มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - หนทางสู่สวรรค์นิพพาน

เราไม่ควรประมาทในชีวิต ต้องมีสติเตือนตนเสมอว่า เราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ ความตายไม่มีเครื่องหมายนำหน้า พึงเร่งขวนขวายสร้างความดี ละบาปอกุศล และทำจิตใจให้ผ่องใส เหมือนพระอินทร์ผู้เป็นจอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อเห็นว่า อีกไม่นานจะต้องจุติจากความเป็นเทพ พระองค์ก็ไม่ประมาท หาโอกาสสั่งสมบุญให้กับตนเองทันที https://dmc.tv/a3372

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 4 พ.ค. 2551 ] - [ ผู้อ่าน : 18298 ]
 

มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม
  หนทางสู่สวรรค์นิพพาน

    บุคคลปรารถนาอยู่ซึ่งอายุ ความไม่มีโรค วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความยินดีอันโอฬาร พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภพหน้า เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์นั้น ปราชญ์ผู้มีปัญญาท่านจึงเรียกว่า บัณฑิต

    เป้าหมายอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ คือ การฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง จนเข้าถึงกายธรรมอรหัต เป็นพระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง กายธรรมอรหัตนี้ เป็นกายที่คงความเป็นอมตะ มีแต่สุขล้วนๆ ไม่มีทุกข์เจือปนเลย เป็นสุขที่กว้างขวาง ไม่มีประมาณ นี่คือเป้าหมายชีวิตของทุกๆ คนในโลก ที่เราจะต้องเข้าถึงให้ได้ ด้วยการฝึกใจให้หยุดนิ่ง เพราะใจที่หยุดนิ่งเท่านั้น จึงจะเข้าถึงกายธรรมอรหัตได้ ความสุข ความบริสุทธิ์ และความปลอดภัยทั้งมวล ประชุมรวมกันอยู่ที่กายธรรมอรหัตนี้ เพราะฉะนั้น การฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง จึงเป็นภารกิจหลักที่เราต้องทำกันทุกคน

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปฐมอัปปมาทสูตร ว่า
 
    บุคคลปรารถนาอยู่ซึ่งอายุ ความไม่มีโรค วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความยินดีอันโอฬาร พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภพหน้า เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์นั้น ปราชญ์ผู้มีปัญญาท่านจึงเรียกว่า บัณฑิต
Ž
    ความไม่ประมาท คือ การมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด พูด ทำสิ่งใด ก็ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักมั่นถึงสิ่งดีที่ต้องทำ และบาปกรรมที่ต้องเว้น ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหมด ล้วนประมวลลงที่ความไม่ประมาท เหมือนรอยเท้าทั้งหลายประชุมรวมได้ในรอยเท้าช้าง กุศลธรรมทั้งหมดก็ประมวลลงในความไม่ประมาท ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งกุศลธรรมทั้งปวง

    พระศาสดาของเราทรงสอนว่า เราจะต้องไม่ประมาทในชีวิต มีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ เพื่อจะได้ไม่มัวเมาทำในสิ่งไร้สาระ เพราะเวลาแห่งการสั่งสมบุญกุศลในโลกนี้มีเพียงเล็กน้อย กาลเวลาได้กลืนกินชีวิตของเรา และสรรพสัตว์ไปทุกขณะ และจะเรียกกลับคืนมาก็ไม่ได้

    เราไม่ควรประมาทในชีวิต ต้องมีสติเตือนตนเสมอว่า เราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ ความตายไม่มีเครื่องหมายนำหน้า พึงเร่งขวนขวายสร้างความดี ละบาปอกุศล และทำจิตใจให้ผ่องใส เหมือนพระอินทร์ผู้เป็นจอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อเห็นว่า อีกไม่นานจะต้องจุติจากความเป็นเทพ พระองค์ก็ไม่ประมาท หาโอกาสสั่งสมบุญให้กับตนเองทันที

