแต่วันแรกเกิดจนกระทั่งถึงวันที่หลับตาลาโลก ทุกชีวิตล้วนมีความทุกข์เป็นพื้นฐาน เหมือนกับโลกที่มีความมืดเป็นพื้นฐาน แต่ที่เราเห็นแสงสว่าง ก็เพราะมีแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ หรือแสงไฟ จึงทำให้โลกเราสว่างได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตว่าชีวิตเป็นทุกข์แล้ว เราจะได้เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์ทั้งหลาย และรีบขวนขวายหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ การปฏิบัติธรรมเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับชีวิตของผู้ที่ปรารถนาความหลุดพ้น เพื่อไปให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า
 
"อกกฺกสํ วิญฺญาปน        คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กิญฺจ        ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ

        เรากล่าวบุคคลผู้เปล่งวาจาไม่หยาบคาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้งกันได้ เป็นคำจริง ไม่ทำให้ใครๆ ขัดใจกันนั้น ว่าเป็นพราหมณ์"

        วาจาสุภาษิต หมายถึง คำพูดที่ดี ซึ่งคำพูดนั้นต้องเป็น คำจริง สุภาพ ถูกกาลเทศะ พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์และต้องพูดด้วยจิตเมตตา มีความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมีความสุข มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

        คำพูดที่ไพเราะเสนาะโสต ใครๆ ก็อยากฟัง ถ้าพูดดีเป็นศรีแก่ตัว และเป็นทางมาแห่งความเลื่อมใสของผู้ฟัง ผู้รู้กล่าวว่า วาจาเป็นเช่นเดียวกับใจ เราจะรู้ว่าใครเป็นอย่างไร ก็ดูได้จากคำพูด คำพูดของมนุษย์สามารถยกใจผู้ฟังให้สูงขึ้นได้ พวกเรานักสร้างบารมี ผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตรของชาวโลก ควรกล่าวแต่ถ้อยคำที่ไพเราะ เป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน พูดยกใจให้ทุกคนอยากทำความดี คำพูดที่ดีที่สุดจะออกมาจากแหล่งที่บริสุทธิ์ ที่เกิดจากการทำใจหยุดนิ่งในกลางกาย มิใช่แต่มนุษย์เท่านั้นที่ปรารถนาจะฟังถ้อยคำอันไพเราะ แม้แต่สัตว์เดียรัจฉาน ก็ยังปรารถนาจะฟังถ้อยคำที่ไพเราะเช่นกัน

        *ดังจะเห็นได้จากอดีตกาล ครั้งที่พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นโค  เมื่อเติบโตเป็นลูกโคหนุ่ม พราหมณ์คนหนึ่งได้นำไปเลี้ยงดู และตั้งชื่อให้ว่า นันทิวิสาล พราหมณ์มีความรักใคร่โคนันทิวิสาลมาก เลี้ยงดูด้วยความทะนุถนอมดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ราวกับเป็นลูกของตน 

        โคนันทิวิสาลเติบใหญ่ขึ้น มีรูปร่างล่ำสัน แข็งแรง ก็คิดจะตอบแทนคุณของพราหมณ์ที่เลี้ยงดูตนเองมาด้วยความเมตตา วันหนึ่งจึงกล่าวกับพราหมณ์ว่า "พราหมณ์ ท่านจงเข้าไปหา  โควินทกเศรษฐี แล้วเดิมพันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ โดยบอกเขาว่า โคของท่านสามารถลากเกวียนที่บรรทุกของจนเต็ม แล้วผูกติดๆ กัน ๑๐๐ เล่ม ให้เคลื่อนที่ไปได้"

        พราหมณ์ฟังดังนั้นก็ดีใจ รีบไปที่บ้านของเศรษฐี แล้วถามว่า "ในเมืองนี้ โคของใครมีเรี่ยวแรงมากที่สุด"
 
        เศรษฐีตอบพราหมณ์ว่า "ทั่วทั้งนคร ไม่มีโคตัวใด ที่มีเรี่ยวแรงมากเท่าโคของเรา"
 
        พราหมณ์กล่าวว่า "แต่โคของเราตัวหนึ่ง สามารถลาก เกวียน ๑๐๐ เล่ม ที่ผูกติดๆ กันให้เคลื่อนที่ไปได้" เศรษฐีไม่เชื่อ เลยมีการเดิมพันกันด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ

        เมื่อถึงวันกำหนดนัดประลองกำลัง พราหมณ์ได้เอาเกวียน ๑๐๐ เล่ม ซึ่งเต็มไปด้วยทราย กรวดและหิน เป็นต้น ผูกให้ติดกัน แล้วอาบน้ำให้โคนันทิวิสาล เจิมด้วยของหอม เอาพวงดอกไม้คล้องคอ แล้วพามาเทียมเกวียน

        ด้วยความตื่นเต้น จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ทันทีที่ได้ยินเสียงสัญญาณ พราหมณ์เงื้อปฏักขึ้นพร้อมกับตะโกนว่า "เจ้าโคโกง จงลากไป เจ้าโคโกง รีบลากไปเร็วๆ"  
 
        โคนันทิวิสาลได้ยินคำพูดที่แข็งกระด้าง ซึ่งไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย ก็สะเทือนใจ คิดว่า "พราหมณ์เรียกเราผู้ไม่โกงว่าเป็นโคโกง"  จึงยืนนิ่งอยู่กับที่ตรงนั้นเอง ไม่ยอมออกแรงลากเกวียน ทำให้พราหมณ์แพ้พนันแก่เศรษฐี ต้องเสียทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ พราหมณ์ทั้งอับอายทั้งเสียดายทรัพย์ ได้แต่กลับไปนอนซมอยู่ที่บ้านด้วยความเสียใจ