    *ครั้งหนึ่ง ท้าวสักกเทวราชได้ทรงเห็นบุพนิมิต ๕ ประการ ตั้งแต่ดอกไม้เหี่ยวแห้งไม่แย้มบานเหมือนแต่ก่อน ภูษาอาภรณ์อันเป็นทิพย์ก็ดูเศร้าหมอง เหงื่อไหลออกจากรักแร้ ผิวพรรณก็เศร้าหมองลง รัศมีกายที่เคยสว่างไสวในตัวก็ลดลง เมื่อทรงเห็นอย่างนั้นก็รู้ว่า ใกล้จะหมดเวลาที่จะเสวยทิพยสมบัติเหล่านี้แล้ว สำหรับเทวดาทั่วไป ผู้ที่ไม่ได้เตรียมตัวไว้ ได้ทิพยสมบัติมาเพราะบุญเพียงเล็กน้อย ถึงคราวกำลังบุญจะหมดก็หวาดกลัว  ส่วนผู้ที่สั่งสมบุญไว้มาก จะไม่รู้สึกสะดุ้งหวาดกลัว เพราะรู้ว่าจะได้ขึ้นไปเสวยบุญในเทวโลกชั้นสูงๆ ขึ้นไปอีก
 
    ส่วนท้าวสักกเทวราชเมื่อทรงเห็นบุพนิมิต ทรงมองดูสมบัติทั้งหมด ตั้งแต่เทพนคร ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ปราสาทไพชยันต์สูง ๑,๐๐๐ โยชน์ สุธรรมาเทวสภา ๓๐๐ โยชน์ ต้นมหาปาริฉัตรสูง ๑๐๐ โยชน์ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ๖๐ โยชน์ เทพอัปสร ๒๕ โกฏิ เทพบริษัทในเทวโลก สวนจิตรลดา และทิพยสถานต่างๆ เมื่อทอดพระเนตรแล้ว ทรงถูกความกลัวครอบงำ จึงรีบตรวจดูว่า มีบุคคลใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นสมณพราหมณ์ หรือมหาพรหมที่จะถอนลูกศร คือความโศกของพระองค์ให้หลุดไปได้ ใครหนอที่จะทำให้พระองค์ได้เสวยมหาทิพยสมบัติเหล่านี้อีกต่อไป

    ท้าวสักกะทรงตรวจดูทั่วทั้งเทวโลก และมนุษยโลก   ไม่พบผู้ใดจะช่วยได้ ยกเว้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชักชวนเหล่าเทพบุตรเทพธิดาลงไปกราบนมัสการพระบรมศาสดาทันที  สมัยนั้นพระบรมศาสดาทรงประทับอยู่ที่ถ้ำอินทสาล ทรงสนทนา กับท้าวสักกะว่า ดูก่อนมหาบพิตร ตามปกติพระองค์เป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียะมาก เสด็จมา ณ ที่แห่งนี้ เพราะเหตุไรหนอŽ

    ท้าวสักกะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หลีกไปเสียนาน ตั้งใจจะมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ข้าพระองค์มัวประมาทยุ่งด้วยกรณียกิจบางอย่างของหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ จึงไม่อาจจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาถะของโลก ข้าพระองค์ยังมีความสงสัยเคลือบแคลงในธรรมอีกมากมาย จึงหวังคำตอบจากพระองค์ในการที่จะช่วยถอนลูกศร คือความโศกในหทัยของข้าพระองค์Ž

    จากนั้นท้าวสักกะได้ทูลถามปัญหาที่ค้างคาใจมานาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในสักกปัญหาสูตร เป็นคำถามที่น่าศึกษามาก และคำตอบของพระบรมศาสดาแต่ละข้อ สามารถแก้ไขข้อข้องใจของท้าวสักกะได้หมด จนเป็นเหตุให้ท้าวสักกะมีดวงตาเห็นธรรมได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ทรงพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีอันดับไปเป็นธรรมดา นอกจากนี้ ธรรมจักษุยังได้เกิดขึ้นแก่เหล่าทวยเทพ อีก ๘๔,๐๐๐ องค์ด้วย