        ฝ่ายโคนันทิวิสาล เห็นพราหมณ์มีความโศกเศร้า ก็สงสารจึงเข้าไปถามว่า "พราหมณ์ ท่านนอนหลับหรือ" 
 
        พราหมณ์ ตอบว่า "เราแพ้พนันต้องเสียทรัพย์ถึง ๑,๐๐๐ กหาปณะ จะนอน หลับได้ยังไง" 
 
        โคนันทิวิสาลถามว่า "ท่านพราหมณ์ ตั้งแต่ฉันอยู่ในเรือนของท่านมา ฉันเคยคดโกง เกะกะเกเร หรือทำอะไรให้ท่านเดือดเนื้อร้อนใจบ้างหรือ" 
 
        พราหมณ์ตอบว่า "ไม่เคยเลย" 
 
        โคนันทิวิสาลบอกว่า "ถ้าอย่างนั้น ทำไมท่านถึงเรียกฉันว่า เจ้าโคโกงล่ะ ฟังแล้วบั่นทอนกำลังใจเหลือเกิน ท่านแพ้พนันเพราะคำพูดของท่านเอง ไม่ใช่เพราะฉันไม่มีกำลังที่จะลากเกวียนหรอก"

        พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น ก็สำนึกได้ และรู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง โคนันทิวิสาลจึงบอกให้พราหมณ์ไปเดิมพันกับเศรษฐีอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเงินเดิมพันเป็น ๒ เท่า แต่ขอร้องพราหมณ์ว่า อย่าเรียกตนเองว่าเป็นโคโกง พราหมณ์ได้ฟังคำของโคนันทวิสาลแล้ว รู้สึกดีใจเหมือนได้ชีวิตใหม่ รีบไปเดิมพันกับเศรษฐีอีกครั้งหนึ่งด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะ โดยผูกเกวียน ๑๐๐ เล่ม ที่เต็มไปด้วยทราย กรวดและหินให้ติดกัน ดังเช่นคราวก่อน

        เมื่อสัญญาณดังขึ้น พราหมณ์ลูบหลังโคนันทิวิสาล พลางพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนว่า "โคผู้เจริญ พ่อจงลากไปเถอะ โคผู้เจริญ พ่อจงลากไป" 
 
        โคนันทิวิสาลได้ลากเกวียนทั้ง ๑๐๐ เล่ม ที่ผูกติดกัน ให้เคลื่อนที่ไปได้ เศรษฐีเห็นดังนั้น จึงมอบทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะ ให้แก่พราหมณ์ แม้พวกชาวบ้านต่างชื่นชม พากันให้ทรัพย์แก่โคนันทิวิสาลเป็นอันมาก ทรัพย์ทั้งหมดนั้นก็ได้ตกเป็นของพราหมณ์

        ้
จะเห็นได้ว่า การกล่าววาจาทุพภาษิต เช่น คำหยาบ คำด่านั้น ไม่ดีเลย เหมือนที่พราหมณ์พูดกับโคนันทิวิสาล ในการเดิมพันครั้งแรก ทำให้ต้องเสียทรัพย์แก่เศรษฐีและอับอายขายหน้า
 
        แต่ครั้นพราหมณ์กล่าวถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะหู และเสริมสร้างกำลังใจให้แก่กัน ก็สามารถกู้ชื่อเสียงกลับคืนมาได้ และยังได้ทรัพย์สินอีกมากมาย เพราะคำพูดที่ไพเราะนั้นมีฤทธิ์ มีอานุภาพ จะทำให้ผู้ฟังสบายใจและเกิดกำลังใจ ที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

        เพราะฉะนั้น เราจึงควรกล่าวแต่ถ้อยคำที่ไพเราะ เป็นคำพูดที่กลั่นออกมาจากใจที่ใสสะอาด และเป็นคำจริง เป็นคำพูดที่ก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดี ทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง    พูดด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา และมีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง ที่สำคัญจะต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ คือรู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนไม่ควรพูด

        สุดยอดแห่งคำพูดนั้น คือ คำพูดที่พูดแล้วทำให้ ลด ละ เลิก ในสิ่งที่เป็นความชั่ว หันมาทำความดีอย่างเต็มกำลัง และที่สำคัญที่สุด ต้องเป็นคำพูดที่น้อมนำใจ ให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นต้นแหล่งแห่งความบริสุทธิ์ คำพูดอย่างนี้ย่อมนำแต่ความสุขความเจริญมาให้ ทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นเหตุเป“นปัจจัยให้เข้าถึงพระธรรมกายได้โดยง่าย

        คนที่จะมีวาจาสุภาษิตได้นั้น ต้องมีความคิดที่บริสุทธิ์ เป็นความคิดในทางสร้างสรรค์ จะมองใครก็มองด้วยจิตที่ประกอบไปด้วยเมตตา อยากจะให้ทุกคนมีความสุข ไม่เบียดเบียนกัน เมื่อความคิดบริสุทธิ์ คำพูดย่อมบริสุทธิ์ ไม่เร่าร้อน เป็นวาจาสุภาษิต แต่ความคิดจะบริสุทธิ์ได้ ใจต้องหยุดนิ่งอยู่ ณ ต้นกำเนิดแห่งความบริสุทธิ์ ซึ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ด้วยการหมั่นเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา ฝึกทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายอย่างสม่ำเสมอทุกๆ วัน
 
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

*มก. นันทิวิสาลชาดก เล่ม ๕๕ หน้า ๓๐๘ 

http://goo.gl/TqMR0


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related