     เมื่อท้าวสักกะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ด้วยบุญที่เกิดจากการฟังธรรม และด้วยจิตที่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ทำให้พระองค์จุติต่อหน้าพระบรมศาสดา และเปลี่ยนอัตภาพเป็นท้าวสักกะผู้มีรัศมีกายที่สว่างไสวรุ่งโรจน์กว่าเดิม ทั้งได้ครองเทพนครดังเดิม ซึ่งการจุติของพระองค์นั้นไม่มีใครล่วงรู้ มีเพียงท้าวสักกะ และพระบรมศาสดาเท่านั้น

    ท้าวสักกะทรงเปล่งอุทานด้วยจิตที่เลื่อมใสถึง ๓ ครั้งว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้แล้วเอง โดยชอบ จากนั้นก็ทูลลากลับเทวโลกไปเสวยทิพยสมบัติดังเดิม ตั้งแต่นั้นมาท้าวสักกะก็ไม่ประมาทเหมือนแต่ก่อน จะหาโอกาสลงมาอุปัฏฐากบำรุงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และฟังธรรมเป็นประจำไม่เคยขาดเลย

    จะเห็นได้ว่า การที่ท้าวสักกะทรงได้ความเป็นจอมเทพกลับมาดังเดิม ก็เพราะอาศัยความไม่ประมาท และเพราะทรงฉลาดในการหาบุญกุศลเพิ่มเติมให้กับตนเอง เมื่อได้ยินได้ฟังเช่นนี้แล้ว พวกเราทุกคนอย่าได้ประมาทชะล่าใจในการสั่งสมบุญกุศลให้กับตนเอง เพราะถ้าขาดบุญ สมบัติที่มีอยู่ก็วิบัติไป จะทำอะไรก็ติดๆ ขัดๆ ไปหมด บางช่วงชีวิตทำบุญมากและทำต่อเนื่อง สายสมบัติก็ยาว บางช่วงบางตอนช่วงบุญก็สั้น สายสมบัติไม่ว่าจะเป็นของมนุษย์หรือทิพย์ก็สั้นตามไปด้วย ช่วง รอยต่อก็เป็นเรื่องของบาปอกุศล บางช่วงก็ยาว บางช่วงก็สั้น  เพราะฉะนั้น การสั่งสมบุญอย่างต่อเนื่องจะทำให้เรามีชีวิตที่ดีต่อไปทุกภพทุกชาติกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม ต้องให้สายบุญบารมี ต่อเนื่องกันไปให้ยิ่งกว่าท้าวสักกเทวราช ที่ไม่ต้องเสียเวลามาต่อสายสมบัติ

    ดังนั้น เราจะต้องไม่ประมาทในวัย และชีวิต ให้เร่งรีบสั่งสมบุญเรื่อยไป มากบ้างน้อยบ้างก็ทำไปเถิด  ที่ไม่ทำเลยนั้น ไม่ควร ให้มีสติเตือนตนอยู่เสมอ อย่าคิดว่าตัวเรายังเป็นเด็ก อายุยังไม่มาก จึงเที่ยวเล่นเพลิดเพลินไปวันๆ ความตายไม่มีนิมิตหมายเหมือนบุพนิมิตในเทวโลก อย่าคิดว่าเราจะแข็งแรงอยู่อย่างนี้ตลอดไป ถ้ากรรมชั่วในอดีตตามมาทัน อาจป่วยเป็นโรคหรือไม่สบายเมื่อไรก็ได้ ในขณะที่สุขภาพยังดีอยู่ ต้องรีบขวนขวายสร้างความดีให้เต็มที่  ฉะนั้น ให้ทุกๆ คนหมั่นฝึกฝนอบรมตน อย่าได้ประมาท จะได้เป็นผู้ที่มีชีวิตไม่ผิดพลาด ไม่หลุดจากเส้นทางสวรรค์ และนิพพานกันทุกคน
 
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

*มก. สักกปัญหสูตร เลˆ่ม ๑๔ หน้‰า ๑๒๑

http://goo.gl/lkbl8

     
Tag : โรค  เทศนา  เทวดา  สวรรค์  พระราชภาวนาวิสุทธิ์  พระพุทธศาสนา  ปัญหา  ปัญญา  บุญ  บารมี  ทุกข์  ท้าวสักกะ  dhamma  

พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related